12 Feb 2005
กมล กมลตระกูล
<p> ในการเจรจา เอฟทีเอ ไทย –สหรัฐฯรอบที่สามที่พัทยาเมื่อเร็วๆนี้ นางบาร์บารา ไวเซล ผู้แทนเจรจาของสหรัฐฯ ยืนยันว่า ประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาจะเอาออกจากการเจรจาไม่ได้ ด้วยเหตุผลว่าเพื่อดึงดูดการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ</p>
<p> นอกจากนี้ สหรัฐฯยังเป็นศูนย์กลางในการวิจัยและพัฒนาทั้งด้านวิทยาศาศตร์เทคโนโลยี่และ ด้านบันเทิง หากว่าไม่มีการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเข้มแข็ง สหรัฐฯก็ไม่อาจจะดึงดูดให้เกิดการวิจัยและพัฒนา ( บางกอกโพสท์ ๙ เมษายน ๐๕)</p>
<p> ในขณะเดียวกัน นายนิตยา พิบูลย์สงคราม ตัวแทนเจรจาฝ่ายไทยได้เปิดเผยว่า ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนทัศนะในด้านการเปิดเสรีด้านการลงทุนด้านเหมืองแร่ และการคุ้มครองการลงทุนของต่างชาติผ่านระบบอนุญาโตตุลาการในกรณีที่มีความ ขัดแย้ง โดยที่สหรัฐฯยอมที่จะเปิดตลาดด้านไก่ต้ม ลิ้นจี่ มังคุด ลำใย มะม่วง เงาะ และสับปะรด</p>
<p> การเปิดเจรจา เอฟทีเอ ไทย –สหรัฐฯ นี้ ทางกรรมาธิการต่างประเทศ ของ วุฒิสภา ซึ่งมีวุฒิสมาชิก <b>ไกรศักดิ์ ชุณหวัณ </b>เป็นประธาน และ กรรมาธิการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งมี วุฒิสมาชิกนายแพทย์ <b>นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ</b>เป็น ประธานได้แสดงความเห็นคัดค้าน และชี้ถึงข้อเสียเปรียบมากมาย โดยเฉพาะประเด็นที่ประเทศไทยอาจจะต้องแก้ไขกฏหมายอีกหลายฉบับตามมา และบางประเด็นก็อาจจะละเมิดดอธิปไตยทางด้านอำนาจตุลาการของไทย เช่น การใช้ระบบอนุญาโตตุลาการมาเป็นผู้ตัดสินความขัดแย้งแทนระบบตุลาการ</p>
<p> <strong>อันที่จริงประเทศไทยเป็นสมาชิกขององค์การค้าโลก ซึ่งต้องดำเนินนโยบายการค้าเสรีตามกรอบกติกาขององค์การค้าโลกอยู่แล้ว การทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศมหาอำนาจซึ่งมีอำนาจต่อรองสูงกว่านั้น มีแต่ประเทศไทยจะเสียเปรียบ สิ่งที่ได้มา กับสิ่งที่จะต้องแลกนั้นไม่คุ้มค่าอย่างยิ่ง เสมือนกับการเอาทองคำไปแลกเกลือ เช่นประเด็นข้างต้นในเรื่องการเปิดตลาดผลไม้ซึ่งมีมูลค่าจิ๊บจ้อย เพื่อแลกกับสูญเสียอำนาจตุลาการ และ การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐในเรื่องการคุ้มครองการลงทุน</strong></p>
<p>ในเรื่องการคุ้มครองการลงทุน ประเทศไทยควรจะศึกษาบทเรียนข้อตกลงนาฟต้า หรือข้อตกลงเขตการค้าเสรีของทวีปอเมริกาเหนือ ระหว่างสหรัฐฯ เม๊กซิโก และแคนาดา ซึ่งตีความการคุ้มครองการลงทุน หมายถึงการห้ามการยึดหรือริบกิจการโดยรัฐทั้งทางตรงและทางอ้อม</p>
<p>การยึดหรือริบกิจการโดยรัฐทางตรงนั้นสูญพันธุ์ไปจากโลกนานแล้ว ประเด็นที่เหลืออยู่ คือ การริบหรือยึดกิจการโดยรัฐทางอ้อม ( Indirect expropriation) ในสัญญานาฟต้า ได้เปิดช่องให้ตีความได้อย่างกว้างขวาง เป็นการลิดรอนจำกัดอำนาจของรัฐไม่ให้ปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของสาธารณะ เช่น <b>การห้ามการลงทุนในพื้นที่อนุรักษ์ เขตป่าสงวน หรือ อุตทยานแห่งชาติ หรือในเขตที่ชุมชนคัดค้าน ก็อาจจะเข้าข่ายการริบหรือยึดกิจการโดยรัฐทางอ้อม</b></p>
<p>การปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของสาธารณะสามารถถูกตีความได้ว่าเป็นการการ ริบหรือยึดกิจการโดยรัฐทางอ้อม ซึ่งเอกชนสามารถฟ้องร้องอนุญาโตตุลาการเพื่อเรียกร้องความเสียหายได้อย่าง ไม่จำกัดจากรัฐได้ เช่น การประเมินความสูญเสียรายได้ในอนาคตขช้างหน้า ๕๐-๑๐๐ ปี แล้วคิดเป็นมูลค่าความเสียหายที่รัฐต้องชดใช้ ประเทศไทยอาจจะถูกฟ้องล้มละลายเอาได้ง่ายๆ อย่าได้ประมาทเชียวหละ</p>
<p><b>นอกจากนี้แม้กระทั่ง ความตั้งใจ หรือ การมีแผนจะเข้ามาลงทุน ก็ตีความว่า เป็นการลงทุนแล้ว</b> ถ้าหากว่าถูกกีดกันก็สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐได้ เช่นเดียวกัน </p>
<p>ในด้านทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่ง นางบาร์บารา ไวเซล ผู้แทนเจรจาของสหรัฐฯ ยืนยันอย่างเด็ดขาดว่า ประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาจะเอาออกจากการเจรจาไม่ได้นั้น ถ้าหากว่าประเทศไทยยอมรับไม่ยอมเอาประเด็นนี้ ออกจากการเจรจา ผลเสียหายที่จะตามมาต่อผลประโยชน์ของประเทศ ต่อ เกษตรกร และผู้ป่วยจะมีอย่างมหาศาลและต้องกลายเป็นลูกไล่ตลอดกาล โดยที่สหรัฐฯ เรียกร้องดังนี้</p>
<p>๑. ให้ขยายการคุ้มครองลิขสิทธิ์จากปัจจุบัน ๕๐ ปี หลังจากเจ้าของผลงานเสียชีวิต เป็น ๗๐ ปี</p>
<p>๒. ให้ขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรให้ครอบคลุมสิ่งมีชีวิตทุกประเภท ทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์</p>
<p>๓. ให้ประเทศคู่เจรจาเป็นเข้าภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ( UPOV 1991)</p>
<p>๔. การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าให้รวมถึงสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น กลิ่น สี เสียง</p>
<p>๕. ให้เข้าร่วมในสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางสิทธิบัตร ( Patent Co-operation Treaty-PCT) ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานสิทธิบัตรของประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นผู้รับคำขอจดสิทธิ บัตร ตรวจสอบ และอนุมัติ โดยมีผลบังคับในประเทศที่กำลังพัฒนาได้เลย ไม่ต้องมาขอจดใหม่อีกครั้งหนึ่ง</p>
<p>รายละเอียดของข้อตกลงนี้ยังมีอีกมากมาย แต่เฉพาะ ๕ ข้อนี้ ประเทศกำลังพัฒนาก็ต้องเป็นลูกไล่จ่ายค่าหัวคิวไปแทบจะตลอดชาติแล้ว เพราะว่าร้อยละ ๙๗ ของเจ้าของสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และลิขสิทธิ์ ล้วนคือประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งสิ้น</p>
<p><b>ปัญหาเรื่อง เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา มิใช่อยู่ที่ จ่าย หรือไม่จ่าย คุ้มครองหริอไม่คุ้มครอง แต่ประเด็นที่แท้ คือ “ ความยุติธรรม และเงื่อนไขที่เหมาะสมเป็นธรรม ไม่ผูกขาดค้ากำไรเกินควร” </b></p>
<p>ประเด็นการคุ้มครองลิขสิทธิ์ จาก ๕๐ ปีหลังเจ้าของผลงานเสียชีวิต ก็ถือว่านานเกินไปแล้ว แต่ยังขยายเป็น ๗๐ ปี อีก ซึ่งเป็นการผูกขาดความรู้ กีดกันการถ่ายเทวิทยาการ และวัฒนธรรม ทำให้เกิดการผูกขาดการค้าและการค้ากำไรเกินควร ทำให้เกิดช่องว่างและความแตกต่างในโลก ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจ และสงครามในที่สุด</p>
<p>ในเรื่องสิทธิบัตรยาก็ต้องการให้ขยายเวลาการคุ้มครองออกไปอีก ๕ ปี จาก ๒๐ ปีในกรณีที่การขอจดได้รับอนุมัติช้า นอกจากนี้ยังไม่มีบทลงโทษการนำสูตรยาเก่ามาผสมแล้วจดเป็นยาใหม่ โดยไม่ได้วิจัยค้นคว้าขึ้นใหม่ ก็จะได้รับการคุ้มครองต่ออีก ๒๐ ปี</p>
<p>การคุ้มครองสิทธิบัตรให้ครอบคลุมสิ่งมีชีวิตทุกประเภท ทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ นั้น ไม่มีการระบุถึงแหล่งที่มาของพันธุ์พืช และจุลินทรีย์ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในป่าเขตร้อนในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งประเทศเจ้าของแหล่งที่มาควรจะต้องได้รับส่วนแบ่งจากค่าสิทธิบัตรอย่าง เท่าเทียมกับผู้จดสิทธิบัตรนั้นด้วยเสมอไป มิฉะนั้นก็จะเกิดการปล้น หรือ ขโมยพันธุกรรม หรือ พันธุ์พืช เช่น กรณีข้าวหอมมะลิ เปล้าน้อย กวาวเครือ และจุลินทรีย์ อีกหลายพันชนิดที่ถูกขโมยไปแล้ว</p>
<p>หากประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ( UPOV 1991) ก็จะต้องแก้ไขกฏหมาย พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองของไทย และของชุมชน เพราะว่า UPOV 1991 คุ้มครองเฉพาะพันธุ์พืชใหม่ แต่ไม่คุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมือง</p>
<p>ถ้าตีความกันแบบชาวบ้านก็คือ <b>การอนุญาตให้ปล้นหรือขโมยพันธุ์พื้นเมืองได้อย่างชอบธรรม</b> </p>
<p>ประเด็นการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าให้รวมถึงสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น กลิ่น สี เสียง ซึ่งต่อไปการหายใจเอาอ๊อกซิเจนก็ต้องจ่ายค่าสิทธิบัตรเพราะว่าฝรั่งเป็นผู้ ค้นพบสูตร เอช ๒ โอ ทุกวันนี้ซีดีเพลงต่างๆที่นำไปเปิดทางวิทยุ หรือ ตามตู้คาราโอเกะก็ต้องจ่ายเงิน ทั้งๆที่ค่าลิขสิทธิ์ก็ได้บวกอยู่ในแผ่นแล้ว เรื่องซอฟแวร์ ก็เช่นเดียวกัน</p>
<p><b>พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ เป็นพ.ร.บ. “โจร” เหมือน UPOV 1991</b> ที่อนุญาตให้ <b>“ปล้น”</b> ได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย ต่อไปรถแท๊กซี่ที่นำมาบริการหากินหารายได้ก็ต้องจ่ายค่า “ลิขสิทธิ์” การออกแบบรถ และค่าสิทธิบัตรของเครื่องยนต์ เช่นเดียวกับเรื่องซีดีเพลงและซอฟแวร์</p>
<p>ประเด็นต่างๆที่ไม่เป็นธรรมข้างต้น ประเทศไทยไม่ได้ประโยชน์ หรือได้ไม่คุ้มเสีย แต่อาจจะมีกลุ่มธุรกิจบางกลุ่มจำนวนไม่กี่รายที่ได้ประโยชน์จากข้อตกลงเขต การค้าเสรีกับสหรัฐฯที่กำลังเจรจากันอยู่ แต่ในภาพรวมของผลประโยชน์ของชาติของแผ่นดิน ของประชาชนส่วนใหญ่แล้ว ได้ไม่คุ้มเสีย และไม่มีความจำเป็นต้องเจรจาต่อในขณะนี้</p>
<p align="center"><img height="225" border="0" width="300" src="http://www.ftawatch.info/sites/default/files/WedMay2005122518_Winning-Fr..." alt="" /></p>
<p><b>รัฐบาลควรจะยกเลิกการเจรจา หรือ ยืดกรอบเวลาออกไปก่อนสัก ๕-๑๐ ปีรอให้ประเทศไทยมีความพร้อมมากกว่านี้ ในขณะนี้ เราเป็นสมาชิกองค์การค้าโลก และเปิดเสรีมากพอแล้ว ถ้าเปิดมากไปกว่านี้ ประเทศก็จะไม่มีอะไรเหลือ คนทั้งชาติต้องทำงานมาจ่าย “ส่วย” ที่ถูกต้องตามกฏกติกาของการค้าเสรีในรูปของ ค่า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า แฟรนไชส์ </b></p>
<p><b>รวมทั้งค่า “หัวคิว” อื่นๆ เช่น ค่าแรกเข้า หรือค่าธรรมเนียมนำสินค้าเข้าขายในห้างค้าปลีกยักษ์ และศูนย์การค้า ค่าแบ่งรายได้ของพ่อค้า แม่ค้า และเกษตรกรที่นำสินค้าเข้าไปขาย หรือเข้าไปขายอาหารในห้างเหล่านี้</b></p>
<p>การลงทุนของต่างประเทศ สิ่งที่ประเทศไทยได้คือแรงงาน “ขันน๊อต” ที่รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายในแต่ละเดือน ทำงานจบเดือนก็ยังต้องกู้เงินมาเพื่อเสริมค่าใช้จ่ายที่ค่าแรงไม่พอใช้</p>
<p><b> ทางวุฒิสภาก็ควรจะยับยั้งเพราะว่าต้องแก้กฏหมายหลายฉบับ รัฐจะละเมิดรัฐธรรมนูญเดินหน้าโดยไม่ผ่านวุฒิสภาไม่ได้ </b></p>
<p>ภาคประชาสังคมก็ต้องร่วมกันคัดค้านและกดดันไม่ให้มีการเจรจาต่อไป รวมทั้งเรียกร้องให้เปิดเผยรายละเอียดทุกข้อ และให้มีการลงประชามติ ก่อนจะลงนามเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของประเทศ..</p>
<p> นอกจากนี้ สหรัฐฯยังเป็นศูนย์กลางในการวิจัยและพัฒนาทั้งด้านวิทยาศาศตร์เทคโนโลยี่และ ด้านบันเทิง หากว่าไม่มีการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเข้มแข็ง สหรัฐฯก็ไม่อาจจะดึงดูดให้เกิดการวิจัยและพัฒนา ( บางกอกโพสท์ ๙ เมษายน ๐๕)</p>
<p> ในขณะเดียวกัน นายนิตยา พิบูลย์สงคราม ตัวแทนเจรจาฝ่ายไทยได้เปิดเผยว่า ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนทัศนะในด้านการเปิดเสรีด้านการลงทุนด้านเหมืองแร่ และการคุ้มครองการลงทุนของต่างชาติผ่านระบบอนุญาโตตุลาการในกรณีที่มีความ ขัดแย้ง โดยที่สหรัฐฯยอมที่จะเปิดตลาดด้านไก่ต้ม ลิ้นจี่ มังคุด ลำใย มะม่วง เงาะ และสับปะรด</p>
<p> การเปิดเจรจา เอฟทีเอ ไทย –สหรัฐฯ นี้ ทางกรรมาธิการต่างประเทศ ของ วุฒิสภา ซึ่งมีวุฒิสมาชิก <b>ไกรศักดิ์ ชุณหวัณ </b>เป็นประธาน และ กรรมาธิการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งมี วุฒิสมาชิกนายแพทย์ <b>นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ</b>เป็น ประธานได้แสดงความเห็นคัดค้าน และชี้ถึงข้อเสียเปรียบมากมาย โดยเฉพาะประเด็นที่ประเทศไทยอาจจะต้องแก้ไขกฏหมายอีกหลายฉบับตามมา และบางประเด็นก็อาจจะละเมิดดอธิปไตยทางด้านอำนาจตุลาการของไทย เช่น การใช้ระบบอนุญาโตตุลาการมาเป็นผู้ตัดสินความขัดแย้งแทนระบบตุลาการ</p>
<p> <strong>อันที่จริงประเทศไทยเป็นสมาชิกขององค์การค้าโลก ซึ่งต้องดำเนินนโยบายการค้าเสรีตามกรอบกติกาขององค์การค้าโลกอยู่แล้ว การทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศมหาอำนาจซึ่งมีอำนาจต่อรองสูงกว่านั้น มีแต่ประเทศไทยจะเสียเปรียบ สิ่งที่ได้มา กับสิ่งที่จะต้องแลกนั้นไม่คุ้มค่าอย่างยิ่ง เสมือนกับการเอาทองคำไปแลกเกลือ เช่นประเด็นข้างต้นในเรื่องการเปิดตลาดผลไม้ซึ่งมีมูลค่าจิ๊บจ้อย เพื่อแลกกับสูญเสียอำนาจตุลาการ และ การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐในเรื่องการคุ้มครองการลงทุน</strong></p>
<p>ในเรื่องการคุ้มครองการลงทุน ประเทศไทยควรจะศึกษาบทเรียนข้อตกลงนาฟต้า หรือข้อตกลงเขตการค้าเสรีของทวีปอเมริกาเหนือ ระหว่างสหรัฐฯ เม๊กซิโก และแคนาดา ซึ่งตีความการคุ้มครองการลงทุน หมายถึงการห้ามการยึดหรือริบกิจการโดยรัฐทั้งทางตรงและทางอ้อม</p>
<p>การยึดหรือริบกิจการโดยรัฐทางตรงนั้นสูญพันธุ์ไปจากโลกนานแล้ว ประเด็นที่เหลืออยู่ คือ การริบหรือยึดกิจการโดยรัฐทางอ้อม ( Indirect expropriation) ในสัญญานาฟต้า ได้เปิดช่องให้ตีความได้อย่างกว้างขวาง เป็นการลิดรอนจำกัดอำนาจของรัฐไม่ให้ปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของสาธารณะ เช่น <b>การห้ามการลงทุนในพื้นที่อนุรักษ์ เขตป่าสงวน หรือ อุตทยานแห่งชาติ หรือในเขตที่ชุมชนคัดค้าน ก็อาจจะเข้าข่ายการริบหรือยึดกิจการโดยรัฐทางอ้อม</b></p>
<p>การปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของสาธารณะสามารถถูกตีความได้ว่าเป็นการการ ริบหรือยึดกิจการโดยรัฐทางอ้อม ซึ่งเอกชนสามารถฟ้องร้องอนุญาโตตุลาการเพื่อเรียกร้องความเสียหายได้อย่าง ไม่จำกัดจากรัฐได้ เช่น การประเมินความสูญเสียรายได้ในอนาคตขช้างหน้า ๕๐-๑๐๐ ปี แล้วคิดเป็นมูลค่าความเสียหายที่รัฐต้องชดใช้ ประเทศไทยอาจจะถูกฟ้องล้มละลายเอาได้ง่ายๆ อย่าได้ประมาทเชียวหละ</p>
<p><b>นอกจากนี้แม้กระทั่ง ความตั้งใจ หรือ การมีแผนจะเข้ามาลงทุน ก็ตีความว่า เป็นการลงทุนแล้ว</b> ถ้าหากว่าถูกกีดกันก็สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐได้ เช่นเดียวกัน </p>
<p>ในด้านทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่ง นางบาร์บารา ไวเซล ผู้แทนเจรจาของสหรัฐฯ ยืนยันอย่างเด็ดขาดว่า ประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาจะเอาออกจากการเจรจาไม่ได้นั้น ถ้าหากว่าประเทศไทยยอมรับไม่ยอมเอาประเด็นนี้ ออกจากการเจรจา ผลเสียหายที่จะตามมาต่อผลประโยชน์ของประเทศ ต่อ เกษตรกร และผู้ป่วยจะมีอย่างมหาศาลและต้องกลายเป็นลูกไล่ตลอดกาล โดยที่สหรัฐฯ เรียกร้องดังนี้</p>
<p>๑. ให้ขยายการคุ้มครองลิขสิทธิ์จากปัจจุบัน ๕๐ ปี หลังจากเจ้าของผลงานเสียชีวิต เป็น ๗๐ ปี</p>
<p>๒. ให้ขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรให้ครอบคลุมสิ่งมีชีวิตทุกประเภท ทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์</p>
<p>๓. ให้ประเทศคู่เจรจาเป็นเข้าภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ( UPOV 1991)</p>
<p>๔. การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าให้รวมถึงสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น กลิ่น สี เสียง</p>
<p>๕. ให้เข้าร่วมในสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางสิทธิบัตร ( Patent Co-operation Treaty-PCT) ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานสิทธิบัตรของประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นผู้รับคำขอจดสิทธิ บัตร ตรวจสอบ และอนุมัติ โดยมีผลบังคับในประเทศที่กำลังพัฒนาได้เลย ไม่ต้องมาขอจดใหม่อีกครั้งหนึ่ง</p>
<p>รายละเอียดของข้อตกลงนี้ยังมีอีกมากมาย แต่เฉพาะ ๕ ข้อนี้ ประเทศกำลังพัฒนาก็ต้องเป็นลูกไล่จ่ายค่าหัวคิวไปแทบจะตลอดชาติแล้ว เพราะว่าร้อยละ ๙๗ ของเจ้าของสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และลิขสิทธิ์ ล้วนคือประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งสิ้น</p>
<p><b>ปัญหาเรื่อง เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา มิใช่อยู่ที่ จ่าย หรือไม่จ่าย คุ้มครองหริอไม่คุ้มครอง แต่ประเด็นที่แท้ คือ “ ความยุติธรรม และเงื่อนไขที่เหมาะสมเป็นธรรม ไม่ผูกขาดค้ากำไรเกินควร” </b></p>
<p>ประเด็นการคุ้มครองลิขสิทธิ์ จาก ๕๐ ปีหลังเจ้าของผลงานเสียชีวิต ก็ถือว่านานเกินไปแล้ว แต่ยังขยายเป็น ๗๐ ปี อีก ซึ่งเป็นการผูกขาดความรู้ กีดกันการถ่ายเทวิทยาการ และวัฒนธรรม ทำให้เกิดการผูกขาดการค้าและการค้ากำไรเกินควร ทำให้เกิดช่องว่างและความแตกต่างในโลก ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจ และสงครามในที่สุด</p>
<p>ในเรื่องสิทธิบัตรยาก็ต้องการให้ขยายเวลาการคุ้มครองออกไปอีก ๕ ปี จาก ๒๐ ปีในกรณีที่การขอจดได้รับอนุมัติช้า นอกจากนี้ยังไม่มีบทลงโทษการนำสูตรยาเก่ามาผสมแล้วจดเป็นยาใหม่ โดยไม่ได้วิจัยค้นคว้าขึ้นใหม่ ก็จะได้รับการคุ้มครองต่ออีก ๒๐ ปี</p>
<p>การคุ้มครองสิทธิบัตรให้ครอบคลุมสิ่งมีชีวิตทุกประเภท ทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ นั้น ไม่มีการระบุถึงแหล่งที่มาของพันธุ์พืช และจุลินทรีย์ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในป่าเขตร้อนในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งประเทศเจ้าของแหล่งที่มาควรจะต้องได้รับส่วนแบ่งจากค่าสิทธิบัตรอย่าง เท่าเทียมกับผู้จดสิทธิบัตรนั้นด้วยเสมอไป มิฉะนั้นก็จะเกิดการปล้น หรือ ขโมยพันธุกรรม หรือ พันธุ์พืช เช่น กรณีข้าวหอมมะลิ เปล้าน้อย กวาวเครือ และจุลินทรีย์ อีกหลายพันชนิดที่ถูกขโมยไปแล้ว</p>
<p>หากประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ( UPOV 1991) ก็จะต้องแก้ไขกฏหมาย พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองของไทย และของชุมชน เพราะว่า UPOV 1991 คุ้มครองเฉพาะพันธุ์พืชใหม่ แต่ไม่คุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมือง</p>
<p>ถ้าตีความกันแบบชาวบ้านก็คือ <b>การอนุญาตให้ปล้นหรือขโมยพันธุ์พื้นเมืองได้อย่างชอบธรรม</b> </p>
<p>ประเด็นการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าให้รวมถึงสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น กลิ่น สี เสียง ซึ่งต่อไปการหายใจเอาอ๊อกซิเจนก็ต้องจ่ายค่าสิทธิบัตรเพราะว่าฝรั่งเป็นผู้ ค้นพบสูตร เอช ๒ โอ ทุกวันนี้ซีดีเพลงต่างๆที่นำไปเปิดทางวิทยุ หรือ ตามตู้คาราโอเกะก็ต้องจ่ายเงิน ทั้งๆที่ค่าลิขสิทธิ์ก็ได้บวกอยู่ในแผ่นแล้ว เรื่องซอฟแวร์ ก็เช่นเดียวกัน</p>
<p><b>พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ เป็นพ.ร.บ. “โจร” เหมือน UPOV 1991</b> ที่อนุญาตให้ <b>“ปล้น”</b> ได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย ต่อไปรถแท๊กซี่ที่นำมาบริการหากินหารายได้ก็ต้องจ่ายค่า “ลิขสิทธิ์” การออกแบบรถ และค่าสิทธิบัตรของเครื่องยนต์ เช่นเดียวกับเรื่องซีดีเพลงและซอฟแวร์</p>
<p>ประเด็นต่างๆที่ไม่เป็นธรรมข้างต้น ประเทศไทยไม่ได้ประโยชน์ หรือได้ไม่คุ้มเสีย แต่อาจจะมีกลุ่มธุรกิจบางกลุ่มจำนวนไม่กี่รายที่ได้ประโยชน์จากข้อตกลงเขต การค้าเสรีกับสหรัฐฯที่กำลังเจรจากันอยู่ แต่ในภาพรวมของผลประโยชน์ของชาติของแผ่นดิน ของประชาชนส่วนใหญ่แล้ว ได้ไม่คุ้มเสีย และไม่มีความจำเป็นต้องเจรจาต่อในขณะนี้</p>
<p align="center"><img height="225" border="0" width="300" src="http://www.ftawatch.info/sites/default/files/WedMay2005122518_Winning-Fr..." alt="" /></p>
<p><b>รัฐบาลควรจะยกเลิกการเจรจา หรือ ยืดกรอบเวลาออกไปก่อนสัก ๕-๑๐ ปีรอให้ประเทศไทยมีความพร้อมมากกว่านี้ ในขณะนี้ เราเป็นสมาชิกองค์การค้าโลก และเปิดเสรีมากพอแล้ว ถ้าเปิดมากไปกว่านี้ ประเทศก็จะไม่มีอะไรเหลือ คนทั้งชาติต้องทำงานมาจ่าย “ส่วย” ที่ถูกต้องตามกฏกติกาของการค้าเสรีในรูปของ ค่า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า แฟรนไชส์ </b></p>
<p><b>รวมทั้งค่า “หัวคิว” อื่นๆ เช่น ค่าแรกเข้า หรือค่าธรรมเนียมนำสินค้าเข้าขายในห้างค้าปลีกยักษ์ และศูนย์การค้า ค่าแบ่งรายได้ของพ่อค้า แม่ค้า และเกษตรกรที่นำสินค้าเข้าไปขาย หรือเข้าไปขายอาหารในห้างเหล่านี้</b></p>
<p>การลงทุนของต่างประเทศ สิ่งที่ประเทศไทยได้คือแรงงาน “ขันน๊อต” ที่รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายในแต่ละเดือน ทำงานจบเดือนก็ยังต้องกู้เงินมาเพื่อเสริมค่าใช้จ่ายที่ค่าแรงไม่พอใช้</p>
<p><b> ทางวุฒิสภาก็ควรจะยับยั้งเพราะว่าต้องแก้กฏหมายหลายฉบับ รัฐจะละเมิดรัฐธรรมนูญเดินหน้าโดยไม่ผ่านวุฒิสภาไม่ได้ </b></p>
<p>ภาคประชาสังคมก็ต้องร่วมกันคัดค้านและกดดันไม่ให้มีการเจรจาต่อไป รวมทั้งเรียกร้องให้เปิดเผยรายละเอียดทุกข้อ และให้มีการลงประชามติ ก่อนจะลงนามเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของประเทศ..</p>
หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ:
เอฟทีเอรายประเทศ: