16 May 2005
วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ,บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์
<p>เอกสารฉบับนี้เป็นการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากข้อตกลงเขตการค้าเสรี(เอฟทีเอ) ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาต่อข้าวหอมมะลิไทย โดยมีเนื้อหาหลักแบ่งเป็น 5 ส่วน ส่วนแรกกล่าวถึงความสำคัญของข้าวหอมมะลิต่อสังคมไทย ส่วนที่สองเกี่ยวกับความเป็นมาของความขัดแย้งทางการค้าเรื่องข้าวระหว่างไทย -สหรัฐ ส่วนที่สามกล่าวถึงประเด็นการเจรจาในเอฟทีเอ ไทย-สหรัฐ ที่เกี่ยวโยงกับเรื่องการอนุรักษ์คุ้มครองและใช้ประโยชน์ข้าวหอมมะลิ ส่วนที่สี่เป็นการวิเคราะห์สรุปผลกระทบจากเอฟทีเอ ไทย-สหรัฐต่อข้าวหอมมะลิไทย และส่วนสุดท้ายเป็นข้อเสนอและจุดยืนของประเทศไทยต่อการเจรจา</p>
<p> </p>
<p><b><font size="5">1.</font> <u>ข้าวหอมมะลิกับสังคมไทย </u></b></p>
<p>ข้าวหอมมะลิเป็นพันธุ์ข้าวสำคัญของไทยและเป็นพันธุ์ข้าวที่มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก ข้าวพันธุ์นี้ถูกคัดเลือกและพัฒนาพันธุ์มาโดยเกษตรกรในบริเวณภาคตะวันออกของ ประเทศไทยเมื่อกว่าห้าทศวรรษที่ผ่านมา </p>
<p>เมื่อปี พ.ศ. 2493 สุนทร สีหะเนิน เจ้าหน้าที่การเกษตรประจำจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นผู้เก็บพันธุ์ข้าวนี้เพื่อ ส่งมาปลูกทดสอบโดยกรมการข้าวในสมัยนั้น การเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการรวบรวมและปลูกทดสอบพันธุ์ข้าวซึ่งดำเนินการภายใต้ความช่วยเหลือทาง วิชาการที่มี ดร.เฮนรี่ เอช เลิฟ(Henry H. Love) นักวิชาการด้านพันธุศาสตร์ชาวสหรัฐเป็นที่ปรึกษา ปัจจุบันข้าวพันธุ์นี้มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า “ข้าวขาวดอกมะลิ 105” ปลูกในพื้นที่ประมาณ 26% ของพื้นที่ปลูกข้าวของประเทศไทย (ตัวเลขปี2540)พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือบางส่วน</p>
<p>ตัวเลขผลผลิตเมื่อปี 2543-44 พบว่า ที่ภาคอีสานเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิได้ 3.74 ล้านตัน โดยจังหวัดที่ปลูกมากที่สุด 7 ลำดับแรกของประเทศอยู่ในภาคอีสานทั้งสิ้น คือ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี และมหาสารคาม ในขณะที่ภาคเหนือและภาคกลางผลิตได้ประมาณ 0.54 และ 0.44 ล้านตัน/ปี ตามลำดับ (โดยตัวเลขผลผลิตข้าวหอมมะลิในภาคกลางนั้นรวมตัวเลขข้าวหอมพันธุ์อื่น เช่นปทุมธานี1 รวมอยู่ด้วย)</p>
<p> </p>
<p align="center"><strong>พื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิของไทยเปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์อื่นๆ</strong></p>
<p align="center"><img height="237" border="0" width="476" src="http://www.biothai.net/autopage1/images/TueJune2005144352_pic_jasmine_05..." alt="" /></p>
<p> </p>
<p> </p>
<p>ข้าวหอมมะลิเป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ตัวเลขการส่ง ออกข้าวหอมมะลิเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกประมาณ 20 – 25 % ของยอดการส่งออกข้าวไทยทั้งหมด ตัวเลขการส่งออกล่าสุดเมื่อปี 2547 อยู่ที่ 2.28 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 35,572 ล้านบาท</p>
<p>ตลาดสำคัญของข้าวหอมมะลิไทย คือ จีน สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สิงคโปร์ พม่า ลาว รวมทั้งประเทศในแอฟริกาบางประเทศ ความต้องการข้าวหอมมะลิเพิ่มขึ้นทุกปี (โปรดดูตารางที่ 1 ในภาคผนวกท้ายบทความ) เนื่องจากคุณสมบัติของข้าวหอมมะลิที่โดดเด่นเหนือกว่าพันธุ์ข้าวอื่นๆ ทั้งในแง่ความหอม นุ่ม และรสชาติ</p>
<p>ตลาดของข้าวหอมมะลิในประเทศจีนขณะนี้อยู่ที่ตัวเลข 200,000 ตันต่อปี แต่ในบางปีเช่นเมื่อปี 2544 นั้น รัฐบาลจีนได้ลงนามทำสัญญาขอซื้อข้าวหอมมะลิจากไทยสูงถึง 400,000 ตัน และเชื่อกันว่าความต้องการจริงๆน่าจะสูงกว่านั้นมาก รัฐบาลจีนตระหนักดีในความนิยมของข้าวหอมมะลิไทยในหมู่ประชาชนของตนจึงได้ เสนอโครงการที่จะร่วมกับรัฐบาลไทยในการเช่าพื้นที่เพื่อปลูกข้าวหอมมะลิที่ ทุ่งกุลาร้องไห้ พร้อมๆกับได้เริ่มต้นโครงการที่จะพัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อให้มีคุณภาพทัดเทียม กับข้าวหอมมะลิให้ได้โดยเร็ว</p>
<p>ตลาดของข้าวหอมมะลิในสหรัฐอเมริกาก็เติบโตเช่นเดียวกัน โดยปริมาณการนำเข้าข้าวหอมมะลิของสหรัฐนั้นสูงประมาณ 300,000 ตัน/ปี โดยปีที่ส่งออกมากที่สุด (2541) นั้นส่งออกสูงถึง 578,475 ตัน เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ราคาของข้าวหอมมะลิไทยนั้นขายได้ราคาสูงกว่าข้าวเมล็ดยาวของสหรัฐประมาณ 50 % บริษัทข้าวครบวงจรของสหรัฐ เช่น บริษัทไรซ์เทค และกระทรวงเกษตรของสหรัฐ จึงมีเป้าหมายที่จะแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดของข้าวหอมมะลิไทยด้วยวิธีการต่างๆ ตลอดมา</p>
<p>ปัจจุบัน สัดส่วนของข้าวหอมมะลิไทยนั้นมีสัดส่วนสูงถึง 75 % ของยอดการนำเข้าข้าวทั้งหมดของสหรัฐเลยทีเดียว เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวหอมบัสมาติของอินเดีย ปริมาณการนำเข้าข้าวหอมมะลิสูงกว่าถึง 4 เท่า</p>
<p align="center"><img height="331" border="0" width="573" src="http://www.biothai.net/autopage1/images/TueJune2005144716_pic_jasmine_06..." alt="" /></p>
<p align="center"><strong>ที่มา : กองการค้าธัญพืช กรมการค้าต่างประเทศ,2544</strong></p>
<p> </p>
<p>ข้าวหอมมะลิไทยเป็นที่นิยมในหมู่ชาวแอฟริกันเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่นในประเทศแอฟริกาใต้นำเข้าข้าวจากไทยสูงถึง 320,000 ตันเมื่อปี 2542 โดยในจำนวนนั้นเป็นข้าวหอมมะลิถึง 30,000 ตัน ตัวเลขของสมาคมพัฒนาข้าวแอฟริกาตะวันตก ( West Africa Rice Development Association : WARDA ) ซึ่งตั้งอยู่ในไอวอรี่โคสท์รายงานว่า อัตราการเพิ่มของการนำเข้าข้าวของประเทศในแอฟริกานั้นสูงถึง 4 % ต่อปีในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมาซึ่งถือว่าเป็นอัตราเพิ่มที่มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับ ทวีปอื่น</p>
<p>ข้าวหอมมะลิหาได้มีคุณค่าในเชิงการตลาดเท่านั้น หากแต่มีนัยที่เชื่อมโยงไปยังคุณค่าของบทบาทชุมชนชาวนา ในฐานะที่เป็นพันธุ์พืชซึ่งได้มาจากความสามารถในการคัดเลือกพันธุ์ของชาวนา รุ่นแล้วรุ่นเล่า หาใช่เป็นพันธุ์พืชซึ่งได้รับการปรับปรุงขึ้นโดยปรับปรุงพันธุ์ข้าวสมัยใหม่ แต่อย่างใดไม่ ข้าวหอมมะลิจึงเป็นตัวอย่างที่ยืนยันถึงศักยภาพของเกษตรกรในการอนุรักษ์ พัฒนา และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งถือว่าเป็นฐานรากของเกษตรกรรมและวัฒนธรรมของเรา</p>
<p>ข้าวหอมมะลิปลูกได้ดีและมีคุณภาพดีที่สุดในสภาพดินทรายและอินทรียวัตถุ ต่ำ พันธุ์ข้าวนี้จึงเป็นทางเลือกสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ซึ่งไม่เหมาะกับพืชเกษตรอื่นๆ การตัดสินใจในการเจรจาการค้าใดๆที่ส่งผลกระทบต่อข้าวหอมมะลิ จึงเป็นการตัดสินใจที่สร้างความเสียหายต่อชาวนายากจนนับล้านๆครอบครัวของเรา</p>
<p> </p>
<p><b><font size="5">2.</font> <u>สงครามการค้าและการแย่งชิงพันธุกรรมข้าวหอมมะลิ ระหว่างไทยกับสหรัฐ</u></b></p>
<p>ความขัดแย้งทางการค้าและอื่นๆที่เกี่ยวกับกรณีข้าวระหว่างไทยและสหรัฐ อเมริกา มีอยู่หลายประเด็น ครอบคลุมเกี่ยวกับประเด็นการเปิดตลาดข้าว การใช้เครื่องหมายการค้าและกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนประเด็นเกี่ยวกับสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น</p>
<p>ประเทศไทยกับสหรัฐเป็นคู่แข่งทางการค้าเรื่องข้าวมาโดยตลอดในฐานะที่ไทย เป็นประเทศที่ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก และสหรัฐเป็นผู้ส่งออกอันดับต้นๆของโลกเช่นเดียวกัน ประเทศทั้งสองต่างต้องการยึดครองตลาดข้าวสำคัญๆทั่วโลก รวมถึงตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง ในการเจรจาภายใต้องค์กรการค้าโลกนั้น ประเทศไทยเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาลดการอุดหนุนสินค้าเกษตร แต่หาได้ประสบผลสำเร็จไม่ โดยขณะนี้สหรัฐอเมริกายังคงอุดหนุนการผลิตข้าวคิดเป็นเงินไทยประมาณ 4,000-5,000 บาท/ตัน ผู้ประกอบการส่งออกข้าวของไทยเชื่อว่าหากสหรัฐอเมริกาลดการอุดหนุนการผลิต และการค้าข้าวลงมา ประเทศไทยจะสามารถส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้นและทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกปรับตัว สูงขึ้นซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมข้าวและชาวนาไทยในท้ายที่สุด</p>
<p>ปัญหาทางการค้าที่กลายเป็นประเด็นสาธารณะเมื่อปี 2542 คือความขัดแย้งในกรณีที่สหรัฐอนุญาตให้อุตสาหกรรมข้าวภายในประเทศของตน สามารถขายข้าวเมล็ดยาวพันธุ์ใดก็ตามได้ภายใต้ชื่อ “จัสมินไรซ์” ทั้งนี้โดยสหรัฐอ้างว่า “จัสมินไรซ์” เป็นชื่อ “ทั่วไป”(Generic name) ดังนั้นบริษัทไรซ์เทคของสหรัฐจึงได้จดเครื่องหมายการค้า “จัสมาติ” (JASMATI) แล้วแอบอ้างว่าเป็น “ข้าวหอมมะลิที่ปลูกที่เท็กซัส” กรณีดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนไทยทุกระดับ ชาวนาไทยประท้วงรัฐบาลสหรัฐในเรื่องดังกล่าว และต่อมารัฐบาลไทย โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ยื่นฟ้องต่อกรรมาธิการการค้าของสหรัฐ แต่กรรมาธิการชุดดังกล่าวก็ปฏิเสธที่จะรับคำฟ้องโดยอ้างว่าการกระทำดังกล่าว ไม่ผิดกฎหมายของสหรัฐ เมื่อปี 2543 สถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทยได้จัดการประชุมทางไกล(VDO Conference)ขึ้นที่กรุงเทพเพื่อหาทางลดข้อขัดแย้งและความไม่พอใจของประชาชน ไทย โดยเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯแนะนำให้ฝ่ายไทยใช้กฎหมายเครื่องหมายการค้า(Trade Mark)เพื่อปกป้องข้าวหอมมะลิของไทย</p>
<p>กรณี”จัสมาติ”ยังไม่ทันจางไปจากความทรงจำ ในปี 2544 ความขัดแย้งเกี่ยวกับการนำพันธุกรรมข้าวหอมมะลิของไทยไปใช้อย่างไม่เหมาะสม ก็เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อสถาบันวิจัยข้าวของสหรัฐที่เดล บัมเปอร์ รัฐอาร์คันซอส์ ร่วมกับสถาบันวิจัยอีก 2 แห่ง คือศูนย์วิจัยและการศึกษาเอฟเวอร์เกลด มหาวิทยาลัยฟลอริดา และศูนย์วิจัยและส่งเสริมพันธุ์ข้าว มหาวิทยาลัยอาร์คันซอส์ ได้เริ่มต้นโครงการปรับปรุงข้าวหอมมะลิเพื่อปลูกในสหรัฐ (Stepwise Program for Improvement of Jasmine Rice for the United States) ขึ้น ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิสำหรับปลูกในสหรัฐและแข่งขันกับข้าว ไทยโดยตรง นักวิจัยชาวสหรัฐอ้างว่าได้พันธุกรรมข้าวหอมมะลิไปจากสถาบันวิจัยข้าวนานา ชาติ แต่กลับไม่ปรากฏการลงนามในสัญญาการเคลื่อนย้ายพันธุกรรม(MTA-Material Transfer Agreement)แต่อย่างใด เป็นการแสดงเจตนาที่จะจดสิทธิบัตรข้าวที่ปรับปรุงจากข้าวหอมมะลิ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ตามกติการะหว่างประเทศ และการวิจัยดังกล่าวอาจเป็นการละเมิดต่อกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ของไทยได้เช่นกันหากพบว่ามีการนำเอาข้าวหอมมะลิจากประเทศไทยไปใช้ประโยชน์ โดยไม่ดำเนินตามขั้นตอนที่ถูกต้อง ปัญหานี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับเกษตรกรและประชาชนไทยโดยทั่วไป มีการเดินขบวนของชาวนาที่ทุ่งกุลาร้องไห้กว่า 2,000 คน เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2544 และกว่า 1,500 คนที่หน้าสถานทูตสหรัฐเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน</p>
<p>อย่างไรก็ตามความไม่พอใจดังกล่าวของคนไทยเริ่มลดลงเมื่อกระทรวงพาณิชย์ สหรัฐแจ้งผ่านกระทรวงพาณิชย์ของไทยว่านักวิจัยของสหรัฐได้แสดงจดหมายยืนยัน อย่างเป็นทางการ และได้ลงนามในสัญญาโอนย้ายพันธุกรรม โดยรับปากว่าจะไม่จดสิทธิบัตรพันธุ์ข้าวซึ่งปรับปรุงจากข้าวหอมมะลิของไทย</p>
<p>หากวิเคราะห์รายละเอียดของข้อเรียกร้องและประเด็นเจรจาเอฟทีเอระหว่าง สหรัฐกับประเทศไทย จะเห็นได้ว่าหลายประเด็นเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับประเด็นความขัดแย้งดังกล่าว ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมแทบทั้งสิ้น</p>
<p> </p>
<p><b><font size="5">3.</font> <u>ประเด็นการเจรจา เอฟทีเอ ที่จะมีผลกระทบต่อข้าวหอมมะลิไทย</u></b></p>
<p>ประเด็นการเจรจาการจัดทำเอฟทีเอ ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ที่มีผลกระทบเชื่อมโยงกับเรื่องข้าวหอมมะลิ ได้แก่ การเปิดตลาดสินค้าเกษตร ทรัพย์สินทางปัญญา สินค้าดัดแปลงพันธุกรรม และเรื่องสิ่งแวดล้อม</p>
<p>อย่างไรก็ตาม เอกสารที่คู่เจรจายื่นให้แต่ละฝ่ายถูกถือว่าเป็นความลับไม่สามารถเผยแพร่สู่ สาธารณะได้ ทั้งนี้ เนื่องจากทางคณะเจรจาของสหรัฐขอให้ฝ่ายไทยลงนามข้อตกลงรักษาความลับในการ เจรจา แม้ว่าฝ่ายไทยจะปฏิเสธไม่ลงนาม ขอเป็นเพียงคำสัญญาสุภาพบุรุษ (Gentleman Agreement) ว่าจะไม่เปิดเผยความลับ แต่ก็ทำให้เอกสารของการเจรจาถูกปฏิบัติในสถานะ “ความลับ” เจ้าหน้าที่รัฐของไทยปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูลแก่ประชาชนมาโดยตลอด</p>
<p>ดังนั้น ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับประเด็นข้อเรียกร้องของทางสหรัฐ จึงอาศัยการศึกษาเปรียบเทียบจากข้อตกลงเอฟทีเอ ที่ทางสหรัฐทำกับประเทศต่างๆ เช่น จอร์แดน เวียดนาม สิงคโปร์ บาห์เรน โมร็อกโก ออสเตรเลีย รวมทั้งเป้าหมายการเจรจาที่กำหนดไว้ในกฎหมาย Trade Promotion Authority ของสหรัฐ และในกรอบการเจรจาของสหรัฐกับประเทศไทยตามเอกสารที่ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ยื่นเสนอต่อรัฐสภาสหรัฐและได้รับการอนุมัติแล้วเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2547 เป็นหลัก</p>
<p><b>3.1 การเปิดตลาดสินค้าเกษตร</b></p>
<p>รายงานการศึกษาเรื่อง ผลกระทบจากการทำความตกลงการค้าเสรีไทย-สหรัฐ ที่ดำเนินการศึกษาโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ในปี 2546 โดยยึดตามกรอบของสหรัฐ-ชิลี พบว่า การลดภาษีศุลกากรให้เหลือศูนย์และขจัดอุปสรรคที่มิใช่ภาษีจะทำให้ไทยและ สหรัฐมีการส่งออกเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี หรือในบางกรณีอาจสูงถึงร้อยละ 30 เนื่องจากสินค้าเกษตรของทั้งสองฝ่ายมีลักษณะเกื้อหนุนกัน กล่าวคือ สหรัฐมีความได้เปรียบในการผลิตสินค้าเกษตรเมืองหนาว ส่วนไทยมีความได้เปรียบในการผลิตสินค้าเกษตรเขตร้อน</p>
<p>อย่างไรก็ตาม รายงานฉบับดังกล่าวได้ย้ำเตือนด้วยว่า แม้ความตกลงการค้าเสรีไทย-สหรัฐ จะช่วยเพิ่มปริมาณการค้าและการขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นผลดีต่อผู้บริโภค และผู้ผลิตที่ใช้สินค้าเกษตรเป็นวัตถุดิบ แต่ก็อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อเกษตรกรจำนวนมากโดยเฉพาะเกษตรกรที่ผลิตสินค้า แข่งขันกับสินค้าส่งออกของสหรัฐอาจจะต้องเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหรือต้อง เปลี่ยนอาชีพ ได้แก่ เกษตรกรที่ปลูก ถั่วเหลือง ข้าวโพด มะเขือเทศ ถั่วลิสง ส่วนผู้ประกอบธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ขนาดเล็กที่มีต้นทุนสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เลี้ยงหมู และวัวอาจจะต้องเลิกกิจการ รัฐบาลไทยจึงควรเร่งปรับโครงสร้างภาษีและกระบวนการศุลกากร เพื่อให้สินค้าไทยมีต้นทุนวัตถุดิบลดลง และเร่งเพิ่มผลิตภาพในภาคเกษตร ตลอดจนช่วยเหลือให้เกษตรกรรายย่อยสามารถปรับตัวได้</p>
<p>จากการศึกษาของทีดีอาร์ไอได้ชี้ให้เห็นว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากความ ตกลงการค้าเสรีไทย-สหรัฐต่อสาขาเกษตรมีทั้งผลกระทบทางบวกและทางลบ อย่างไรก็ตามการศึกษาดังกล่าวมีข้อที่น่าสังเกตหลายประการ คือ</p>
<p> 1) การศึกษาดังกล่าวมีสมมุติฐานหลักสำคัญว่า จะมีการลดภาษีศุลกากรเหลือศูนย์และขจัดอุปสรรคที่มิใช่ภาษี ซึ่งมีผลทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี แต่ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้ตัวเลขการส่งออกที่ประเมินไว้ต่ำกว่าความเป็น จริง คือ การที่สหรัฐมีการอุดหนุนภาคเกษตรกรรมทั้งการอุดหนุนภายในที่บิดเบือนตลาด การอุดหนุนภายในที่ไม่บิดเบือนตลาด และการอุดหนุนการส่งออก เป็นจำนวนเงินที่สูงประมาณ 18 พันล้านเหรียญต่อปี และเป็นไปได้ยากที่สหรัฐจะลดการอุดหนุนในส่วนนี้ ให้กับฝ่ายไทย เนื่องจากการลดการอุดหนุนลงไปมีผลคล้ายกับการเปิดตลาดให้กับทุกประเทศอื่น ด้วยนอกจากประเทศไทย นอกเหนือจากนี้การอุดหนุนสินค้าเกษตรยังมีที่มาทางประวัติศาสตร์อย่างยาวนาน อีกทั้งเป็นข้อผูกพันของรัฐบาลสหรัฐภายใต้กฎหมายการเกษตร ฉบับปี 2002</p>
<p> </p>
<p align="center"><img border="0" src="http://www.biothai.net/autopage1/images/TueJune2005144854_pic_jasmine_07..." style="width: 532px; height: 359px;" alt="" /></p>
<p align="center"><strong>ตัวอย่างการสนับสนุนการผลิตทางการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐ</strong></p>
<p> </p>
<p> 2) ทีดีอาร์ไอมีความเห็นว่าสินค้าเกษตรของไทยและสหรัฐมีลักษณะเกื้อหนุนกัน แต่สำหรับกรณีข้าวซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญมากที่สุดของไทย สหรัฐกลับเป็นคู่แข่งสำคัญ รวมทั้งกรณีข้าวหอมมะลิที่ทางสหรัฐกำลังเร่งพัฒนาปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ สามารถแข่งขันกับข้าวหอมมะลิไทยดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้นในระยะเวลาไม่นาน ถ้าโครงการดังกล่าวดำเนินการสำเร็จ สหรัฐก็จะก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทยโดยเฉพาะในตลาดข้าวหอมมะลิ</p>
<p> 3) ในขณะนี้ สหรัฐกำลังดำเนินการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ อีกกว่า 50 ประเทศ ดังนั้นถึงแม้จะมีการลดอัตราภาษีศุลกากรสินค้าเกษตรให้เหลือศูนย์และขจัด อุปสรรคที่มิใช่ภาษีได้จริง สินค้าเกษตรของประเทศคู่ค้าของสหรัฐก็ยังคงต้องแข่งขันกันภายใต้สิทธิพิเศษ ทางการค้าอย่างเดียวกันอยู่นั่นเอง ซึ่งจะทำให้ผลประโยชน์ที่จะได้จากการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐต่ำกว่า ที่คาดหวัง</p>
<p><b>3.2 สินค้าดัดแปลงพันธุกรรม</b></p>
<p>ในหัวข้อการเจรจาเอฟทีเอ ระหว่างไทย-สหรัฐ ทางสหรัฐไม่ได้มีข้อเรียกร้องเรื่องสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือจีเอ็ม โอ ( GMOs) แยกออกมาเป็นหัวข้อเฉพาะ แต่ในการเจรจาหัวข้อการเกษตร มีประเด็นข้อเรียกร้องที่เกี่ยวโยงกับเรื่องจีเอ็มโอ ในลักษณะที่นำไปสู่การเปิดเสรีการค้าขายสินค้าจีเอ็มโอ มากขึ้น</p>
<p>ประเด็นข้อเรียกร้องของสหรัฐในด้านการเกษตร ที่เกี่ยวโยงต่อเรื่องจีเอ็มโอ ได้แก่</p>
<p>1) ต้องการให้ประเทศคู่เจรจายึดถือข้อตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการด้านสุขอนามัย และสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures : SPS ) ภายใต้องค์การการค้าโลกอย่างเคร่งครัด</p>
<p>2) ต้องการให้ประเทศคู่เจรจาขจัดมาตรการต่างๆ ทางด้านการค้าที่ส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การติดฉลากสินค้าจีเอ็มโอ เป็นต้น</p>
<p>ข้อเรียกร้องดังกล่าวปรากฏอยู่ในกฎหมาย Trade Promotion Authority ของสหรัฐ (Sec. 2102 ข้อ b (10) - VIII ) และในกรอบการเจรจาของสหรัฐกับประเทศไทยตามเอกสารที่ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ยื่นเสนอต่อรัฐสภาสหรัฐ</p>
<p>ตามข้อตกลง SPS ให้สิทธิแก่ประเทศสมาชิกในการใช้มาตรการจำกัดการนำเข้าสินค้าที่อาจเป็น อันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ หรือพืช โดยจะต้องเป็นมาตรการที่อิงกับมาตรฐานระหว่างประเทศ หรือมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Evidence) ในการใช้มาตรการดังกล่าว และถึงแม้ว่าจะมีข้อกำหนดเรื่องการยกเว้น ใน Art. 5.7 สำหรับเรื่องใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เพียงพอ ก็อนุญาตให้สมาชิกใช้มาตรการสุขอนามัยชั่วคราว (Provisional Measures) บนพื้นฐานของข้อมูลที่หาได้ รวมทั้งข้อมูลจากองค์การระหว่างประเทศ และมาตรการสุขอนามัยที่ประเทศอื่น ๆ บังคับใช้อยู่ ทั้งนี้ประเทศสมาชิกจะต้องค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการประเมินความ เสี่ยง (Risk Assessment) ควบคู่ไปด้วย</p>
<p><b>3.3 ทรัพย์สินทางปัญญา</b></p>
<p>วัตถุประสงค์สำคัญของสหรัฐในการเจรจาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา คือ การยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่เจรจาให้ทัดเทียมกับการ คุ้มครองตามกฎหมายของสหรัฐ</p>
<p>ข้อเรียกร้องสำคัญของสหรัฐในด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย คือ</p>
<p>1) ต้องการให้ประเทศคู่เจรจาขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรให้ครอบคลุมสิ่งมีชีวิตทุกประเภท ทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์</p>
<p>2) ต้องการให้ประเทศคู่เจรจาเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้ม ครองพันธุ์พืชใหม่ ( International Convention for the Protection of New Varieties of Plants 1991 หรือ อนุสัญญา ยูปอฟ) ซึ่งหมายถึงการให้ยอมรับนำเอาระบบการคุ้มครองพันธุ์พืชตามระบบอนุสัญญายูปอ ฟมาใช้ในการคุ้มครองพันธุ์พืช</p>
<p>3) เรียกร้องให้มีการนำกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า(Trade mark)เพื่อใช้ในการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)</p>
<p>ข้อเรียกร้องในสองข้อแรกข้างต้นปรากฏอยู่ในกฎหมาย Trade Promotion Authority ของสหรัฐ (Sec. 2102 ข้อ b (4) –ii ) และในกรอบการเจรจาของสหรัฐกับประเทศไทยตามเอกสารที่ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ยื่นเสนอต่อรัฐสภาสหรัฐ ส่วนในข้อที่สามนั้นปรากฏอยู่ภายใต้ข้อตกลงที่สหรัฐทำกับประเทศสิงคโปร์</p>
<p>เมื่อพิจารณาจากข้อกำหนดในกฎหมาย Trade Promotion Authority ของสหรัฐ และในกรอบการเจรจาของสหรัฐกับประเทศไทยตามเอกสารที่ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ยื่นเสนอต่อรัฐสภาสหรัฐและได้รับการอนุมัติแล้ว และจากการเปรียบเทียบเนื้อหาข้อตกลงเอฟทีเอที่ทางสหรัฐได้ทำกับประเทศอื่นๆ เช่น จอร์แดน เวียดนาม สิงคโปร์ บาร์เรน โมร็อกโก ออสเตรเลีย มีแนวโน้มอย่างค่อนข้างชัดเจนว่าทางสหรัฐจะยื่นข้อเรียกร้องในประเด็นนี้ต่อ ประเทศไทยอย่างแน่นอน</p>
<p>ตามความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade Related Aspect of Intellectual Property Rights : TRIPs ) หรือความตกลงทริปส์ ซึ่งเป็นความตกลงฉบับหนึ่งภายใต้องค์การการค้าโลก มีเนื้อหาของความตกลงที่เกี่ยวโยงกับการคุ้มครองสิทธิบัตรอยู่ในมาตรา 27 โดยในมาตรา 27.2 มีข้อยกเว้นที่จะไม่ให้สิทธิบัตรแก่สิ่งประดิษฐ์ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบกับ ความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีงาม หรือก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืช หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ในมาตรา 27.3 (b) ได้ให้สิทธิแก่ประเทศสมาชิกที่จะไม่ให้การคุ้มครองสิทธิบัตรต่อพืชและสัตว์ ที่นอกเหนือจากจุลชีพ และกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับการผลิตพืชและสัตว์ ตามข้อกำหนดในมาตรานี้ ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกจำนวนมากซึ่งรวมทั้งประเทศไทย จึงมีข้อยกเว้นในกฎหมายสิทธิบัตร ไม่ให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรต่อพืชและสัตว์</p>
<p>ในส่วนการคุ้มครองพันธุ์พืช ตามมาตรา 27.3 (b) ของความตกลงทริปส์ ได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องให้ความคุ้มครองพันธุ์พืช แต่ความตกลงทริปส์มิได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องให้ความคุ้มครองพันธุ์พืช ใหม่ภายใต้ระบบสิทธิบัตรเท่านั้น ตามมาตรา 27.3 (b) เปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกสามารถเลือกที่จะให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชภายใต้ ระบบกฎหมายใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบสิทธิบัตร หรือระบบกฎหมายเฉพาะ หรือทั้งสองระบบนี้ร่วมกัน หลักเกณฑ์สำคัญประการเดียวของความตกลงทริปส์ที่กำหนดไว้ในการคุ้มครองพันธุ์ พืชตามระบบกฎหมายเฉพาะ คือ ต้องเป็น “ ระบบกฎหมายเฉพาะที่มีประสิทธิภาพ” ( effective <i>sui generic</i> system ) เท่านั้น</p>
<p>ทั้งนี้ ในความตกลงทริปส์ไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่าระบบกฎหมายเฉพาะที่มี ประสิทธิภาพไว้ และไม่ได้มีการกล่าวอ้างถึงอนุสัญญายูปอฟไว้ ทั้งที่อนุสัญญายูปอฟมีผลใช้บังคับมานานก่อนหน้าที่จะมีการร่างความตกลง ทริปส์ ดังนั้นประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกจึงมีอิสระที่จะเลือกให้ความคุ้มครอง พันธุ์พืชภายใต้ระบบกฎหมายเฉพาะ และตีความคำว่า “ระบบกฎหมายที่มีประสิทธิภาพไว้” ให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศและระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของ ประเทศตนเอง โดยไม่ต้องคำนึงว่าอนุสัญญายูปอฟได้กำหนดหลักการในการคุ้มครองพันธุ์พืชไว้ อย่างใดบ้าง</p>
<p>อนุสัญญายูปอฟนั้น เป็นความตกลงระหว่างประเทศที่ถูกผลักดันจัดตั้งขึ้นโดยประเทศในแถบทวีปยุโรป ในปี ค.ศ. 1961 เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาแก่นักปรับปรุงพันธุ์พืช ซึ่งหมายถึงผู้ปรับปรุง ค้นพบ หรือพัฒนาพันธุ์พืช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการจูงใจให้นักปรับปรุงพันธุ์ได้พัฒนาและปรับ ปรุงพันธุ์พืชใหม่ๆ ขึ้น อนุสัญญายูปอฟมีวัตถุแห่งสิทธิของการคุ้มครองเพียงอย่างเดียวคือ พันธุ์พืช (Plant varieties) ซึ่งหมายถึง กลุ่มของพืชที่เล็กที่สุดที่มีพันธุกรรมและลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สม่ำเสมอ คงตัว และแตกต่างจากกลุ่มอื่นในพืชชนิดเดียวกัน อันเป็นการคุ้มครองที่มีวัตถุประสงค์ที่แคบกว่าความตกลงทริปส์</p>
<p>ประเด็นที่เป็นข้อควรตระหนักอย่างยิ่งเกี่ยวกับอนุสัญญายูปอฟ คือ นับแต่อนุสัญญายูปอฟมีผลใช้บังคับ ได้มีการผลักดันจากบริษัทเมล็ดพันธุ์ให้ประเทศที่พัฒนาแล้วปรับแก้ไขเนื้อหา อนุสัญญารวมแล้ว 3 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1972 , 1978 และ 1991 โดยการแก้ไขในครั้งหลังสุด ได้มีการขยายสิทธิของนักปรับปรุงพันธุ์ให้กว้างขึ้นกว่าเดิม จนมีลักษณะเกือบจะคล้ายคลึงกับสิทธิตามกฎหมายสิทธิบัตร</p>
<p>ในการอนุวัตรการตามความตกลงทริปส์ ประเทศไทยเลือกที่จะให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชด้วยระบบกฎหมายเฉพาะ โดยประเทศไทยได้ออกกฎหมายฉบับหนึ่งคือ พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ยึดถือแนวทางในการคุ้มครองพันธุ์พืชตามหลักเกณฑ์ที่ กำหนดไว้ในอนุสัญญายูปอฟ แต่กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชของไทยได้สร้างหลักเกณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะขึ้น โดยได้กำหนดให้มีการคุ้มครองพันธุ์พืชหลายประเภทด้วยกันคือ พันธุ์พืชใหม่ พันธุ์พืชพื้นเมืองท้องถิ่น พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป และพันธุ์พืชป่าด้วย นอกจากนั้นกฎหมายฉบับนี้ยังได้กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการขอรับความคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่เพิ่มเติม เช่น การกำหนดให้มีการเปิดเผยแหล่งที่มาของสารพันธุกรรมที่ใช้ในการปรับปรุง พันธุ์ (Disclosure of Origin) การกำหนดให้การเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมพืชต้องเป็นไปโดยได้รับความยินยอม ล่วงหน้า (Prior Informed Consent) และการกำหนดให้มีการแบ่งบันผลประโยชน์ (Benefit Sharing) ระหว่างนักปรับปรุงพันธุ์กับเจ้าของแหล่งพันธุกรรม เป็นต้น หลักเกณฑ์เหล่านี้เป็นหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยความหลาก หลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity) และได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งประเทศไทยนำมาบัญญัติไว้เพื่อให้การคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
<p>ในทางตรงกันข้าม กฎหมายสหรัฐไม่ได้ให้ความคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมพืชเช่นเดียวกับประเทศ ไทย สหรัฐมุ่งแต่ที่จะให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชที่ได้ถูกค้นพบหรือปรับปรุงขึ้น ใหม่เท่านั้น การคุ้มครองพันธุ์พืชในสหรัฐจึงมีหลายรูปแบบด้วยกันคือ การคุ้มครองพันธุ์พืชที่ขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศตามระบบสิทธิบัตรพันธุ์พืช (Plant Patent) การคุ้มครองพันธุ์พืชที่ขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศตามระบบกฎหมายคุ้มครองพันธุ์ พืช (Plant Variety Protection) และการคุ้มครองพันธุ์พืชตามระบบสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ (Utility Patent) ซึ่งมักจะเป็นการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ที่สร้างขึ้นด้วยวิธีการทางพันธุ วิศวกรรม</p>
<p>ดังนั้น จากข้อเรียกร้องของสหรัฐภายใต้การเจรจาจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีที่กำหนดให้ ประเทศไทยต้องเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญายูปอฟ และ/หรือ ต้องให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรแก่พันธุ์พืชด้วยนั้น จึงเป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้ประเทศคู่ค้ากับสหรัฐต้องให้ความคุ้มครองแก่ พันธุ์พืชภายใต้ระบบสิทธิบัตรนั่นเอง (โปรดดูภาคผนวก ตารางที่ 3 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชของไทยกับข้อเรียก ร้องของสหรัฐอเมริกา)</p>
<p>สำหรับในกรณีเรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้น เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าสหรัฐอเมริกามีความคิดเห็นขัดแย้งกับประเทศยุโรป และประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ เนื่องจากประเทศสหรัฐได้ใช้ประโยชน์จากชื่อสินค้าที่มาจากชื่อสิ่งบ่งชี้ทาง ภูมิศาสตร์เป็นจำนวนมาก เช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวบัสมาติ ไวน์บอร์กโดซ์ สก๊อตวิสกี้ เป็นต้น การที่สหรัฐอเมริกาเรียกร้องให้ประเทศที่ลงนามเขตการค้าเสรีด้วยให้ใช้ กฎหมายเครื่องหมายการค้าแทนกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เท่ากับอเมริกาถือว่าชื่อสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศอื่น เช่น จัสมินไรซ์ เป็นเพียง “ชื่อสามัญ” (Generic name)</p>
<p>หลักการของการคุ้มครองโดยใช้เครื่องหมายการค้านั้น ให้สิทธิกับใครก็ตามที่จดชื่อสินค้าหรือเครื่องหมายการค้า โดยใคร “จดทะเบียนก่อน ได้สิทธิก่อน” และสิทธินั้นจะมอบให้แก่ “เอกชน” รายใดรายหนึ่ง ในขณะที่หลักการของการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้น จะให้สิทธิแก่สินค้าซึ่งมีชื่อเสียงมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง และสิทธินั้นจะมอบให้แก่ “ชุมชนในพื้นที่หนึ่งๆ” ซึ่งได้พัฒนาสินค้ามาร่วมกัน การนำกฎหมายเครื่องหมายการค้ามาแทนการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จึง เป็นการละเมิดและแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงของสินค้าที่พัฒนามาจาก ภูมิปัญญาของชุมชน และในหลายกรณีเป็นการแย่งชิงสิทธิที่ควรจะเป็นของชุมชนมาเป็นสิทธิของบริษัท เอกชนรายใดรายหนึ่งเท่านั้น</p>
<p><b>3.4 </b><b>เรื่องสิ่งแวดล้อม</b></p>
<p>วัตถุประสงค์สำคัญของสหรัฐในการเจรจาเรื่องสิ่งแวดล้อมในข้อตกลงการค้า เสรี ไทย-สหรัฐฯ คือ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเรื่องสิ่งแวดล้อมกับเรื่องการค้า และทำให้การยอมรับดังกล่าวเป็นพันธะทางกฎหมายเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของข้อ ตกลงเอฟทีเอ และหากประเทศไทยไม่สามารถรักษาหรืปรับปรุง มาตรฐานการปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อมตามที่ระบุไว้ได้ ความบกพร่องดังกล่าวสามารถถูกยกขึ้นเพื่อเป็นเหตุให้สหรัฐสามารถกีดกันทาง การค้าอย่างถูกกฎหมายได้</p>
<p>ประเด็นข้อเรียกร้องของสหรัฐสำหรับการเจรจาเอฟทีเอ ในด้านสิ่งแวดล้อมที่จะมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย ได้แก่</p>
<p>(1) ต้องการให้ประเทศคู่เจรจามีการบังคับใช้กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศของตน อย่างเข้มงวด และได้กำหนดกลไกการติดตามให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจัง</p>
<p>(2) การรับรองสิทธิและพันธกรณีภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม (MEAs) ที่ทั้งประเทศไทยและประเทศสหรัฐฯ เป็นภาคีสมาชิกอยู่เท่านั้น</p>
<p>ข้อเรียกร้องดังกล่าวส่วนหนึ่งปรากฏอยู่ในกฎหมาย Trade Promotion Authority ของสหรัฐ (Sec. 2102 ข้อ b (4) –11 ) และในกรอบการเจรจาของสหรัฐกับประเทศไทยตามเอกสารที่ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ยื่นเสนอต่อรัฐสภาสหรัฐ</p>
<p>การที่สหรัฐมีข้อกำหนดภายใต้ข้อตกลงเอฟทีเอ ให้ประเทศไทยมีการใช้บังคับกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด มีเหตุผลเนื่องจาก ทางสหรัฐเห็นว่าการที่ต้นทุนการผลิตของสินค้าไทยมีราคาต่ำ เพราะไม่ได้รวมเอาต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในราคาสินค้าด้วย แต่ผลักภาระต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมให้แก่สังคม ดังนั้นถ้ามีการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้ต้นทุนภายนอก ( External Cost ) กลับไปสู่ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการมากยิ่งขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยได้</p>
<p>จะเห็นได้ว่า ผลกระทบจากข้อเรียกร้องของสหรัฐในเรื่องสิ่งแวดล้อมจะมีผลกระทบในสองลักษณะ กล่าวคือ ในแง่หนึ่งถ้าดูอย่างผิวเผินน่าจะเป็นผลดีต่อการดูแลรักษาฐานทรัพยากรของ ประเทศไทย (ซึ่งจะได้วิเคราะห์ต่อไปในหัวข้อที่ 4) แต่ในขณะเดียวกันก็มีเหตุผลในเชิงการแข่งขันทางการค้า ที่ต้องการให้สินค้าไทยมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งอาจมองได้ว่า เป็นมาตรการทางการค้าที่กำหนดขึ้นมาเพื่อทดแทนการที่ต้องลดภาษีศุลกากรให้ กับสินค้าของไทย ทั้งนี้ เพื่อการปกป้องผู้ผลิตของสหรัฐนั่นเอง</p>
<p> </p>
<p><strong><font size="5">4.</font></strong> <u><strong>ผลกระทบของข้อตกลงเอฟทีเอที่มีต่อข้าวหอมมะลิไทย</strong></u></p>
<p><strong>4.1 กรณีจีเอ็มโอ</strong></p>
<p>สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผลิตจีเอ็มโอรายใหญ่ของโลก บริษัทข้ามชาติของสหรัฐ “มอนซานโต้” ครอบครองตลาดพันธุ์พืชจีเอ็มโอกว่า 80% ของตลาดเมล็ดพันธุ์พืชจีเอ็มโอทั้งหมด นอกเหนือจากนี้สหรัฐยังเป็นผู้ปลูกพืชจีเอ็มโอรายใหญ่คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 60% ของพื้นที่ปลูกจีเอ็มโอทั่วโลก</p>
<p>ขณะนี้บริษัทเอเวนติส (Aventis)ได้พัฒนาข้าวจีเอ็มโอ “Liberty Link” ซึ่งต้านทานยาปราบศัตรูพืชกลุ่มไกลโฟสิเนท(Glyfosinate)ที่มีชื่อการค้า “Liberty” หรือ “Basta” และได้รับการอนุมัติให้ปลูกเพื่อการค้าแล้วในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา บริษัทมอนซานโต้เองมีโครงการวิจัยข้าวจีเอ็มโอในสหรัฐมากกว่า 10 รายการ ในขณะที่ บริษัท Ventria Bioscience กำลังพัฒนาข้าวจีเอ็มโอที่ตัดต่อใส่ยีนมนุษย์เพื่อผลิตโปรตีน lysozyme และ lactoferrin สำหรับผลิตยาป้องกันโรคท้องร่วง ขณะนี้กำลังเตรียมการเพื่อปลูกทดสอบในแคลิฟอร์เนียหรือมิสซูรี่</p>
<p>ภายใต้การเจรจาข้อตกลงเอฟทีเอระหว่างไทยและสหรัฐนั้น สหรัฐได้กดดันให้ประเทศไทยเปิดประตูสำหรับพืชจีเอ็มโอตั้งแต่ก่อนระหว่างการ เจรจาเอฟทีเอเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเสียอีก ตัวอย่างเช่น บริษัทมอนซานโต้ได้ทำจดหมายถึงตัวแทนการค้าสหรัฐเรียกร้องให้ประเทศไทย ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 ที่ห้ามมิให้มีการปลูกทดลองจีเอ็มโอในระดับไร่นาเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้โดยเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าวของไทยก่อนหน้าหรือ ระหว่างการเจรจาเอฟทีเอ</p>
<p>หากประเทศไทยยอมรับข้อเรียกร้องของสหรัฐ เกี่ยวกับประเด็นการเปิดเสรีจีเอ็มโอซึ่งอยู่ภายใต้ข้อเรียกร้อง SPS ภายใต้ WTO อย่างเคร่งครัดนั้นจะเป็นผลทำให้ประเทศไทยไม่อาจใช้มาตรการจำกัดการนำเข้า สินค้าเกษตรจากสหรัฐที่เป็นหรือมีส่วนผสมจากผลิตภัณฑ์ดัดแปลงพันธุกรรม หรือจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่างๆ เพื่อการปกป้องคุ้มครองระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยหลักการป้องกันไว้ก่อน (Precautionary Approach)ได้อย่างเต็มที่ หรือการจำกัดการนำเข้าโดยใช้เหตุผลด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจ-สังคม ( เช่น ผลกระทบต่อเกษตรกรในประเทศ ผลกระทบต่อการผูกขาดครอบครองตลาด ฯลฯ) เนื่องจากตามเงื่อนไขใน WTO เกี่ยวกับการใช้มาตรการทาง SPS ต่อการค้า จะต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์อย่างชัดเจนเสียก่อน แต่ในกรณีจีเอ็มโอนั้น ยังไม่มีข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับผลกระทบของจีเอ็มโอ ซึ่งเป็นที่ยอมรับ โดยเฉพาะผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว</p>
<p>ถึงแม้ว่าข้าวจีเอ็มโอของบริษัทข้ามชาติยังมิได้ปลูกหรือมิได้เข้าสู่ ระบบตลาดอย่างเต็มที่เหมือน ข้าวโพด ถั่วเหลือง และฝ้าย แต่สหรัฐอเมริกาจะใช้ข้าวจีเอ็มโอเป็นเสมือน “ม้าไม้เมืองทรอย” (Trojan Horse) ในการเปิดตลาดเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอให้กับอุตสาหกรรรมเมล็ดพันธุ์ของสหรัฐ เช่นเดียวกับการพยามผลักดันและให้การสนับสนุนการวิจัยและปลูกทดลองมะละกอจี เอ็มโอซึ่งทำให้เกิดกระแสถกเถียงในประเทศไทยอย่างกว้างขวาง</p>
<p>ข้าวจีเอ็มโอสำคัญสองชนิดคือ ข้าวจีเอ็มโอต้านทานโรคขอบใบแห้ง และข้าวจีเอ็มโอเพิ่มวิตามินเอ นั้นได้รับการสนับสนุนในการวิจัยและประสานงานกับเจ้าของสิทธิบัตรโดยมูลนิธิ ร๊อคกี้เฟลเลอร์ของสหรัฐ การผลักดันให้มีการปลูกทดลองข้าวภายใต้โครงการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม นี้ จะเป็นกลยุทธสำคัญของสหรัฐและบรรษัทข้ามชาติในการเปิดตลาดเมล็ดพันธุ์จีเอ็ม โอในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศไทย</p>
<p>การยอมตามแรงกดดันของสหรัฐ แม้เพียงยอมรับการอนุญาตให้มีการปลูกทดลองจีเอ็มโอในระดับไร่นา แต่ก็อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของฐานทรัพยากรพันธุกรรมข้าวในประเทศไทยให้ ได้รับความเสียหาย เนื่องจากยีนต้านทานสารเคมีปราบวัชพืช ยีนต้านทานยาปฏิชีวนะ และอื่นๆอาจจะกระจายไปปนเปื้อนพันธุกรรมข้าวของไทย และเป็นการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน ศูนย์กลางแหล่งกำเนิดและศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ข้าวสำคัญของโลก</p>
<p>หากการเปิดโอกาสให้มีการทดลองฝ้ายบีที และมะละกอจีเอ็มโอในระดับไร่นา( Field Trial) ที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เห็นว่าไม่สามารถควบคุมการแพร่กระจายของพืชจีเอ็มโอไม่ ให้ปนเปื้อนกับพืชทั่วไปได้ และทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ทั้งปัญหาเกี่ยวกับสุขภาวะ สิทธิเกษตรกร และผลกระทบต่อตลาดสินค้าเกษตรของไทยแล้ว การอนุญาตให้ปลูกทดลองข้าวจีเอ็มโอมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดความเสีย หายแก่ประเทศอย่างใหญ่หลวงในระดับที่ไม่อาจนำไปเปรียบเทียบได้กับการทดลอง พืชจีเอ็มโอทั้งสองชนิดที่ได้กล่าวแล้ว</p>
<p align="center"> </p>
<p align="center"><strong>ตารางที่ 1 แสดงปริมาณความต้องการเมล็ดพันธุ์และมูลค่าตลาดในปัจจุบัน</strong></p>
<table cellspacing="0" cellpadding="3" border="1" align="center">
<tbody>
<tr>
<td width="187" valign="top">
<p align="center"><strong>ประเภทเมล็ดพันธุ์</strong></p>
</td>
<td width="144" valign="top">
<p align="center"><strong>ปริมาณ(ตัน)</strong></p>
</td>
<td width="156" valign="top">
<p align="center"><strong>ราคาต่อก.ก.(บาท)</strong></p>
</td>
<td width="127" valign="top">
<p align="center"><strong>มูลค่า(ล้านบาท)</strong></p>
</td>
</tr>
<tr>
<td width="187" valign="top">
<p>ข้าวโพด</p>
</td>
<td width="144" valign="top">
<p align="center">19,767</p>
</td>
<td width="156" valign="top">
<p align="center">100</p>
</td>
<td width="127" valign="top">
<p align="center">2,000</p>
</td>
</tr>
<tr>
<td width="187" valign="top">
<p>ผัก</p>
</td>
<td width="144" valign="top">
<p align="center">2,000</p>
</td>
<td width="156" valign="top">
<p align="center">*</p>
</td>
<td width="127" valign="top">
<p align="center">390-520</p>
</td>
</tr>
<tr>
<td width="187" valign="top">
<p>ถั่วเหลือง</p>
</td>
<td width="144" valign="top">
<p align="center">20,000</p>
</td>
<td width="156" valign="top">
<p align="center">15-18</p>
</td>
<td width="127" valign="top">
<p align="center">355</p>
</td>
</tr>
<tr>
<td width="187" valign="top">
<p>ข้าว</p>
</td>
<td width="144" valign="top">
<p align="center">50,000</p>
</td>
<td width="156" valign="top">
<p align="center">15</p>
</td>
<td width="127" valign="top">
<p align="center">750</p>
</td>
</tr>
<tr>
<td width="187" valign="top">
<p>พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรเก็บเอาไว้เอง</p>
</td>
<td width="144" valign="top">
<p align="center">900,000</p>
</td>
<td width="156" valign="top">
<p align="center">*</p>
</td>
<td width="127" valign="top">
<p align="center">*</p>
</td>
</tr>
</tbody>
</table>
<p>ที่มา : วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ,ข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับการผลักดันพืชจีเอ็มโอ จากหนังสือข้อตกลงเขตการค้าเสรี ผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย(2547) กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน</p>
<p>การครอบครองตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวน่าจะเป็นเป้าหมายของบรรษัทข้ามชาติสหรัฐ รวมทั้งบริษัทเมล็ดพันธุ์ยักษ์ใหญ่ของไทยที่มีสายสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับบริษัท สหรัฐด้วย เนื่องจากขนาดตลาดของเมล็ดพันธุ์ข้าวนั้นสูงกว่าเมล็ดพันธุ์อื่นๆมาก โดยหากสามารถชักจูงให้ชาวนาไทยหันมาเปลี่ยนพันธุ์ข้าวพื้นบ้านมาเป็นพันธุ์ ข้าวจีเอ็มโอได้ บรรษัทเมล็ดพันธุ์จะได้ครอบครองตลาดที่มีมูลค่าสูงถึง 27,000 ล้านบาท และมูลค่าจะสูงกว่านี้จนถึง 67,000 ล้านบาทถ้ามีการผูกขาดตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวเหมือนกรณีตลาดข้าวโพดปัจจุบัน</p>
<p><b>4.2 กรณีทรัพย์สินทางปัญญา</b></p>
<p><b>1) กรณีการยอมรับให้มีการจดสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิต </b></p>
<p>ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงกฎหมายสิทธิบัตรของไทย เนื่องจากตามกฎหมายสิทธิบัตรของไทยในปัจจุบัน ให้การคุ้มครองเฉพาะจุลินทรีย์ที่มีการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นเท่านั้น ไม่รวมถึงพืชและสัตว์ ซึ่งเป็นการให้ความคุ้มครองที่สอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้ตามความตกลงทริปส์ ในองค์การการค้าโลกอยู่แล้ว ถ้าต้องการขยายความคุ้มครองสิทธิบัตรไปยังสิ่งมีชีวิตทุกประเภท จึงต้องมีการปรับแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรของไทย</p>
<p>การขยายความคุ้มครองสิทธิบัตรไปยังสิ่งมีชีวิตทุกประเภท จะส่งผลกระทบต่อการกำกับดูแลการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ความ หลากหลายทางชีวภาพอย่างไม่เป็นธรรม ผลกระทบต่อสิทธิเกษตรกรในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทาง ชีวภาพอย่างยั่งยืน ฯลฯ เนื่องจากตามระบบกฎหมายสิทธิบัตร ไม่มีข้อกำหนดที่พิจารณาถึงแหล่งที่มาของพันธุกรรมที่ใช้เป็นฐานในการ ประดิษฐ์ ไม่มีเงื่อนไขเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมระหว่างผู้ประดิษฐ์ กับบุคคลหรือชุมชนที่เป็นเจ้าของพันธุกรรมที่เป็นฐานในการประดิษฐ์</p>
<p>การยอมรับระบบกฎหมายสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิต เท่ากับการยอมรับให้สหรัฐสามารถจดสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิตจากทรัพยากรชีวภาพที่ นำไปจากประเทศไทยโดยเราไม่อาจโต้แย้งได้นั่นเอง</p>
<p>ในกรณีข้าวหอมมะลินั้น สหรัฐอเมริกาสามารถจดสิทธิบัตรยีนที่ได้จากข้าวหอมมะลิหรือข้าวสายพันธุ์ อื่นๆของไทยได้ ดังที่เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่ากฎหมายสิทธิบัตรของสหรัฐนั้นให้สิทธินัก วิจัยและบริษัทในการจดสิทธิบัตรยีนของข้าวได้ไม่ว่าจะได้มาจากที่ใด ดังที่ ดร.แพม โรแนลด์ (Pam Ronald) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอร์แนลจดสิทธิบัตรยีน XA21 ซึ่งมีคุณสมบัติต้านทานโรคขอบใบแห้ง จากพันธุ์ข้าวป่าของประเทศมาลีในแอฟริกา เป็นต้น การยอมรับการระบบการจดสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิตจะทำให้บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ สหรัฐซึ่งมีความสามารถในการศึกษาเรื่องยีนและจีโนมตลอดจนบริษัทที่ผลิตจี เอ็มโอเข้ามาครอบครองทรัพยากรชีวภาพของโลกทั้งหมดในท้ายที่สุด ดังที่ขณะนี้บริษัท Incyte, Human Genome Sciences และ Celera ได้จดสิทธิบัตรยีนหลายหมื่นสิทธิบัตร และเมื่อเร็วๆนี้ บริษัท Syngenta’s ได้ยื่นเอกสารคำขอสิทธิบัตร WO03000904A2/3 ที่มีความหนาถึง 323 หน้ายื่นจดสิทธิบัตรยีนซึ่งควบคุมการออกดอก และช่วงเวลาการออกดอกของข้าวครอบคลุมประเทศต่างๆ 115 ประเทศทั่วโลก</p>
<p>กฎหมายสิทธิบัตรของสหรัฐยังสามารถใช้ในการผูกขาดสายพันธุ์พืชได้ด้วย ดังนั้นโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าว "Stepwise Program for Improvement of Jasmine Rice for the United States" ซึ่งถูกกระแสกดดันจากประชาชนไทย จนนักวิจัยสหรัฐไม่สามารถจดสิทธิบัตรพันธุ์ข้าวได้ในอดีต ก็จะสามารถกลับมาขอยื่นจดสิทธิบัตรได้อีก ทั้งนี้หากสหรัฐได้รับสิทธิบัตรดังกล่าวจะสร้างความเสียหายให้กับตลาดข้าว ไทยอย่างมาก เนื่องจากผู้ที่ได้รับสิทธิบัตรจะอ้างว่าข้าวหอมมะลิไทยที่นำเข้ามาในตลาด สหรัฐนั้นมีลักษณะเหมือนกับข้าวที่ถูกจดสิทธิบัตรไว้</p>
<p>กรณีคล้ายคลึงกันนี้เคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อปี1999 เมื่อบริษัทสหรัฐชื่อ POD-NERs ได้รับอนุมัติให้ได้รับสิทธิบัตรหมายเลข US5894079 ในถั่วผิวสีทองชื่อ “Enola” นักปรับปรุงพันธุ์ของบริษัทชื่อ Larry Proctor อ้างว่าเขาปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่จากถั่วของเม็กซิโก ทั้งๆที่ถั่วEnolaของเขาเหมือนกันกับถั่ว “Mayacoba” ของชาวเม็กซิกันไม่มีผิด ในปี 2001 ศูนย์วิจัยการเกษตรเขตร้อน CIAT (Center for Tropical Agriculture) ร่วมกับรัฐบาลเม็กซิโกยื่นเรื่องให้มีการยกเลิกสิทธิบัตรถั่วดังกล่าว แต่ขั้นตอนการยกเลิกยังคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ในขณะที่ความเสียหายได้เกิดขึ้นกับชาวไร่เม็กซิโกแล้วเมื่อบริษัท POD-NERs ยื่นจดหมายถึงร้านค้าต่างๆไม่ให้รับซื้อถั่วเหลืองจากเม็กซิโก และได้เรียกร้องค่าสิทธิบัตรจากชาวไร่เม็กซิกันประมาณ 6 เซ็นต์ต่อปอนด์ หรือคิดเป็น 23% ของราคาที่เกษตรกรเม็กซิกันได้รับเมื่อขายถั่วMayacobaในตลาดสหรัฐ ผลกระทบดังกล่าวทำให้การส่งออกถั่วดังกล่าวไปยังสหรัฐลดลงถึง 90%</p>
<p>หากเกิดกรณีนักวิจัยสหรัฐจดสิทธิบัตรข้าวหอมมะลิของไทยดังกรณีที่เกิดกับ ถั่ว Mayacoba ผลประโยชน์จากตลาดข้าวหอมมะลิของไทยซึ่งมีขนาดตลาด 300,000 – 600,000 ตัน จะได้รับผลกระทบ คิดเป็นความเสียหายสูงถึง 4,680 – 9,360 ล้านบาท/ปี ทั้งนี้ไม่นับความเสียหายจากกรณีสหรัฐส่งข้าวออกไปแย่งชิงตลาดข้าวหอมมะลิใน เอเชียและอื่นๆของไทย</p>
<p><b>2</b><b>) กรณีการเข้าเป็นภาคีของยูปอฟ</b></p>
<p>ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงระบบกฎหมายของไทยในการคุ้มครองพันธุ์พืช ซึ่งในกรณีนี้ คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 เนื่องจากหลักการ เงื่อนไข แนวปฏิบัติในการคุ้มครองพันธุ์พืชตามกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช แตกต่างกับกฎหมายสิทธิบัตรและระบบการคุ้มครองตามอนุสัญญายูปอฟฉบับปี ค.ศ. 1991 อย่างมาก</p>
<p>ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 มีลักษณะเป็นกฎหมายเฉพาะ <em>(sui generic system )</em> จัดทำขึ้นโดยให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจสังคมของประเทศไทย ซึ่งเป็นสังคมเกษตรกรรม ให้การคุ้มครองทั้งพันธุ์พืชใหม่ และพันธุ์พืชที่มีอยู่เดิมในป่า หรือในชุมชนท้องถิ่น มีการผ่อนปรนเงื่อนไขการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ไม่ให้เข้มงวดจนเกินไป เพื่อลดผลกระทบต่อเกษตรกร มีข้อกำหนดเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมระหว่างนักปรับปรุง พันธุ์ กับภาครัฐหรือกับชุมชนท้องถิ่นจากการนำเอาพันธุ์พืชป่า หรือพันธุ์พืชพื้นเมืองไปใช้เป็นฐานในการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชเป็นไปอย่างยั่งยืน มีความเป็นธรรม และเป็นการคุ้มครองสิทธิของเกษตรกรด้วย</p>
<p>แต่ในระบบกฎหมายสิทธิบัตร และอนุสัญญายูปอฟ 1991 ไม่ได้มีข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้น มุ่งเน้นให้การคุ้มครองสิทธิของนักปรับปรุงพันธุ์พืชเป็นหลัก ให้การคุ้มครองเฉพาะพันธุ์พืชใหม่ ไม่รวมถึงพันธุ์พืชป่าและพันธุ์พืชพื้นเมือง ดังนั้น ถ้าต้องปรับเปลี่ยนระบบการคุ้มครองพันธุ์พืชของไทยให้เป็นไปตามกฎหมายสิทธิ บัตร หรืออนุสัญญายูปอฟ 1991 ซึ่งมีลักษณะการคุ้มครองใกล้เคียงกับระบบสิทธิบัตร จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการกำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ นำไปสู่ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชของไทย ผลกระทบต่อการสิทธิเกษตรกร เป็นอุปสรรคต่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน</p>
<p>ผลกระทบต่อข้าวหอมมะลิไทยหากประเทศไทยยอมรับระบบกฎหมายของยูปอฟ จะใกล้เคียงกับกรณีการให้สิทธิบัตรในสิ่งมีชีวิต ความแตกต่างอยู่ที่ กฎหมายสิทธิบัตรในสิ่งมีชีวิตจะเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้รับการคุ้มครองหรือ ได้รับสิทธิผูกขาดถึงระดับหน่วยพันธุกรรม(Gene)ด้วย ในขณะที่กรอบกฎหมายยูปอฟนั้นให้การคุ้มครองในเฉพาะสายพันธุ์เท่านั้น</p>
<p><b>3) กรณีการนำกฎหมายเครื่องหมายการค้ามาใช้แทนการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์</b></p>
<p>การใช้เครื่องหมายการค้าเพื่อคุ้มครองชื่อสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของฝ่ายสหรัฐที่จะให้ความหมายว่าชื่อ “จัสมินไรซ์” กลายเป็นชื่อสามัญ และทำให้ความพยายามของประเทศไทยในการกำหนดให้ “จัสมินไรซ์” เป็นชื่อที่ได้รับการคุ้มครองในฐานะชื่อสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นสิ่งที่ ไม่ได้รับการยอมรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรอบการเจรจาพหุภาคี ทั้งๆที่นับตั้งแต่การประชุมที่โดฮาเป็นต้นมา การเจรจาในเรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นได้รวมสินค้าเกษตรเข้าไปอยู่ ด้วยแล้ว เป็นการปิดโอกาสฝ่ายไทยที่จะผลักดันให้ชื่อ “จัสมินไรซ์” เข้าไปอยู่รายชื่อภายใต้ระบบการขึ้นทะเบียนระหว่างประเทศซึ่งขณะนี้กำลัง อยู่ระหว่างการเจรจา</p>
<p>ขณะนี้อุตสาหกรรมข้าวสหรัฐ ขายข้าวพันธุ์อื่นในนาม“จัสมินไรซ์”โดยสองวิธีการคือ นำข้าว “จัสมิน85” บรรจุถุงขายในนามข้าวหอมมะลิ ทั้งๆที่ลักษณะทางกายภาพ คุณภาพการหุง และรสชาติแตกต่างกับข้าวหอมมะลิแท้ๆจากประเทศไทยมาก จากการประมาณการขณะนี้ มีข้าวจัสมิน85 ขายในตลาดสหรัฐประมาณ 200,000 ตัน ส่วนข้าวพันธุ์อื่นๆที่ขายในนามข้าวหอมมะลิ เช่น “จัสมาติ”ของบริษัทไรซ์เทค เป็นต้นนั้น มีขนาดตลาดประมาณ 200,000 ตันรวมตลาดข้าวพันธุ์อื่นๆที่ขายในนามข้าวหอมมะลิประมาณ 400,000 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 6,241.7 ล้านบาทใกล้เคียงกับปริมาณข้าวหอมมะลิแท้ๆที่นำเข้าจากประเทศไทย</p>
<p>การยอมรับว่า “จัสมินไรซ์” เป็นชื่อสามัญ ทำให้ประเทศไทยสูญเสียตลาดที่ควรจะเป็นข้าวหอมมะลิในประเทศสหรัฐเป็นปริมาณ มหาศาล และหากคิดถึงตลาดข้าวหอมมะลิในประเทศอื่นๆที่ถูกแอบอ้างเอาข้าวพันธุ์อื่นมา ขาย มูลค่าความเสียหายจะมากกว่าที่กล่าวแล้วหลายเท่า</p>
<p><b><u>กรณีข้อตกลงที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม</u></b></p>
<p>ภายใต้การเจรจาในหัวข้อว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อม ( Environment Chapter) ทางสหรัฐฯ ได้เสนอข้อเรียกร้องให้ประเทศไทยยอมรับสิทธิ หน้าที่ และพันธกรณีเฉพาะความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม ( Multilateral Environmental Agreements : MEAs ) ที่ประเทศไทยและสหรัฐเป็นภาคีร่วมกันเท่านั้น นั่นหมายความว่า MEAs ที่ไทยเป็นภาคีแต่สหรัฐไม่ได้เป็นภาคี เช่น อนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ อนุสัญญาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก, อนุสัญญาบาเซล เป็นต้น จะไม่สามารถเรียกร้องให้สหรัฐยอมรับสิทธิ หน้าที่ และพันธกรณีตามความตกลงดังกล่าวได้</p>
<p>ในกรณีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) ที่ประเทศไทยและประเทศต่างๆกว่า 100 ประเทศเป็นภาคีสมาชิกอยู่นั้น สหรัฐไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงการแจ้งขออนุญาตการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมล่วง หน้า เรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม และการเคารพภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของอนุสัญญาดังกล่าวแต่ประการใด</p>
<p>หากรัฐบาลไทยยอมตามคำเรียกร้องของสหรัฐ นั่นหมายถึงว่าเรายอมสมัครใจให้สหรัฐละเมิดสิทธิอธิปไตยของประเทศไทยเหนือ ทรัพยากรชีวภาพ สายพันธุ์ข้าว พืชพันธุ์ต่างๆ และทรัพยากรชีวภาพของประเทศทั้งหมดจะถูกเข้ามฉกฉวยใช้ประโยชน์ โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาต ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าตอบแทนประโยชน์ และไม่ต้องเคารพสิทธิของเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่น</p>
<p>เมื่อประกอบกับข้อเรียกร้องให้ประเทศไทยยอมรับระบบกฎหมายสิทธิบัตรสิ่งมี ชีวิตดังที่กล่าวมาด้วยแล้ว บรรษัทข้ามชาติสหรัฐสามารถพาเหรดเข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอื่นๆ ของประเทศได้ตามต้องการ อีกทั้งยังสามารถเข้ามาจดสิทธิบัตรทรัพยากรชีวภาพแสดงความเป็นเจ้าของ ทรัพยากรของเราได้ในแผ่นดินของเราเอง</p>
<p> </p>
<p><b><font size="5">5.</font> <u>จุดยืนของประเทศไทยและข้อเสนอแนะในการเจรจาเอฟทีเอกับสหรัฐอเมริกา</u></b></p>
<p>จุดยืนของประเทศไทยในการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา ต้องยืนอยู่บนผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ คำนึงถึงหลักอธิปไตยของประเทศ และความมั่นคงระยะยาวของชาติ เป็นสำคัญ</p>
<p><b>5.1 ประเทศไทยต้องมีจุดยืนอย่างมั่นคงที่จะไม่ยอมรับระบบกฎหมายทรัพย์สินทาง ปัญญาของฝ่ายสหรัฐโดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นการยอมรับระบบกฎหมายสิทธิบัตรในสิ่งมีชีวิต การเข้าเป็นภาคียูปอฟ และการนำเอากฎหมายเครื่องหมายการค้ามาแทนการคุ้มครองชื่อสิ่งบ่งชี้ทาง ภูมิศาสตร์</b></p>
<p>การยอมรับระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐ นอกจากจะทำให้เกิดความเสียหายต่อตลาดและพันธุกรรมข้าวหอมมะลิดังที่ได้กล่าว แล้ว จะส่งผลต่อทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นชนิดและประเภทอื่นๆทั้งหมด</p>
<p>ตัวแทนเจรจาและรัฐบาลไทยพึงระลึกเสมอว่า การยอมรับตามแรงกดดันของสหรัฐแม้เพียงประเทศเดียว แต่จะทำให้ประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เป็นต้น ได้รับสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญาเสมอเหมือนกับที่ประเทศไทยยอมให้กับประเทศ สหรัฐด้วย</p>
<p>จุดยืนเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาต้องไม่ไปไกลเกินกว่าข้อตกลงทรัพย์สินทาง ปัญญาในกรอบการเจรจาภายใต้องค์กรการค้าโลก ซึ่งขณะนี้อย่างน้อยประเทศไทยยังมีทางเลือกอื่นที่ไม่ต้องใช้กฎหมายสิทธิ บัตรสิ่งมีชีวิต ไม่จำเป็นต้องเข้าเป็นภาคีของยูปอฟ และมีโอกาสสูงที่จะได้รับการคุ้มครองชื่อสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของข้าวหอม มะลิและสินค้าเกษตรอื่นๆในระดับเดียวกับที่ประเทศยุโรปได้รับการคุ้มครอง ไวน์และสุรา</p>
<p> </p>
<p><b>5.2 รัฐบาลไทยต้องแสดงบทบาทการเจรจาในเชิงรุกในการคุ้มครองข้าวหอมมะลิ ทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น</b></p>
<p>โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้</p>
<p> 1) เรียกร้องให้ฝ่ายสหรัฐแก้ปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทยในกรณีข้าว หอมมะลิ โดยห้ามมิให้บริษัทค้าข้าวในสหรัฐแอบอ้างเอาข้าวพันธุ์อื่นขายในนาม “จัสมินไรซ์” การแก้ไขเรื่องนี้ต้องดำเนินไปให้แล้วเสร็จก่อนได้ข้อสรุปในการเจรจา ประเทศสหรัฐอเมริกาต้องใช้บรรทัดฐานเดียวกับที่ได้กดดันให้รัฐบาลไทยกวดขัน การละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนต์ เพลง และซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ของสหรัฐ ซึ่งมีขึ้นก่อนการเจรจาจะเริ่มต้นขึ้นด้วยซ้ำ</p>
<p> 2) ประเทศไทยต้องเรียกร้องให้ฝ่ายสหรัฐยอมรับสิทธิอธิปไตยของประเทศไทยเหนือ ทรัพยากรชีวภาพ การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น จะต้องขออนุญาตล่วงหน้า ต้องทำสัญญาส่วนแบ่งประโยชน์ตามกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 และกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542 ของประเทศไทย โดยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาใดๆของทั้งสองฝ่ายจะต้องแสดงที่มาของ ทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมไปจากเงื่อนไขขอ รับการคุ้มครองเดิมที่กำหนดไว้</p>
<p> </p>
<p><b>5.3 ในกรณีสินค้าจีเอ็มโอนั้น รัฐบาลต้องยืนยันอย่างมั่นคงว่าประเทศไทยมีสิทธิสมบูรณ์ภายใต้อนุสัญญาว่า ด้วยความหลากหลายทางชีวภาพที่จะใช้หลักการป้องกันเอาไว้ก่อน ที่จะห้ามมิให้การนำเข้าจีเอ็มโอเข้ามาภายในประเทศหากไม่มั่นใจถึงผลกระทบ ที่มีต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อม</b></p>
<p>ประเทศไทยมีความชอบธรรมทุกประการในการห้ามการนำเข้าจีเอ็มโอจากต่าง ประเทศเข้ามาทดลองหากเห็นว่าการทดลองนั้นเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการปนเปื้อน ของจีเอ็มโอจากแปลงทดลองกระจายไปในพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่อื่นใดนอกแปลง ทดลอง ทั้งนี้โดยการทดลองเกี่ยวกับจีเอ็มโอในประเทศนั้นต้องอยู่ภายใต้กฎหมายความ ปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งมีหลักการคุ้มครองสิทธิของเกษตรกร และการชดเชยความเสียหายกำหนดไว้อย่างชัดเจน</p>
<p>แรงกดดันของบริษัทมอนซานโต้ที่ต้องการให้รัฐบาลไทยยอมให้มีการทดลองพืชจี เอ็มโอรอบใหม่นั้น ไม่มีเหตุผลเพียงพอ เนื่องจากบริษัทข้ามชาติดังกล่าวเป็นผู้ต้องรับผิดชอบต่อกรณีการปนเปื้อนของ ฝ้ายบีทีเมื่อรัฐบาลไทยอนุญาตให้มีการปลูกทดสอบเมื่อปี 2540</p>
<p> </p>
<p><b><font size="5">1.</font> <u>ข้าวหอมมะลิกับสังคมไทย </u></b></p>
<p>ข้าวหอมมะลิเป็นพันธุ์ข้าวสำคัญของไทยและเป็นพันธุ์ข้าวที่มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก ข้าวพันธุ์นี้ถูกคัดเลือกและพัฒนาพันธุ์มาโดยเกษตรกรในบริเวณภาคตะวันออกของ ประเทศไทยเมื่อกว่าห้าทศวรรษที่ผ่านมา </p>
<p>เมื่อปี พ.ศ. 2493 สุนทร สีหะเนิน เจ้าหน้าที่การเกษตรประจำจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นผู้เก็บพันธุ์ข้าวนี้เพื่อ ส่งมาปลูกทดสอบโดยกรมการข้าวในสมัยนั้น การเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการรวบรวมและปลูกทดสอบพันธุ์ข้าวซึ่งดำเนินการภายใต้ความช่วยเหลือทาง วิชาการที่มี ดร.เฮนรี่ เอช เลิฟ(Henry H. Love) นักวิชาการด้านพันธุศาสตร์ชาวสหรัฐเป็นที่ปรึกษา ปัจจุบันข้าวพันธุ์นี้มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า “ข้าวขาวดอกมะลิ 105” ปลูกในพื้นที่ประมาณ 26% ของพื้นที่ปลูกข้าวของประเทศไทย (ตัวเลขปี2540)พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือบางส่วน</p>
<p>ตัวเลขผลผลิตเมื่อปี 2543-44 พบว่า ที่ภาคอีสานเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิได้ 3.74 ล้านตัน โดยจังหวัดที่ปลูกมากที่สุด 7 ลำดับแรกของประเทศอยู่ในภาคอีสานทั้งสิ้น คือ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี และมหาสารคาม ในขณะที่ภาคเหนือและภาคกลางผลิตได้ประมาณ 0.54 และ 0.44 ล้านตัน/ปี ตามลำดับ (โดยตัวเลขผลผลิตข้าวหอมมะลิในภาคกลางนั้นรวมตัวเลขข้าวหอมพันธุ์อื่น เช่นปทุมธานี1 รวมอยู่ด้วย)</p>
<p> </p>
<p align="center"><strong>พื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิของไทยเปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์อื่นๆ</strong></p>
<p align="center"><img height="237" border="0" width="476" src="http://www.biothai.net/autopage1/images/TueJune2005144352_pic_jasmine_05..." alt="" /></p>
<p> </p>
<p> </p>
<p>ข้าวหอมมะลิเป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ตัวเลขการส่ง ออกข้าวหอมมะลิเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกประมาณ 20 – 25 % ของยอดการส่งออกข้าวไทยทั้งหมด ตัวเลขการส่งออกล่าสุดเมื่อปี 2547 อยู่ที่ 2.28 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 35,572 ล้านบาท</p>
<p>ตลาดสำคัญของข้าวหอมมะลิไทย คือ จีน สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สิงคโปร์ พม่า ลาว รวมทั้งประเทศในแอฟริกาบางประเทศ ความต้องการข้าวหอมมะลิเพิ่มขึ้นทุกปี (โปรดดูตารางที่ 1 ในภาคผนวกท้ายบทความ) เนื่องจากคุณสมบัติของข้าวหอมมะลิที่โดดเด่นเหนือกว่าพันธุ์ข้าวอื่นๆ ทั้งในแง่ความหอม นุ่ม และรสชาติ</p>
<p>ตลาดของข้าวหอมมะลิในประเทศจีนขณะนี้อยู่ที่ตัวเลข 200,000 ตันต่อปี แต่ในบางปีเช่นเมื่อปี 2544 นั้น รัฐบาลจีนได้ลงนามทำสัญญาขอซื้อข้าวหอมมะลิจากไทยสูงถึง 400,000 ตัน และเชื่อกันว่าความต้องการจริงๆน่าจะสูงกว่านั้นมาก รัฐบาลจีนตระหนักดีในความนิยมของข้าวหอมมะลิไทยในหมู่ประชาชนของตนจึงได้ เสนอโครงการที่จะร่วมกับรัฐบาลไทยในการเช่าพื้นที่เพื่อปลูกข้าวหอมมะลิที่ ทุ่งกุลาร้องไห้ พร้อมๆกับได้เริ่มต้นโครงการที่จะพัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อให้มีคุณภาพทัดเทียม กับข้าวหอมมะลิให้ได้โดยเร็ว</p>
<p>ตลาดของข้าวหอมมะลิในสหรัฐอเมริกาก็เติบโตเช่นเดียวกัน โดยปริมาณการนำเข้าข้าวหอมมะลิของสหรัฐนั้นสูงประมาณ 300,000 ตัน/ปี โดยปีที่ส่งออกมากที่สุด (2541) นั้นส่งออกสูงถึง 578,475 ตัน เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ราคาของข้าวหอมมะลิไทยนั้นขายได้ราคาสูงกว่าข้าวเมล็ดยาวของสหรัฐประมาณ 50 % บริษัทข้าวครบวงจรของสหรัฐ เช่น บริษัทไรซ์เทค และกระทรวงเกษตรของสหรัฐ จึงมีเป้าหมายที่จะแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดของข้าวหอมมะลิไทยด้วยวิธีการต่างๆ ตลอดมา</p>
<p>ปัจจุบัน สัดส่วนของข้าวหอมมะลิไทยนั้นมีสัดส่วนสูงถึง 75 % ของยอดการนำเข้าข้าวทั้งหมดของสหรัฐเลยทีเดียว เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวหอมบัสมาติของอินเดีย ปริมาณการนำเข้าข้าวหอมมะลิสูงกว่าถึง 4 เท่า</p>
<p align="center"><img height="331" border="0" width="573" src="http://www.biothai.net/autopage1/images/TueJune2005144716_pic_jasmine_06..." alt="" /></p>
<p align="center"><strong>ที่มา : กองการค้าธัญพืช กรมการค้าต่างประเทศ,2544</strong></p>
<p> </p>
<p>ข้าวหอมมะลิไทยเป็นที่นิยมในหมู่ชาวแอฟริกันเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่นในประเทศแอฟริกาใต้นำเข้าข้าวจากไทยสูงถึง 320,000 ตันเมื่อปี 2542 โดยในจำนวนนั้นเป็นข้าวหอมมะลิถึง 30,000 ตัน ตัวเลขของสมาคมพัฒนาข้าวแอฟริกาตะวันตก ( West Africa Rice Development Association : WARDA ) ซึ่งตั้งอยู่ในไอวอรี่โคสท์รายงานว่า อัตราการเพิ่มของการนำเข้าข้าวของประเทศในแอฟริกานั้นสูงถึง 4 % ต่อปีในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมาซึ่งถือว่าเป็นอัตราเพิ่มที่มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับ ทวีปอื่น</p>
<p>ข้าวหอมมะลิหาได้มีคุณค่าในเชิงการตลาดเท่านั้น หากแต่มีนัยที่เชื่อมโยงไปยังคุณค่าของบทบาทชุมชนชาวนา ในฐานะที่เป็นพันธุ์พืชซึ่งได้มาจากความสามารถในการคัดเลือกพันธุ์ของชาวนา รุ่นแล้วรุ่นเล่า หาใช่เป็นพันธุ์พืชซึ่งได้รับการปรับปรุงขึ้นโดยปรับปรุงพันธุ์ข้าวสมัยใหม่ แต่อย่างใดไม่ ข้าวหอมมะลิจึงเป็นตัวอย่างที่ยืนยันถึงศักยภาพของเกษตรกรในการอนุรักษ์ พัฒนา และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งถือว่าเป็นฐานรากของเกษตรกรรมและวัฒนธรรมของเรา</p>
<p>ข้าวหอมมะลิปลูกได้ดีและมีคุณภาพดีที่สุดในสภาพดินทรายและอินทรียวัตถุ ต่ำ พันธุ์ข้าวนี้จึงเป็นทางเลือกสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ซึ่งไม่เหมาะกับพืชเกษตรอื่นๆ การตัดสินใจในการเจรจาการค้าใดๆที่ส่งผลกระทบต่อข้าวหอมมะลิ จึงเป็นการตัดสินใจที่สร้างความเสียหายต่อชาวนายากจนนับล้านๆครอบครัวของเรา</p>
<p> </p>
<p><b><font size="5">2.</font> <u>สงครามการค้าและการแย่งชิงพันธุกรรมข้าวหอมมะลิ ระหว่างไทยกับสหรัฐ</u></b></p>
<p>ความขัดแย้งทางการค้าและอื่นๆที่เกี่ยวกับกรณีข้าวระหว่างไทยและสหรัฐ อเมริกา มีอยู่หลายประเด็น ครอบคลุมเกี่ยวกับประเด็นการเปิดตลาดข้าว การใช้เครื่องหมายการค้าและกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนประเด็นเกี่ยวกับสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น</p>
<p>ประเทศไทยกับสหรัฐเป็นคู่แข่งทางการค้าเรื่องข้าวมาโดยตลอดในฐานะที่ไทย เป็นประเทศที่ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก และสหรัฐเป็นผู้ส่งออกอันดับต้นๆของโลกเช่นเดียวกัน ประเทศทั้งสองต่างต้องการยึดครองตลาดข้าวสำคัญๆทั่วโลก รวมถึงตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง ในการเจรจาภายใต้องค์กรการค้าโลกนั้น ประเทศไทยเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาลดการอุดหนุนสินค้าเกษตร แต่หาได้ประสบผลสำเร็จไม่ โดยขณะนี้สหรัฐอเมริกายังคงอุดหนุนการผลิตข้าวคิดเป็นเงินไทยประมาณ 4,000-5,000 บาท/ตัน ผู้ประกอบการส่งออกข้าวของไทยเชื่อว่าหากสหรัฐอเมริกาลดการอุดหนุนการผลิต และการค้าข้าวลงมา ประเทศไทยจะสามารถส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้นและทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกปรับตัว สูงขึ้นซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมข้าวและชาวนาไทยในท้ายที่สุด</p>
<p>ปัญหาทางการค้าที่กลายเป็นประเด็นสาธารณะเมื่อปี 2542 คือความขัดแย้งในกรณีที่สหรัฐอนุญาตให้อุตสาหกรรมข้าวภายในประเทศของตน สามารถขายข้าวเมล็ดยาวพันธุ์ใดก็ตามได้ภายใต้ชื่อ “จัสมินไรซ์” ทั้งนี้โดยสหรัฐอ้างว่า “จัสมินไรซ์” เป็นชื่อ “ทั่วไป”(Generic name) ดังนั้นบริษัทไรซ์เทคของสหรัฐจึงได้จดเครื่องหมายการค้า “จัสมาติ” (JASMATI) แล้วแอบอ้างว่าเป็น “ข้าวหอมมะลิที่ปลูกที่เท็กซัส” กรณีดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนไทยทุกระดับ ชาวนาไทยประท้วงรัฐบาลสหรัฐในเรื่องดังกล่าว และต่อมารัฐบาลไทย โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ยื่นฟ้องต่อกรรมาธิการการค้าของสหรัฐ แต่กรรมาธิการชุดดังกล่าวก็ปฏิเสธที่จะรับคำฟ้องโดยอ้างว่าการกระทำดังกล่าว ไม่ผิดกฎหมายของสหรัฐ เมื่อปี 2543 สถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทยได้จัดการประชุมทางไกล(VDO Conference)ขึ้นที่กรุงเทพเพื่อหาทางลดข้อขัดแย้งและความไม่พอใจของประชาชน ไทย โดยเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯแนะนำให้ฝ่ายไทยใช้กฎหมายเครื่องหมายการค้า(Trade Mark)เพื่อปกป้องข้าวหอมมะลิของไทย</p>
<p>กรณี”จัสมาติ”ยังไม่ทันจางไปจากความทรงจำ ในปี 2544 ความขัดแย้งเกี่ยวกับการนำพันธุกรรมข้าวหอมมะลิของไทยไปใช้อย่างไม่เหมาะสม ก็เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อสถาบันวิจัยข้าวของสหรัฐที่เดล บัมเปอร์ รัฐอาร์คันซอส์ ร่วมกับสถาบันวิจัยอีก 2 แห่ง คือศูนย์วิจัยและการศึกษาเอฟเวอร์เกลด มหาวิทยาลัยฟลอริดา และศูนย์วิจัยและส่งเสริมพันธุ์ข้าว มหาวิทยาลัยอาร์คันซอส์ ได้เริ่มต้นโครงการปรับปรุงข้าวหอมมะลิเพื่อปลูกในสหรัฐ (Stepwise Program for Improvement of Jasmine Rice for the United States) ขึ้น ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิสำหรับปลูกในสหรัฐและแข่งขันกับข้าว ไทยโดยตรง นักวิจัยชาวสหรัฐอ้างว่าได้พันธุกรรมข้าวหอมมะลิไปจากสถาบันวิจัยข้าวนานา ชาติ แต่กลับไม่ปรากฏการลงนามในสัญญาการเคลื่อนย้ายพันธุกรรม(MTA-Material Transfer Agreement)แต่อย่างใด เป็นการแสดงเจตนาที่จะจดสิทธิบัตรข้าวที่ปรับปรุงจากข้าวหอมมะลิ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ตามกติการะหว่างประเทศ และการวิจัยดังกล่าวอาจเป็นการละเมิดต่อกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ของไทยได้เช่นกันหากพบว่ามีการนำเอาข้าวหอมมะลิจากประเทศไทยไปใช้ประโยชน์ โดยไม่ดำเนินตามขั้นตอนที่ถูกต้อง ปัญหานี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับเกษตรกรและประชาชนไทยโดยทั่วไป มีการเดินขบวนของชาวนาที่ทุ่งกุลาร้องไห้กว่า 2,000 คน เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2544 และกว่า 1,500 คนที่หน้าสถานทูตสหรัฐเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน</p>
<p>อย่างไรก็ตามความไม่พอใจดังกล่าวของคนไทยเริ่มลดลงเมื่อกระทรวงพาณิชย์ สหรัฐแจ้งผ่านกระทรวงพาณิชย์ของไทยว่านักวิจัยของสหรัฐได้แสดงจดหมายยืนยัน อย่างเป็นทางการ และได้ลงนามในสัญญาโอนย้ายพันธุกรรม โดยรับปากว่าจะไม่จดสิทธิบัตรพันธุ์ข้าวซึ่งปรับปรุงจากข้าวหอมมะลิของไทย</p>
<p>หากวิเคราะห์รายละเอียดของข้อเรียกร้องและประเด็นเจรจาเอฟทีเอระหว่าง สหรัฐกับประเทศไทย จะเห็นได้ว่าหลายประเด็นเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับประเด็นความขัดแย้งดังกล่าว ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมแทบทั้งสิ้น</p>
<p> </p>
<p><b><font size="5">3.</font> <u>ประเด็นการเจรจา เอฟทีเอ ที่จะมีผลกระทบต่อข้าวหอมมะลิไทย</u></b></p>
<p>ประเด็นการเจรจาการจัดทำเอฟทีเอ ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ที่มีผลกระทบเชื่อมโยงกับเรื่องข้าวหอมมะลิ ได้แก่ การเปิดตลาดสินค้าเกษตร ทรัพย์สินทางปัญญา สินค้าดัดแปลงพันธุกรรม และเรื่องสิ่งแวดล้อม</p>
<p>อย่างไรก็ตาม เอกสารที่คู่เจรจายื่นให้แต่ละฝ่ายถูกถือว่าเป็นความลับไม่สามารถเผยแพร่สู่ สาธารณะได้ ทั้งนี้ เนื่องจากทางคณะเจรจาของสหรัฐขอให้ฝ่ายไทยลงนามข้อตกลงรักษาความลับในการ เจรจา แม้ว่าฝ่ายไทยจะปฏิเสธไม่ลงนาม ขอเป็นเพียงคำสัญญาสุภาพบุรุษ (Gentleman Agreement) ว่าจะไม่เปิดเผยความลับ แต่ก็ทำให้เอกสารของการเจรจาถูกปฏิบัติในสถานะ “ความลับ” เจ้าหน้าที่รัฐของไทยปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูลแก่ประชาชนมาโดยตลอด</p>
<p>ดังนั้น ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับประเด็นข้อเรียกร้องของทางสหรัฐ จึงอาศัยการศึกษาเปรียบเทียบจากข้อตกลงเอฟทีเอ ที่ทางสหรัฐทำกับประเทศต่างๆ เช่น จอร์แดน เวียดนาม สิงคโปร์ บาห์เรน โมร็อกโก ออสเตรเลีย รวมทั้งเป้าหมายการเจรจาที่กำหนดไว้ในกฎหมาย Trade Promotion Authority ของสหรัฐ และในกรอบการเจรจาของสหรัฐกับประเทศไทยตามเอกสารที่ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ยื่นเสนอต่อรัฐสภาสหรัฐและได้รับการอนุมัติแล้วเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2547 เป็นหลัก</p>
<p><b>3.1 การเปิดตลาดสินค้าเกษตร</b></p>
<p>รายงานการศึกษาเรื่อง ผลกระทบจากการทำความตกลงการค้าเสรีไทย-สหรัฐ ที่ดำเนินการศึกษาโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ในปี 2546 โดยยึดตามกรอบของสหรัฐ-ชิลี พบว่า การลดภาษีศุลกากรให้เหลือศูนย์และขจัดอุปสรรคที่มิใช่ภาษีจะทำให้ไทยและ สหรัฐมีการส่งออกเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี หรือในบางกรณีอาจสูงถึงร้อยละ 30 เนื่องจากสินค้าเกษตรของทั้งสองฝ่ายมีลักษณะเกื้อหนุนกัน กล่าวคือ สหรัฐมีความได้เปรียบในการผลิตสินค้าเกษตรเมืองหนาว ส่วนไทยมีความได้เปรียบในการผลิตสินค้าเกษตรเขตร้อน</p>
<p>อย่างไรก็ตาม รายงานฉบับดังกล่าวได้ย้ำเตือนด้วยว่า แม้ความตกลงการค้าเสรีไทย-สหรัฐ จะช่วยเพิ่มปริมาณการค้าและการขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นผลดีต่อผู้บริโภค และผู้ผลิตที่ใช้สินค้าเกษตรเป็นวัตถุดิบ แต่ก็อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อเกษตรกรจำนวนมากโดยเฉพาะเกษตรกรที่ผลิตสินค้า แข่งขันกับสินค้าส่งออกของสหรัฐอาจจะต้องเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหรือต้อง เปลี่ยนอาชีพ ได้แก่ เกษตรกรที่ปลูก ถั่วเหลือง ข้าวโพด มะเขือเทศ ถั่วลิสง ส่วนผู้ประกอบธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ขนาดเล็กที่มีต้นทุนสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เลี้ยงหมู และวัวอาจจะต้องเลิกกิจการ รัฐบาลไทยจึงควรเร่งปรับโครงสร้างภาษีและกระบวนการศุลกากร เพื่อให้สินค้าไทยมีต้นทุนวัตถุดิบลดลง และเร่งเพิ่มผลิตภาพในภาคเกษตร ตลอดจนช่วยเหลือให้เกษตรกรรายย่อยสามารถปรับตัวได้</p>
<p>จากการศึกษาของทีดีอาร์ไอได้ชี้ให้เห็นว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากความ ตกลงการค้าเสรีไทย-สหรัฐต่อสาขาเกษตรมีทั้งผลกระทบทางบวกและทางลบ อย่างไรก็ตามการศึกษาดังกล่าวมีข้อที่น่าสังเกตหลายประการ คือ</p>
<p> 1) การศึกษาดังกล่าวมีสมมุติฐานหลักสำคัญว่า จะมีการลดภาษีศุลกากรเหลือศูนย์และขจัดอุปสรรคที่มิใช่ภาษี ซึ่งมีผลทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี แต่ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้ตัวเลขการส่งออกที่ประเมินไว้ต่ำกว่าความเป็น จริง คือ การที่สหรัฐมีการอุดหนุนภาคเกษตรกรรมทั้งการอุดหนุนภายในที่บิดเบือนตลาด การอุดหนุนภายในที่ไม่บิดเบือนตลาด และการอุดหนุนการส่งออก เป็นจำนวนเงินที่สูงประมาณ 18 พันล้านเหรียญต่อปี และเป็นไปได้ยากที่สหรัฐจะลดการอุดหนุนในส่วนนี้ ให้กับฝ่ายไทย เนื่องจากการลดการอุดหนุนลงไปมีผลคล้ายกับการเปิดตลาดให้กับทุกประเทศอื่น ด้วยนอกจากประเทศไทย นอกเหนือจากนี้การอุดหนุนสินค้าเกษตรยังมีที่มาทางประวัติศาสตร์อย่างยาวนาน อีกทั้งเป็นข้อผูกพันของรัฐบาลสหรัฐภายใต้กฎหมายการเกษตร ฉบับปี 2002</p>
<p> </p>
<p align="center"><img border="0" src="http://www.biothai.net/autopage1/images/TueJune2005144854_pic_jasmine_07..." style="width: 532px; height: 359px;" alt="" /></p>
<p align="center"><strong>ตัวอย่างการสนับสนุนการผลิตทางการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐ</strong></p>
<p> </p>
<p> 2) ทีดีอาร์ไอมีความเห็นว่าสินค้าเกษตรของไทยและสหรัฐมีลักษณะเกื้อหนุนกัน แต่สำหรับกรณีข้าวซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญมากที่สุดของไทย สหรัฐกลับเป็นคู่แข่งสำคัญ รวมทั้งกรณีข้าวหอมมะลิที่ทางสหรัฐกำลังเร่งพัฒนาปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ สามารถแข่งขันกับข้าวหอมมะลิไทยดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้นในระยะเวลาไม่นาน ถ้าโครงการดังกล่าวดำเนินการสำเร็จ สหรัฐก็จะก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทยโดยเฉพาะในตลาดข้าวหอมมะลิ</p>
<p> 3) ในขณะนี้ สหรัฐกำลังดำเนินการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ อีกกว่า 50 ประเทศ ดังนั้นถึงแม้จะมีการลดอัตราภาษีศุลกากรสินค้าเกษตรให้เหลือศูนย์และขจัด อุปสรรคที่มิใช่ภาษีได้จริง สินค้าเกษตรของประเทศคู่ค้าของสหรัฐก็ยังคงต้องแข่งขันกันภายใต้สิทธิพิเศษ ทางการค้าอย่างเดียวกันอยู่นั่นเอง ซึ่งจะทำให้ผลประโยชน์ที่จะได้จากการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐต่ำกว่า ที่คาดหวัง</p>
<p><b>3.2 สินค้าดัดแปลงพันธุกรรม</b></p>
<p>ในหัวข้อการเจรจาเอฟทีเอ ระหว่างไทย-สหรัฐ ทางสหรัฐไม่ได้มีข้อเรียกร้องเรื่องสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือจีเอ็ม โอ ( GMOs) แยกออกมาเป็นหัวข้อเฉพาะ แต่ในการเจรจาหัวข้อการเกษตร มีประเด็นข้อเรียกร้องที่เกี่ยวโยงกับเรื่องจีเอ็มโอ ในลักษณะที่นำไปสู่การเปิดเสรีการค้าขายสินค้าจีเอ็มโอ มากขึ้น</p>
<p>ประเด็นข้อเรียกร้องของสหรัฐในด้านการเกษตร ที่เกี่ยวโยงต่อเรื่องจีเอ็มโอ ได้แก่</p>
<p>1) ต้องการให้ประเทศคู่เจรจายึดถือข้อตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการด้านสุขอนามัย และสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures : SPS ) ภายใต้องค์การการค้าโลกอย่างเคร่งครัด</p>
<p>2) ต้องการให้ประเทศคู่เจรจาขจัดมาตรการต่างๆ ทางด้านการค้าที่ส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การติดฉลากสินค้าจีเอ็มโอ เป็นต้น</p>
<p>ข้อเรียกร้องดังกล่าวปรากฏอยู่ในกฎหมาย Trade Promotion Authority ของสหรัฐ (Sec. 2102 ข้อ b (10) - VIII ) และในกรอบการเจรจาของสหรัฐกับประเทศไทยตามเอกสารที่ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ยื่นเสนอต่อรัฐสภาสหรัฐ</p>
<p>ตามข้อตกลง SPS ให้สิทธิแก่ประเทศสมาชิกในการใช้มาตรการจำกัดการนำเข้าสินค้าที่อาจเป็น อันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ หรือพืช โดยจะต้องเป็นมาตรการที่อิงกับมาตรฐานระหว่างประเทศ หรือมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Evidence) ในการใช้มาตรการดังกล่าว และถึงแม้ว่าจะมีข้อกำหนดเรื่องการยกเว้น ใน Art. 5.7 สำหรับเรื่องใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เพียงพอ ก็อนุญาตให้สมาชิกใช้มาตรการสุขอนามัยชั่วคราว (Provisional Measures) บนพื้นฐานของข้อมูลที่หาได้ รวมทั้งข้อมูลจากองค์การระหว่างประเทศ และมาตรการสุขอนามัยที่ประเทศอื่น ๆ บังคับใช้อยู่ ทั้งนี้ประเทศสมาชิกจะต้องค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการประเมินความ เสี่ยง (Risk Assessment) ควบคู่ไปด้วย</p>
<p><b>3.3 ทรัพย์สินทางปัญญา</b></p>
<p>วัตถุประสงค์สำคัญของสหรัฐในการเจรจาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา คือ การยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่เจรจาให้ทัดเทียมกับการ คุ้มครองตามกฎหมายของสหรัฐ</p>
<p>ข้อเรียกร้องสำคัญของสหรัฐในด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย คือ</p>
<p>1) ต้องการให้ประเทศคู่เจรจาขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรให้ครอบคลุมสิ่งมีชีวิตทุกประเภท ทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์</p>
<p>2) ต้องการให้ประเทศคู่เจรจาเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้ม ครองพันธุ์พืชใหม่ ( International Convention for the Protection of New Varieties of Plants 1991 หรือ อนุสัญญา ยูปอฟ) ซึ่งหมายถึงการให้ยอมรับนำเอาระบบการคุ้มครองพันธุ์พืชตามระบบอนุสัญญายูปอ ฟมาใช้ในการคุ้มครองพันธุ์พืช</p>
<p>3) เรียกร้องให้มีการนำกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า(Trade mark)เพื่อใช้ในการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)</p>
<p>ข้อเรียกร้องในสองข้อแรกข้างต้นปรากฏอยู่ในกฎหมาย Trade Promotion Authority ของสหรัฐ (Sec. 2102 ข้อ b (4) –ii ) และในกรอบการเจรจาของสหรัฐกับประเทศไทยตามเอกสารที่ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ยื่นเสนอต่อรัฐสภาสหรัฐ ส่วนในข้อที่สามนั้นปรากฏอยู่ภายใต้ข้อตกลงที่สหรัฐทำกับประเทศสิงคโปร์</p>
<p>เมื่อพิจารณาจากข้อกำหนดในกฎหมาย Trade Promotion Authority ของสหรัฐ และในกรอบการเจรจาของสหรัฐกับประเทศไทยตามเอกสารที่ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ยื่นเสนอต่อรัฐสภาสหรัฐและได้รับการอนุมัติแล้ว และจากการเปรียบเทียบเนื้อหาข้อตกลงเอฟทีเอที่ทางสหรัฐได้ทำกับประเทศอื่นๆ เช่น จอร์แดน เวียดนาม สิงคโปร์ บาร์เรน โมร็อกโก ออสเตรเลีย มีแนวโน้มอย่างค่อนข้างชัดเจนว่าทางสหรัฐจะยื่นข้อเรียกร้องในประเด็นนี้ต่อ ประเทศไทยอย่างแน่นอน</p>
<p>ตามความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade Related Aspect of Intellectual Property Rights : TRIPs ) หรือความตกลงทริปส์ ซึ่งเป็นความตกลงฉบับหนึ่งภายใต้องค์การการค้าโลก มีเนื้อหาของความตกลงที่เกี่ยวโยงกับการคุ้มครองสิทธิบัตรอยู่ในมาตรา 27 โดยในมาตรา 27.2 มีข้อยกเว้นที่จะไม่ให้สิทธิบัตรแก่สิ่งประดิษฐ์ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบกับ ความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีงาม หรือก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืช หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ในมาตรา 27.3 (b) ได้ให้สิทธิแก่ประเทศสมาชิกที่จะไม่ให้การคุ้มครองสิทธิบัตรต่อพืชและสัตว์ ที่นอกเหนือจากจุลชีพ และกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับการผลิตพืชและสัตว์ ตามข้อกำหนดในมาตรานี้ ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกจำนวนมากซึ่งรวมทั้งประเทศไทย จึงมีข้อยกเว้นในกฎหมายสิทธิบัตร ไม่ให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรต่อพืชและสัตว์</p>
<p>ในส่วนการคุ้มครองพันธุ์พืช ตามมาตรา 27.3 (b) ของความตกลงทริปส์ ได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องให้ความคุ้มครองพันธุ์พืช แต่ความตกลงทริปส์มิได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องให้ความคุ้มครองพันธุ์พืช ใหม่ภายใต้ระบบสิทธิบัตรเท่านั้น ตามมาตรา 27.3 (b) เปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกสามารถเลือกที่จะให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชภายใต้ ระบบกฎหมายใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบสิทธิบัตร หรือระบบกฎหมายเฉพาะ หรือทั้งสองระบบนี้ร่วมกัน หลักเกณฑ์สำคัญประการเดียวของความตกลงทริปส์ที่กำหนดไว้ในการคุ้มครองพันธุ์ พืชตามระบบกฎหมายเฉพาะ คือ ต้องเป็น “ ระบบกฎหมายเฉพาะที่มีประสิทธิภาพ” ( effective <i>sui generic</i> system ) เท่านั้น</p>
<p>ทั้งนี้ ในความตกลงทริปส์ไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่าระบบกฎหมายเฉพาะที่มี ประสิทธิภาพไว้ และไม่ได้มีการกล่าวอ้างถึงอนุสัญญายูปอฟไว้ ทั้งที่อนุสัญญายูปอฟมีผลใช้บังคับมานานก่อนหน้าที่จะมีการร่างความตกลง ทริปส์ ดังนั้นประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกจึงมีอิสระที่จะเลือกให้ความคุ้มครอง พันธุ์พืชภายใต้ระบบกฎหมายเฉพาะ และตีความคำว่า “ระบบกฎหมายที่มีประสิทธิภาพไว้” ให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศและระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของ ประเทศตนเอง โดยไม่ต้องคำนึงว่าอนุสัญญายูปอฟได้กำหนดหลักการในการคุ้มครองพันธุ์พืชไว้ อย่างใดบ้าง</p>
<p>อนุสัญญายูปอฟนั้น เป็นความตกลงระหว่างประเทศที่ถูกผลักดันจัดตั้งขึ้นโดยประเทศในแถบทวีปยุโรป ในปี ค.ศ. 1961 เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาแก่นักปรับปรุงพันธุ์พืช ซึ่งหมายถึงผู้ปรับปรุง ค้นพบ หรือพัฒนาพันธุ์พืช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการจูงใจให้นักปรับปรุงพันธุ์ได้พัฒนาและปรับ ปรุงพันธุ์พืชใหม่ๆ ขึ้น อนุสัญญายูปอฟมีวัตถุแห่งสิทธิของการคุ้มครองเพียงอย่างเดียวคือ พันธุ์พืช (Plant varieties) ซึ่งหมายถึง กลุ่มของพืชที่เล็กที่สุดที่มีพันธุกรรมและลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สม่ำเสมอ คงตัว และแตกต่างจากกลุ่มอื่นในพืชชนิดเดียวกัน อันเป็นการคุ้มครองที่มีวัตถุประสงค์ที่แคบกว่าความตกลงทริปส์</p>
<p>ประเด็นที่เป็นข้อควรตระหนักอย่างยิ่งเกี่ยวกับอนุสัญญายูปอฟ คือ นับแต่อนุสัญญายูปอฟมีผลใช้บังคับ ได้มีการผลักดันจากบริษัทเมล็ดพันธุ์ให้ประเทศที่พัฒนาแล้วปรับแก้ไขเนื้อหา อนุสัญญารวมแล้ว 3 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1972 , 1978 และ 1991 โดยการแก้ไขในครั้งหลังสุด ได้มีการขยายสิทธิของนักปรับปรุงพันธุ์ให้กว้างขึ้นกว่าเดิม จนมีลักษณะเกือบจะคล้ายคลึงกับสิทธิตามกฎหมายสิทธิบัตร</p>
<p>ในการอนุวัตรการตามความตกลงทริปส์ ประเทศไทยเลือกที่จะให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชด้วยระบบกฎหมายเฉพาะ โดยประเทศไทยได้ออกกฎหมายฉบับหนึ่งคือ พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ยึดถือแนวทางในการคุ้มครองพันธุ์พืชตามหลักเกณฑ์ที่ กำหนดไว้ในอนุสัญญายูปอฟ แต่กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชของไทยได้สร้างหลักเกณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะขึ้น โดยได้กำหนดให้มีการคุ้มครองพันธุ์พืชหลายประเภทด้วยกันคือ พันธุ์พืชใหม่ พันธุ์พืชพื้นเมืองท้องถิ่น พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป และพันธุ์พืชป่าด้วย นอกจากนั้นกฎหมายฉบับนี้ยังได้กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการขอรับความคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่เพิ่มเติม เช่น การกำหนดให้มีการเปิดเผยแหล่งที่มาของสารพันธุกรรมที่ใช้ในการปรับปรุง พันธุ์ (Disclosure of Origin) การกำหนดให้การเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมพืชต้องเป็นไปโดยได้รับความยินยอม ล่วงหน้า (Prior Informed Consent) และการกำหนดให้มีการแบ่งบันผลประโยชน์ (Benefit Sharing) ระหว่างนักปรับปรุงพันธุ์กับเจ้าของแหล่งพันธุกรรม เป็นต้น หลักเกณฑ์เหล่านี้เป็นหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยความหลาก หลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity) และได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งประเทศไทยนำมาบัญญัติไว้เพื่อให้การคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
<p>ในทางตรงกันข้าม กฎหมายสหรัฐไม่ได้ให้ความคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมพืชเช่นเดียวกับประเทศ ไทย สหรัฐมุ่งแต่ที่จะให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชที่ได้ถูกค้นพบหรือปรับปรุงขึ้น ใหม่เท่านั้น การคุ้มครองพันธุ์พืชในสหรัฐจึงมีหลายรูปแบบด้วยกันคือ การคุ้มครองพันธุ์พืชที่ขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศตามระบบสิทธิบัตรพันธุ์พืช (Plant Patent) การคุ้มครองพันธุ์พืชที่ขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศตามระบบกฎหมายคุ้มครองพันธุ์ พืช (Plant Variety Protection) และการคุ้มครองพันธุ์พืชตามระบบสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ (Utility Patent) ซึ่งมักจะเป็นการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ที่สร้างขึ้นด้วยวิธีการทางพันธุ วิศวกรรม</p>
<p>ดังนั้น จากข้อเรียกร้องของสหรัฐภายใต้การเจรจาจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีที่กำหนดให้ ประเทศไทยต้องเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญายูปอฟ และ/หรือ ต้องให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรแก่พันธุ์พืชด้วยนั้น จึงเป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้ประเทศคู่ค้ากับสหรัฐต้องให้ความคุ้มครองแก่ พันธุ์พืชภายใต้ระบบสิทธิบัตรนั่นเอง (โปรดดูภาคผนวก ตารางที่ 3 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชของไทยกับข้อเรียก ร้องของสหรัฐอเมริกา)</p>
<p>สำหรับในกรณีเรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้น เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าสหรัฐอเมริกามีความคิดเห็นขัดแย้งกับประเทศยุโรป และประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ เนื่องจากประเทศสหรัฐได้ใช้ประโยชน์จากชื่อสินค้าที่มาจากชื่อสิ่งบ่งชี้ทาง ภูมิศาสตร์เป็นจำนวนมาก เช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวบัสมาติ ไวน์บอร์กโดซ์ สก๊อตวิสกี้ เป็นต้น การที่สหรัฐอเมริกาเรียกร้องให้ประเทศที่ลงนามเขตการค้าเสรีด้วยให้ใช้ กฎหมายเครื่องหมายการค้าแทนกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เท่ากับอเมริกาถือว่าชื่อสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศอื่น เช่น จัสมินไรซ์ เป็นเพียง “ชื่อสามัญ” (Generic name)</p>
<p>หลักการของการคุ้มครองโดยใช้เครื่องหมายการค้านั้น ให้สิทธิกับใครก็ตามที่จดชื่อสินค้าหรือเครื่องหมายการค้า โดยใคร “จดทะเบียนก่อน ได้สิทธิก่อน” และสิทธินั้นจะมอบให้แก่ “เอกชน” รายใดรายหนึ่ง ในขณะที่หลักการของการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้น จะให้สิทธิแก่สินค้าซึ่งมีชื่อเสียงมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง และสิทธินั้นจะมอบให้แก่ “ชุมชนในพื้นที่หนึ่งๆ” ซึ่งได้พัฒนาสินค้ามาร่วมกัน การนำกฎหมายเครื่องหมายการค้ามาแทนการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จึง เป็นการละเมิดและแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงของสินค้าที่พัฒนามาจาก ภูมิปัญญาของชุมชน และในหลายกรณีเป็นการแย่งชิงสิทธิที่ควรจะเป็นของชุมชนมาเป็นสิทธิของบริษัท เอกชนรายใดรายหนึ่งเท่านั้น</p>
<p><b>3.4 </b><b>เรื่องสิ่งแวดล้อม</b></p>
<p>วัตถุประสงค์สำคัญของสหรัฐในการเจรจาเรื่องสิ่งแวดล้อมในข้อตกลงการค้า เสรี ไทย-สหรัฐฯ คือ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเรื่องสิ่งแวดล้อมกับเรื่องการค้า และทำให้การยอมรับดังกล่าวเป็นพันธะทางกฎหมายเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของข้อ ตกลงเอฟทีเอ และหากประเทศไทยไม่สามารถรักษาหรืปรับปรุง มาตรฐานการปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อมตามที่ระบุไว้ได้ ความบกพร่องดังกล่าวสามารถถูกยกขึ้นเพื่อเป็นเหตุให้สหรัฐสามารถกีดกันทาง การค้าอย่างถูกกฎหมายได้</p>
<p>ประเด็นข้อเรียกร้องของสหรัฐสำหรับการเจรจาเอฟทีเอ ในด้านสิ่งแวดล้อมที่จะมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย ได้แก่</p>
<p>(1) ต้องการให้ประเทศคู่เจรจามีการบังคับใช้กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศของตน อย่างเข้มงวด และได้กำหนดกลไกการติดตามให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจัง</p>
<p>(2) การรับรองสิทธิและพันธกรณีภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม (MEAs) ที่ทั้งประเทศไทยและประเทศสหรัฐฯ เป็นภาคีสมาชิกอยู่เท่านั้น</p>
<p>ข้อเรียกร้องดังกล่าวส่วนหนึ่งปรากฏอยู่ในกฎหมาย Trade Promotion Authority ของสหรัฐ (Sec. 2102 ข้อ b (4) –11 ) และในกรอบการเจรจาของสหรัฐกับประเทศไทยตามเอกสารที่ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ยื่นเสนอต่อรัฐสภาสหรัฐ</p>
<p>การที่สหรัฐมีข้อกำหนดภายใต้ข้อตกลงเอฟทีเอ ให้ประเทศไทยมีการใช้บังคับกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด มีเหตุผลเนื่องจาก ทางสหรัฐเห็นว่าการที่ต้นทุนการผลิตของสินค้าไทยมีราคาต่ำ เพราะไม่ได้รวมเอาต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในราคาสินค้าด้วย แต่ผลักภาระต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมให้แก่สังคม ดังนั้นถ้ามีการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้ต้นทุนภายนอก ( External Cost ) กลับไปสู่ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการมากยิ่งขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยได้</p>
<p>จะเห็นได้ว่า ผลกระทบจากข้อเรียกร้องของสหรัฐในเรื่องสิ่งแวดล้อมจะมีผลกระทบในสองลักษณะ กล่าวคือ ในแง่หนึ่งถ้าดูอย่างผิวเผินน่าจะเป็นผลดีต่อการดูแลรักษาฐานทรัพยากรของ ประเทศไทย (ซึ่งจะได้วิเคราะห์ต่อไปในหัวข้อที่ 4) แต่ในขณะเดียวกันก็มีเหตุผลในเชิงการแข่งขันทางการค้า ที่ต้องการให้สินค้าไทยมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งอาจมองได้ว่า เป็นมาตรการทางการค้าที่กำหนดขึ้นมาเพื่อทดแทนการที่ต้องลดภาษีศุลกากรให้ กับสินค้าของไทย ทั้งนี้ เพื่อการปกป้องผู้ผลิตของสหรัฐนั่นเอง</p>
<p> </p>
<p><strong><font size="5">4.</font></strong> <u><strong>ผลกระทบของข้อตกลงเอฟทีเอที่มีต่อข้าวหอมมะลิไทย</strong></u></p>
<p><strong>4.1 กรณีจีเอ็มโอ</strong></p>
<p>สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผลิตจีเอ็มโอรายใหญ่ของโลก บริษัทข้ามชาติของสหรัฐ “มอนซานโต้” ครอบครองตลาดพันธุ์พืชจีเอ็มโอกว่า 80% ของตลาดเมล็ดพันธุ์พืชจีเอ็มโอทั้งหมด นอกเหนือจากนี้สหรัฐยังเป็นผู้ปลูกพืชจีเอ็มโอรายใหญ่คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 60% ของพื้นที่ปลูกจีเอ็มโอทั่วโลก</p>
<p>ขณะนี้บริษัทเอเวนติส (Aventis)ได้พัฒนาข้าวจีเอ็มโอ “Liberty Link” ซึ่งต้านทานยาปราบศัตรูพืชกลุ่มไกลโฟสิเนท(Glyfosinate)ที่มีชื่อการค้า “Liberty” หรือ “Basta” และได้รับการอนุมัติให้ปลูกเพื่อการค้าแล้วในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา บริษัทมอนซานโต้เองมีโครงการวิจัยข้าวจีเอ็มโอในสหรัฐมากกว่า 10 รายการ ในขณะที่ บริษัท Ventria Bioscience กำลังพัฒนาข้าวจีเอ็มโอที่ตัดต่อใส่ยีนมนุษย์เพื่อผลิตโปรตีน lysozyme และ lactoferrin สำหรับผลิตยาป้องกันโรคท้องร่วง ขณะนี้กำลังเตรียมการเพื่อปลูกทดสอบในแคลิฟอร์เนียหรือมิสซูรี่</p>
<p>ภายใต้การเจรจาข้อตกลงเอฟทีเอระหว่างไทยและสหรัฐนั้น สหรัฐได้กดดันให้ประเทศไทยเปิดประตูสำหรับพืชจีเอ็มโอตั้งแต่ก่อนระหว่างการ เจรจาเอฟทีเอเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเสียอีก ตัวอย่างเช่น บริษัทมอนซานโต้ได้ทำจดหมายถึงตัวแทนการค้าสหรัฐเรียกร้องให้ประเทศไทย ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 ที่ห้ามมิให้มีการปลูกทดลองจีเอ็มโอในระดับไร่นาเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้โดยเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าวของไทยก่อนหน้าหรือ ระหว่างการเจรจาเอฟทีเอ</p>
<p>หากประเทศไทยยอมรับข้อเรียกร้องของสหรัฐ เกี่ยวกับประเด็นการเปิดเสรีจีเอ็มโอซึ่งอยู่ภายใต้ข้อเรียกร้อง SPS ภายใต้ WTO อย่างเคร่งครัดนั้นจะเป็นผลทำให้ประเทศไทยไม่อาจใช้มาตรการจำกัดการนำเข้า สินค้าเกษตรจากสหรัฐที่เป็นหรือมีส่วนผสมจากผลิตภัณฑ์ดัดแปลงพันธุกรรม หรือจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่างๆ เพื่อการปกป้องคุ้มครองระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยหลักการป้องกันไว้ก่อน (Precautionary Approach)ได้อย่างเต็มที่ หรือการจำกัดการนำเข้าโดยใช้เหตุผลด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจ-สังคม ( เช่น ผลกระทบต่อเกษตรกรในประเทศ ผลกระทบต่อการผูกขาดครอบครองตลาด ฯลฯ) เนื่องจากตามเงื่อนไขใน WTO เกี่ยวกับการใช้มาตรการทาง SPS ต่อการค้า จะต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์อย่างชัดเจนเสียก่อน แต่ในกรณีจีเอ็มโอนั้น ยังไม่มีข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับผลกระทบของจีเอ็มโอ ซึ่งเป็นที่ยอมรับ โดยเฉพาะผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว</p>
<p>ถึงแม้ว่าข้าวจีเอ็มโอของบริษัทข้ามชาติยังมิได้ปลูกหรือมิได้เข้าสู่ ระบบตลาดอย่างเต็มที่เหมือน ข้าวโพด ถั่วเหลือง และฝ้าย แต่สหรัฐอเมริกาจะใช้ข้าวจีเอ็มโอเป็นเสมือน “ม้าไม้เมืองทรอย” (Trojan Horse) ในการเปิดตลาดเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอให้กับอุตสาหกรรรมเมล็ดพันธุ์ของสหรัฐ เช่นเดียวกับการพยามผลักดันและให้การสนับสนุนการวิจัยและปลูกทดลองมะละกอจี เอ็มโอซึ่งทำให้เกิดกระแสถกเถียงในประเทศไทยอย่างกว้างขวาง</p>
<p>ข้าวจีเอ็มโอสำคัญสองชนิดคือ ข้าวจีเอ็มโอต้านทานโรคขอบใบแห้ง และข้าวจีเอ็มโอเพิ่มวิตามินเอ นั้นได้รับการสนับสนุนในการวิจัยและประสานงานกับเจ้าของสิทธิบัตรโดยมูลนิธิ ร๊อคกี้เฟลเลอร์ของสหรัฐ การผลักดันให้มีการปลูกทดลองข้าวภายใต้โครงการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม นี้ จะเป็นกลยุทธสำคัญของสหรัฐและบรรษัทข้ามชาติในการเปิดตลาดเมล็ดพันธุ์จีเอ็ม โอในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศไทย</p>
<p>การยอมตามแรงกดดันของสหรัฐ แม้เพียงยอมรับการอนุญาตให้มีการปลูกทดลองจีเอ็มโอในระดับไร่นา แต่ก็อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของฐานทรัพยากรพันธุกรรมข้าวในประเทศไทยให้ ได้รับความเสียหาย เนื่องจากยีนต้านทานสารเคมีปราบวัชพืช ยีนต้านทานยาปฏิชีวนะ และอื่นๆอาจจะกระจายไปปนเปื้อนพันธุกรรมข้าวของไทย และเป็นการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน ศูนย์กลางแหล่งกำเนิดและศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ข้าวสำคัญของโลก</p>
<p>หากการเปิดโอกาสให้มีการทดลองฝ้ายบีที และมะละกอจีเอ็มโอในระดับไร่นา( Field Trial) ที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เห็นว่าไม่สามารถควบคุมการแพร่กระจายของพืชจีเอ็มโอไม่ ให้ปนเปื้อนกับพืชทั่วไปได้ และทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ทั้งปัญหาเกี่ยวกับสุขภาวะ สิทธิเกษตรกร และผลกระทบต่อตลาดสินค้าเกษตรของไทยแล้ว การอนุญาตให้ปลูกทดลองข้าวจีเอ็มโอมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดความเสีย หายแก่ประเทศอย่างใหญ่หลวงในระดับที่ไม่อาจนำไปเปรียบเทียบได้กับการทดลอง พืชจีเอ็มโอทั้งสองชนิดที่ได้กล่าวแล้ว</p>
<p align="center"> </p>
<p align="center"><strong>ตารางที่ 1 แสดงปริมาณความต้องการเมล็ดพันธุ์และมูลค่าตลาดในปัจจุบัน</strong></p>
<table cellspacing="0" cellpadding="3" border="1" align="center">
<tbody>
<tr>
<td width="187" valign="top">
<p align="center"><strong>ประเภทเมล็ดพันธุ์</strong></p>
</td>
<td width="144" valign="top">
<p align="center"><strong>ปริมาณ(ตัน)</strong></p>
</td>
<td width="156" valign="top">
<p align="center"><strong>ราคาต่อก.ก.(บาท)</strong></p>
</td>
<td width="127" valign="top">
<p align="center"><strong>มูลค่า(ล้านบาท)</strong></p>
</td>
</tr>
<tr>
<td width="187" valign="top">
<p>ข้าวโพด</p>
</td>
<td width="144" valign="top">
<p align="center">19,767</p>
</td>
<td width="156" valign="top">
<p align="center">100</p>
</td>
<td width="127" valign="top">
<p align="center">2,000</p>
</td>
</tr>
<tr>
<td width="187" valign="top">
<p>ผัก</p>
</td>
<td width="144" valign="top">
<p align="center">2,000</p>
</td>
<td width="156" valign="top">
<p align="center">*</p>
</td>
<td width="127" valign="top">
<p align="center">390-520</p>
</td>
</tr>
<tr>
<td width="187" valign="top">
<p>ถั่วเหลือง</p>
</td>
<td width="144" valign="top">
<p align="center">20,000</p>
</td>
<td width="156" valign="top">
<p align="center">15-18</p>
</td>
<td width="127" valign="top">
<p align="center">355</p>
</td>
</tr>
<tr>
<td width="187" valign="top">
<p>ข้าว</p>
</td>
<td width="144" valign="top">
<p align="center">50,000</p>
</td>
<td width="156" valign="top">
<p align="center">15</p>
</td>
<td width="127" valign="top">
<p align="center">750</p>
</td>
</tr>
<tr>
<td width="187" valign="top">
<p>พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรเก็บเอาไว้เอง</p>
</td>
<td width="144" valign="top">
<p align="center">900,000</p>
</td>
<td width="156" valign="top">
<p align="center">*</p>
</td>
<td width="127" valign="top">
<p align="center">*</p>
</td>
</tr>
</tbody>
</table>
<p>ที่มา : วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ,ข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับการผลักดันพืชจีเอ็มโอ จากหนังสือข้อตกลงเขตการค้าเสรี ผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย(2547) กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน</p>
<p>การครอบครองตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวน่าจะเป็นเป้าหมายของบรรษัทข้ามชาติสหรัฐ รวมทั้งบริษัทเมล็ดพันธุ์ยักษ์ใหญ่ของไทยที่มีสายสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับบริษัท สหรัฐด้วย เนื่องจากขนาดตลาดของเมล็ดพันธุ์ข้าวนั้นสูงกว่าเมล็ดพันธุ์อื่นๆมาก โดยหากสามารถชักจูงให้ชาวนาไทยหันมาเปลี่ยนพันธุ์ข้าวพื้นบ้านมาเป็นพันธุ์ ข้าวจีเอ็มโอได้ บรรษัทเมล็ดพันธุ์จะได้ครอบครองตลาดที่มีมูลค่าสูงถึง 27,000 ล้านบาท และมูลค่าจะสูงกว่านี้จนถึง 67,000 ล้านบาทถ้ามีการผูกขาดตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวเหมือนกรณีตลาดข้าวโพดปัจจุบัน</p>
<p><b>4.2 กรณีทรัพย์สินทางปัญญา</b></p>
<p><b>1) กรณีการยอมรับให้มีการจดสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิต </b></p>
<p>ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงกฎหมายสิทธิบัตรของไทย เนื่องจากตามกฎหมายสิทธิบัตรของไทยในปัจจุบัน ให้การคุ้มครองเฉพาะจุลินทรีย์ที่มีการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นเท่านั้น ไม่รวมถึงพืชและสัตว์ ซึ่งเป็นการให้ความคุ้มครองที่สอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้ตามความตกลงทริปส์ ในองค์การการค้าโลกอยู่แล้ว ถ้าต้องการขยายความคุ้มครองสิทธิบัตรไปยังสิ่งมีชีวิตทุกประเภท จึงต้องมีการปรับแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรของไทย</p>
<p>การขยายความคุ้มครองสิทธิบัตรไปยังสิ่งมีชีวิตทุกประเภท จะส่งผลกระทบต่อการกำกับดูแลการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ความ หลากหลายทางชีวภาพอย่างไม่เป็นธรรม ผลกระทบต่อสิทธิเกษตรกรในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทาง ชีวภาพอย่างยั่งยืน ฯลฯ เนื่องจากตามระบบกฎหมายสิทธิบัตร ไม่มีข้อกำหนดที่พิจารณาถึงแหล่งที่มาของพันธุกรรมที่ใช้เป็นฐานในการ ประดิษฐ์ ไม่มีเงื่อนไขเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมระหว่างผู้ประดิษฐ์ กับบุคคลหรือชุมชนที่เป็นเจ้าของพันธุกรรมที่เป็นฐานในการประดิษฐ์</p>
<p>การยอมรับระบบกฎหมายสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิต เท่ากับการยอมรับให้สหรัฐสามารถจดสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิตจากทรัพยากรชีวภาพที่ นำไปจากประเทศไทยโดยเราไม่อาจโต้แย้งได้นั่นเอง</p>
<p>ในกรณีข้าวหอมมะลินั้น สหรัฐอเมริกาสามารถจดสิทธิบัตรยีนที่ได้จากข้าวหอมมะลิหรือข้าวสายพันธุ์ อื่นๆของไทยได้ ดังที่เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่ากฎหมายสิทธิบัตรของสหรัฐนั้นให้สิทธินัก วิจัยและบริษัทในการจดสิทธิบัตรยีนของข้าวได้ไม่ว่าจะได้มาจากที่ใด ดังที่ ดร.แพม โรแนลด์ (Pam Ronald) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอร์แนลจดสิทธิบัตรยีน XA21 ซึ่งมีคุณสมบัติต้านทานโรคขอบใบแห้ง จากพันธุ์ข้าวป่าของประเทศมาลีในแอฟริกา เป็นต้น การยอมรับการระบบการจดสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิตจะทำให้บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ สหรัฐซึ่งมีความสามารถในการศึกษาเรื่องยีนและจีโนมตลอดจนบริษัทที่ผลิตจี เอ็มโอเข้ามาครอบครองทรัพยากรชีวภาพของโลกทั้งหมดในท้ายที่สุด ดังที่ขณะนี้บริษัท Incyte, Human Genome Sciences และ Celera ได้จดสิทธิบัตรยีนหลายหมื่นสิทธิบัตร และเมื่อเร็วๆนี้ บริษัท Syngenta’s ได้ยื่นเอกสารคำขอสิทธิบัตร WO03000904A2/3 ที่มีความหนาถึง 323 หน้ายื่นจดสิทธิบัตรยีนซึ่งควบคุมการออกดอก และช่วงเวลาการออกดอกของข้าวครอบคลุมประเทศต่างๆ 115 ประเทศทั่วโลก</p>
<p>กฎหมายสิทธิบัตรของสหรัฐยังสามารถใช้ในการผูกขาดสายพันธุ์พืชได้ด้วย ดังนั้นโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าว "Stepwise Program for Improvement of Jasmine Rice for the United States" ซึ่งถูกกระแสกดดันจากประชาชนไทย จนนักวิจัยสหรัฐไม่สามารถจดสิทธิบัตรพันธุ์ข้าวได้ในอดีต ก็จะสามารถกลับมาขอยื่นจดสิทธิบัตรได้อีก ทั้งนี้หากสหรัฐได้รับสิทธิบัตรดังกล่าวจะสร้างความเสียหายให้กับตลาดข้าว ไทยอย่างมาก เนื่องจากผู้ที่ได้รับสิทธิบัตรจะอ้างว่าข้าวหอมมะลิไทยที่นำเข้ามาในตลาด สหรัฐนั้นมีลักษณะเหมือนกับข้าวที่ถูกจดสิทธิบัตรไว้</p>
<p>กรณีคล้ายคลึงกันนี้เคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อปี1999 เมื่อบริษัทสหรัฐชื่อ POD-NERs ได้รับอนุมัติให้ได้รับสิทธิบัตรหมายเลข US5894079 ในถั่วผิวสีทองชื่อ “Enola” นักปรับปรุงพันธุ์ของบริษัทชื่อ Larry Proctor อ้างว่าเขาปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่จากถั่วของเม็กซิโก ทั้งๆที่ถั่วEnolaของเขาเหมือนกันกับถั่ว “Mayacoba” ของชาวเม็กซิกันไม่มีผิด ในปี 2001 ศูนย์วิจัยการเกษตรเขตร้อน CIAT (Center for Tropical Agriculture) ร่วมกับรัฐบาลเม็กซิโกยื่นเรื่องให้มีการยกเลิกสิทธิบัตรถั่วดังกล่าว แต่ขั้นตอนการยกเลิกยังคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ในขณะที่ความเสียหายได้เกิดขึ้นกับชาวไร่เม็กซิโกแล้วเมื่อบริษัท POD-NERs ยื่นจดหมายถึงร้านค้าต่างๆไม่ให้รับซื้อถั่วเหลืองจากเม็กซิโก และได้เรียกร้องค่าสิทธิบัตรจากชาวไร่เม็กซิกันประมาณ 6 เซ็นต์ต่อปอนด์ หรือคิดเป็น 23% ของราคาที่เกษตรกรเม็กซิกันได้รับเมื่อขายถั่วMayacobaในตลาดสหรัฐ ผลกระทบดังกล่าวทำให้การส่งออกถั่วดังกล่าวไปยังสหรัฐลดลงถึง 90%</p>
<p>หากเกิดกรณีนักวิจัยสหรัฐจดสิทธิบัตรข้าวหอมมะลิของไทยดังกรณีที่เกิดกับ ถั่ว Mayacoba ผลประโยชน์จากตลาดข้าวหอมมะลิของไทยซึ่งมีขนาดตลาด 300,000 – 600,000 ตัน จะได้รับผลกระทบ คิดเป็นความเสียหายสูงถึง 4,680 – 9,360 ล้านบาท/ปี ทั้งนี้ไม่นับความเสียหายจากกรณีสหรัฐส่งข้าวออกไปแย่งชิงตลาดข้าวหอมมะลิใน เอเชียและอื่นๆของไทย</p>
<p><b>2</b><b>) กรณีการเข้าเป็นภาคีของยูปอฟ</b></p>
<p>ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงระบบกฎหมายของไทยในการคุ้มครองพันธุ์พืช ซึ่งในกรณีนี้ คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 เนื่องจากหลักการ เงื่อนไข แนวปฏิบัติในการคุ้มครองพันธุ์พืชตามกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช แตกต่างกับกฎหมายสิทธิบัตรและระบบการคุ้มครองตามอนุสัญญายูปอฟฉบับปี ค.ศ. 1991 อย่างมาก</p>
<p>ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 มีลักษณะเป็นกฎหมายเฉพาะ <em>(sui generic system )</em> จัดทำขึ้นโดยให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจสังคมของประเทศไทย ซึ่งเป็นสังคมเกษตรกรรม ให้การคุ้มครองทั้งพันธุ์พืชใหม่ และพันธุ์พืชที่มีอยู่เดิมในป่า หรือในชุมชนท้องถิ่น มีการผ่อนปรนเงื่อนไขการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ไม่ให้เข้มงวดจนเกินไป เพื่อลดผลกระทบต่อเกษตรกร มีข้อกำหนดเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมระหว่างนักปรับปรุง พันธุ์ กับภาครัฐหรือกับชุมชนท้องถิ่นจากการนำเอาพันธุ์พืชป่า หรือพันธุ์พืชพื้นเมืองไปใช้เป็นฐานในการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชเป็นไปอย่างยั่งยืน มีความเป็นธรรม และเป็นการคุ้มครองสิทธิของเกษตรกรด้วย</p>
<p>แต่ในระบบกฎหมายสิทธิบัตร และอนุสัญญายูปอฟ 1991 ไม่ได้มีข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้น มุ่งเน้นให้การคุ้มครองสิทธิของนักปรับปรุงพันธุ์พืชเป็นหลัก ให้การคุ้มครองเฉพาะพันธุ์พืชใหม่ ไม่รวมถึงพันธุ์พืชป่าและพันธุ์พืชพื้นเมือง ดังนั้น ถ้าต้องปรับเปลี่ยนระบบการคุ้มครองพันธุ์พืชของไทยให้เป็นไปตามกฎหมายสิทธิ บัตร หรืออนุสัญญายูปอฟ 1991 ซึ่งมีลักษณะการคุ้มครองใกล้เคียงกับระบบสิทธิบัตร จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการกำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ นำไปสู่ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชของไทย ผลกระทบต่อการสิทธิเกษตรกร เป็นอุปสรรคต่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน</p>
<p>ผลกระทบต่อข้าวหอมมะลิไทยหากประเทศไทยยอมรับระบบกฎหมายของยูปอฟ จะใกล้เคียงกับกรณีการให้สิทธิบัตรในสิ่งมีชีวิต ความแตกต่างอยู่ที่ กฎหมายสิทธิบัตรในสิ่งมีชีวิตจะเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้รับการคุ้มครองหรือ ได้รับสิทธิผูกขาดถึงระดับหน่วยพันธุกรรม(Gene)ด้วย ในขณะที่กรอบกฎหมายยูปอฟนั้นให้การคุ้มครองในเฉพาะสายพันธุ์เท่านั้น</p>
<p><b>3) กรณีการนำกฎหมายเครื่องหมายการค้ามาใช้แทนการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์</b></p>
<p>การใช้เครื่องหมายการค้าเพื่อคุ้มครองชื่อสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของฝ่ายสหรัฐที่จะให้ความหมายว่าชื่อ “จัสมินไรซ์” กลายเป็นชื่อสามัญ และทำให้ความพยายามของประเทศไทยในการกำหนดให้ “จัสมินไรซ์” เป็นชื่อที่ได้รับการคุ้มครองในฐานะชื่อสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นสิ่งที่ ไม่ได้รับการยอมรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรอบการเจรจาพหุภาคี ทั้งๆที่นับตั้งแต่การประชุมที่โดฮาเป็นต้นมา การเจรจาในเรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นได้รวมสินค้าเกษตรเข้าไปอยู่ ด้วยแล้ว เป็นการปิดโอกาสฝ่ายไทยที่จะผลักดันให้ชื่อ “จัสมินไรซ์” เข้าไปอยู่รายชื่อภายใต้ระบบการขึ้นทะเบียนระหว่างประเทศซึ่งขณะนี้กำลัง อยู่ระหว่างการเจรจา</p>
<p>ขณะนี้อุตสาหกรรมข้าวสหรัฐ ขายข้าวพันธุ์อื่นในนาม“จัสมินไรซ์”โดยสองวิธีการคือ นำข้าว “จัสมิน85” บรรจุถุงขายในนามข้าวหอมมะลิ ทั้งๆที่ลักษณะทางกายภาพ คุณภาพการหุง และรสชาติแตกต่างกับข้าวหอมมะลิแท้ๆจากประเทศไทยมาก จากการประมาณการขณะนี้ มีข้าวจัสมิน85 ขายในตลาดสหรัฐประมาณ 200,000 ตัน ส่วนข้าวพันธุ์อื่นๆที่ขายในนามข้าวหอมมะลิ เช่น “จัสมาติ”ของบริษัทไรซ์เทค เป็นต้นนั้น มีขนาดตลาดประมาณ 200,000 ตันรวมตลาดข้าวพันธุ์อื่นๆที่ขายในนามข้าวหอมมะลิประมาณ 400,000 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 6,241.7 ล้านบาทใกล้เคียงกับปริมาณข้าวหอมมะลิแท้ๆที่นำเข้าจากประเทศไทย</p>
<p>การยอมรับว่า “จัสมินไรซ์” เป็นชื่อสามัญ ทำให้ประเทศไทยสูญเสียตลาดที่ควรจะเป็นข้าวหอมมะลิในประเทศสหรัฐเป็นปริมาณ มหาศาล และหากคิดถึงตลาดข้าวหอมมะลิในประเทศอื่นๆที่ถูกแอบอ้างเอาข้าวพันธุ์อื่นมา ขาย มูลค่าความเสียหายจะมากกว่าที่กล่าวแล้วหลายเท่า</p>
<p><b><u>กรณีข้อตกลงที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม</u></b></p>
<p>ภายใต้การเจรจาในหัวข้อว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อม ( Environment Chapter) ทางสหรัฐฯ ได้เสนอข้อเรียกร้องให้ประเทศไทยยอมรับสิทธิ หน้าที่ และพันธกรณีเฉพาะความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม ( Multilateral Environmental Agreements : MEAs ) ที่ประเทศไทยและสหรัฐเป็นภาคีร่วมกันเท่านั้น นั่นหมายความว่า MEAs ที่ไทยเป็นภาคีแต่สหรัฐไม่ได้เป็นภาคี เช่น อนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ อนุสัญญาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก, อนุสัญญาบาเซล เป็นต้น จะไม่สามารถเรียกร้องให้สหรัฐยอมรับสิทธิ หน้าที่ และพันธกรณีตามความตกลงดังกล่าวได้</p>
<p>ในกรณีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) ที่ประเทศไทยและประเทศต่างๆกว่า 100 ประเทศเป็นภาคีสมาชิกอยู่นั้น สหรัฐไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงการแจ้งขออนุญาตการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมล่วง หน้า เรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม และการเคารพภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของอนุสัญญาดังกล่าวแต่ประการใด</p>
<p>หากรัฐบาลไทยยอมตามคำเรียกร้องของสหรัฐ นั่นหมายถึงว่าเรายอมสมัครใจให้สหรัฐละเมิดสิทธิอธิปไตยของประเทศไทยเหนือ ทรัพยากรชีวภาพ สายพันธุ์ข้าว พืชพันธุ์ต่างๆ และทรัพยากรชีวภาพของประเทศทั้งหมดจะถูกเข้ามฉกฉวยใช้ประโยชน์ โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาต ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าตอบแทนประโยชน์ และไม่ต้องเคารพสิทธิของเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่น</p>
<p>เมื่อประกอบกับข้อเรียกร้องให้ประเทศไทยยอมรับระบบกฎหมายสิทธิบัตรสิ่งมี ชีวิตดังที่กล่าวมาด้วยแล้ว บรรษัทข้ามชาติสหรัฐสามารถพาเหรดเข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอื่นๆ ของประเทศได้ตามต้องการ อีกทั้งยังสามารถเข้ามาจดสิทธิบัตรทรัพยากรชีวภาพแสดงความเป็นเจ้าของ ทรัพยากรของเราได้ในแผ่นดินของเราเอง</p>
<p> </p>
<p><b><font size="5">5.</font> <u>จุดยืนของประเทศไทยและข้อเสนอแนะในการเจรจาเอฟทีเอกับสหรัฐอเมริกา</u></b></p>
<p>จุดยืนของประเทศไทยในการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา ต้องยืนอยู่บนผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ คำนึงถึงหลักอธิปไตยของประเทศ และความมั่นคงระยะยาวของชาติ เป็นสำคัญ</p>
<p><b>5.1 ประเทศไทยต้องมีจุดยืนอย่างมั่นคงที่จะไม่ยอมรับระบบกฎหมายทรัพย์สินทาง ปัญญาของฝ่ายสหรัฐโดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นการยอมรับระบบกฎหมายสิทธิบัตรในสิ่งมีชีวิต การเข้าเป็นภาคียูปอฟ และการนำเอากฎหมายเครื่องหมายการค้ามาแทนการคุ้มครองชื่อสิ่งบ่งชี้ทาง ภูมิศาสตร์</b></p>
<p>การยอมรับระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐ นอกจากจะทำให้เกิดความเสียหายต่อตลาดและพันธุกรรมข้าวหอมมะลิดังที่ได้กล่าว แล้ว จะส่งผลต่อทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นชนิดและประเภทอื่นๆทั้งหมด</p>
<p>ตัวแทนเจรจาและรัฐบาลไทยพึงระลึกเสมอว่า การยอมรับตามแรงกดดันของสหรัฐแม้เพียงประเทศเดียว แต่จะทำให้ประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เป็นต้น ได้รับสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญาเสมอเหมือนกับที่ประเทศไทยยอมให้กับประเทศ สหรัฐด้วย</p>
<p>จุดยืนเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาต้องไม่ไปไกลเกินกว่าข้อตกลงทรัพย์สินทาง ปัญญาในกรอบการเจรจาภายใต้องค์กรการค้าโลก ซึ่งขณะนี้อย่างน้อยประเทศไทยยังมีทางเลือกอื่นที่ไม่ต้องใช้กฎหมายสิทธิ บัตรสิ่งมีชีวิต ไม่จำเป็นต้องเข้าเป็นภาคีของยูปอฟ และมีโอกาสสูงที่จะได้รับการคุ้มครองชื่อสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของข้าวหอม มะลิและสินค้าเกษตรอื่นๆในระดับเดียวกับที่ประเทศยุโรปได้รับการคุ้มครอง ไวน์และสุรา</p>
<p> </p>
<p><b>5.2 รัฐบาลไทยต้องแสดงบทบาทการเจรจาในเชิงรุกในการคุ้มครองข้าวหอมมะลิ ทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น</b></p>
<p>โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้</p>
<p> 1) เรียกร้องให้ฝ่ายสหรัฐแก้ปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทยในกรณีข้าว หอมมะลิ โดยห้ามมิให้บริษัทค้าข้าวในสหรัฐแอบอ้างเอาข้าวพันธุ์อื่นขายในนาม “จัสมินไรซ์” การแก้ไขเรื่องนี้ต้องดำเนินไปให้แล้วเสร็จก่อนได้ข้อสรุปในการเจรจา ประเทศสหรัฐอเมริกาต้องใช้บรรทัดฐานเดียวกับที่ได้กดดันให้รัฐบาลไทยกวดขัน การละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนต์ เพลง และซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ของสหรัฐ ซึ่งมีขึ้นก่อนการเจรจาจะเริ่มต้นขึ้นด้วยซ้ำ</p>
<p> 2) ประเทศไทยต้องเรียกร้องให้ฝ่ายสหรัฐยอมรับสิทธิอธิปไตยของประเทศไทยเหนือ ทรัพยากรชีวภาพ การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น จะต้องขออนุญาตล่วงหน้า ต้องทำสัญญาส่วนแบ่งประโยชน์ตามกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 และกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542 ของประเทศไทย โดยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาใดๆของทั้งสองฝ่ายจะต้องแสดงที่มาของ ทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมไปจากเงื่อนไขขอ รับการคุ้มครองเดิมที่กำหนดไว้</p>
<p> </p>
<p><b>5.3 ในกรณีสินค้าจีเอ็มโอนั้น รัฐบาลต้องยืนยันอย่างมั่นคงว่าประเทศไทยมีสิทธิสมบูรณ์ภายใต้อนุสัญญาว่า ด้วยความหลากหลายทางชีวภาพที่จะใช้หลักการป้องกันเอาไว้ก่อน ที่จะห้ามมิให้การนำเข้าจีเอ็มโอเข้ามาภายในประเทศหากไม่มั่นใจถึงผลกระทบ ที่มีต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อม</b></p>
<p>ประเทศไทยมีความชอบธรรมทุกประการในการห้ามการนำเข้าจีเอ็มโอจากต่าง ประเทศเข้ามาทดลองหากเห็นว่าการทดลองนั้นเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการปนเปื้อน ของจีเอ็มโอจากแปลงทดลองกระจายไปในพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่อื่นใดนอกแปลง ทดลอง ทั้งนี้โดยการทดลองเกี่ยวกับจีเอ็มโอในประเทศนั้นต้องอยู่ภายใต้กฎหมายความ ปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งมีหลักการคุ้มครองสิทธิของเกษตรกร และการชดเชยความเสียหายกำหนดไว้อย่างชัดเจน</p>
<p>แรงกดดันของบริษัทมอนซานโต้ที่ต้องการให้รัฐบาลไทยยอมให้มีการทดลองพืชจี เอ็มโอรอบใหม่นั้น ไม่มีเหตุผลเพียงพอ เนื่องจากบริษัทข้ามชาติดังกล่าวเป็นผู้ต้องรับผิดชอบต่อกรณีการปนเปื้อนของ ฝ้ายบีทีเมื่อรัฐบาลไทยอนุญาตให้มีการปลูกทดสอบเมื่อปี 2540</p>
หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ:
เอฟทีเอรายประเทศ: