เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ คคส. ร่วมกับองค์การหมอไร้พรมแดน กระตุ้น 10 บริษัทยายักษ์ใหญ่ ให้ความร่วมมือสร้าง Patent Pool แก้ทางออกยาใหม่ราคาแพงประชาชนเข้าไม่ถึง

(กรุงเทพฯ/ 13 พ.ย. 52) แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ร่วมกับ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย และ องค์การหมอไร้พรมแดน เรียกร้องให้ 10 บริษัทยาชั้นนำของโลกร่วมผลักดันเพื่อให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์หลายล้านคนทั่วโลกเข้าถึงยาต้านไวรัสตัวใหม่ๆ ด้วยการนำสิทธิบัตรยาต้านไวรัสตัวสำคัญที่ถือครองมาร่วมในระบบร่วมใช้สิทธิในสิทธิบัตรยา (Patent Pool) ชี้ รัฐมีหน้าที่ร่วมกำหนดกติกา ให้ประชาชนประเทศกำลังพัฒนาได้ประโยชน์ 

 

ระบบร่วมใช้สิทธิในสิทธิบัตรยา (Patent Pool) เป็นกลไกที่นำสิทธิบัตรจากผู้ตรงสิทธิที่ต่างกันมาจัดการในที่เดียวเพื่อให้ผู้ผลิตรายอื่นสามารถมาขอใช้สิทธิหรือพัฒนาต่อยอดจากสิทธิบัตรเดิมได้ โดยเจ้าของสิทธิบัตรจะได้รับค่าตอบแทนการใช้สิทธิบัตรนั้นๆ จากผู้ที่ใช้สิทธิ ซึ่งกลไกนี้จะเป็นเครื่องมือเพิ่มนวัตกรรมใหม่ๆ เช่นที่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมดิจิตอล และอุตสาหกรรมการบินเคยทำมาแล้ว     

“เป็นความคิดธรรมดาๆ คือผู้คิดค้น-เจ้าของสิทธิบัตรที่แบ่งปันความรู้ออกมา ก็ได้รับค่าตอบแทนที่ยุติธรรม แต่เมื่อมาสู่ยาต้านไวรัส มันจะเป็นการสร้างทางเลือกในการแก้ปัญหาการเข้าไม่ถึงยา และนวัตกรรมที่หยุดนิ่งอยู่ในขณะนี้” นายพอล คอว์ธอร์น เจ้าหน้าที่รณรงค์เข้าถึงยาจำเป็น ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค ขององค์การหมอไร้พรมแดนกล่าว  

เมื่อเร็วๆนี้ UNITAID ซึ่งเป็นองค์กรระดับพหุภาคีภายใต้องค์การอนามัยโลก (WHO) ที่สนับสนุนเงินทุนในการจัดซื้อยารักษาโรค ได้ริเริ่มจัดตั้งระบบร่วมใช้สิทธิในสิทธิบัตรยาต้านไวรัสเอชไอวี อันจะทำให้ผู้ผลิตยาชื่อสามัญสามารถผลิตยาเอดส์ที่ติดสิทธิบัตรได้ ทั้งยังอาจช่วยให้เกิดการพัฒนาและประยุกต์สูตรยาได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ยาสูตรรวมเม็ดสามขนาน และยาสูตรสำหรับเด็ก แต่ความสำเร็จที่สำคัญอยู่ที่ความร่วมมือของเจ้าของสิทธิบัตรยาสำคัญๆ ที่จะเอาสิทธิบัตรที่ตนถืออยู่มาร่วมในระบบ  

“ระบบนี้เป็นเรื่องของความสมัครใจ บริษัทมีทางเลือก แต่เรากำลังขอร้องให้บริษัทต่างๆเลือกทางเลือกนี้ เพราะเป็นโอกาสดีที่พวกเขาจะได้แสดงเจตนารมย์และความมุ่งมั่นที่จะให้ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศยากจนเข้าถึงยา เราต้องการเป็นการปฏิบัติจริง ไม่ใช่แค่คำพูด” 

องค์การหมอไร้พรมแดน ได้เปิดการรณรงค์ออนไลน์ที่ https://www.

actionformsfaccess.org/

เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกส่งอีเมล์ไปยัง  9 บริษัทยาชั้นนำของโลก (Abbott Laboratories, Boehringer Ingelheim, Bristol-Myers Squibb, Johnson & Johnson, Gilead Sciences, GlaxoSmithKline, Merck & Co, Pfizer และ Sequoia Pharmaceuticals) เรียกร้องให้นำสิทธิบัตรยาต้านไวรัสที่บริษัทเหล่านั้นถือครองอยู่มาร่วมใน Patent Pool โดยในส่วนของประเทศไทยนั้น เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ จะทำหนังสือถึง 9 บริษัทดังกล่าว พร้อมด้วยบริษัทโรช (Roche) ให้นำยา Interferon ซึ่งรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี เข้าร่วมใน Patent Pool และจะมีกิจกรรมเนื่องในวันเอดส์โรคตระเวณตามบริษัทต่างๆสาขาในไทยให้รักษาสัญญาที่จะผลิตยาเพื่อประชาชนให้ความร่วมมือกับ UNITAID เพื่อให้ระบบร่วมใช้สิทธิในสิทธิบัตรเกิดขึ้นได้จริงในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้  

รองศาสตราจารย์  เภสัชกร ดร. วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานคุ้มครองผู้บริโภค คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้กล่าวว่าตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อยุทธศาสตร์การเข้าถึงยาถ้วนหน้าของประชากรไทย เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2552 ในยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนายาใหม่ ได้กล่าวถึงการส่งเสริมทางเลือกใหม่ เช่น ระบบร่วมใช้สิทธิในสิทธิบัตร (Patent Pool) หรือ กองทุนรางวัลการวิจัยยา (Prize Fund) ในการดำเนินการดังกล่าว รัฐอาจเริ่มจากการแสวงหาความร่วมมือระดับภูมิภาคโดยอาจร่วมมือในระดับอาเซียน เพื่อให้รัฐบาลประเทศต่างๆใช้ประโยชน์จากสิทธิบัตรได้เมื่อจำเป็นโดยจัดทำระบบร่วมใช้สิทธิในสิทธิบัตรของยาแพงที่ประชาชนเข้าไม่ถึง โดยให้มีการกำหนดระยะเวลาของการใช้ประโยชน์จากสิทธิบัตรร่วมนานพอ  การให้ค่าตอบแทนการขอใช้สิทธิบัตรตามระดับรายได้ของประเทศที่ขอใช้สิทธิ (royalty fee) โดยควรให้มีผู้ใช้สิทธิจากสิทธิบัตรร่วมได้หลายราย ครอบคลุมรายการยาทั้งโรคติดต่อเและโรคเรื้อรัง  ทั้งนี้การกำหนดระยะเวลาของการใช้ประโยชน์จากสิทธิบัตรร่วมต้องนานพอ  ที่จะพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยีเดิมที่มีอยู่ เพื่อให้บริษัทยาชื่อสามัญจะวิจัยและพัฒนา ผลิต และกระจายยาได้ทัน  

“ทั้งนี้ ระบบ Patent Pool ที่จะเกิดขึ้น จะต้องให้ประเทศกำลังพัฒนาได้ประโยชน์ด้วย เช่นเดียวกับประเทศยากจน เพราะขณะนี้ผู้ติดเชื้อฯและผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆในประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องใช้ยาใหม่ๆมีสัดส่วนที่สูงมาก” 

รายการยาต้านไวรัสสำคัญๆที่บริ

ษัทต่างๆถือครองสิทธิบัตรอยู่

lopinavir, ritonavir (Abbott Laboratories);

nevirapine, tipranavir (Boehringer Ingelheim);

didanosine, atazanavir (Bristol-Myers Squibb); 
lamivudine, abacavir, fosamprenavir, S/GSK1349572 (GlaxoSmithKline); 
tenofovir disoproxil fumarate, emtricitabine, GS-9350, elvitegravir (Gilead Sciences);

efavirenz, raltegravir (Merck);

maraviroc (Pfizer);

SPI-452 (Sequoia);

darunavir, etravirine, rilpivirine (Johnson & Johnson/Tibotec)

Pegylated Interferon (Roche)

………………… 

Make It Happen – Tell drug company bosses to share their patents and get drugs for people living with HIV 
https://www.actionformsfaccess.org/

หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ: