หุ้นส่วนเศรษฐกิจไทยญี่ปุ่น : ถลำลึกหรือโอกาสในการกลับใจ

โดย  กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน(FTA Watch)

<p>คนไทยจำนวนไม่น้อยอยากที่จะเห็น&nbsp;หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่กล่าวอ้างถึง นี้นำไปสู่ผลที่เป็นรูปธรรมจริงๆ&nbsp;ไม่ใช่เปลี่ยนเพียงชื่อหนีจาก&nbsp; เอฟทีเอ&nbsp;เพื่อลดกระแสการกดดันเท่านั้น&nbsp;&nbsp;ที่สำคัญที่สุดต้อง ไม่ลืมว่าผู้ถือหุ้นในที่นี้มิใช่รัฐบาลและนายทุนใกล้ชิด&nbsp;หากแต่ต้อง เป็นประชาชนคนส่วนใหญ่ของทั้งสองประเทศ</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนกับประเทศญี่ปุ่น หรือที่ใช้ชื่อเป็นทางการว่า ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทยญี่ปุ่น (JTEPA) ถ้ามองในกรณีของสินค้าเกษตรนั้น มีความแตกต่างจากการทำเอฟทีเอกับจีนและออสเตรเลียที่ผ่านมา&nbsp; เนื่องจากแทบจะหาสินค้าเกษตรราคาถูกจากญี่ปุ่นที่จะเข้ามาถล่มตลาดเมืองไทย และสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรไม่ได้เลย ก็ด้วยเหตุที่ต้นทุนการผลิตในญี่ปุ่นมีราคาสูงมาก&nbsp; หลายคนจึงมองเกมการต่อรองเรื่องสินค้าเกษตรในการเจรจาระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ครั้งนี้ว่า ฝ่ายไทยคงจะมีแต่ได้กับได้&nbsp; คำถามมีเพียงว่าญี่ปุ่นจะยอมเปิดตลาดให้เราส่งออกสินค้าเกษตรได้มากขึ้น เพียงไรเท่านั้นเอง&nbsp; ด้วยเหตุนี้ผู้คนที่ติดตามข่าวคราวการทำเอฟทีเอในช่วงที่ผ่านมาจึงพากันมอง ข้ามการเจรจากับญี่ปุ่นเนื่องจากไม่เห็นพิษภัยจากการเปิดเสรีการค้าเกษตรกับ เขา&nbsp; ผมกลับเห็นว่ากรณีของญี่ปุ่นจะเป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมในการสร้างความเข้าใจ ให้กับสังคมและผู้ที่ทำการเจรจาเองว่า&nbsp; แท้ที่จริงแล้วทำไมเกษตรกรรายย่อยจำนวนมากมายในประเทศไทยจึงไม่เห็นด้วยกับ การทำการค้าเสรี ไม่ว่าภายใต้กรอบพหุภาคีขององค์การการค้าโลก หรือทวิภาคีที่รัฐบาลกำลังให้ความสำคัญอยู่ขณะนี้&nbsp; จนต้องพากันออกมาเดินขบวนประท้วงนับครั้งไม่ถ้วน&nbsp;&nbsp; แน่นอนครับในด้านหนึ่งคงไม่มีเกษตรกรคนใดต้องการเห็นตลาดภายในประเทศของตน ถูกแย่งชิงไปโดยสินค้าราคาถูกกว่าจากต่างประเทศ&nbsp; แต่อีกด้านที่คนจำนวนมากยังไม่เข้าใจก็คือ ทำไมเกษตรกรผู้ปลูกสินค้าที่มีโอกาสในการส่งออกได้มากขึ้นซึ่งเป็นส่วนที่ มากกว่า ก็คัดค้าน เอฟทีเอ ด้วยเหมือนกัน&nbsp;</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; คำตอบต่อคำถามนี้สามารถรู้ได้ไม่ยาก หากเราพิจารณาความเข้าใจโดยทั่วไปของนักนโยบาย&nbsp;&nbsp;กระบวนทัศน์ทางการค้าสินค้า เกษตรระหว่างประเทศของไทยเริ่มต้นจากความเข้าใจที่ว่าโดยทั่วไปแล้ว เรามีความสามารถในการพลิตสินค้าเกษตรที่สูงกว่าคนอื่นเขา เป็นผลให้พืชผลของไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง&nbsp; ผู้เจรจาการค้าของไทยจึงมุ่งที่จะเปิดตลาดสินค้าเกษตรในต่างประเทศเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการลดภาษี&nbsp; การลดการอุดหนุน&nbsp; และยกเลิกมาตรการกีดกันต่าง ๆ&nbsp; ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเป้าหมายที่จะทำให้ประเทศไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้น&nbsp; น่าเสียดายที่นับวันเป้าหมายสูงสุดทางการค้าระหว่างประเทศจะหยุดลงเพียงเท่า นี้ (ส่งออกให้ได้มากที่สุด) แล้วปล่อยให้เป้าหมายที่แท้จริงซึ่งก็คือชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของ ประชาชนเป็นเพียงผลพลอยได้จากสิ่งที่เรียกว่า <strong>&ldquo;Trickle down effect&rdquo;</strong> หรือ <strong>&lsquo;การกระจายผลประโยชน์จากบนลงล่างผ่านทางกลไกตลาด&rsquo;</strong> เป็นหลัก&nbsp;&nbsp; การลัดวงจรทางเศรษฐกิจโดยสรุปเอาเองว่า ส่งออกสินค้าได้มากขึ้นแล้ว ชีวิตเกษตรกรจะดีขึ้น&nbsp; โดยขาดการพิสูจน์อย่างเป็นระบบ เป็นการก้าวพลาดทางนโยบายที่สำคัญยิ่ง&nbsp;</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ต่อประเด็นนี้ การส่งออกข้าวของไทยเป็นกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจ ตลอดช่วงสิบปีที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกข้าวโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปีที่ผ่านมาเราก็ส่งออกในปริมาณสูงสุดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก&nbsp; แต่สิบปีที่ผ่านมารายได้ที่แท้จริงเฉลี่ยจากการขายข้าวของชาวนาไทยไม่ได้ เพิ่มขึ้นเลย&nbsp; ชาวนาได้รับส่วนแบ่งเพียงไม่ถึงหนึ่งในสี่ของมูลค่าการส่งออก แล้วหากปีไหนราคาในการส่งออกเพิ่มขึ้น ส่วนแบ่งของชาวนากลับหดน้อยลงไป&nbsp; ผู้ที่กำลังผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลก และสร้างชาติให้เป็นครัวของโลกตามแนวความฝันของผู้นำประเทศ กลับพบว่า ลูกที่บ้านยังขาดสารอาหาร และหนี้สินของครัวเรือนก็เพิ่มขึ้นทุกวัน สำหรับเขาเหล่านี้ การค้าเสรีไม่เคยหมายถึงชีวิตที่ดีกว่า แน่นอนว่าความเป็นจริงในแต่ละรายสินค้า อาจมีความแตกต่างกันออกไป&nbsp; ภายใต้บางเงื่อนไข การส่งออกอาจช่วยเกษตรกรได้ แต่ปัญหาก็คือว่า ไม่เคยมีความพยายามที่จะศึกษาอย่างจริงจังกับพืชหลากหลายชนิด ในการชี้ถึงประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การผลิตและการค้าสินค้าเกษตรของไทย</p>
<p align="center"><img height="280" border="0" width="280" src="http://www.ftawatch.info/sites/default/files/FriJanuary2005104141_show_2..." alt="" /></p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เพราะฉะนั้น ในเรื่องของสินค้าเกษตร ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเอฟทีเอไม่เพียงเพราะเขาห่วงว่าสินค้าจากต่างประเทศจะ เข้ามาทำร้ายผู้ผลิต แต่รวมถึงว่าการส่งออกที่อ้างว่าจะเพิ่มขึ้นก็จะไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจะ อำนวยผลประโยชน์อย่างยั่งยืนให้กับเกษตรกรส่วนใหญ่ และเกษตรกรส่วนใหญ่ที่กล่าวถึงนี้มิได้จำกัดเฉพาะชนชาติไทย&nbsp; หากหมายรวมถึงชนหลากหลายเผ่าพันธุ์ที่ร่วมอาชีพและชะตากรรมเดียวกัน&nbsp; เนื่องจากขณะที่เกษตรกรไทยไม่ได้รับประโยชน์อย่างยุติธรรมจากการส่งออก สินค้าที่ตนผลิตขึ้นมากับมือ สินค้าเหล่านั้นถูกเทขายในตลาดต่างประเทศจนหลายครั้งส่งผลให้เพื่อนเกษตรกร ในประเทศอื่นๆ เดือดร้อน</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากความเข้าใจข้างต้นที่กล่าวมานี้&nbsp; ขออนุญาตเสนอมุมมอง (จากผู้ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นหนึ่งในพวกคลั่งชาติแบบบุพกาล) ต่อท่าทีของไทยอย่างตรงไปตรงมาดังนี้</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ หรือความร่วมมือทางเศรษฐกิจใด ๆ ไม่จำเป็นต้องยืนอยู่บนพื้นฐานการเปิดเสรีอย่างสุดขั้วเสมอไป เราควรจะเป็นเพื่อนกันได้ ขณะเดียวกันกับที่เราต่างปกป้องประชาชนของตนเอง&nbsp; ญี่ปุ่นมีความชอบธรรมทุกประการในการปกป้องเกษตรกรของตนตราบใดที่มาตรการต่าง ๆ ที่ใช้ไม่ส่งผลกระทบด้านลบต่อภาคการเกษตรในประเทศอื่น ๆ&nbsp; ในกรณีนี้ ญี่ปุ่นควรจะพิสูจน์ให้เราเห็นอย่างจริงใจว่าสินค้าตัวใดมีความอ่อนไหว หากเปิดตลาดให้ไทยแล้วเกษตรกรของเขาจะเดือดร้อนอย่างไร ถ้าเขาพิสูจน์ได้ชัดเราก็ควรให้เกียรติ ในเมื่อให้เกียรติกันแล้ว สินค้าส่วนที่เหลือที่ญี่ปุ่นต้องนำเข้าอยู่แล้ว ควรจะต้องให้ความเป็นธรรมกับสินค้าไทย กล่าวคือ สินค้าเกษตรจากไทยสมควรได้รับการปฏิบัติไม่ด้อยไปกว่าสินค้าเกษตรจากประเทศ อื่นๆ นอกจากนี้ มาตรการปกป้องตลาดของแต่ละประเทศไม่ควรเป็นมาตรการที่สร้างต้นทุนอันไม่จำ เป็นกับผู้ผลิตในอีกประเทศหนึ่ง เช่น <u><strong>มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (Non Tariff Measures) ที่ไม่มีมาตรฐานชัดเจน&nbsp; มาตรการสุขอนามัยพืชและสัตว์ (Sanitary and Phytosanitary Measures) ที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์&nbsp; การใช้มาตรการสุขอนามัยฯนี้ ควรดำเนินไปเพื่อปกป้องผู้บริโภคไม่ใช่ผู้ผลิต&nbsp; กล่าวคือขณะที่ญี่ปุ่นสามารถปกป้องผู้ผลิตของตนก็ต้องไม่สร้างภาระให้กับ เกษตรกรไทยที่มีสินค้าขายอยู่ในตลาดญี่ปุ่น</strong></u></p>
<p>&nbsp;</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ยิ่งไปกว่านั้น เราน่าที่จะชักชวนญี่ปุ่นให้หันมาสร้างการค้า (Trade Creation) ที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น การค้าผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดสารเคมี&nbsp; การผลิตที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การผลิตตามแนวพระราชดำริเกษตรพอเพียง และที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือการค้าที่เป็นธรรม (Fair Trade) ซึ่งคำนึงถึงผลประโยชน์ที่สมดุลกันระหว่างผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้บริโภค การสร้างความร่วมมือกับญี่ปุ่นในลักษณะนี้ จะเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะปฏิรูปภาคการเกษตรไปสู่ความก้าวหน้าโดยเปลี่ยนจาก การเน้นด้านปริมาณ มาเป็นคุณภาพ (ทั้งคุณภาพสินค้า และคุณภาพชีวิตของผู้ผลิต) รวมไปถึงความคิดริเริ่มใหม่ๆ เช่น ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและญี่ปุ่นในการทำความเข้าใจและส่งเสริมระบบ เงินตราชุมชน (Community Currency Systems) ที่มีใช้กันแพร่หลายในญี่ปุ่นและเริ่มเกิดขึ้นแล้วในพื้นที่ชนบทของไทย&nbsp; โดยการศึกษาองค์ความรู้จากญี่ปุ่น และต่อเชื่อมชุมชนเหล่านี้ เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายการแลกเปลี่ยนผลผลิตต่อไปในอนาคต&nbsp; ทางญี่ปุ่นควรจะให้สิทธิพิเศษกับสินค้าจากไทยที่ผลิตบนพื้นฐานเกษตรก้าวหน้า เหล่านี้ เพราะนอกจากจะไม่กระทบเกษตรกรญี่ปุ่น (เนื่องจากเราส่งออกในส่วนที่เขาไม่ผลิตหรือผลิตไม่พอความต้องการ) กลับจะทำให้ผู้บริโภคญี่ปุ่นได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย และเกษตรกรไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น&nbsp; เช่นเดียวกันเราก็ต้องพิสูจน์ให้ญี่ปุ่นและคนไทยเห็นว่าการส่งออกในส่วนนี้ จะสามารถช่วยเกษตรกรรายย่อยไทยได้จริง มิใช่เป็นเพียงคำกล่าวอ้างเพียงเพื่อเจาะตลาดเขา&nbsp;&nbsp; การปฏิรูประบบการผลิดอาหารไปสู่เกษตรก้าวหน้าในลักษณะนี้ต้องอาศัยความจริง จังจากรัฐบาลไทยเองในการที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรรายย่อย สนับสนุนการผลิตที่มีประสิทธิภาพแต่ปลอดภัย และช่วยอำนวยให้เกิดความพร้อมด้านการจัดการด้วยตัวเกษตรกรเอง</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในกรณีญี่ปุ่น การจะพิจารณาประเด็นเกษตรโดยแยกออกจากภาคเศรษฐกิจอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการลงทุนคงจะเป็นไปไม่ได้ เพราะขณะที่ญี่ปุ่นยืนยันที่จะปกป้องภาคเกษตรของตน กลับกดดันไทยให้เปิดเสรีด้านการลงทุน โดยอ้างถึงสิทธิพิเศษที่ประเทศไทยให้กับนักลงทุนอเมริกันภายใต้สนธิสัญญา ไมตรีฯ (Treaty of Amity)&nbsp;&nbsp;&nbsp; เรื่องการลงทุนเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ควรต้องมีการหารือหลายฝ่ายซึ่งรวมถึงกลุ่มสหภาพผู้ใช้แรงงาน อย่างไรก็ตามขอนำเสนอในบางจุดสั้นๆ เพื่อเป็นข้อพิจารณาต่อไป</p>
<p>&nbsp;</p>
<table cellspacing="5" cellpadding="0" border="0" width="100%">
<tbody>
<tr>
<td valign="top" class="blank">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การเจรจากับญี่ปุ่นน่าจะเป็นโอกาสที่ดีอีกเช่นกันที่ประเทศไทยจะทบทวนและจัด วางนโยบายด้านการลงทุนใหม่ให้ชัดเจน&nbsp; เราไม่ควรพิจารณาเรื่องการลงทุนนี้ภายใต้ข้อจำกัดที่ว่า จะให้สิทธิพิเศษกับนักลงทุนญี่ปุ่นเยี่ยงอเมริกันหรือไม่&nbsp; แต่ควรมองทั้งระบบว่าสิทธิพิเศษของสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคสงครามเย็นนั้น มีความเหมาะสมในยุคปัจจุบันมากน้อยเพียงไร&nbsp; การตัดสินใจในประเด็นนี้ควรอยู่บนพื้นฐานการศึกษาวิจัยถึงผลได้ผลเสียที่ ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน&nbsp; หากเกรงว่าถ้ายุติสนธิสัญญาไมตรีกับสหรัฐฯแล้ว ผู้ลงทุนสหรัฐฯ จะถอนการลงทุนออกไป ในกรณีนี้รัฐบาลไทยก็สามารถยืนยันการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ผ่านทางกลไกคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ บีโอไอ ได้อยู่แล้ว&nbsp; อย่าว่าแต่สิทธิต่างๆ ที่นักลงทุนสหรัฐฯเคยมีเลยครับ การลงทุนที่มีคุณภาพและก่อเกิดประโยชน์กับประเทศชาติ ฝ่ายไทยจะให้ประโยชน์เขามากยิ่งขึ้นไปอีกก็ยังได้&nbsp; การที่นักลงทุนต่างชาติจะทำสัญญากับรัฐผ่านทางช่องทางต่างๆ ก็น่าจะมีความเป็นไปได้เช่นกัน เช่น รัฐยืนยันถึงสิทธิประโยชน์ที่นักลงทุนที่ดีจะได้รับเป็นระยะเวลากี่ปีตามแต่ จะกำหนด&nbsp; หากมีการผิดสัญญาก็สามารถฟ้องร้องได้ตามกรอบพันธกรณีที่ไทยมีอยู่แล้วภายใต้ องค์การสหประชาชาติ&nbsp; ซึ่งผู้ลงทุนญี่ปุ่นก็สมควรได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกัน ก็คือมีการให้สิทธิผ่านทางกลไกของรัฐบาลที่มีอยู่แล้วอย่างโปร่งใส แต่ถ้าการลงทุนไหนไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงก็งดสิทธินั้นไป เช่นนี้แล้วเขาก็ไม่สามารถอ้างสนธิสัญญาไมตรีฯ ในการกดดันให้ไทยเปิดเสรีการลงทุนได้อีกต่อไป ขณะที่ประเทศไทยเองกลับเพิ่มความยืดหยุ่นทางนโยบายในการดึงดูดการลงทุนที่มี คุณภาพได้</td>
<td valign="top" class="blank"><img height="186" border="0" width="280" src="http://www.ftawatch.info/sites/default/files/FriJanuary2005105249_show_2..." alt="" /></td>
</tr>
</tbody>
</table>
<p>&nbsp;</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จริงอยู่ว่าการเจรจากับญี่ปุ่นไม่ได้จำกัดวงอยู่แค่เรื่องการเกษตรและการลง ทุน&nbsp;&nbsp; เพียงแต่สองประเด็นที่ดูเหมือนว่าจะสำคัญที่สุดนี้สามารถชี้ให้เห็นว่าความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจไม่จำเป็นเลยที่จะต้องถูกจำกัดอยู่ภายใต้วังวนของการเปิด เสรีทางการค้า&nbsp;&nbsp; ผมเข้าใจว่า คนไทยจำนวนไม่น้อยอยากที่จะเห็น หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่กล่าวอ้างถึงนี้นำไปสู่ผลที่เป็นรูปธรรมจริงๆ ไม่ใช่เปลี่ยนเพียงชื่อหนีจาก เอฟทีเอ เพื่อลดกระแสการกดดันเท่านั้น&nbsp; ที่สำคัญที่สุดต้องไม่ลืมว่าผู้ถือหุ้นในที่นี้มิใช่รัฐบาลและนายทุนใกล้ชิด หากแต่ต้องเป็นประชาชนคนส่วนใหญ่ของทั้งสองประเทศ</p>
หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ: 
เอฟทีเอรายประเทศ: