จาก CAFTA ถึง FTA ไทย-สหรัฐ

โดย  กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน(FTA Watch)

<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ขณะที่บทความนี้ออกตีพิมพ์ ตัวแทนฝ่ายไทยที่นำโดย นายนิตย์ พิบูลสงคราม คงกำลังหน้าดำคร่ำเครียดเจรจาเอฟทีเอกับสหรัฐ ในรอบที่ 4 ที่เมืองมอนทาน่า ประเทศสหรัฐอเมริกาท่ามกลางแรงกดดันจากคู่เจรจามหาอำนาจอย่างสหรัฐที่ต้อง &ldquo;เอาให้ได้&rdquo; และแรงกดดันจากระดับนโยบายของไทยที่ต้อง <strong>&ldquo;เร่งให้เสร็จ&rdquo; </strong></p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในขณะเดียวกันนี้เอง สภาผู้แทนราษฎร สหรัฐฯ ก็กำลังจะอยู่ในช่วงต้องตัดสินใจรับหรือไม่รับ &ldquo;ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกากลางและโดมินิกัน หรือ DR-CAFTA&rdquo; (The Dominican Republic-Central American Free Trade Agreement) หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐใช้แผนเหนือเมฆนำเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาก่อนช่วง หยุดวันชาติสหรัฐ ผ่านไปด้วยคะแนน 54-45</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในสายตาของคนภายนอก 54-45 เสียงเป็นคะแนนเสียงที่ชนะกันค่อนข้างขาดลอย แต่สำหรับผู้เกาะติดการพิจารณาญัตติต่างๆของวุฒิสภาสหรัฐที่ขึ้นชื่อด้าน สนับสนุนการค้าเสรีอย่างเหนียวแน่นชี้ว่า เป็นคะแนนเสียงสนับสนุนข้อตกลงการค้าเสรีที่ต่ำในประวัติศาสตร์สหรัฐที่ผ่าน มา ข้อตกลงเอฟทีเอที่สหรัฐทำกับหลายประเทศ รวมทั้ง ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ หรือ NAFTA เมื่อ 10 ปีก่อนก็เคยผ่านด้วยเสียงสนับสนุนเอกฉันท์มาแล้ว</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; หลังจากที่การประชุม WTO ที่แคนคูนล้มลง เมื่อปี 2546 รัฐบาลสหรัฐหันไปเน้นที่การทำข้อตกลงทวิภาคีและภูมิภาคอย่างมากโดยใช้ต้นแบบ ของ NAFTA อันที่จริง (เพื่อนำผลของเอฟทีเอไปกดดันในการเจรจา WTO) สหรัฐต้องการขยาย NAFTA แบบ &ldquo;สุดๆไปเลย&rdquo; คือ ครอบคลุมทั่วทั้งทวีปอเมริกา ทั้งหมด 34 ประเทศ ภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกา (FTAA)</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวถูกคัดค้านอย่างรุนแรงจาก บราซิล อาร์เจนติน่า เวเนซูเอลา และโบลิเวีย ที่ไม่ต้องการข้อตกลงที่ครอบคลุมทุกด้าน (comprehensive agreement) แต่ต้องการให้ตัดประเด็นทรัพย์สินทางปัญญา การลงทุน การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐออกไป แล้วเลือกเฉพาะรายสินค้าที่แต่ละประเทศมีความพร้อมเท่านั้น ดังนั้น สหรัฐจึงต้องมาผลักดันให้ CAFTA อันประกอบไปด้วย 5 ประเทศในอเมริกากลาง (นิคารากัว เอล ซาวาดอร์ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส และคอสต้าริก้า) และโดมินิกัน รีพับลิค มีผลก่อนเพื่อเป็นการโดดเดี่ยวและกดดันบราซิลซึ่งเป็นตลาดหลักที่สหรัฐต้อง การที่สุด</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; รัฐบาลสหรัฐต้องใช้เวลากว่า 15 เดือนหลังการเจรจา CAFTA เสร็จสิ้นรวบรวมความกล้าส่งร่างข้อตกลงให้รัฐสภาพิจารณา ซึ่งผิดกับ FTA ที่สหรัฐทำกับชิลี สิงคโปร์ โมร็อคโค และออสเตรเลีย รัฐบาลนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาหลังการลงนามเพียงแค่ 1-2 เดือนเท่านั้น และแม้ว่าวุฒิสภาจะมีมติรับข้อตกลง CAFTA แล้วก็ตาม แต่ใช่ว่า จะผ่านฉลุยในสภาผู้แทนราษฎรที่พรรครีพับริกันมีเสียงข้างมาก เพราะ ส.ส.รีพับริกัน หลายสิบคนตัดสินใจที่จะโหวตค้าน CAFTA ร่วมกับพรรคเดโมแครต และส.ส.อิสระ ทำให้ล่าสุด สัดส่วนที่ค้านก็ยังมีมากกว่าเสียงสนับสนุน โดยเสียงค้านประกอบไปด้วย 190 เสียงจากจากพรรคเดโมแครต และ 40 เสียงจากพรรครีพับลิคกัน (สส.ทั้งสภามีทั้งสิ้น 435 เสียง)</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ปัจจัยหลักที่ทำให้เสียงค้านเข้มแข็งขึ้นมากจาก <strong>&ldquo;ตัวช่วยที่สำคัญ&rdquo;</strong> คือ กลุ่มที่เคยสนับสนุน และเคยเชื่อว่าจะได้ประโยชน์ NAFTA ซึ่งขณะนี้มีความชัดเจนแล้วว่า หายนะอะไรเกิดขึ้นบ้าง และประจักษ์กับตาถึงความรุนแรงของผลกระทบ อาทิ สหภาพแรงงาน, กลุ่มนักสิ่งแวดล้อมที่เคยเชื่อมนต์ &ldquo;คำมั่นสัญญา&rdquo; และรัฐบาลท้องถิ่น 31 รัฐจาก 50 รัฐในสหรัฐก็ร่วมคัดค้านและถอนตัวออกจากการผูกมัดของ CAFTA แม้แต่กลุ่มประชาสังคมละตินอเมริกาที่ก่อนหน้านี้เคยเป็นแกนนำหลักหนุน NAFTA ยังออกโรงค้าน ซึ่ง &ldquo;ตัวช่วย&rdquo; เหล่านี้เป็นกลุ่มที่รัฐบาลอเมริกันและหอการค้าอเมริกัน...กลัวมากที่สุด</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ข้อโต้แย้งเรื่อง CAFTA ในสังคมอเมริกันอาจดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว แต่ในฐานะที่ไทยกำลังเร่งเจรจาเอฟทีเอกับสหรัฐภายใต้อำนาจต่อรองที่อ่อนแอ ด้วยข้อจำกัดต่างๆ CAFTA ได้ฉายภาพขยายรอบด้านของ เอฟทีเอไทย-สหรัฐได้เป็นอย่างดี</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เชอร์รอด บราวน์ ส.ส.พรรคเดโมแครตจากรัฐโอไฮโอ กล่าวว่า &ldquo;ใครที่โหวตสนับสนุน CAFTA ขอจงให้จำใส่ใจว่าท่านมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีใน ประเทศคู่เจรจา CAFTA คนเหล่านี้ป่วยเรื้อรัง แต่พวกเขาจะป่วยถึงตาย ถ้า CAFTA มีผลบังคับใช้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีปัญญาซื้อยาแบรนเนมที่ติดสิทธิบัตร รวมถึงผู้ป่วยทีบีและมาลาเรีย</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แม้ผู้แทนการค้าสหรัฐจะอ้างว่า มีข้อตกลงข้างเคียง (side agreement) เพื่อให้สิทธิแก่การจัดการกับปัญหาโรคเอดส์ ทีบี และมาลาเรีย แต่ข้อตกลงข้างเคียงไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นข้อตกลงที่น่าหัวเราะเยาะ เพราะให้สัญญาว่าจะจัดการกับปัญหาด้านสาธารณสุข ขณะที่ข้อตกลง CAFTA เองได้ทำลายเครื่องมือเหล่านี้ไปแล้ว และไม่แตะต้องสิทธิบัตรเลยแม้แต่น้อย ข้อตกลงเช่นนี้ไปหลอกใครไม่ได้หรอก&rdquo;</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากงานวิจัยของอ็อกแฟม และองค์กรหมอไร้พรมแดน ชี้ว่า ระบบทรัพย์สินทางปัญญาใน CAFTA จะสร้างการผูกขาดให้กับอุตสาหกรรมยาในสหรัฐ ด้วยการกวาดยาสามัญออกจากตลาดให้เหลือเพียงยาติดสิทธิบัตรที่มีราคาแพง จะส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีหลายล้านคนใน 6 ประเทศเข้าไม่ถึงยา แค่กัวเตมาลาประเทศเดียว มีผู้ติดเชื้อ 78,000 คน ในจำนวนนี้ 13,500 คนต้องการยาฆ่าเชื้อ ARV &nbsp;แต่มีเพียง 3,600 คนเท่านั้นที่ได้รับยาดังกล่าว หากมีการบังคับใช้ระบบสิทธิบัตรใน CAFTA จะทำให้มีผู้เสียชีวิตมากขึ้น ฉะนั้น สิ่งที่ CAFTA ประสบความสำเร็จที่สุด คือ การสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรกับอุตสาหกรรมยายักษ์ใหญ่มากที่สุด (pharma-friendly) ด้วยการขยายอายุสิทธิบัตร และการผูกขาดข้อมูลทางการค้า (data exclusivity) มากเสียยิ่งกว่าในสหรัฐเอง เพราะในสหรัฐกำหนดเพียง 5 ปี แต่ใน CAFTA กำหนดว่า &ldquo;อย่างน้อย 5 ปี&rdquo; &nbsp;</p>
<p align="center"><img height="316" border="0" width="280" src="http://www.ftawatch.info/sites/default/files/MonJuly2005113421_show_57.jpg" alt="" /></p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แม้ว่า CAFTA จะยังไม่มีผลบังคับใช้ แต่ประเทศเล็กๆ ก็ต้องเดินหน้าตามคำสั่งไปแล้ว เช่น ในกรณีของกัวเตมาลา รัฐสภาได้ผ่านร่างกฎหมายภายใต้แรงกดดันของสหรัฐ เพื่อปูทางให้กับ CAFTA ด้วยการกำหนดการผูกขาดข้อมูลทางการค้า (data exclusivity) แม้จะมีการประท้วงรุนแรงทั่วประเทศจากกลุ่มศาสนาและผู้ติดเชื้อทั่ว กัวเตมาลา แต่มันก็สายเกินไป</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ตัวเลขประมาณการของ Public Citizen ระบุว่า หาก CAFTA มีผลบังคับใช้ รัฐบาลคอสตาริก้า จะต้องเพิ่มงบประมาณด้านยาในส่วนของสาธารณสุขเพิ่มขึ้นจาก 8% เป็น 45% ของงบประมาณทั้งหมด ราคายาในคอสตาริก้าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 800% ขณะที่งบประมาณของรัฐที่จะช่วยเหลือผู้ช่วย จะสามารถช่วยได้แค่ 18% ของผู้ป่วยทั้งหมด</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; PharMA สมาคมอุตสาหกรรมยาที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอ้างว่า จะมีการลดราคาให้เป็นพิเศษสำหรับประเทศภาคี CAFTA แต่... &ldquo;ยาจำเป็นต้องมีราคาแพงแม้จะขายในตลาดประเทศยากจน เพราะมีค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยอย่างมาก&rdquo; ข้ออ้างเช่นนี้ถูกท้าทายจากงานวิจัยของนักวิชาการจากทั่วโลกแม้กระทั่งนัก วิชาการอเมริกันเองว่า อุตสาหกรรมยาใช้จ่ายด้านการวิจัยน้อยมาก เมื่อเทียบกับค่าการตลาดและค่าโฆษณา</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สารคดี Dying for Drugs ได้จัดฉายให้คณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศ วุฒิสภาสหรัฐ เป็นเรื่องราวของเด็กผู้ติดเชื้อที่ตายเพราะพ่อแม่ไม่มีปัญญาซื้อยาของ บริษัทไฟเซอร์ที่ขายในฮอนดูรัสในราคา 27 ดอลลาร์ ทั้งๆที่ยาตัวนี้มีค่าผลิตแค่ไม่กี่เพนนีเท่านั้น ก่อนจะตบท้ายให้คณะกรรมาธิการฟังว่า สิ่งที่เห็นในสารคดีชิ้นนี้ ที่เกิดกับเด็กคนนี้ เป็นสิ่งที่อธิบายว่าทำไม สหรัฐอเมริกาต้องการให้ประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาอยู่ในเนื้อหาของข้อตกลง CAFTA</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประเด็นความห่วงใยถึงผลกระทบของ CAFTA ไม่ใช่มีเพียงยาราคาแพงเท่านั้น แต่CAFTA จะกระจายโมเดลอันผิดพลาดของการค้าระหว่างประเทศแบบ NAFTA ไปยังอีก 6 ประเทศในอเมริกากลาง ตลอด 10 ปีของ NAFTA ได้แสดงให้เห็นผลกระทบต่อครอบครัวคนทำงานและสิ่งแวดล้อม แค่ในสหรัฐ 766,000 ตำแหน่งงานหายไปอันเป็นผลโดยตรงจาก NAFTA</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในเขตเศรษฐกิจพิเศษมากิราโดร่าชายแดนสหรัฐ-เม็กซิโก ที่เคยเชื่อว่าจะสร้างงานให้คนเม็กซิกัน ค่าจ้างถูกเอารัดเอาเปรียบ ห้ามมีสหภาพแรงงาน มลภาวะอุตสาหกรรมทำให้เกิดโรคตับอักเสบและเด็กที่เกิดมีสภาพผิดปกติมากมาย</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในข้อตกลง CAFTA ไม่มีมาตรการปกป้องสิทธิแรงงานและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังดังโฆษณา&nbsp; แต่มีท่าทีการสนับสนุนโรงงานนรก CAFTA ไม่ได้บังคับให้มีการเพิ่มมาตรฐานแรงงานตามองค์การแรงงานโลก หรือ ไอแอลโอ แค่ให้ประเทศคู่สัญญาทำตามกฎหมายเท่าที่มีอยู่เดิมโดยไม่สนใจว่ามาตรฐานที่ มีอยู่นั้นจะต่ำแค่ไหน ไม่สนใจว่าประเทศแถบอเมริกากลาง รัฐบาลจะข่มขู่สหภาพ กีดกันการรวมตัวของประชาชน กดขี่แรงงาน ในที่สุด CAFTA จะเป็นแค่ เขตอุตสาหกรรมแรงงานนรกเท่านั้น</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เกษตรกรรายย่อยในอเมริกากลางจะมีชะตากรรมเช่นเดียวกับเพื่อนพ้องของเขาใน เม็กซิโก สหรัฐ และแคนาดาภายใต้แรงกระทำของ NAFTA ขณะที่อุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่อย่าง คาร์กิลและ ADM จะได้ประโยชน์เต็มๆจากการผูกขาดเมล็ดพันธุ์และปัจจัยการผลิตอื่นๆ จนทำให้เกษตรกรต้องสูญเสียที่ดิน อพยพแรงงานเข้าสู่เมืองไปเป็นแรงงานทาสในเขตอุตสาหกรรม หรือเสี่ยงที่จะอพยพอย่างผิดกฎหมายไปสหรัฐ</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การบริการสาธารณะต่างๆจะตกเป็นสินค้าอันหอมหวานของนักลงทุนต่างชาติที่ร่วม กับนายทุนชาติ ปิดโอกาสรัฐบาลต่างๆในการให้สิทธิพิเศษแก่บริการสาธารณะเพื่อประชาชน ภายใต้ CAFTA กฎหมายภายในประเทศที่ปกป้องสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงอาหาร, การรักษาพยาบาล สาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ อาจถูกตีว่า &ldquo;เป็นอุปสรรคทางการค้า&rdquo; และถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยบรรษัทข้ามชาติ</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทเรียนจาก NAFTA ที่อนุญาตให้บริษัทต่างๆฟ้องร้องรัฐบาลกับกฎทุกกฎที่ออกมาขวางการแสวงหากำไร พบว่า ตั้งแต่ปี 2537 กฎนี้ถูกใช้ฟ้องร้องแล้ว 27 คดีทั้งประเด็นสาธารณสุข ความปลอดภัยในการทำงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้รัฐบาลต้องจ่ายค่าปรับ ค่าชดเชย หรือต้องออกกฎหมายเฉพาะที่เอาใจนักธุรกิจเท่านั้น</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; CAFTA กำหนดให้รัฐบาลต้องแปรรูปให้เอกชนเข้ามาดำเนินการในกิจการต่างๆ ทำให้ต้องขึ้นราคาค่าบริการ ลดการเข้าถึง และลดคุณภาพ ผู้ที่จะได้ผลกระทบมากที่สุดคือ คนจน เด็ก และคนชรา</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกับคนยากจน และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย จึงก่อให้เกิดกระแสคัดค้านไปทั่วอเมริกากลาง</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในกัวเตมาลา ประชาชนเรียกร้องสิทธิการลงประชามติ เพื่อตัดสินชะตากรรมของตัวเองว่าอยากหายนะอย่างเม็กซิโกหรือไม่ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ฮวน โลเปซ ออกมาเดินขบวนคัดค้านกับเพื่อนร่วมชาติขร่วมชะตากรรม เขาถูกฝ่ายรัฐยิงตายคาที่</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในเอลซาวาดอร์ ประเทศแรกที่ผ่านข้อตกลง CAFTA แม้ประชาชนส่วนใหญ่คัดค้านเพราะประโยชน์จะตกแก่ชนชั้นนำที่กุมอำนาจเท่านั้น พวกเขาประกาศว่าจะสู้จนถึงที่สุด ปลายปีที่แล้ว ประชาชน 250,000 คนเดินขบวนประท้วงการแปรรูปและการผูกขาดยาตามเงื่อนไขของ CAFTA</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในฮอนดูรัส รัฐบาลกดดันรัฐสภาให้ผ่านข้อตกลง แต่ประชาชนทั้งแรงงาน เกษตรกรและอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กกำลังเตรียมพร้อมเพื่อประท้วงใหญ่</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; คอสตาริก้า แกนนำการชุมนุมยืนยันว่า การประท้วงของพวกเขาจะเข้มข้น และดุเดือด <strong>&ldquo;สงครามของพวกเราอยู่บนท้องถนน&rdquo;</strong></p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ที่นิคารากัว ประชาชนเรือนหมื่นประท้วงเป็นระยะเพื่อคัดค้านการแปรรูปน้ำ และการขึ้นราคายาภายใต้ระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวดตาม CAFTA</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>แล้วผู้นำประเทศเหล่านี้ ... กำลังทำอะไรกันอยู่ ได้ยิน-ได้ฟัง-ได้เข้าใจความกังวลของประชาชนของพวกเขาหรือไม่</strong></p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประธานาธิบดีจาก 6 ประเทศคู่เจรจา เอล ซาวาดอร์, กัวเตมาลา, ฮอนดูรัส, นิคารากัว, คอสตาริก้า และโดมินิกัน รีพับลิค เต็มอกเต็มใจร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐ โดยนายร็อบ พอร์ตแมน ผู้แทนการค้า เดินสายตระเวณขอความเห็นใจจากสมาชิกคองเกรส และทัวร์ 11 เมืองใหญ่ในสหรัฐเพื่อขอให้เห็นใจ &ldquo;คนยากจนในอเมริกากลาง&rdquo; ที่อยากได้ CAFTA ใจจะขาด</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ขณะที่บทความนี้ออกตีพิมพ์ออกไป ตัวแทนฝ่ายไทยที่นำโดย นายนิตย์ พิบูลสงคราม กำลังคิดและทำอะไรอยู่ และผู้ที่กุมนโยบายเหนือพวกเขาอีกทีเคยได้ยิน-ได้ฟัง-ได้เข้าใจความกังวลของ ประชาชนของพวกเขาหรือไม่</p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; หรือว่า พวกเขากำลังเตรียมแผน &ldquo;ทัวร์ขอความเห็นใจ&rdquo; ของ &ldquo;คนยากจนในประเทศไทย&rdquo; ที่อยากได้ FTA ใจจะขาด</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>&nbsp;</p>
<table border="0" align="center" style="width: 291px; height: 223px;">
<tbody>
<tr>
<td>
<p align="center"><img height="210" border="0" width="280" src="http://www.ftawatch.info/sites/default/files/MonJuly2005111522_show_114.jpg" alt="" /><br />
<strong>คณะเจรจาฝ่ายไทย</strong></p>
</td>
</tr>
</tbody>
</table>
<p>&nbsp;</p>
<p>&nbsp;</p>
<p><strong>อ้างอิงจาก</strong></p>
<p><a href="http://www.stopcafta.org/"><font color="#bfbfbf">http://www.stopcafta.org</font></a></p>
<p><a href="http://www.bilateral.org/"><font color="#bfbfbf">http://www.bilateral.org</font></a></p>
<p><a href="http://www.citizen.org/"><font color="#bfbfbf">http://www.citizen.org</font></a><font color="#bfbfbf"> (Public Citizen)</font></p>
<p><a href="http://www.globalexchange.org/"><font color="#bfbfbf">http://www.globalexchange.org</font></a><font color="#bfbfbf"> </font></p>
<p><a href="http://www.ncronline.org/"><font color="#bfbfbf">http://www.NCRonline.org</font></a><font color="#bfbfbf"> (National Catholic Reporter)</font></p>
<p><a href="http://www.house.gov/"><font color="#bfbfbf">http://www.house.gov</font></a></p>
<p><a href="http://www.senate.gov/"><font color="#bfbfbf">http://www.senate.gov</font></a></p>
<p><a href="http://www.ustr.gov/"><font color="#bfbfbf">http://www.ustr.gov</font></a></p>
<p><font color="#bfbfbf">Washington Post, The Guardian, BBC, Reuter, AlterNet, Common Dreams, AP, Seattle Times</font></p>
หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ: 
เอฟทีเอรายประเทศ: