
ฉากที่ 1
รัฐธรรมนูญ ม. 190 วรรคสาม
“ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตามวรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย”
ฉากเหตุการณ์
“ในช่วงปี พ.ศ. 2548-2549 กัมพูชาได้ดำเนินกระบวนการยื่นขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกต่อยูเนสโกโดยไม่ได้ปรึกษาหารือกับไทยตามที่เคยหารือกันไว้
ปัญหาสำคัญที่สร้างข้อกังวลให้ไทยคือ เอกสารประกอบคำร้องยื่นขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดก โลก (Nomination File) ของกัมพูชาได้แนบแผนที่กำหนดเขตอนุรักษ์ (Core Zone) เขตกันชน (Buffer Zone) และเขตพัฒนา (Development Zone) ของอาณาบริเวณปราสาทพระวิหารที่กัมพูชาจะยื่นขอจดทะเบียนเป็นมรดกโลกซึ่งแสดงขอบเขตตามเส้นที่พระราชกฤษฎีกาฉบับลงวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2549 ของกัมพูชา (Décret royal portant délimitation du site protégé du temple de Preah Vihear, NS/RKP/0406/183) และแผนที่แนบระบุว่า ที่มา:หนังสือปกขาว กรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยกระทรวงการต่างประเทศ น.17 |
ฉากที่ 2 : เปิดฉากการเจรจา
- คณะรัฐมนตรีให้ข้อมูลและจัดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
- รัฐบาลเสนอ “กรอบการเจรจา” ต่อ “รัฐสภา” เพื่อขอความเห็นชอบก่อนการดำเนินการเจรจา
- ประเทศไทยยืนยันการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบเป็นมรดกโลกร่วมกันกับประเทศกัมพูชา - การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกร่วมกันต้องไม่กระทบการแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา |
- ประชาชน นักวิชาการ ตื่นตัวต่อเรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลก เกิดการเรียนรู้ปัญหา ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ มีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการเจรจา
- มีนาคม 2551 รัฐสภาอนุมัติ “กรอบเจรจา” รัฐบาลเปิดการเจรจาโดยมีรัฐสภาและประชาชนหนุนเสริม เพิ่มอำนาจการต่อรอง
ฉากที่ 3
รัฐธรรมนูญ ม. 190 วรรคสอง
“ หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศ อย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว”
ฉากเหตุการณ์ : พฤษภาคม-มิถุนายน 2551
|
(หมายเหตุ: การประชุมรัฐสภาสมัยสามัญ เปิด 21 ม.ค. – ปิด 16 พ.ค. 2551) |
ฉากที่ 4
ฉากเหตุการณ์ : 5-8 กรกฎาคม 2551
|
ฉากที่ 5
ฉากเหตุการณ์ : กรกฎาคม 2551 ในยุคการบริหารประเทศของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช
( ข้อมูลจากสมุดปกขาว กระทรวงการต่างประเทศ หน้า 11-12 )
|
ข้อวิเคราะห์ : รัฐบาลสามารถปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ม.190 ได้ดังที่แสดงให้เห็นในเหตุการณ์สมมุติ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการดำเนินงานของรัฐบาลเอง มิใช่ปัญหาในตัวบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ม.190 แต่อย่างใด