เดินคนละฟาก มติของ WTO ห่างไกลการค้าเป็นธรรม

โดย  กมล กมลตระกูล

<p>แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วกลับได้ในสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าและมีค่า มากกว่า คือ กรอบการเปิดตลาดเสรีสินค้าที่ไม่ใช่เกษตร(NAMA) ดังที่อธิบาย ถึงผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนาที่ตามมาข้างต้น ดังนั้นการยอมจำนนด้านการอุด หนุนการส่งออก จึงเปรียบเสมือน &ldquo;หลุมพราง หรือ กับดัก&rdquo; ที่ล่อให้ ประเทศ กำลังพัฒนาตกหล่มหรือติดกับดั</p>
<p class="rtecenter"><img height="502" border="0" width="391" src="http://www.ftawatch.info/sites/default/files/Lee-Kyung-Hae-WTO11sep03.GIF" alt="" /></p>
<p>เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2547 ที่ผ่านมานี้ ที่ประชุมนอกรอบของสภาองค์การค้าโลกได้มีมติสำคัญออกมาหลายมติที่ดู เหมือนว่าประเทศกำลังพัฒนาที่เศรษฐกิจยังพึ่งพิงผลผลิตการเกษตรจะได้รับ ประโยชน์มากขึ้นจากมติที่ให้ทุกประเทศยกเลิกการอุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตร ภายในกรอบเวลาที่ชัดเจนอีกมติหนึ่งที่อาจจะเรียกว่าเป็นชัยชนะชั่วคราวของ ประเทศกำลังพัฒนา คือ การหยิบเอา <strong>&ldquo;ประเด็นการเจรจาสิงค์โปร์&rdquo; </strong>ออกไปจากการเจรจาของเวทีโดฮาได้ 3 ประเด็น จาก 4 ประเด็น</p>
<p>ประเด็นการเจรจาสิงค์โปร์มี 4 ประเด็นที่สำคัญ คือ การลงทุน การแข่งขัน การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล และการปรับโครงสร้างเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการค้าระหว่างประเทศ มติของสมัชชาประจำเดือนกรกฎาคม ศกนี้ ตกลงให้ยกเอา 3 ประเด็นแรกออกไปจากการเจรจารอบหน้าก่อน เหลือไว้แต่ประเด็นสุดท้ายประเด็นเดียว</p>
<p>รัฐบาลไทยควรจะนำมตินี้มาเป็นข้ออ้างในการไม่บรรจุเป็นวาระการเจรจาการทำ ข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคี(Thai-U.S. FTA) กับสหรัฐอเมริกาที่กำลังเจรจากันอยู่ในขณะนี้ เพราะว่าเป็นประเด็นตีความได้ว่า<strong>เป็นการนำอธิปไตยของชาติไปขึ้นต่อการค้าและบริษัทข้ามชาติ และอาจจะต้องเสียค่าโง่จนประเทศล้มละลายในที่สุด</strong></p>
<p>ในด้านสินค้าเกษตร ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ให้การอุดหนุนการส่งออกในหลายๆรูปแบบที่ทำให้เกิดการ แข่งขันที่ไม่เป็นธรรม และบิดเบือนตลาด เช่น การค้ำประกันราคาสินค้าเกษตรที่ส่งออก การชดเชยเงินส่วนต่างของราคาส่งออกและราคาในประเทศ หรือการรับซื้อหรือ จ่ายเงินล่วงหน้าให้ผู้ส่งออก</p>
<p align="center"><img height="207" border="0" width="284" src="http://www.ftawatch.info/sites/default/files/MonSeptember200412251_pic_4..." alt="" />&nbsp;</p>
<p>นายศุภชัย พานิชภักดิ์ ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การค้าโลกคนปัจจุบันแถลงถึงความสำเร็จที่การประชุม ใหญ่ตัวแทนการค้าในเดือนกรกฎาคมสามารถหาข้อยุติที่เป็นประเด็นหลักในการทำ ให้การประชุมคณะมนตรีที่เมืองแคนคูน ประเทศเมกซิโกล้มเหลว</p>
<p>แต่ในความเป็นจริงมติของที่ประชุมได้ตกลงรับกรอบการเปิดตลาดเสรีสินค้า ที่ไม่ใช่เกษตร( Non Agriculture Market Access-NAMA) ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อประเทศกำลังพัฒนาที่การอุตสาหกรรมเพิ่งอยู่ใน ระยะตั้งไข่</p>
<p>กรอบการเปิดตลาดเสรีสินค้าที่ไม่ใช่เกษตรถูกเสนอเป็นวาระเข้ามาอย่างรีบ เร่งและมัดมือชกจนประเทศกำลังพัฒนาตั้งหลักรับไม่ทันทั้งๆที่มีการทักท้วง กันอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกลุ่มประเทศทวีปอัฟริกา ที่นำโดยไนจีเรีย ซิมบับเว แซมเบีย และแทนซาเนีย แต่ก็ถูกผลักให้ผ่านออกไป</p>
<p>ร่างนี้ได้เสนอเข้ามาเมื่อวันที่ 16 กรกฏาคม แล้วดันให้ผ่านในวันที่ 31 กรกฏาคม 2004 ( 2 อาทิตย์) โดยไม่เปิดโอกาสให้มีการศึกษาและอภิปรายกันอย่างกว้างขวางก่อน</p>
<p>ผู้แทนการเจรจาจากประเทศจาไมก้า ให้สัมภาษณ์ว่า <strong>&ldquo; ที่ประชุมได้ไล่ต้อนเราเข้ามุมให้ยอมรับข้อตกลงที่มีข้อความจำเพาะเจาะจงและ ผูกมัดเราอย่างเป็นทางการ โดยที่เราไม่เห็ด้วยและได้ทักท้วงมาหลายครั้งแล้ว&rdquo;</strong><br />
กรอบการเปิด ตลาดเสรีสินค้าที่ไม่ใช่เกษตร คือ การขีดเส้นตายที่ไม่มียืดหยุ่นในการการลดภาษีศุลกากรขาเข้าของสินค้า อุตสาหกรรมอย่างฉับพลัน เช่น จาก ร้อยละ 40 มาเหลือเพียงร้อยละ 7 เป็นต้น</p>
<p>ในสภาพความเป็นจริง ประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากอาศัยรายได้จากภาษีศุลกากรมาเป็นทุนในการบริหาร พัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ เมื่อรายได้ส่วนนี้ลดลงก็จะมีผลต่อการพัฒนาความอยู่ดีกินดีและคุณภาพชีวิต ของประชาชนอย่างยิ่งยวด<br />
นอกจากนี้ ยังเป็นการกระตุ้นการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยที่นำไปสู่การขาดดุลชำระเงิน อันเป็นสาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจ เกิดปัญหาหนี้ระหว่างประเทศ ต้องกู้เงินต่างประเทศเพิ่ม ต้องตัดงบประมาณการพัฒนาและการศึกษามาจ่ายในสัดส่วนสูง และเกิดปัญหาสังคมตามมา</p>
<p>ในข้อตกลงนี้ ได้บีบให้ประเทศกำลังพัฒนายอมยกเลิกใช้ข้อยืดหยุ่นของข้อตกลงขององค์การค้า โลกที่ยอมให้จัดลำดับสำคัญและเงื่อนไขของเวลาในการเลือกลดภาษีสินค้า อุตสาหกรรมแต่ละประเภท เพื่อไม่ให้กระทบอุตสาหกรรมในประเทศที่กำลังตั้งไข่</p>
<p>มติเดือนกรกฎาคมนี้เรียกร้องให้ลดภาษีศุลกากรขาเข้าของสินค้าอุตสาหกรรม ครอบคลุมร้อยละ 95 ของสินค้าทั้งหมด หลังจากนั้นก็นำเอาอัตราภาษีศุลกากรขาเข้าของสินค้าอุตสาหกรรมที่เหลือร้อย ละ 5( ซึ่งต่ำมากอยู่แล้ว จากเงื่อนไขการปรับโครงสร้างของไอเอ็เอฟ ที่บงการให้ลดภาษีศุลกากรเพื่อแลกกับเงินกู้) มาคูณด้วย 2 เป็นอัตราภาษีใหม่สำหรับสินค้าร้อยละ 95</p>
<p>นอกจากนี้ ยังมีการระบุให้สินค้าอุตสาหกรรม 7 ประเภท ที่ห้ามเก็บภาษีศุลกากรขาเข้าเลย ผลของข้อตกลงนี้จะทำให้อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของประเทศกำลังพัฒนาที่ยังไม่มี ขีดความสามารถในการแข่งขันต้องล้มละลายอย่างสิ้นเชิง และประเทศกำลังพัฒนาต้องกลายเป็นประเทศบริโภคสินค้าสั่งเข้าทุก อย่าง และไม่สารถกำหนดทิศทาง อนาคต และชะตากรรมของชีวิตของประชาชนได้เลย</p>
<p>ประเทศอุตสาหกรรมสามารถกำหนดราคา และปริมาณการส่งสินค้าเข้ามาเพื่อคงจุดกำไรสูงสุดไว้ หรือขู่ว่าจะตัดส่งสินค้าจำเป็นนั้นเข้ามา เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ประเทศและประชาชนก็จะอยู่ไม่ได้</p>
<p>อันที่จริงข้อตกลง NAMA นี้ได้มีการนำเสนอมาก่อนหน้านี้ที่การประชุมคณะมนตรีองค์การค้าโลกที่เมือง แคนคูนเมื่อเดือนกันยายน 2003 เรียกว่า Derbez text แต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับในขณะนั้น มา ณ. วันนี้ กลับฟื้นชีพขึ้นมาอีก</p>
<p>อย่างไรก็ตาม กลุ่มประเทศอัฟริกาได้คัดค้านอย่างหนักจนทำให้การเจรจานอกรอบที่เมืองเจนีวา ครั้งนี้เกือบล่มเหมือนคราวที่ ซีแอตเติ้ล และ แคนคูน แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วยืนกรานไม่ยอม เพียงแต่เปิดช่องให้มีการเจรจาในการทำคำอธิบายตีความที่เรียกว่า Vehicle หรือพาหะในการนำไปปฎิบัติ</p>
<p>โดยสรุปแล้ว การเจรจานอกรอบขององค์การค้าโลกที่เมืองเจนีวาที่จบลงเมื่อคืนวันที่ 31 กรกฏาคม 2004 นี้ การที่ประเทศที่พัฒนาแล้วยอมจำนนในเรื่องการยุติการอุดหนุนการส่งออกสินค้า เกษตรในกรอบเวลาที่แน่นอน แต่ก็คง ข้อความสงวนสินค้าบางตัวที่เรียกว่า <strong>&ldquo;สินค้าที่มีผลกระทบ&rdquo; ( Sensitive products)</strong> ไว้โดยไม่ต้องขึ้นต่อมตินี้</p>
<p>แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วกลับได้ในสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าและมีค่ามากกว่า คือ <strong>กรอบการเปิดตลาดเสรีสินค้าที่ไม่ใช่เกษตร(NAMA)</strong> ดังที่อธิบายถึงผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนาที่ตามมาข้างต้น ดังนั้นการยอมจำนนด้านการอุดหนุนการส่งออก จึงเปรียบเสมือน &ldquo;หลุมพราง หรือ กับดัก&rdquo; ที่ล่อให้ ประเทศกำลังพัฒนาตกหล่มหรือติดกับดัก</p>
<p>รัฐบาล นักการเมือง และข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาจึงต้องมีวิสัยทัศน์มองให้เห็นถึงภัย พิบัติในวันข้างหน้าที่จะตามมา และสร้างแนวร่วมระหว่างประเทศเพื่อสร้างกลยุทธ์ในการเจรจาร่วมกันเพื่อให้ เกิดผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด</p>
หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ: 
เอฟทีเอรายประเทศ: