12 Mar 2005
บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์,นันทน อินทนนท์,สมชาย รัตนชื่อสกุล,เจษฎ์ โทณะวณิก

<p>ผลกระทบต่อสุขภาพจากการเจรจาแบบทวิภาคีจัดตั้งเขตการค้าเสรีในบทความชิ้น นี้ มุ่งเน้นการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการขยายความคุ้มครองทรัพย์สินทาง ปัญญา ทั้งในเรื่องการคุ้มครองสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิต และการคุ้มครองพันธุ์พืช โดยใช้เนื้อหาการความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างสหรัฐอเมริกาและ สิงคโปร์เป็นกรอบในการศึกษา</p>
<p> </p>
<p><b><u>1. การคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในประเทศไทย</u></b></p>
<p>ความเปลี่ยนแปลงของกติกาความตกลงระหว่างประเทศด้านทรัพยากรชีวภาพและ ทรัพย์สินทางปัญญาในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ประกอบกับปัญหาการฉกฉวยแย่งชิงทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ทำให้เกิดความตื่นตัวของประเทศไทยและกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในการพัฒนาระบบ กลไกในการปกป้องคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยว ข้องอย่างค่อนข้างมาก สำหรับประเทศไทยได้มีการพัฒนาจัดทำกฎหมายขึ้นใหม่หลายฉบับ กฎหมายที่สำคัญและมีความเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพ (เน้นด้านพันธุ์พืช สมุนไพร) และภูมิปัญญาด้านการแพทย์ของไทย คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 และ พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542</p>
<p> </p>
<p>1.1) พ.ร.บ. คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542</p>
<p>กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์ แผนไทยเป็นการเฉพาะ และพยายามที่จะแก้ไขปัญหาการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสมุนไพรและภูมิปัญญา ท้องถิ่นอย่างไม่เป็นธรรม ที่เรียกกันว่า “โจรสลัดชีวภาพ”</p>
<p>ขอบเขตของกฎหมายนี้จะให้การคุ้มครองทั้งในส่วนที่เป็น “ภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย” และในส่วนที่เป็นสมุนไพร</p>
<p>ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยตามกฎหมายนี้ ได้มีการจำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ</p>
<p>(1) ตำรับยาแผนไทยหรือตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ (2) ตำรับยาแผนไทยทั่วไปหรือตำราการแพทย์แผนไทยทั่วไป และ (3) ตำรับยาแผนไทยส่วนบุคคลหรือตำราการแพทย์แผนไทยส่วนบุคคล</p>
<p>การกำกับดูแลคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแต่ละประเภทมีหลักเกณฑ์ที่ แตกต่างไป การนำเอาตำรับยาแผนไทยของชาติไปใช้ประโยชน์ในทางการค้าต้องขออนุญาต มีการตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ และมีเงื่อนไขจำกัดสิทธิ วิธีการและเงื่อนไขจะเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง</p>
<p>สำหรับการคุ้มครองและส่งเสริมตำรับยาหรือตำราการแพทย์แผนไทยส่วนบุคคล ใช้ระบบให้มีการจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ผู้มีสิทธิจดทะเบียนได้แก่ ผู้คิดค้น ผู้ปรับปรุง หรือผู้สืบทอดตำรับยาแผนไทยหรือตำราการแพทย์แผนไทย (ม.21) ผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนจะมีสิทธิในการผลิตยา และมีสิทธิในการใช้ ศึกษาวิจัย จำหน่าย ปรับปรุงหรือพัฒนาตำรับยาแผนไทยหรือภูมิปัญญาในตำราการแพทย์แผนไทยที่ได้จด ทะเบียนไว้ ทั้งนี้มีข้อยกเว้นสำหรับการศึกษา ค้นคว้าทดลองหรือวิจัยตามที่กฎหมายกำหนด การเตรียมยาเฉพาะรายตามใบสั่งแพทย์ หรือการผลิตยาเพื่อยังชีพแบบพื้นบ้านหรือใช้ประโยชน์ในการรักษาพยาบาลใน หน่วยงานของรัฐ ( ม.34)</p>
<p>ในส่วนการคุ้มครองสมุนไพร ได้จำแนกสมุนไพรออกเป็น 3 กลุ่ม คือ สมุนไพรที่มีค่าต่อการศึกษาวิจัย สมุนไพรที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และสมุนไพรที่ใกล้จะสูญพันธุ์ โดยมีการควบคุมและใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเภท ทั้งนี้สมุนไพรไม่ได้มีความหมายเฉพาะพืชเท่านั้น แต่มีความหมายรวมถึง สัตว์ จุลชีพ ธาตุวัตถุ สารสกัดดั้งเดิมจากพืชหรือสัตว์ด้วย การควบคุมการเข้าถึงสมุนไพรตามกฎหมายนี้มี 2 วิธี คือ การประกาศเป็น “สมุนไพรควบคุม” หรือ การประกาศเป็น “เขตพื้นที่คุ้มครองสมุนไพร”</p>
<p>จนถึงปัจจุบัน ยังไม่ได้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างแท้จริงในทางปฏิบัติเนื่องจากอยู่ใน ระหว่างการจัดทำกฎหมายลำดับรอง ได้แก่ กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ระเบียบกระทรวง และระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ซึ่งได้มีการยกร่างจัดทำกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องไปหลายเรื่องแล้ว แต่อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณา ดังนั้นในขณะนี้จึงยังไม่อาจวิเคราะห์ประเมินประสิทธิผลของกฎหมายฉบับนี้ได้ ว่า จะสามารถป้องกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้มากน้อยเพียงใด</p>
<p> </p>
<p>1.2) พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542</p>
<p>สมุนไพรเป็นส่วนประกอบสำคัญของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เนื่องจากสมุนไพรอยู่ในกลุ่มของพันธุ์พืช พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 จึงเป็นกฎหมายที่สำคัญของไทยอีกฉบับหนึ่งที่จะมีผลต่อการกำกับดูแลการเข้า ถึงและใช้ประโยชน์จากสมุนไพร เป็นกฎหมายที่จัดทำขึ้นในช่วงเวลาและสถานการณ์เดียวกันกับกฎหมายแพทย์แผนไทย</p>
<p>ตามกฎหมายนี้ได้จำแนกพันธุ์พืชออกเป็น 4 ประเภท คือ พันธุ์พืชป่า พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น และพันธุ์พืชใหม่ การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชแต่ละประเภทจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย</p>
<p>กรณีสมุนไพร โดยส่วนใหญ่จัดอยู่ในประเภทพันธุ์พืชป่า และพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป ทั้งนี้ อาจมีบางส่วนที่จัดอยู่เป็นพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น และพันธุ์พืชใหม่ด้วย</p>
<p>การดูแลคุ้มครองสมุนไพรตามกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชโดยส่วนใหญ่จะอยู่ภาย ใต้กฎเกณฑ์ของการคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่า เนื่องจากลักษณะการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรของไทย เป็นการใช้ประโยชน์จากส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชมาสกัดทำยาหรือใช้เป็นส่วนผสมใน ตำรับยาแผนไทย โดยที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์เป็นส่วนขยายพันธุ์</p>
<p>เงื่อนไขการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์ พืชป่า คือ การเก็บ จัดหา หรือรวบรวมพันธุ์พืชหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ ศึกษาทดลอง หรือวิจัยเพื่อประโยชน์ในทางการค้า จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ โดยให้นำเงินรายได้ตามข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ส่งเข้ากองทุนคุ้มครองพันธุ์ พืช (ม. 52) หรือถ้าเป็นการเข้าถึงที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในทางการค้า จะต้องปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชกำหนดขึ้น ( ม. 53 )</p>
<p>การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรที่จะอยู่ภายใต้ขอบเขตการบังคับของกฎหมายฉบับ นี้ คือ การเก็บหรือใช้สมุนไพรในลักษณะการศึกษา ทดลองวิจัย โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อประโยชน์ในทางการค้า ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ ตามมาตรา 52 ถ้ามิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในทางการค้า ก็จะต้องปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชกำหนด สำหรับการเก็บหรือใช้สมุนไพรของชุมชนเพื่อนำไปสกัดทำยา หรือใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนไทยของชุมชนตามกรรมวิธีดั้งเดิม มิได้อยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายฉบับนี้ </p>
<p>จะเห็นได้ว่าตามกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชนี้ สมุนไพรจะได้รับการคุ้มครองดูแลทั้งในแง่การเข้าถึง การใช้ประโยชน์ และการแบ่งปันผลประโยชน์ มีการกำกับดูแลให้การเข้าถึงสมุนไพรไม่เป็นไปโดยขาดการควบคุมดังเช่นในอดีต โดยเฉพาะสมุนไพรที่อยู่นอกเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ประเภทต่างๆ และพยายามแก้ไขปัญหาเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้สมุนไพรอย่างไม่ เป็นธรรมด้วย</p>
<p> </p>
<p><b><u>2. ความเคลื่อนไหวในระดับสากล และการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีแบบทวิภาคี</u></b></p>
<p> </p>
<p>การจัดทำกฎระเบียบระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพและ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ กำลังมีการเจรจาจัดทำกันในหลายเวที ที่สำคัญคือภายใต้เวทีองค์การการค้าโลก องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก และภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ต่อมาภายหลังการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 5 ณ เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก ในเดือนกันยายน 2546 ทิศทางการเจรจาได้มุ่งสู่การเจรจาในรูปแบบทวิภาคีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แนวโน้มและทิศทางการคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในอนาคตขึ้น อยู่กับผลจากการเจรจาในเวทีต่างๆ เหล่านี้</p>
<p> </p>
<p>2.1) อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ</p>
<p>อนุสัญญาฯ ได้บัญญัติให้มีการเคารพ ปกปักษ์ และรักษาองค์ความรู้ของชุมชนท้องถิ่นและชุมชนพื้นเมืองที่เกี่ยวกับการใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ไว้ในมาตรา 8 (j) แต่เนื่องจากข้อกำหนดดังกล่าว เป็นเพียงหลักการกว้างๆ ที่ให้ประเทศภาคีสมาชิกรับไปปฏิบัติ ภาคีสมาชิกของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพจึงได้พยายามที่จะผลัก ดันการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดผลอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น ในการประชุมภาคีสมาชิกครั้งที่ 4 ในปี 2541 ได้มีมติที่ IV/9 ให้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยข้อ 8 (j) และข้อบัญญัติที่เกี่ยวข้อง คณะทำงานได้มีการประชุมไปแล้ว 3 ครั้ง ผลสำเร็จของการดำเนินงานที่สำคัญคือ การพัฒนาแนวทางการประเมินผลกระทบทางสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากการพัฒนาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่ชุมชนพื้นเมืองหรือชุมชนท้อง ถิ่นได้ใช้ประโยชน์หรือครอบครองอยู่ นอกจากนี้ คณะทำงานฯ ได้มีข้อเสนอให้พัฒนาระบบกฎหมายเฉพาะ (<i>sui generic</i> system ) เพื่อการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นในระดับนานาชาติ ข้อเสนอนี้ได้รับการรับรองโดยมติของการประชุมภาคีสมาชิกของอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 7 ในปี 2547 ในขั้นต่อไปคณะทำงานจะได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับเนื้อหาสำคัญของระบบกฎหมาย เฉพาะนี้</p>
<p>นอกจากนี้ จากผลการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ครั้งที่ 7 ณ ประเทศมาเลเซียในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ที่ผ่านมา ได้มีมติให้มีคณะทำงานด้านการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ได้ศึกษาในประเด็น “กรอบข้อบังคับระหว่างประเทศด้านการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์” ( International Regime on Access to Genetic Resources and Benefit - Sharing) ซึ่งมีประเด็นสำคัญครอบคลุมถึงเรื่องการคุ้มครองสิทธิของชุมชนในด้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและจารีตประเพณี เงื่อนไขและวิธีการเข้าถึงพันธุกรรม การเปิดเผยข้อมูลในการขอรับสิทธิบัตร ฯลฯ และให้มีการประสานร่วมมือกับคณะทำงานของข้อ 8(j) ด้วย กรอบข้อบังคับระหว่างประเทศฯ ดังกล่าวยังไม่เป็นที่ยุติว่าจะมีสถานะผูกพันตามกฎหมายหรือไม่ จะต้องมีการเจรจาในประเด็นนี้ต่อไป</p>
<p> </p>
<p>2.2) ข้อตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (ทริปส์ )</p>
<p>เนื้อหาของข้อตกลงทริปส์ที่เกี่ยวโยงกับการคุ้มครองพันธุ์พืชและ ภูมิปัญญาด้านการแพทย์ท้องถิ่น คือ เงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในข้อ 27 เรื่องสิ่งที่ได้รับสิทธิบัตร ตามบทบัญญัติดังกล่าว ประเทศสมาชิกจะต้องให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรแก่การประดิษฐ์ในทุกสาขา เทคโนโลยี โดยมีข้อยกเว้นในข้อ 27.3(b) ว่า ประเทศสมาชิกอาจไม่คุ้มครองพืชและสัตว์ภายใต้ระบบสิทธิบัตร แต่ต้องให้การคุ้มครองแก่ <b>“พันธุ์พืช” </b>โดยอาจใช้กฎหมายสิทธิบัตร หรือระบบกฎหมายเฉพาะที่มีประสิทธิภาพ หรือโดยวิธีการคุ้มครองทั้งสองระบบร่วมกัน</p>
<p>การใช้พันธุ์พืชสมุนไพรเป็นส่วนสำคัญในภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน การที่ข้อตกลง ทริปส์ให้ประเทศสมาชิกเลือกใช้ระบบกฎหมายเฉพาะ (<i>sui generic</i> system) มาคุ้มครองพันธุ์พืชได้ ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ซึ่งพึ่งพาภาคเกษตรกรรมจึงสามารถบัญญัติกฎหมายคุ้ม ครองพันธุ์พืชที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจสังคม และขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีของประเทศ มีการปรับเงื่อนไขและสิทธิการคุ้มครองให้เหมาะสมไม่เข้มงวดจนกลายเป็นปัญหา กระทบต่อเกษตรกร รวมถึงให้การคุ้มครองสิทธิเกษตรกรและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ โดยไม่ขัดกับหลักการของข้อตกลงทริปส์</p>
<p>ภายใต้ข้อกำหนดตามข้อ 27.3 (b) นี้ได้มีข้อกำหนดด้วยว่าให้มีการทบทวนเนื้อหาของข้อ 27.3 (b) ภายหลัง 4 ปีของการบังคับใช้ความตกลงซึ่งก็คือ นับตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา ในการเจรจาทบทวนเนื้อหาความตกลง ประเทศอุตสาหกรรมโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาได้ผลักดันให้มีการแก้ไขข้อบัญญัติดัง กล่าว โดยให้ตัดทางเลือกในการใช้ระบบกฎหมายเฉพาะออกไป ต้องการให้ใช้ระบบสิทธิบัตรเพียงอย่างเดียวและขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรไป ยังสิ่งมีชีวิตทุกชนิด คือ พืช สัตว์ จุลินทรีย์ ถ้าผลของการเจรจาเป็นไปในทิศทางที่สหรัฐอเมริกาได้พยายามผลักดันอยู่ จะสร้างผลกระทบอย่างมากต่อประเทศกำลังพัฒนา เพราะเป็นการตัดสิทธิของประเทศสมาชิกในการเลือกกำหนดระบบกฎหมายที่เหมาะสม เพื่อการคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ประเทศกำลังพัฒนาได้ร่วมกันยื่นข้อเสนอให้มีการเพิ่มเติมเงื่อนไขการขอรับ สิทธิบัตรให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น หลักการที่สำคัญคือ ให้มีการแจ้งเปิดเผยที่มาของทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ เกี่ยวข้องกับสิ่งประดิษฐ์ที่ยื่นขอรับสิทธิบัตร ข้อเสนอดังกล่าวถูกคัดค้านอย่างมากจากสหรัฐอเมริกา</p>
<p> </p>
<p>2.3) การจัดทำเขตการค้าเสรีแบบทวิภาคี</p>
<p>รัฐบาลไทยในปัจจุบันให้ความสำคัญแก่การเจรจาการค้าเสรีแบบทวิภาคีมากกว่า พหุภาคี ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาลได้เร่งรัดผลักดันให้มีข้อตกลงแบบทวิภาคีจัด ตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Area) กับประเทศต่างๆ กว่าสิบประเทศ หัวข้อการเจรจาเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหัวข้อการเจรจาที่ สำคัญอย่างยิ่งเรื่องหนึ่งภายใต้การเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีแบบทวิภาคีของ ประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเจรจากับสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้เริ่มมีการเจรจาครั้งแรกกันไปแล้ว ณ มลรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2547</p>
<p>การขยายขอบเขตและความเข้มงวดในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นข้อเรียก ร้องที่สำคัญของสหรัฐ การจัดทำความตกลงทวิภาคีของสหรัฐกับประเทศต่างๆ ที่ผ่านมา เช่น สิงคโปร์ ชิลี โมรอคโค ฯลฯ ได้มีข้อตกลงเพื่อยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในระดับที่เข้มงวดและ กว้างขวางขึ้นทั้งสิ้น ในลักษณะที่เรียกได้ว่าเป็น “TRIPs Plus” คือเพิ่มระดับการคุ้มครองที่มากไปกว่าหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดเป็นมาตรฐานไว้ใน ข้อตกลงทริปส์</p>
<p>เป็นที่สังเกตว่า ในการเจรจาข้อตกลงทริปส์และการเจรจาการค้าพหุพาคีรอบโดฮาที่กำลังดำเนินอยู่ นั้น ไม่ได้มีเนื้อหาและทิศทางการเจรจาที่เป็นไปตามความต้องการของสหรัฐมากนัก สหรัฐจึงต้องหันมาทำการเจรจาการค้าไม่ว่าจะเป็นความตกลงการค้าระดับภูมิภาค (Regional Trade Agreement) และในระดับทวิภาคี (Bilateral Agreement) โดยมีประเด็นด้านทรัพย์สินทางปัญญาเป็นประเด็นหลักในข้อตกลงเหล่านี้ ในกฎหมายการค้าของสหรัฐ (Trade Promotion Authority Bill, 2002) ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำกับกรอบเนื้อหาและขั้นตอนการเจรจาเขตการค้าเสรีของสหรัฐ ได้กำหนดเป้าหมายของการเจรจาในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาไว้ว่า ต้องให้ผลการเจรจานำไปสู่การยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศ คู่เจรจาให้ทัดเทียมกับกฎหมายภายในของสหรัฐ</p>
<p> </p>
<p><b>3. ผลกระทบจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีต่อพันธุ์พืช สมุนไพร และภูมิปัญญาท้องถิ่น</b></p>
<p> </p>
<p>ผลกระทบจากการจัดทำเขตการค้าเสรีในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาต่อพันธุ์พืช สมุนไพรและภูมิปัญญาการแพทย์ของไทย โดยใช้เนื้อหาความตกลงระหว่างสิงคโปร์กับสหรัฐอเมริกาเป็นกรอบในการวิ เคราะห์ มีดังนี้</p>
<p> </p>
<p>3.1) ผลกระทบต่อการคุ้มครองพันธุ์พืช สมุนไพรและเกษตรกร</p>
<p>ข้อเรียกร้องของสหรัฐในประเด็นการคุ้มครองพันธุ์พืช คือ ต้องการให้ประเทศคู่เจรจาเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (อนุสัญญายูปอฟ-UPOV) และต้องให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรแก่พันธุ์พืชด้วย</p>
<p> เงื่อนไขดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบเกษตรกรรมและการพัฒนาพันธุ์พืช ของประเทศไทย เนื่องจากการคุ้มครองพืชตามระบบสิทธิบัตรและการคุ้มครองพันธุ์พืช ตามอนุสัญญายูปอฟฉบับปัจจุบันล้วนแต่มีระดับการคุ้มครองที่สูงมาก ภายใต้ระบบดังกล่าวนี้ ผู้ทรงสิทธิไม่เพียงแต่มีสิทธิเหนือส่วนขยายพันธุ์พืชเท่านั้น แต่ยังมีสิทธิเหนือดอกผลและผลผลิตต่างๆ ที่ได้มาจากพันธุ์พืชที่ได้รับความคุ้มครองด้วย ซึ่งหลักการเช่นนี้มีความแตกต่างจากกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชของไทยที่ผู้ทรง สิทธิจะมีสิทธิในการห้ามมิให้ผู้อื่นผลิตหรือจำหน่ายส่วนขยายพันธุ์พืชใน เชิงพาณิชย์เท่านั้น</p>
<p>ภายใต้ระบบสิทธิบัตรและอนุสัญญายูปอฟ พันธุ์พืชทุกชนิดที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์สามารถนำมาขอรับสิทธิบัตรหรือขอ จดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชได้ทันที ซึ่งหลักการเช่นนี้มีความแตกต่างจากกฎหมายไทยที่จะให้ความคุ้มครองพันธุ์พืช ใหม่เฉพาะแก่พืชที่รัฐมนตรีประกาศโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการคุ้มครอง พันธุ์พืชเท่านั้น การให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ทุกชนิดจะส่งผลให้ พันธุ์พืชที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยต้องอยู่ภายใต้ระบบสิทธิ บัตรและการคุ้มครองพันธุ์พืชทันที อันอาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศได้</p>
<p>การคุ้มครองพืชตามระบบสิทธิบัตรและพันธุ์พืชตามอนุสัญญายูปอฟยังอาจส่งผล กระทบต่อการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืชที่นักปรับปรุงพันธุ์พืชของ ไทยยังไม่มีศักยภาพเพียงพอในการแข่งขันด้วย ทั้งนี้เพราะภายใต้ระบบสิทธิบัตรนั้น สิทธิตามสิทธิบัตรจะมีขอบเขตที่กว้างขวางมาก หากนักปรับปรุงพันธุ์สามารถพัฒนาพืชชนิดใดขึ้นใหม่ ก็จะทำให้นักปรับปรุงพันธุ์นั้นมีสิทธิผูกขาดเหนือสารพันธุกรรมพืชชนิดนั้น ได้ แม้ระบบสิทธิบัตรโดยทั่วไปจะอนุญาตให้นักปรับปรุงพันธุ์รายอื่นสามารถทำการ ศึกษาวิจัยพืชที่ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรนั้นได้ แต่การนำพันธุ์พืชในสายพันธุ์นั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ก็จะต้องได้ รับความยินยอมผู้ทรงสิทธิก่อนเสมอ ซึ่งจะทำให้นักวิจัยขาดแรงจูงใจในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืชนั้น สำหรับอนุสัญญายูปอฟนั้น แม้จะมีข้อยกเว้นของการศึกษาวิจัยของนักปรับปรุงพันธุ์ (Breeders’ Exemption) ไว้ก็ตาม แต่หากพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์นั้นยังคงมีลักษณะทางพันธุ กรรมที่ไม่แตกต่างไปจากพันธุ์พืชที่ได้รับความคุ้มครองอย่างเด่นชัด การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ของพันธุ์พืชใหม่นั้นก็ยังคงต้องได้รับความยินยอม จากผู้ทรงสิทธิอยู่นั่นเอง</p>
<p>นอกจากนี้ระบบสิทธิบัตรและอนุสัญญายูปอฟยังได้ละเลยสิทธิของเกษตรกร (Farmers’ Rights) โดยระบบสิทธิบัตรไม่ได้มีการกล่าวถึงสิทธิของเกษตรกรไว้แม้แต่น้อย ส่วนอนุสัญญายูปอฟฉบับปี 1991 ก็ได้กำหนดหลักการในเรื่องของสิทธิเกษตรกรไว้อย่างแคบมาก ดังนั้นเมื่อเกษตรกรได้ซื้อส่วนขยายพันธุ์พืชที่ได้รับความคุ้มครองมาแล้ว ก็จะสามารถนำส่วนขยายพันธุ์นั้นไปใช้ในการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไปได้อย่างมี จำกัดเท่านั้น และจะไม่สามารถนำส่วนขยายพันธุ์ดังกล่าวจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนกับเกษตรกรราย อื่นได้เลย ซึ่งจะทำให้เกษตรกรไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ เพราะจะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัทปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่ซึ่งมี อำนาจทางการตลาดสูงตลอดไป</p>
<p>การคุ้มครองพืชตามระบบสิทธิบัตรและพันธุ์พืชตามอนุสัญญายูปอฟยังจะส่งผล กระทบโดยอ้อมต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Biological diversity) และความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ด้วย เพราะการคุ้มครองพืชและพันธุ์พืชด้วยระบบทรัพย์สินทางปัญญาเช่นนี้จะส่ง เสริมให้นักปรับปรุงพันธุ์มุ่งที่จะพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชที่มีคุณค่าในทาง เศรษฐกิจเท่านั้น แต่จะละเลยที่จะอนุรักษ์หรือพัฒนาปรับปรุงพันธุ์สายพันธุ์ของพืชที่ไม่ได้ รับความนิยมในท้องตลาด ซึ่งจะส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดน้อยถอยลงไปตามลำดับ</p>
<p>หากประเทศไทยต้องให้ความคุ้มครองพืชตามระบบสิทธิบัตรก็จะทำให้ประเทศไทย ไม่สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ที่เป็นประโยชน์ในการคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพเช่นที่ บัญญัติไว้ในกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชได้ ไม่ว่าจะเป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้ผู้ขอรับการคุ้มครองต้องพิสูจน์ว่าพันธุ์ พืชที่ขอรับความคุ้มครองมีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศน์ บทบัญญัติที่ให้เปิดเผยแหล่งที่มาของสารพันธุกรรมที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ บทบัญญัติที่ให้พิสูจน์ว่าการเข้าถึงสารพันธุกรรมนั้นเป็นไปโดยชอบ และบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรมแก่เจ้าของสารพันธุ กรรม เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่าหลักการเหล่านี้ต่างไม่ได้มีบัญญัติไว้ทั้งในข้อตกลง ทริปส์ ดังนั้นสหรัฐจึงอาจกล่าวอ้างได้ว่าการกำหนดเงื่อนไขของการได้มาซึ่งสิทธิ บัตรพืชจะเป็นการขัดกับหลักการที่กำหนดไว้ในข้อตกลงทริปส์นั่นเอง</p>
<p>ในทำนองเดียวกัน เมื่อมีการคุ้มครองพันธุ์พืชตามหลักการในอนุสัญญายูปอฟฉบับปี 1991 ก็อาจทำให้ประเทศไทยต้องแก้ไขหรือยกเลิกหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองทรัพยากร ชีวภาพดังกล่าวข้างต้นเช่นกัน เนื่องจากหลักการเหล่านี้เป็นหลักการที่ไม่ได้รับการรับรองไว้โดยชัดแจ้งใน อนุสัญญายูปอฟ การกำหนดเงื่อนไขเหล่านี้ไว้ในกฎหมายจึงอาจจะขัดกับหลักการในอนุสัญญายูปอ ฟอีกเช่นกัน</p>
<p>ข้อตกลงการค้าเสรีที่กำหนดให้ประเทศคู่ค้ากับสหรัฐต้องให้ความคุ้มครอง พืชตามระบบสิทธิบัตรและพันธุ์พืชตามอนุสัญญายูปอฟจะส่งเสริมให้เกิดการกระทำ ที่เรียกว่า “โจรสลัดทางชีวภาพ” (Biopiracy) มากยิ่งขึ้น เพราะบริษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติจะสามารถเข้ามาฉกฉวยและแสวงหาประโยชน์จาก ทรัพยากรพันธุกรรมในประเทศไทยได้โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่เจ้า ของแหล่งพันธุกรรมแต่อย่างใด และบริษัทเมล็ดพันธุ์เหล่านี้จะมีสิทธิผูกขาดเหนือทรัพยากรพันธุกรรมไม่ว่า ทางการตลาดหรือทางกฎหมาย ซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งต่อการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืช ระบบเกษตรกรรม ความมั่นคงในอาหาร ตลอดจนวิถีชีวิตของผู้คนและเกษตรกรในประเทศไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อ ไป</p>
<p> </p>
<p>3. ) ผลกระทบต่อการคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์ของไทย</p>
<p>ผลกระทบที่จะเห็นเด่นชัดจะเป็นในเรื่องของสิทธิบัตรซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 16.7 ของข้อตกลงทวิภาคีระหว่างสหรัฐกับสิงคโปร์ เนื้อหาโดยรวมเป็นการให้ความคุ้มครองแก่การประดิษฐ์ต่าง ๆ ภายใต้ระบบสิทธิบัตรเช่นเดียวกับที่ปรากฏในข้อตกลงทริปส์ แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป และถือเป็นสาระสำคัญที่ประเทศไทยจะต้องพิจารณาโดยเฉพาะในมุมของการคุ้มครอง ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นอื่น ๆ และทรัพยากรชีวภาพ รวมทั้งทรัพยากรพันธุกรรมพืชก็คือ การที่หัวข้อแรกของข้อ 16.7 นั้นยกเลิกข้อยกเว้นตามมาตรา 27.3(b) ของข้อตกลง ทริปส์ไป ส่งผลให้ประเทศไทยต้องให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรในพืช และสัตว์หากว่ารัฐบาลไปลงนามในข้อตกลงทวิภาคีตามแนวทางดังกล่าว</p>
<p> หากว่ามีการคุ้มครองสิทธิบัตรในพืชปัญหาที่จะตามมาก็คือ การวิจัยและพัฒนาของคนไทยที่จะทำได้ลำบากยากเย็นขึ้นเนื่องจากลำดับขั้นของ พัฒนาการจะต้องใช้เทคโนโลยีที่ค่อนข้างสูงเพื่อพิสูจน์ความใหม่ ซึ่งจะไปเกี่ยวพันกับภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในส่วนของการพัฒนาพืชสมุนไพร ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยอาจจะยังไม่ค่อยตื่นตัวกันเท่าใดนักที่จะเริ่มพัฒนา พืชสมุนไพรให้ได้พันธุ์ใหม่ ๆ หรือให้ได้พืชที่สามารถให้สารออกฤทธิ์ที่ดีขึ้น หรือปริมาณมากขึ้น หากว่าได้มีการเริ่มต้นดำเนินการในรูปแบบนี้ การมีกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในระดับต่ำย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อความก้าวหน้า ของวงการแพทย์แผนไทยมากกว่า หากว่าต้องมีการคุ้มครองในระดับสูงเช่นสิทธิบัตร การพัฒนาของไทยอาจจะไปติดการประดิษฐ์จากต่างประเทศที่เป็นพืชพวกที่ใช้ เทคโนโลยีชั้นสูงในการดัดแปลงให้มีคุณสมบัติทางเคมีที่ดีกว่าพืชสมุนไพรทั่ว ไป ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อการประดิษฐ์เหล่านั้นได้รับการคุ้มครองโดยสิทธิบัตร การทำพืชที่เทคโนโลยีด้อยกว่าย่อมไม่ได้รับการคุ้มครอง และยิ่งไปกว่านั้นการนำพืชที่มีสิทธิบัตรคุ้มครองมาใช้ในการต่อยอดต่อไปก็ ไม่อาจจะทำได้เพราะ การจะดำเนินการวิจัยเพื่อต่อยอดนั้นต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของสิทธิบัตร เสียก่อน ซึ่งต่างจากการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่คุ้มครองในระดับต่ำที่ยอมให้มี การนำไปต่อยอดสร้างเป็นพันธุ์ใหม่ขึ้นมา</p>
<p> ในข้อย่อยที่ 4 ของข้อ 16.7 นั้นได้มีการกำหนดให้การเพิกถอนสิทธิบัตรต้องกระทำบนพื้นฐานเดียวกับการ ปฏิเสธไม่รับจดสิทธิบัตร หรือโดยเหตุผลที่ว่ารายละเอียดการประดิษฐ์ไม่สมบูรณ์ การแก้ไขที่ไม่อาจอนุญาตได้ การไม่เปิดเผยรายละเอียด หรือการแอบอ้างว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ และถ้าหากกระบวนการในการยื่นขอสิทธิบัตรนั้นมีการคัดค้านอยู่ด้วย ต้องไม่ให้มีการคัดค้านก่อนที่สิทธิบัตรจะออก</p>
<p> ข้อกำหนดเช่นนี้จะมีปัญหาต่อภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในกรณีที่กฎหมายสิทธิ บัตรไทยไม่ได้กำหนดให้มีการเปิดเผยที่มาของการประดิษฐ์ที่ยื่นขอจดสิทธิบัตร ว่ามีการใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย หรือสมุนไพรไทยหรือไม่ ดังนั้นหากมีการค้นพบในภายหลังว่าได้มีการใช้ภูมิปัญญาด้งกล่าวก็ไม่สามารถ ยกเลิกเพิกถอนสิทธิบัตรได้ เนื่องจากเงื่อนไขการเปิดเผยที่มาของการประดิษฐ์ไม่ได้กำหนดในเรื่องของ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย หรือสมุนไพรไทยไว้ นอกจากนี้การกำหนดให้มีกระบวนการคัดค้านภายหลังจากที่ออกสิทธิบัตรแล้วยังทำ ให้เจ้าของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่เห็นว่าภูมิปัญญาของตนถูกละเมิดต้องรอ ไปดำเนินการในชั้นศาลภายหลังจากที่หน่วยงานผู้มีอำนาจออกสิทธิบัตร ซึ่งในกรณีของประเทศไทยก็คือกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ออกสิทธิบัตรให้แก่ผู้ ยื่นคำขอแล้ว อันจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการคัดค้านสิทธิบัตรที่นำภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ไปใช้อย่างไม่เป็นธรรมเป็นอย่างมาก</p>
<p> </p>
<p><b>4. ข้อเสนอแนะต่อการกำหนดจุดยืนของไทยในการเจรจา และการคุ้มครองพันธุ์พืชและภูมิปัญญาของไทย</b></p>
<p>ท่าทีในการเจรจาข้อตกลงทวิภาคีของไทย ไม่ว่าจะกับประเทศสหรัฐอเมริกาหรือประเทศอื่น ๆ ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญานั้นเราจะต้องยึดเป็นหลักว่าพันธกรณีที่จะยอมรับ ได้นั้นจะต้องไม่มากไปกว่าที่ประเทศไทยมีอยู่แล้วตามข้อตกลงทริปส์ (No TRIPS-Plus) เนื่องจากพันธกรณีที่เรามีอยู่ภายใต้ข้อตกลงทริปส์นั้นก็ได้ถูกมองว่าประเทศ ไทย หรือแม้กระทั่งประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ด้วยเป็นฝ่ายเสียเปรียบประเทศอุตสาหกรรม หรือกลุ่มประเทศผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ ด้วยวิทยาการที่ทันสมัย ดังนั้นในเมื่อสิ่งที่เราต้องปฏิบัติตามยังเป็นเรื่องที่กระทำได้ยาก เราจึงจำเป็นที่จะต้องพยายามอย่างยิ่งที่จะไม่เพิ่มภาระที่เรารับไม่ไหวเข้า ไปอีก</p>
<p> </p>
<p>ข้อเสนอต่อการเจรจาและการพัฒนาระบบกฎหมายเพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชสมุนไพร และภูมิปัญญาการแพทย์ของไทย มีดังนี้</p>
<p>1. ปฏิเสธการขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรมายังสิ่งมีชีวิตทุกประเภท</p>
<p>2. ปฏิเสธการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่</p>
<p>3. การพัฒนาปรับปรุงระบบกฎหมายเฉพาะให้มีความเหมาะสมต่อการคุ้มครองพันธุ์พืช สมุนไพร และภูมิปัญญาการแพทย์ของไทย และมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้มากยิ่งขึ้น</p>
<p>4. ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันให้คุ้ม ครองภูมิปัญญาท้องถิ่นและมีความเป็นธรรมต่อชุมชนท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น</p>
<p>การดำเนินงานตามข้อเสนอดังกล่าว ไม่อาจทำเพียงในระดับภายในประเทศเท่านั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการดำเนินงานในระดับนานาชาติด้วย เพื่อให้เนื้อหาของความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องมีความเป็นธรรม ให้การคุ้มครองพันธุ์พืช สมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเหมาะสม อันจะเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาโจรสลัดชีวภาพจากการกระทำของบรรษัทข้าม ชาติได้อีกทางหนึ่ง</p>
<p> </p>
<p>4.1) ปฏิเสธการขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรไปยังสิ่งมีชีวิตทุกชนิด</p>
<p>การผลักดันให้ขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรให้ครอบคลุมสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งพืช สัตว์และจุลินทรีย์นั้น เป็นความต้องการของประเทศอุตสาหกรรมเพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจตนเอง เพื่อการรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันต่อไป</p>
<p>ประเด็นการขยายความคุ้มครองสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิตทุกชนิดนี้ มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) เนื่องจากผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรมทุกประเภทมีสิทธิ บัตรคุ้มครองอยู่ เช่น ข้าวโพดตัดแต่งพันธุกรรมที่ต้านทานยากำจัดวัชพืช ฝ้ายตัดแต่งพันธุกรรมที่ต้านทานแมลงศัตรูพืช ฯลฯ กรณีสิทธิบัตรการถ่ายยีน (Gene Transfer Patent) ผู้ถือครองสิทธิบัตรเป็นจำนวนถึงร้อยละ 95 ของสิทธิบัตรการถ่ายยีน คือบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพขนาดใหญ่ 5 อันดับแรกที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป แต่สำหรับประเทศกำลังพัฒนา โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ให้การคุ้มครองสิทธิบัตรพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ มีเพียงการคุ้มครองสิทธิบัตรจุลินทรีย์ที่ไม่ได้มีอยู่ตามธรรมชาติเท่านั้น ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ทางการค้าของบริษัทเอกชนที่เป็นผู้ผลิตสินค้า ตัดแต่งพันธุกรรม จึงมีการผลักดันจากอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพต่อรัฐบาลสหรัฐเพื่อกดดัน ให้ประเทศกำลังพัฒนาปรับเปลี่ยนกฎหมายภายในประเทศเพื่อให้การคุ้มครองสิทธิ บัตรแก่สิ่งมีชีวิตทุกชนิด</p>
<p>จากศักยภาพและขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ประเทศไทยไม่ควรจะบัญญัติกฎหมายเพื่อคุ้มครองผลงานการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีชีวภาพในระดับที่สูง เช่น กฎหมายสิทธิบัตร ในขณะเดียวกันจะต้องพัฒนาระบบและกลไกเพื่อควบคุมการเข้าถึงและการใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ</p>
<p>ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับในการขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรโดยเฉพาะ อย่างยิ่งภายใต้ข้อตกลงทริปส์ จะกลายเป็นพันธกรณีของประเทศไทยที่จะต้องปรับเปลี่ยนกฎหมายภายในประเทศให้ สอดคล้องกับการคุ้มครองสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิตทุกประเภท ต้องปรับแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายสิทธิบัตร กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช ซึ่งจะกลายเป็นข้อจำกัดและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนากฎหมายภายในประเทศเพื่อการ คุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งด้านการแพทย์และด้านอื่นๆ ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีจุดยืนอย่างหนักแน่นในการปฏิเสธการ เปลี่ยนแปลงข้อบัญญัติในกฎหมายระหว่างประเทศที่นำไปสู่ขยายการคุ้มครองสิทธิ บัตรในสิ่งมีชีวิต</p>
<p>เวทีเจรจาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องต่อประเด็นนี้ที่ประเทศไทยจะต้องให้ความสำคัญ ได้แก่</p>
<p>(1) การเจรจาข้อตกลงทริปส์ ภายใต้การเจรจาการค้าเสรีพหุภาคีรอบใหม่ขององค์การการค้าโลก</p>
<p>(2) การจัดทำกรอบระหว่างประเทศว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปัน ผลประโยชน์ ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ</p>
<p>(3) การเจรจาสนธิสัญญาว่าด้วยทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร โดยเฉพาะในเรื่องการจัดทำความตกลงแลกเปลี่ยนวัสดุพันธุกรรม (Material Transfer Agreement)</p>
<p>(4) การดำเนินงานภายใต้คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปะพื้นบ้าน ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก</p>
<p> </p>
<p>4.2) ปฏิเสธการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่</p>
<p>อนุสัญญาการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (อนุสัญญายูปอฟ) มีระดับการคุ้มครองที่สูงมาก ผู้ทรงสิทธิไม่เพียงแต่มีสิทธิเหนือส่วนขยายพันธุ์พืชเท่านั้น แต่ยังมีสิทธิเหนือดอกผลและผลผลิตต่างๆ ที่ได้มาจากพันธุ์พืชที่ได้รับความคุ้มครองด้วย พันธุ์พืชทุกชนิดที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์สามารถนำมาขอรับสิทธิบัตรหรือขอ จดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชได้ทันที หลักการดังกล่าวมีความแตกต่างจากกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชของไทย และจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบเกษตรกรรม การพัฒนาพันธุ์พืชของประเทศไทย รวมไปถึงผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศได้ ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องปฏิเสธการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญายูปอฟ โดยยืนยันหลักการคุ้มครองพันธุ์พืชตามระบบกฎหมายของไทยซึ่งเป็นสิทธิที่มี อยู่ในความตกลงทริปส์</p>
<p> </p>
<p>4.3) การปรับปรุงพัฒนากฎหมายเฉพาะ</p>
<p>เนื่องจากระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในปัจจุบันไม่อาจใช้เพื่อการ รับรองและคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมและ เป็นธรรม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาระบบกฎหมายเฉพาะ (<i>sui generic</i> system) ที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพและเงื่อนไขของการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการพัฒนาส่งเสริมพันธุ์พืช สมุนไพรและภูมิปัญญาการแพทย์ของไทย โดยคำนึงถึงบริบทของสภาพปัญหาทั้งในระดับประเทศและระดับโลก</p>
<p> หลักการสำคัญที่ควรมีอยู่กฎหมายเฉพาะ คือ</p>
<p>§ คุ้มครองสิทธิของชุมชนด้านการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์ของไทย</p>
<p>§ กำหนดรูปแบบสิทธิในทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในลักษณะ “สิทธิส่วนรวม” ( Communal Property) เพื่อให้ชุมชนมีสิทธิในกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์การดูแลจัดการทรัพยากรพันธุกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับจารีตประเพณีของท้องถิ่นและเป็นการจัดการร่วมกับรัฐในรูปแบบการ จัดการเชิงซ้อน</p>
<p>§ ส่งเสริมการพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์ ให้เกิดความก้าวหน้า สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพทางสังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป</p>
<p>§ มีการกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์การเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ ทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาการแพทย์ของไทย ป้องกันมิให้มีการนำเอาทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาการแพทย์ของไทยไปใช้ ประโยชน์หรือจดทะเบียนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างไม่เป็นธรรม</p>
<p>กฎหมายของไทยที่เป็นกฎหมายเฉพาะด้านการคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพและ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในขณะนี้ ได้แก่ พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช 2542 และ พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย 2542 กฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่ควรเร่งผลักดันการใช้บังคับ คือ กฎหมายป่าชุมชน กฎหมายฉบับนี้ให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิชุมชนในการดูแลจัดการทรัพยากร ชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในป่าชุมชนที่แต่ละชุมชนดูแล เป็นกฎหมายที่รับรองสิทธิชุมชนท้องถิ่นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญไทย และเป็นการส่งเสริมบทบาทของชุมชนท้องถิ่นในการดูแลจัดการทรัพยากรและ ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับภาครัฐ อันจะเป็นการช่วยอุดช่องโหว่และแก้ไขปัญหาข้อจำกัดของหน่วยงานภาครัฐในการทำ หน้าที่ดังกล่าว</p>
<p>สำหรับกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชและภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยนั้น จำเป็นต้องมีการศึกษาติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ในการบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำข้อมูลมาใช้เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงพัฒนาเนื้อหาและกระบวนการ บังคับใช้กฎหมายให้เกิดประสิทธิผลตามเจตนารมย์ของกฎหมายมากยิ่งขึ้น</p>
<p> </p>
<p>4.4) การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา</p>
<p>ระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอาจเอื้อให้มีการแสวงหา ประโยชน์โดยมิชอบจากทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาการแพทย์ของไทย เนื่องจากเปิดโอกาสให้มีการนำเอาทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาการแพทย์ของ ไทยมาขอรับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา แม้ว่าการได้ทรัพยากรพันธุกรรมหรือภูมิปัญญาการแพทย์ของไทยนั้นมาจะเป็นไป โดยมิชอบก็ตาม กลายเป็นปัญหาการละเมิดสิทธิของชุมชนท้องถิ่นดังตัวอย่างที่เกิดขึ้น เช่น กรณีการจดสิทธิบัตรขมิ้นชันและสะเดาของอินเดีย กรณีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าข้าวจัสมาติ เป็นต้น</p>
<p>ดังนั้นนอกเหนือจากการพัฒนากฎหมายเฉพาะเพื่อการคุ้มครองทรัพยากรพันธุ กรรมและภูมิปัญญาการแพทย์ของไทยแล้ว ในอีกด้านหนึ่งจะต้องมีการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายในส่วนกฎหมายทรัพย์สินทาง ปัญญาด้วย โดยเฉพาะในส่วนกฎหมายสิทธิบัตร โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ เพื่อสร้างความเป็นธรรมต่อการคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาการ แพทย์ของไทย และป้องกันปัญหาการละเมิดนำทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาการแพทย์ของไทยมา จดขอรับความคุ้มครองโดยมิชอบ</p>
<p>แนวทางการปรับปรุงกฎหมายสิทธิบัตรเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว อาจกระทำโดย ให้มีการเปิดเผย แจ้งแหล่งที่มาของทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับสิ่ง ประดิษฐ์ที่มาขอรับความคุ้มครอง ให้แสดงหลักฐานการทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ในกรณีที่มีการใช้ภูมิปัญญาการ แพทย์ของไทยเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์นั้น</p>
<p>แนวทางดังกล่าว เป็นหลักการที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและประเทศไทยได้แสดงเป็นจุดยืนในการ เจรจาทบทวนข้อตกลงทริปส์ภายใต้องค์การการค้าโลกอยู่แล้ว แม้ว่าในการเจรจาจะยังไม่ได้ข้อยุติ แต่ประเทศไทยก็สามารถนำหลักการดังกล่าวมาปรับใช้กับการปรับปรุงกฎหมาย ทรัพย์สินทางปัญญาของไทยได้ โดยมิได้เป็นการขัดกับหลักการของข้อตกลงทริปส์</p>
<p>กิจกรรมส่วนสำคัญที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งดำเนินการเพื่อเสริม กับข้อเสนอในข้อนี้คือ การจัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาการแพทย์ของไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านอื่นๆ อย่างเป็นระบบ มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้ประโยชน์ในการติดตาม ตรวจสอบการจดคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และใช้เป็นประโยชน์ต่อการคัดค้านการจดคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มิชอบ</p>
<p> </p>
<p><b><u>1. การคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในประเทศไทย</u></b></p>
<p>ความเปลี่ยนแปลงของกติกาความตกลงระหว่างประเทศด้านทรัพยากรชีวภาพและ ทรัพย์สินทางปัญญาในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ประกอบกับปัญหาการฉกฉวยแย่งชิงทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ทำให้เกิดความตื่นตัวของประเทศไทยและกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในการพัฒนาระบบ กลไกในการปกป้องคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยว ข้องอย่างค่อนข้างมาก สำหรับประเทศไทยได้มีการพัฒนาจัดทำกฎหมายขึ้นใหม่หลายฉบับ กฎหมายที่สำคัญและมีความเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพ (เน้นด้านพันธุ์พืช สมุนไพร) และภูมิปัญญาด้านการแพทย์ของไทย คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 และ พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542</p>
<p> </p>
<p>1.1) พ.ร.บ. คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542</p>
<p>กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์ แผนไทยเป็นการเฉพาะ และพยายามที่จะแก้ไขปัญหาการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสมุนไพรและภูมิปัญญา ท้องถิ่นอย่างไม่เป็นธรรม ที่เรียกกันว่า “โจรสลัดชีวภาพ”</p>
<p>ขอบเขตของกฎหมายนี้จะให้การคุ้มครองทั้งในส่วนที่เป็น “ภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย” และในส่วนที่เป็นสมุนไพร</p>
<p>ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยตามกฎหมายนี้ ได้มีการจำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ</p>
<p>(1) ตำรับยาแผนไทยหรือตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ (2) ตำรับยาแผนไทยทั่วไปหรือตำราการแพทย์แผนไทยทั่วไป และ (3) ตำรับยาแผนไทยส่วนบุคคลหรือตำราการแพทย์แผนไทยส่วนบุคคล</p>
<p>การกำกับดูแลคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแต่ละประเภทมีหลักเกณฑ์ที่ แตกต่างไป การนำเอาตำรับยาแผนไทยของชาติไปใช้ประโยชน์ในทางการค้าต้องขออนุญาต มีการตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ และมีเงื่อนไขจำกัดสิทธิ วิธีการและเงื่อนไขจะเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง</p>
<p>สำหรับการคุ้มครองและส่งเสริมตำรับยาหรือตำราการแพทย์แผนไทยส่วนบุคคล ใช้ระบบให้มีการจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ผู้มีสิทธิจดทะเบียนได้แก่ ผู้คิดค้น ผู้ปรับปรุง หรือผู้สืบทอดตำรับยาแผนไทยหรือตำราการแพทย์แผนไทย (ม.21) ผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนจะมีสิทธิในการผลิตยา และมีสิทธิในการใช้ ศึกษาวิจัย จำหน่าย ปรับปรุงหรือพัฒนาตำรับยาแผนไทยหรือภูมิปัญญาในตำราการแพทย์แผนไทยที่ได้จด ทะเบียนไว้ ทั้งนี้มีข้อยกเว้นสำหรับการศึกษา ค้นคว้าทดลองหรือวิจัยตามที่กฎหมายกำหนด การเตรียมยาเฉพาะรายตามใบสั่งแพทย์ หรือการผลิตยาเพื่อยังชีพแบบพื้นบ้านหรือใช้ประโยชน์ในการรักษาพยาบาลใน หน่วยงานของรัฐ ( ม.34)</p>
<p>ในส่วนการคุ้มครองสมุนไพร ได้จำแนกสมุนไพรออกเป็น 3 กลุ่ม คือ สมุนไพรที่มีค่าต่อการศึกษาวิจัย สมุนไพรที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และสมุนไพรที่ใกล้จะสูญพันธุ์ โดยมีการควบคุมและใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเภท ทั้งนี้สมุนไพรไม่ได้มีความหมายเฉพาะพืชเท่านั้น แต่มีความหมายรวมถึง สัตว์ จุลชีพ ธาตุวัตถุ สารสกัดดั้งเดิมจากพืชหรือสัตว์ด้วย การควบคุมการเข้าถึงสมุนไพรตามกฎหมายนี้มี 2 วิธี คือ การประกาศเป็น “สมุนไพรควบคุม” หรือ การประกาศเป็น “เขตพื้นที่คุ้มครองสมุนไพร”</p>
<p>จนถึงปัจจุบัน ยังไม่ได้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างแท้จริงในทางปฏิบัติเนื่องจากอยู่ใน ระหว่างการจัดทำกฎหมายลำดับรอง ได้แก่ กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ระเบียบกระทรวง และระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ซึ่งได้มีการยกร่างจัดทำกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องไปหลายเรื่องแล้ว แต่อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณา ดังนั้นในขณะนี้จึงยังไม่อาจวิเคราะห์ประเมินประสิทธิผลของกฎหมายฉบับนี้ได้ ว่า จะสามารถป้องกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้มากน้อยเพียงใด</p>
<p> </p>
<p>1.2) พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542</p>
<p>สมุนไพรเป็นส่วนประกอบสำคัญของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เนื่องจากสมุนไพรอยู่ในกลุ่มของพันธุ์พืช พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 จึงเป็นกฎหมายที่สำคัญของไทยอีกฉบับหนึ่งที่จะมีผลต่อการกำกับดูแลการเข้า ถึงและใช้ประโยชน์จากสมุนไพร เป็นกฎหมายที่จัดทำขึ้นในช่วงเวลาและสถานการณ์เดียวกันกับกฎหมายแพทย์แผนไทย</p>
<p>ตามกฎหมายนี้ได้จำแนกพันธุ์พืชออกเป็น 4 ประเภท คือ พันธุ์พืชป่า พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น และพันธุ์พืชใหม่ การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชแต่ละประเภทจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย</p>
<p>กรณีสมุนไพร โดยส่วนใหญ่จัดอยู่ในประเภทพันธุ์พืชป่า และพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป ทั้งนี้ อาจมีบางส่วนที่จัดอยู่เป็นพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น และพันธุ์พืชใหม่ด้วย</p>
<p>การดูแลคุ้มครองสมุนไพรตามกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชโดยส่วนใหญ่จะอยู่ภาย ใต้กฎเกณฑ์ของการคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่า เนื่องจากลักษณะการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรของไทย เป็นการใช้ประโยชน์จากส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชมาสกัดทำยาหรือใช้เป็นส่วนผสมใน ตำรับยาแผนไทย โดยที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์เป็นส่วนขยายพันธุ์</p>
<p>เงื่อนไขการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์ พืชป่า คือ การเก็บ จัดหา หรือรวบรวมพันธุ์พืชหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ ศึกษาทดลอง หรือวิจัยเพื่อประโยชน์ในทางการค้า จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ โดยให้นำเงินรายได้ตามข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ส่งเข้ากองทุนคุ้มครองพันธุ์ พืช (ม. 52) หรือถ้าเป็นการเข้าถึงที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในทางการค้า จะต้องปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชกำหนดขึ้น ( ม. 53 )</p>
<p>การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรที่จะอยู่ภายใต้ขอบเขตการบังคับของกฎหมายฉบับ นี้ คือ การเก็บหรือใช้สมุนไพรในลักษณะการศึกษา ทดลองวิจัย โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อประโยชน์ในทางการค้า ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ ตามมาตรา 52 ถ้ามิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในทางการค้า ก็จะต้องปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชกำหนด สำหรับการเก็บหรือใช้สมุนไพรของชุมชนเพื่อนำไปสกัดทำยา หรือใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนไทยของชุมชนตามกรรมวิธีดั้งเดิม มิได้อยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายฉบับนี้ </p>
<p>จะเห็นได้ว่าตามกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชนี้ สมุนไพรจะได้รับการคุ้มครองดูแลทั้งในแง่การเข้าถึง การใช้ประโยชน์ และการแบ่งปันผลประโยชน์ มีการกำกับดูแลให้การเข้าถึงสมุนไพรไม่เป็นไปโดยขาดการควบคุมดังเช่นในอดีต โดยเฉพาะสมุนไพรที่อยู่นอกเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ประเภทต่างๆ และพยายามแก้ไขปัญหาเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้สมุนไพรอย่างไม่ เป็นธรรมด้วย</p>
<p> </p>
<p><b><u>2. ความเคลื่อนไหวในระดับสากล และการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีแบบทวิภาคี</u></b></p>
<p> </p>
<p>การจัดทำกฎระเบียบระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพและ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ กำลังมีการเจรจาจัดทำกันในหลายเวที ที่สำคัญคือภายใต้เวทีองค์การการค้าโลก องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก และภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ต่อมาภายหลังการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 5 ณ เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก ในเดือนกันยายน 2546 ทิศทางการเจรจาได้มุ่งสู่การเจรจาในรูปแบบทวิภาคีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แนวโน้มและทิศทางการคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในอนาคตขึ้น อยู่กับผลจากการเจรจาในเวทีต่างๆ เหล่านี้</p>
<p> </p>
<p>2.1) อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ</p>
<p>อนุสัญญาฯ ได้บัญญัติให้มีการเคารพ ปกปักษ์ และรักษาองค์ความรู้ของชุมชนท้องถิ่นและชุมชนพื้นเมืองที่เกี่ยวกับการใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ไว้ในมาตรา 8 (j) แต่เนื่องจากข้อกำหนดดังกล่าว เป็นเพียงหลักการกว้างๆ ที่ให้ประเทศภาคีสมาชิกรับไปปฏิบัติ ภาคีสมาชิกของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพจึงได้พยายามที่จะผลัก ดันการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดผลอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น ในการประชุมภาคีสมาชิกครั้งที่ 4 ในปี 2541 ได้มีมติที่ IV/9 ให้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยข้อ 8 (j) และข้อบัญญัติที่เกี่ยวข้อง คณะทำงานได้มีการประชุมไปแล้ว 3 ครั้ง ผลสำเร็จของการดำเนินงานที่สำคัญคือ การพัฒนาแนวทางการประเมินผลกระทบทางสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากการพัฒนาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่ชุมชนพื้นเมืองหรือชุมชนท้อง ถิ่นได้ใช้ประโยชน์หรือครอบครองอยู่ นอกจากนี้ คณะทำงานฯ ได้มีข้อเสนอให้พัฒนาระบบกฎหมายเฉพาะ (<i>sui generic</i> system ) เพื่อการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นในระดับนานาชาติ ข้อเสนอนี้ได้รับการรับรองโดยมติของการประชุมภาคีสมาชิกของอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 7 ในปี 2547 ในขั้นต่อไปคณะทำงานจะได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับเนื้อหาสำคัญของระบบกฎหมาย เฉพาะนี้</p>
<p>นอกจากนี้ จากผลการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ครั้งที่ 7 ณ ประเทศมาเลเซียในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ที่ผ่านมา ได้มีมติให้มีคณะทำงานด้านการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ได้ศึกษาในประเด็น “กรอบข้อบังคับระหว่างประเทศด้านการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์” ( International Regime on Access to Genetic Resources and Benefit - Sharing) ซึ่งมีประเด็นสำคัญครอบคลุมถึงเรื่องการคุ้มครองสิทธิของชุมชนในด้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและจารีตประเพณี เงื่อนไขและวิธีการเข้าถึงพันธุกรรม การเปิดเผยข้อมูลในการขอรับสิทธิบัตร ฯลฯ และให้มีการประสานร่วมมือกับคณะทำงานของข้อ 8(j) ด้วย กรอบข้อบังคับระหว่างประเทศฯ ดังกล่าวยังไม่เป็นที่ยุติว่าจะมีสถานะผูกพันตามกฎหมายหรือไม่ จะต้องมีการเจรจาในประเด็นนี้ต่อไป</p>
<p> </p>
<p>2.2) ข้อตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (ทริปส์ )</p>
<p>เนื้อหาของข้อตกลงทริปส์ที่เกี่ยวโยงกับการคุ้มครองพันธุ์พืชและ ภูมิปัญญาด้านการแพทย์ท้องถิ่น คือ เงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในข้อ 27 เรื่องสิ่งที่ได้รับสิทธิบัตร ตามบทบัญญัติดังกล่าว ประเทศสมาชิกจะต้องให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรแก่การประดิษฐ์ในทุกสาขา เทคโนโลยี โดยมีข้อยกเว้นในข้อ 27.3(b) ว่า ประเทศสมาชิกอาจไม่คุ้มครองพืชและสัตว์ภายใต้ระบบสิทธิบัตร แต่ต้องให้การคุ้มครองแก่ <b>“พันธุ์พืช” </b>โดยอาจใช้กฎหมายสิทธิบัตร หรือระบบกฎหมายเฉพาะที่มีประสิทธิภาพ หรือโดยวิธีการคุ้มครองทั้งสองระบบร่วมกัน</p>
<p>การใช้พันธุ์พืชสมุนไพรเป็นส่วนสำคัญในภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน การที่ข้อตกลง ทริปส์ให้ประเทศสมาชิกเลือกใช้ระบบกฎหมายเฉพาะ (<i>sui generic</i> system) มาคุ้มครองพันธุ์พืชได้ ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ซึ่งพึ่งพาภาคเกษตรกรรมจึงสามารถบัญญัติกฎหมายคุ้ม ครองพันธุ์พืชที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจสังคม และขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีของประเทศ มีการปรับเงื่อนไขและสิทธิการคุ้มครองให้เหมาะสมไม่เข้มงวดจนกลายเป็นปัญหา กระทบต่อเกษตรกร รวมถึงให้การคุ้มครองสิทธิเกษตรกรและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ โดยไม่ขัดกับหลักการของข้อตกลงทริปส์</p>
<p>ภายใต้ข้อกำหนดตามข้อ 27.3 (b) นี้ได้มีข้อกำหนดด้วยว่าให้มีการทบทวนเนื้อหาของข้อ 27.3 (b) ภายหลัง 4 ปีของการบังคับใช้ความตกลงซึ่งก็คือ นับตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา ในการเจรจาทบทวนเนื้อหาความตกลง ประเทศอุตสาหกรรมโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาได้ผลักดันให้มีการแก้ไขข้อบัญญัติดัง กล่าว โดยให้ตัดทางเลือกในการใช้ระบบกฎหมายเฉพาะออกไป ต้องการให้ใช้ระบบสิทธิบัตรเพียงอย่างเดียวและขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรไป ยังสิ่งมีชีวิตทุกชนิด คือ พืช สัตว์ จุลินทรีย์ ถ้าผลของการเจรจาเป็นไปในทิศทางที่สหรัฐอเมริกาได้พยายามผลักดันอยู่ จะสร้างผลกระทบอย่างมากต่อประเทศกำลังพัฒนา เพราะเป็นการตัดสิทธิของประเทศสมาชิกในการเลือกกำหนดระบบกฎหมายที่เหมาะสม เพื่อการคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ประเทศกำลังพัฒนาได้ร่วมกันยื่นข้อเสนอให้มีการเพิ่มเติมเงื่อนไขการขอรับ สิทธิบัตรให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น หลักการที่สำคัญคือ ให้มีการแจ้งเปิดเผยที่มาของทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ เกี่ยวข้องกับสิ่งประดิษฐ์ที่ยื่นขอรับสิทธิบัตร ข้อเสนอดังกล่าวถูกคัดค้านอย่างมากจากสหรัฐอเมริกา</p>
<p> </p>
<p>2.3) การจัดทำเขตการค้าเสรีแบบทวิภาคี</p>
<p>รัฐบาลไทยในปัจจุบันให้ความสำคัญแก่การเจรจาการค้าเสรีแบบทวิภาคีมากกว่า พหุภาคี ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาลได้เร่งรัดผลักดันให้มีข้อตกลงแบบทวิภาคีจัด ตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Area) กับประเทศต่างๆ กว่าสิบประเทศ หัวข้อการเจรจาเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหัวข้อการเจรจาที่ สำคัญอย่างยิ่งเรื่องหนึ่งภายใต้การเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีแบบทวิภาคีของ ประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเจรจากับสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้เริ่มมีการเจรจาครั้งแรกกันไปแล้ว ณ มลรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2547</p>
<p>การขยายขอบเขตและความเข้มงวดในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นข้อเรียก ร้องที่สำคัญของสหรัฐ การจัดทำความตกลงทวิภาคีของสหรัฐกับประเทศต่างๆ ที่ผ่านมา เช่น สิงคโปร์ ชิลี โมรอคโค ฯลฯ ได้มีข้อตกลงเพื่อยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในระดับที่เข้มงวดและ กว้างขวางขึ้นทั้งสิ้น ในลักษณะที่เรียกได้ว่าเป็น “TRIPs Plus” คือเพิ่มระดับการคุ้มครองที่มากไปกว่าหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดเป็นมาตรฐานไว้ใน ข้อตกลงทริปส์</p>
<p>เป็นที่สังเกตว่า ในการเจรจาข้อตกลงทริปส์และการเจรจาการค้าพหุพาคีรอบโดฮาที่กำลังดำเนินอยู่ นั้น ไม่ได้มีเนื้อหาและทิศทางการเจรจาที่เป็นไปตามความต้องการของสหรัฐมากนัก สหรัฐจึงต้องหันมาทำการเจรจาการค้าไม่ว่าจะเป็นความตกลงการค้าระดับภูมิภาค (Regional Trade Agreement) และในระดับทวิภาคี (Bilateral Agreement) โดยมีประเด็นด้านทรัพย์สินทางปัญญาเป็นประเด็นหลักในข้อตกลงเหล่านี้ ในกฎหมายการค้าของสหรัฐ (Trade Promotion Authority Bill, 2002) ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำกับกรอบเนื้อหาและขั้นตอนการเจรจาเขตการค้าเสรีของสหรัฐ ได้กำหนดเป้าหมายของการเจรจาในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาไว้ว่า ต้องให้ผลการเจรจานำไปสู่การยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศ คู่เจรจาให้ทัดเทียมกับกฎหมายภายในของสหรัฐ</p>
<p> </p>
<p><b>3. ผลกระทบจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีต่อพันธุ์พืช สมุนไพร และภูมิปัญญาท้องถิ่น</b></p>
<p> </p>
<p>ผลกระทบจากการจัดทำเขตการค้าเสรีในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาต่อพันธุ์พืช สมุนไพรและภูมิปัญญาการแพทย์ของไทย โดยใช้เนื้อหาความตกลงระหว่างสิงคโปร์กับสหรัฐอเมริกาเป็นกรอบในการวิ เคราะห์ มีดังนี้</p>
<p> </p>
<p>3.1) ผลกระทบต่อการคุ้มครองพันธุ์พืช สมุนไพรและเกษตรกร</p>
<p>ข้อเรียกร้องของสหรัฐในประเด็นการคุ้มครองพันธุ์พืช คือ ต้องการให้ประเทศคู่เจรจาเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (อนุสัญญายูปอฟ-UPOV) และต้องให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรแก่พันธุ์พืชด้วย</p>
<p> เงื่อนไขดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบเกษตรกรรมและการพัฒนาพันธุ์พืช ของประเทศไทย เนื่องจากการคุ้มครองพืชตามระบบสิทธิบัตรและการคุ้มครองพันธุ์พืช ตามอนุสัญญายูปอฟฉบับปัจจุบันล้วนแต่มีระดับการคุ้มครองที่สูงมาก ภายใต้ระบบดังกล่าวนี้ ผู้ทรงสิทธิไม่เพียงแต่มีสิทธิเหนือส่วนขยายพันธุ์พืชเท่านั้น แต่ยังมีสิทธิเหนือดอกผลและผลผลิตต่างๆ ที่ได้มาจากพันธุ์พืชที่ได้รับความคุ้มครองด้วย ซึ่งหลักการเช่นนี้มีความแตกต่างจากกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชของไทยที่ผู้ทรง สิทธิจะมีสิทธิในการห้ามมิให้ผู้อื่นผลิตหรือจำหน่ายส่วนขยายพันธุ์พืชใน เชิงพาณิชย์เท่านั้น</p>
<p>ภายใต้ระบบสิทธิบัตรและอนุสัญญายูปอฟ พันธุ์พืชทุกชนิดที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์สามารถนำมาขอรับสิทธิบัตรหรือขอ จดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชได้ทันที ซึ่งหลักการเช่นนี้มีความแตกต่างจากกฎหมายไทยที่จะให้ความคุ้มครองพันธุ์พืช ใหม่เฉพาะแก่พืชที่รัฐมนตรีประกาศโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการคุ้มครอง พันธุ์พืชเท่านั้น การให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ทุกชนิดจะส่งผลให้ พันธุ์พืชที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยต้องอยู่ภายใต้ระบบสิทธิ บัตรและการคุ้มครองพันธุ์พืชทันที อันอาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศได้</p>
<p>การคุ้มครองพืชตามระบบสิทธิบัตรและพันธุ์พืชตามอนุสัญญายูปอฟยังอาจส่งผล กระทบต่อการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืชที่นักปรับปรุงพันธุ์พืชของ ไทยยังไม่มีศักยภาพเพียงพอในการแข่งขันด้วย ทั้งนี้เพราะภายใต้ระบบสิทธิบัตรนั้น สิทธิตามสิทธิบัตรจะมีขอบเขตที่กว้างขวางมาก หากนักปรับปรุงพันธุ์สามารถพัฒนาพืชชนิดใดขึ้นใหม่ ก็จะทำให้นักปรับปรุงพันธุ์นั้นมีสิทธิผูกขาดเหนือสารพันธุกรรมพืชชนิดนั้น ได้ แม้ระบบสิทธิบัตรโดยทั่วไปจะอนุญาตให้นักปรับปรุงพันธุ์รายอื่นสามารถทำการ ศึกษาวิจัยพืชที่ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรนั้นได้ แต่การนำพันธุ์พืชในสายพันธุ์นั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ก็จะต้องได้ รับความยินยอมผู้ทรงสิทธิก่อนเสมอ ซึ่งจะทำให้นักวิจัยขาดแรงจูงใจในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืชนั้น สำหรับอนุสัญญายูปอฟนั้น แม้จะมีข้อยกเว้นของการศึกษาวิจัยของนักปรับปรุงพันธุ์ (Breeders’ Exemption) ไว้ก็ตาม แต่หากพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์นั้นยังคงมีลักษณะทางพันธุ กรรมที่ไม่แตกต่างไปจากพันธุ์พืชที่ได้รับความคุ้มครองอย่างเด่นชัด การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ของพันธุ์พืชใหม่นั้นก็ยังคงต้องได้รับความยินยอม จากผู้ทรงสิทธิอยู่นั่นเอง</p>
<p>นอกจากนี้ระบบสิทธิบัตรและอนุสัญญายูปอฟยังได้ละเลยสิทธิของเกษตรกร (Farmers’ Rights) โดยระบบสิทธิบัตรไม่ได้มีการกล่าวถึงสิทธิของเกษตรกรไว้แม้แต่น้อย ส่วนอนุสัญญายูปอฟฉบับปี 1991 ก็ได้กำหนดหลักการในเรื่องของสิทธิเกษตรกรไว้อย่างแคบมาก ดังนั้นเมื่อเกษตรกรได้ซื้อส่วนขยายพันธุ์พืชที่ได้รับความคุ้มครองมาแล้ว ก็จะสามารถนำส่วนขยายพันธุ์นั้นไปใช้ในการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไปได้อย่างมี จำกัดเท่านั้น และจะไม่สามารถนำส่วนขยายพันธุ์ดังกล่าวจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนกับเกษตรกรราย อื่นได้เลย ซึ่งจะทำให้เกษตรกรไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ เพราะจะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัทปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่ซึ่งมี อำนาจทางการตลาดสูงตลอดไป</p>
<p>การคุ้มครองพืชตามระบบสิทธิบัตรและพันธุ์พืชตามอนุสัญญายูปอฟยังจะส่งผล กระทบโดยอ้อมต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Biological diversity) และความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ด้วย เพราะการคุ้มครองพืชและพันธุ์พืชด้วยระบบทรัพย์สินทางปัญญาเช่นนี้จะส่ง เสริมให้นักปรับปรุงพันธุ์มุ่งที่จะพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชที่มีคุณค่าในทาง เศรษฐกิจเท่านั้น แต่จะละเลยที่จะอนุรักษ์หรือพัฒนาปรับปรุงพันธุ์สายพันธุ์ของพืชที่ไม่ได้ รับความนิยมในท้องตลาด ซึ่งจะส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดน้อยถอยลงไปตามลำดับ</p>
<p>หากประเทศไทยต้องให้ความคุ้มครองพืชตามระบบสิทธิบัตรก็จะทำให้ประเทศไทย ไม่สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ที่เป็นประโยชน์ในการคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพเช่นที่ บัญญัติไว้ในกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชได้ ไม่ว่าจะเป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้ผู้ขอรับการคุ้มครองต้องพิสูจน์ว่าพันธุ์ พืชที่ขอรับความคุ้มครองมีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศน์ บทบัญญัติที่ให้เปิดเผยแหล่งที่มาของสารพันธุกรรมที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ บทบัญญัติที่ให้พิสูจน์ว่าการเข้าถึงสารพันธุกรรมนั้นเป็นไปโดยชอบ และบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรมแก่เจ้าของสารพันธุ กรรม เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่าหลักการเหล่านี้ต่างไม่ได้มีบัญญัติไว้ทั้งในข้อตกลง ทริปส์ ดังนั้นสหรัฐจึงอาจกล่าวอ้างได้ว่าการกำหนดเงื่อนไขของการได้มาซึ่งสิทธิ บัตรพืชจะเป็นการขัดกับหลักการที่กำหนดไว้ในข้อตกลงทริปส์นั่นเอง</p>
<p>ในทำนองเดียวกัน เมื่อมีการคุ้มครองพันธุ์พืชตามหลักการในอนุสัญญายูปอฟฉบับปี 1991 ก็อาจทำให้ประเทศไทยต้องแก้ไขหรือยกเลิกหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองทรัพยากร ชีวภาพดังกล่าวข้างต้นเช่นกัน เนื่องจากหลักการเหล่านี้เป็นหลักการที่ไม่ได้รับการรับรองไว้โดยชัดแจ้งใน อนุสัญญายูปอฟ การกำหนดเงื่อนไขเหล่านี้ไว้ในกฎหมายจึงอาจจะขัดกับหลักการในอนุสัญญายูปอ ฟอีกเช่นกัน</p>
<p>ข้อตกลงการค้าเสรีที่กำหนดให้ประเทศคู่ค้ากับสหรัฐต้องให้ความคุ้มครอง พืชตามระบบสิทธิบัตรและพันธุ์พืชตามอนุสัญญายูปอฟจะส่งเสริมให้เกิดการกระทำ ที่เรียกว่า “โจรสลัดทางชีวภาพ” (Biopiracy) มากยิ่งขึ้น เพราะบริษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติจะสามารถเข้ามาฉกฉวยและแสวงหาประโยชน์จาก ทรัพยากรพันธุกรรมในประเทศไทยได้โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่เจ้า ของแหล่งพันธุกรรมแต่อย่างใด และบริษัทเมล็ดพันธุ์เหล่านี้จะมีสิทธิผูกขาดเหนือทรัพยากรพันธุกรรมไม่ว่า ทางการตลาดหรือทางกฎหมาย ซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งต่อการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืช ระบบเกษตรกรรม ความมั่นคงในอาหาร ตลอดจนวิถีชีวิตของผู้คนและเกษตรกรในประเทศไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อ ไป</p>
<p> </p>
<p>3. ) ผลกระทบต่อการคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์ของไทย</p>
<p>ผลกระทบที่จะเห็นเด่นชัดจะเป็นในเรื่องของสิทธิบัตรซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 16.7 ของข้อตกลงทวิภาคีระหว่างสหรัฐกับสิงคโปร์ เนื้อหาโดยรวมเป็นการให้ความคุ้มครองแก่การประดิษฐ์ต่าง ๆ ภายใต้ระบบสิทธิบัตรเช่นเดียวกับที่ปรากฏในข้อตกลงทริปส์ แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป และถือเป็นสาระสำคัญที่ประเทศไทยจะต้องพิจารณาโดยเฉพาะในมุมของการคุ้มครอง ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นอื่น ๆ และทรัพยากรชีวภาพ รวมทั้งทรัพยากรพันธุกรรมพืชก็คือ การที่หัวข้อแรกของข้อ 16.7 นั้นยกเลิกข้อยกเว้นตามมาตรา 27.3(b) ของข้อตกลง ทริปส์ไป ส่งผลให้ประเทศไทยต้องให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรในพืช และสัตว์หากว่ารัฐบาลไปลงนามในข้อตกลงทวิภาคีตามแนวทางดังกล่าว</p>
<p> หากว่ามีการคุ้มครองสิทธิบัตรในพืชปัญหาที่จะตามมาก็คือ การวิจัยและพัฒนาของคนไทยที่จะทำได้ลำบากยากเย็นขึ้นเนื่องจากลำดับขั้นของ พัฒนาการจะต้องใช้เทคโนโลยีที่ค่อนข้างสูงเพื่อพิสูจน์ความใหม่ ซึ่งจะไปเกี่ยวพันกับภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในส่วนของการพัฒนาพืชสมุนไพร ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยอาจจะยังไม่ค่อยตื่นตัวกันเท่าใดนักที่จะเริ่มพัฒนา พืชสมุนไพรให้ได้พันธุ์ใหม่ ๆ หรือให้ได้พืชที่สามารถให้สารออกฤทธิ์ที่ดีขึ้น หรือปริมาณมากขึ้น หากว่าได้มีการเริ่มต้นดำเนินการในรูปแบบนี้ การมีกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในระดับต่ำย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อความก้าวหน้า ของวงการแพทย์แผนไทยมากกว่า หากว่าต้องมีการคุ้มครองในระดับสูงเช่นสิทธิบัตร การพัฒนาของไทยอาจจะไปติดการประดิษฐ์จากต่างประเทศที่เป็นพืชพวกที่ใช้ เทคโนโลยีชั้นสูงในการดัดแปลงให้มีคุณสมบัติทางเคมีที่ดีกว่าพืชสมุนไพรทั่ว ไป ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อการประดิษฐ์เหล่านั้นได้รับการคุ้มครองโดยสิทธิบัตร การทำพืชที่เทคโนโลยีด้อยกว่าย่อมไม่ได้รับการคุ้มครอง และยิ่งไปกว่านั้นการนำพืชที่มีสิทธิบัตรคุ้มครองมาใช้ในการต่อยอดต่อไปก็ ไม่อาจจะทำได้เพราะ การจะดำเนินการวิจัยเพื่อต่อยอดนั้นต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของสิทธิบัตร เสียก่อน ซึ่งต่างจากการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่คุ้มครองในระดับต่ำที่ยอมให้มี การนำไปต่อยอดสร้างเป็นพันธุ์ใหม่ขึ้นมา</p>
<p> ในข้อย่อยที่ 4 ของข้อ 16.7 นั้นได้มีการกำหนดให้การเพิกถอนสิทธิบัตรต้องกระทำบนพื้นฐานเดียวกับการ ปฏิเสธไม่รับจดสิทธิบัตร หรือโดยเหตุผลที่ว่ารายละเอียดการประดิษฐ์ไม่สมบูรณ์ การแก้ไขที่ไม่อาจอนุญาตได้ การไม่เปิดเผยรายละเอียด หรือการแอบอ้างว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ และถ้าหากกระบวนการในการยื่นขอสิทธิบัตรนั้นมีการคัดค้านอยู่ด้วย ต้องไม่ให้มีการคัดค้านก่อนที่สิทธิบัตรจะออก</p>
<p> ข้อกำหนดเช่นนี้จะมีปัญหาต่อภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในกรณีที่กฎหมายสิทธิ บัตรไทยไม่ได้กำหนดให้มีการเปิดเผยที่มาของการประดิษฐ์ที่ยื่นขอจดสิทธิบัตร ว่ามีการใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย หรือสมุนไพรไทยหรือไม่ ดังนั้นหากมีการค้นพบในภายหลังว่าได้มีการใช้ภูมิปัญญาด้งกล่าวก็ไม่สามารถ ยกเลิกเพิกถอนสิทธิบัตรได้ เนื่องจากเงื่อนไขการเปิดเผยที่มาของการประดิษฐ์ไม่ได้กำหนดในเรื่องของ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย หรือสมุนไพรไทยไว้ นอกจากนี้การกำหนดให้มีกระบวนการคัดค้านภายหลังจากที่ออกสิทธิบัตรแล้วยังทำ ให้เจ้าของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่เห็นว่าภูมิปัญญาของตนถูกละเมิดต้องรอ ไปดำเนินการในชั้นศาลภายหลังจากที่หน่วยงานผู้มีอำนาจออกสิทธิบัตร ซึ่งในกรณีของประเทศไทยก็คือกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ออกสิทธิบัตรให้แก่ผู้ ยื่นคำขอแล้ว อันจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการคัดค้านสิทธิบัตรที่นำภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ไปใช้อย่างไม่เป็นธรรมเป็นอย่างมาก</p>
<p> </p>
<p><b>4. ข้อเสนอแนะต่อการกำหนดจุดยืนของไทยในการเจรจา และการคุ้มครองพันธุ์พืชและภูมิปัญญาของไทย</b></p>
<p>ท่าทีในการเจรจาข้อตกลงทวิภาคีของไทย ไม่ว่าจะกับประเทศสหรัฐอเมริกาหรือประเทศอื่น ๆ ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญานั้นเราจะต้องยึดเป็นหลักว่าพันธกรณีที่จะยอมรับ ได้นั้นจะต้องไม่มากไปกว่าที่ประเทศไทยมีอยู่แล้วตามข้อตกลงทริปส์ (No TRIPS-Plus) เนื่องจากพันธกรณีที่เรามีอยู่ภายใต้ข้อตกลงทริปส์นั้นก็ได้ถูกมองว่าประเทศ ไทย หรือแม้กระทั่งประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ด้วยเป็นฝ่ายเสียเปรียบประเทศอุตสาหกรรม หรือกลุ่มประเทศผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ ด้วยวิทยาการที่ทันสมัย ดังนั้นในเมื่อสิ่งที่เราต้องปฏิบัติตามยังเป็นเรื่องที่กระทำได้ยาก เราจึงจำเป็นที่จะต้องพยายามอย่างยิ่งที่จะไม่เพิ่มภาระที่เรารับไม่ไหวเข้า ไปอีก</p>
<p> </p>
<p>ข้อเสนอต่อการเจรจาและการพัฒนาระบบกฎหมายเพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชสมุนไพร และภูมิปัญญาการแพทย์ของไทย มีดังนี้</p>
<p>1. ปฏิเสธการขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรมายังสิ่งมีชีวิตทุกประเภท</p>
<p>2. ปฏิเสธการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่</p>
<p>3. การพัฒนาปรับปรุงระบบกฎหมายเฉพาะให้มีความเหมาะสมต่อการคุ้มครองพันธุ์พืช สมุนไพร และภูมิปัญญาการแพทย์ของไทย และมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้มากยิ่งขึ้น</p>
<p>4. ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันให้คุ้ม ครองภูมิปัญญาท้องถิ่นและมีความเป็นธรรมต่อชุมชนท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น</p>
<p>การดำเนินงานตามข้อเสนอดังกล่าว ไม่อาจทำเพียงในระดับภายในประเทศเท่านั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการดำเนินงานในระดับนานาชาติด้วย เพื่อให้เนื้อหาของความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องมีความเป็นธรรม ให้การคุ้มครองพันธุ์พืช สมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเหมาะสม อันจะเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาโจรสลัดชีวภาพจากการกระทำของบรรษัทข้าม ชาติได้อีกทางหนึ่ง</p>
<p> </p>
<p>4.1) ปฏิเสธการขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรไปยังสิ่งมีชีวิตทุกชนิด</p>
<p>การผลักดันให้ขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรให้ครอบคลุมสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งพืช สัตว์และจุลินทรีย์นั้น เป็นความต้องการของประเทศอุตสาหกรรมเพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจตนเอง เพื่อการรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันต่อไป</p>
<p>ประเด็นการขยายความคุ้มครองสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิตทุกชนิดนี้ มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) เนื่องจากผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรมทุกประเภทมีสิทธิ บัตรคุ้มครองอยู่ เช่น ข้าวโพดตัดแต่งพันธุกรรมที่ต้านทานยากำจัดวัชพืช ฝ้ายตัดแต่งพันธุกรรมที่ต้านทานแมลงศัตรูพืช ฯลฯ กรณีสิทธิบัตรการถ่ายยีน (Gene Transfer Patent) ผู้ถือครองสิทธิบัตรเป็นจำนวนถึงร้อยละ 95 ของสิทธิบัตรการถ่ายยีน คือบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพขนาดใหญ่ 5 อันดับแรกที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป แต่สำหรับประเทศกำลังพัฒนา โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ให้การคุ้มครองสิทธิบัตรพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ มีเพียงการคุ้มครองสิทธิบัตรจุลินทรีย์ที่ไม่ได้มีอยู่ตามธรรมชาติเท่านั้น ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ทางการค้าของบริษัทเอกชนที่เป็นผู้ผลิตสินค้า ตัดแต่งพันธุกรรม จึงมีการผลักดันจากอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพต่อรัฐบาลสหรัฐเพื่อกดดัน ให้ประเทศกำลังพัฒนาปรับเปลี่ยนกฎหมายภายในประเทศเพื่อให้การคุ้มครองสิทธิ บัตรแก่สิ่งมีชีวิตทุกชนิด</p>
<p>จากศักยภาพและขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ประเทศไทยไม่ควรจะบัญญัติกฎหมายเพื่อคุ้มครองผลงานการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีชีวภาพในระดับที่สูง เช่น กฎหมายสิทธิบัตร ในขณะเดียวกันจะต้องพัฒนาระบบและกลไกเพื่อควบคุมการเข้าถึงและการใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ</p>
<p>ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับในการขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรโดยเฉพาะ อย่างยิ่งภายใต้ข้อตกลงทริปส์ จะกลายเป็นพันธกรณีของประเทศไทยที่จะต้องปรับเปลี่ยนกฎหมายภายในประเทศให้ สอดคล้องกับการคุ้มครองสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิตทุกประเภท ต้องปรับแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายสิทธิบัตร กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช ซึ่งจะกลายเป็นข้อจำกัดและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนากฎหมายภายในประเทศเพื่อการ คุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งด้านการแพทย์และด้านอื่นๆ ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีจุดยืนอย่างหนักแน่นในการปฏิเสธการ เปลี่ยนแปลงข้อบัญญัติในกฎหมายระหว่างประเทศที่นำไปสู่ขยายการคุ้มครองสิทธิ บัตรในสิ่งมีชีวิต</p>
<p>เวทีเจรจาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องต่อประเด็นนี้ที่ประเทศไทยจะต้องให้ความสำคัญ ได้แก่</p>
<p>(1) การเจรจาข้อตกลงทริปส์ ภายใต้การเจรจาการค้าเสรีพหุภาคีรอบใหม่ขององค์การการค้าโลก</p>
<p>(2) การจัดทำกรอบระหว่างประเทศว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปัน ผลประโยชน์ ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ</p>
<p>(3) การเจรจาสนธิสัญญาว่าด้วยทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร โดยเฉพาะในเรื่องการจัดทำความตกลงแลกเปลี่ยนวัสดุพันธุกรรม (Material Transfer Agreement)</p>
<p>(4) การดำเนินงานภายใต้คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปะพื้นบ้าน ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก</p>
<p> </p>
<p>4.2) ปฏิเสธการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่</p>
<p>อนุสัญญาการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (อนุสัญญายูปอฟ) มีระดับการคุ้มครองที่สูงมาก ผู้ทรงสิทธิไม่เพียงแต่มีสิทธิเหนือส่วนขยายพันธุ์พืชเท่านั้น แต่ยังมีสิทธิเหนือดอกผลและผลผลิตต่างๆ ที่ได้มาจากพันธุ์พืชที่ได้รับความคุ้มครองด้วย พันธุ์พืชทุกชนิดที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์สามารถนำมาขอรับสิทธิบัตรหรือขอ จดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชได้ทันที หลักการดังกล่าวมีความแตกต่างจากกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชของไทย และจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบเกษตรกรรม การพัฒนาพันธุ์พืชของประเทศไทย รวมไปถึงผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศได้ ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องปฏิเสธการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญายูปอฟ โดยยืนยันหลักการคุ้มครองพันธุ์พืชตามระบบกฎหมายของไทยซึ่งเป็นสิทธิที่มี อยู่ในความตกลงทริปส์</p>
<p> </p>
<p>4.3) การปรับปรุงพัฒนากฎหมายเฉพาะ</p>
<p>เนื่องจากระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในปัจจุบันไม่อาจใช้เพื่อการ รับรองและคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมและ เป็นธรรม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาระบบกฎหมายเฉพาะ (<i>sui generic</i> system) ที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพและเงื่อนไขของการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการพัฒนาส่งเสริมพันธุ์พืช สมุนไพรและภูมิปัญญาการแพทย์ของไทย โดยคำนึงถึงบริบทของสภาพปัญหาทั้งในระดับประเทศและระดับโลก</p>
<p> หลักการสำคัญที่ควรมีอยู่กฎหมายเฉพาะ คือ</p>
<p>§ คุ้มครองสิทธิของชุมชนด้านการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์ของไทย</p>
<p>§ กำหนดรูปแบบสิทธิในทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในลักษณะ “สิทธิส่วนรวม” ( Communal Property) เพื่อให้ชุมชนมีสิทธิในกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์การดูแลจัดการทรัพยากรพันธุกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับจารีตประเพณีของท้องถิ่นและเป็นการจัดการร่วมกับรัฐในรูปแบบการ จัดการเชิงซ้อน</p>
<p>§ ส่งเสริมการพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์ ให้เกิดความก้าวหน้า สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพทางสังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป</p>
<p>§ มีการกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์การเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ ทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาการแพทย์ของไทย ป้องกันมิให้มีการนำเอาทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาการแพทย์ของไทยไปใช้ ประโยชน์หรือจดทะเบียนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างไม่เป็นธรรม</p>
<p>กฎหมายของไทยที่เป็นกฎหมายเฉพาะด้านการคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพและ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในขณะนี้ ได้แก่ พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช 2542 และ พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย 2542 กฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่ควรเร่งผลักดันการใช้บังคับ คือ กฎหมายป่าชุมชน กฎหมายฉบับนี้ให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิชุมชนในการดูแลจัดการทรัพยากร ชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในป่าชุมชนที่แต่ละชุมชนดูแล เป็นกฎหมายที่รับรองสิทธิชุมชนท้องถิ่นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญไทย และเป็นการส่งเสริมบทบาทของชุมชนท้องถิ่นในการดูแลจัดการทรัพยากรและ ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับภาครัฐ อันจะเป็นการช่วยอุดช่องโหว่และแก้ไขปัญหาข้อจำกัดของหน่วยงานภาครัฐในการทำ หน้าที่ดังกล่าว</p>
<p>สำหรับกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชและภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยนั้น จำเป็นต้องมีการศึกษาติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ในการบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำข้อมูลมาใช้เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงพัฒนาเนื้อหาและกระบวนการ บังคับใช้กฎหมายให้เกิดประสิทธิผลตามเจตนารมย์ของกฎหมายมากยิ่งขึ้น</p>
<p> </p>
<p>4.4) การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา</p>
<p>ระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอาจเอื้อให้มีการแสวงหา ประโยชน์โดยมิชอบจากทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาการแพทย์ของไทย เนื่องจากเปิดโอกาสให้มีการนำเอาทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาการแพทย์ของ ไทยมาขอรับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา แม้ว่าการได้ทรัพยากรพันธุกรรมหรือภูมิปัญญาการแพทย์ของไทยนั้นมาจะเป็นไป โดยมิชอบก็ตาม กลายเป็นปัญหาการละเมิดสิทธิของชุมชนท้องถิ่นดังตัวอย่างที่เกิดขึ้น เช่น กรณีการจดสิทธิบัตรขมิ้นชันและสะเดาของอินเดีย กรณีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าข้าวจัสมาติ เป็นต้น</p>
<p>ดังนั้นนอกเหนือจากการพัฒนากฎหมายเฉพาะเพื่อการคุ้มครองทรัพยากรพันธุ กรรมและภูมิปัญญาการแพทย์ของไทยแล้ว ในอีกด้านหนึ่งจะต้องมีการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายในส่วนกฎหมายทรัพย์สินทาง ปัญญาด้วย โดยเฉพาะในส่วนกฎหมายสิทธิบัตร โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ เพื่อสร้างความเป็นธรรมต่อการคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาการ แพทย์ของไทย และป้องกันปัญหาการละเมิดนำทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาการแพทย์ของไทยมา จดขอรับความคุ้มครองโดยมิชอบ</p>
<p>แนวทางการปรับปรุงกฎหมายสิทธิบัตรเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว อาจกระทำโดย ให้มีการเปิดเผย แจ้งแหล่งที่มาของทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับสิ่ง ประดิษฐ์ที่มาขอรับความคุ้มครอง ให้แสดงหลักฐานการทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ในกรณีที่มีการใช้ภูมิปัญญาการ แพทย์ของไทยเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์นั้น</p>
<p>แนวทางดังกล่าว เป็นหลักการที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและประเทศไทยได้แสดงเป็นจุดยืนในการ เจรจาทบทวนข้อตกลงทริปส์ภายใต้องค์การการค้าโลกอยู่แล้ว แม้ว่าในการเจรจาจะยังไม่ได้ข้อยุติ แต่ประเทศไทยก็สามารถนำหลักการดังกล่าวมาปรับใช้กับการปรับปรุงกฎหมาย ทรัพย์สินทางปัญญาของไทยได้ โดยมิได้เป็นการขัดกับหลักการของข้อตกลงทริปส์</p>
<p>กิจกรรมส่วนสำคัญที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งดำเนินการเพื่อเสริม กับข้อเสนอในข้อนี้คือ การจัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาการแพทย์ของไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านอื่นๆ อย่างเป็นระบบ มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้ประโยชน์ในการติดตาม ตรวจสอบการจดคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และใช้เป็นประโยชน์ต่อการคัดค้านการจดคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มิชอบ</p>
หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ: