แบงก์ชาติออกโรงเตือนรัฐต้องรอบคอบ
ธุรกิจปรับตัวไม่ทันหวั่นซ้ำรอยวิกฤติศก.
แบงก์ชาติแนะรัฐเพิ่มความรอบคอบในการเจรจาเปิดเสรีทางการค้า ต้องเตรียมธุรกิจและ คนไทยให้พร้อม ขืนเร่งเปิดรับมีสิทธิ์ปิดตัวตามรอยธุรกิจค้าปลีกที่ถูกห้างต่างชาติถล่ม
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในการ สัมมนาหัวข้อ "การแข่งขันธุรกิจข้ามชาติ" จัดโดยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ โดยระบุว่าการเจรจากรอบการค้าทวิภาคีเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้น ไม่ สามารถหลีกเลี่ยงได้เพราะประเทศขนาดใหญ่ และประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงของไทย ได้มีการเจรจาไปแล้ว แต่ในการเจรจาเพื่อเปิดเสรีทางการค้า หรือเอฟทีเอ จะต้องคำนึง ถึงผลประโยชน์ของธุรกิจในประเทศ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเป็นประเด็นสำคัญ
"เราต้องรู้ให้ทันระหว่างการเจรจา เพราะเราอยากได้เงินลงทุน แต่ต่างชาติก็ อยากจะเข้ามาในธุรกิจที่เรายังไม่พร้อม หรือยังไม่มีความแข็งแรง เพื่อทำกำไรให้ได้มาก ที่สุด" ผู้ว่าการธปท.กล่าว
เขากล่าวว่าการเปิดเสรีทางการค้า เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ เพราะทำให้เศรษฐกิจ ขยายตัว มีการจ้างงาน มีความสามารถทางการผลิตดีขึ้น จากการถ่ายทอดเทคโนโลยี ขณะเดียวกันก็มีผลข้างเคียงที่อาจทำให้ธุรกิจในประเทศไม่สามารถปรับตัวรับกับการแข่งขัน ได้ และต้องล้มหายไป เช่น กรณีธุรกิจค้าปลีก ที่ร้านค้ารายย่อยของไทยไม่สามารถสู้กับเครือ ข่ายของต่างชาติได้ รวมถึงจะต้องระวังไม่ให้การเปิดเสรีเป็นการเปิดโอกาสให้มีการเข้า มาเก็งกำไรระยะสั้นในตลาดเงิน และตลาดหลักทรัพย์
ดังนั้น การเจรจาการเปิดเสรีรัฐบาลต้องซื้อเวลาหรือถ่วงเวลาสำหรับบางภาคธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมให้คนไทยปรับตัว และต่อสู้กับการแข่งขันจากต่างชาติได้ ทั้งเรื่อง การศึกษา โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ หรือแม้แต่เรื่องจริยธรรมของภาคธุรกิจซึ่ง ถือเป็นเทคนิคในการเจรจาและเป็นกลยุทธ์ที่ทุกประเทศดำเนินการอยู่แล้ว
"อยากให้คำนึงว่าประเด็นเอฟทีเอ อยู่ไหนจำเป็นต้องเจรจาไหม แต่เจรจาอย่างไร ไม่ให้เสียผลประโยชน์เป็นเรื่องที่สำคัญ การเจรจาควรเน้นการลงทุนระยะยาว ทั้งนี้สิ่ง จำเป็นต้องมีกลยุทธ์มุ่งส่งเสริมการลงทุนและเตรียมความพร้อมทางการศึกษาให้แรงงาน ของไทยมีฝีมือที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ ทั้งนี้ แรงงานค่าแรงต่ำของประเทศไทย ดึงดูดการลงทุนทางอุตสาหกรรมจากต่างประเทศไม่ได้อีกแล้ว" ผู้ว่าการธปท.กล่าว
ส่วนเรื่องการเปิดเสรีภาคการเงินนั้นจะต้องเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปจะไม่เปิดให้มี การเคลื่อนย้ายเงินทุนโดยเสรี ถึงแม้ว่าจะมีต่างชาติหลายประเทศต้องการให้เป็นเช่นนั้น เพราะเศรษฐกิจยังมีขนาดเล็ก ไม่พร้อมกับการเปิดเสรีทางการเงินทั้งหมด โดยวิกฤติ เศรษฐกิจครั้งที่ผ่านมา เป็นบทเรียนที่ดีว่าการเปิดเสรีทางการเงินเป็นต้นเหตุของปัญหา วิกฤติเศรษฐกิจ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธรระบุด้วยว่า ที่ผ่านมาการเปิดเสรีทางการเงิน เมื่อปี 2535 ก็เป็นสาเหตุของการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นบทเรียนสำคัญ เพราะมีเงินทุนไหลเข้ามา 1.1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ช่วงเวลาดังกล่าวประเทศไทยมีทุนสำรองเพียง 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งน้อยกว่าถึง 3 เท่า ดังนั้น ถึงแม้ว่าทิศทางการดำเนินนโยบาย จะให้มีการเปิดเสรี แต่ก็จะต้องค่อยเป็นค่อยไป โดยจะต้องดูความพร้อมของธุรกิจ และ เศรษฐกิจของประเทศเป็นหลัก