จากเจนีวาสู่ฮ่องกง ทิศทางการเจรจาการค้ารอบโดฮา:มุมมองภาคประชาสังคม

โดย  สำนักข่าวแห่งชาติ

<p>การจะเห็นภาพรวมของการเจรจาภายใต้องค์การการค้าโลกในขณะนี้ให้ชัดเจนได้ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจ &ldquo;กรอบความตกลงเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๗&rdquo; (July Framework agreement) เสียก่อน เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว สิ่งที่อ้างกันว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนา คือมีการตกลงกันว่าจะขจัดการอุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศพัฒนาแล้ว ให้เหลือ 0% แต่ขณะเดียวกันข้อน่าเป็นห่วงคือ มีการระบุไปอย่างชัดเจนว่าการเปิดตลาดในรอบหน้าจะต้องไม่น้อยไปกว่ารอบที่ แล้ว&nbsp;&nbsp; รวมทั้งแม้ว่าจะมีการลดการอุดหนุนการส่งออกจะต้องหมดไป&nbsp; แต่ไม่ได้มีการกำหนดระยะเวลา&nbsp; ที่สำคัญการอุดหนุนสินค้าเกษตรไม่ใช่มีแต่เรื่องการอุดหนุนการส่งออก&nbsp; การอุดหนุนภายในยังมีผลในการทุ่มตลาดประเทศอื่นด้วย&nbsp; ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีการลดการอุดหนุนภายในที่เชื่อว่าจะเกิดผลจริง&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นอกจากนี้ยังมีการกำหนดกรอบเรื่องของนามา (NAMA- Non agricultural market access) หรือที่คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นสินค้าอุตสาหกรรม&nbsp; แต่จริงๆแล้วรวมถึงภาคเศรษฐกิจที่หลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นประมง ป่าไม้ หรือเรื่องของเหมืองแร่&nbsp; กรอบที่ว่านี้มีการกำหนดว่าจะต้องลดภาษีสินค้าในกลุ่มนามาอย่างค่อนข้าง รุนแรง&nbsp; ส่วนในเรื่องของแกตส์ (GATS- ข้อตกลงทั้วไปว่าด้วยการค้าบริการ) ได้กำหนดให้มีการเร่งยื่นข้อเสนอในการเปิดตลาดให้รวดเร็วยิ่งขึ้น</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาเกิดอะไรบ้างที่เจนีวา&nbsp; เห็นชัดว่าแรงโน้มถ่วงมันดึงไปสู่ความพยายามในการจบรอบ ประเทศใหญ่ๆ ไม่ว่าพัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนาพยายามทำให้จบรอบ&nbsp; เพราะเงื่อนไขปัจจุบันเห็นชัดว่าถ้ารอบนี้ไม่ทะเยอทะยานสูงจนเกินไป&nbsp; ประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา&nbsp; สหภาพยุโรป บราซิล และ อินเดีย จะได้ประโยชน์ไปคนละอย่างสองอย่าง&nbsp; สหรัฐฯก็จะได้เรื่องการเข้าถึงตลาดทั้งในสินค้าอุตสาหกรรม บริการ และเกษตร&nbsp; ยุโรปเองไม่มีประโยชน์ในการเปิดเสรีเกษตรเท่าไหร่&nbsp; แต่ถ้าจะให้จบรอบต้องยอมนิดหน่อย&nbsp; แต่จะได้ประโยชน์เรื่องสินค้าอุตสาหกรรมและบริการ&nbsp; บราซิลเอง ด้านเกษตรจะได้ประโยชน์จากการเข้าถึงตลาด&nbsp; นามาไม่ชัดเจน&nbsp; แต่อาจจะได้รับผลกระทบเพราะมีอุตสาหกรรมภายในที่ต้องปกป้องด้วย&nbsp; ส่วนอินเดียนั้นด้านเกษตรเป็นการตั้งรับ แต่มีผลประโยชน์ในเรื่องบริการโดยเฉพาะใน Mode 4 (หมวด 4 การเคลื่อนย้ายบุคคล) ในการส่งคนไปทำงานในประเทศพัฒนาแล้ว&nbsp; กลุ่มประเทศทั้งสี่นี้กลายเป็นแกนกลางในการเจรจาหรือที่เรียกว่ากลุ่ม New Quad&nbsp; ซึ่งประชุมกันบ่อยทั้งในและนอกเจนีวา</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>อย่างไรก็ตามแม้ว่าประเทศใหญ่ๆต้องการให้จบรอบ&nbsp; แต่ก็ยังมีปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ตั้งแต่แคนคูน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฝ้าย&nbsp; สินค้าเกษตร&nbsp; ซึ่งทำให้เป็นประเด็นค้างคา การเจรจานับแต่กลางปีที่แล้วดำเนินไปได้ช้าๆ&nbsp; ซึ่งอาจจะเป็นเทคนิคของประเทศพัฒนาแล้ว&nbsp; เพราะมักแตะถ่วงการเจรจาจนถึงก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรีเพียงไม่กี่เดือน จึงวางข้อเสนอบนโต๊ะและเร่งเต็มฝีจักร&nbsp; แล้วใช้แรงกดดันทางการเมือง&nbsp; เมื่อครั้งการประชุมที่โดฮาก็เช่นกัน&nbsp; ก่อนหน้านั้นที่เจนีวา&nbsp; มี text (ร่างข้อตกลง) ที่มีวงเล็บและ options (ทางเลือกของข้อเสนอ) เต็มไปหมด&nbsp; หมายความว่ายังตกลงกันไม่ได้&nbsp; และที่ประชุมเจนีวาไม่เห็นด้วยว่าควรจะมี text ไปที่โดฮา&nbsp; แต่มีการเอาไปในลักษณะที่ว่า under the chairman&rsquo;s responsibility คือ ประธานเอาร่างไปภายใต้ความรับผิดชอบของตนเอง&nbsp;&nbsp; จริงๆการเจรจาที่โดฮาเกือบล้ม&nbsp; ร่างความตกลงไม่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม&nbsp; มีการต่อเวลาการประชุมไปอีกหลายชั่วโมง&nbsp; รัฐมนตรีบางคนเดินทางกลับประเทศไปแล้วด้วยซ้ำ&nbsp; ดังนั้นครั้งนี้ก็เหมือนกัน มันนิ่งมาตลอด&nbsp; เมื่อเดือนกรกฎาคม มีการพยายามผลักดันให้คืบหน้าจากเลขาธิการคนที่แล้วแต่ก็ไม่เป็นผล&nbsp;</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>การที่เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาไม่มีอะไรขยับ&nbsp; เนื่องจากสหรัฐฯและยุโรปไม่ยอมวางข้อเสนอของตน&nbsp; ประเทศเล็กวางไปก็ไม่มีใครสนใจ&nbsp; กลุ่มจี 20 เป็นกลุ่มแรกที่วางก่อนด้วยซ้ำ&nbsp; แล้วก็เป็นไปตามคาด ประมาณ วันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา&nbsp; สหรัฐฯ เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์บอกว่าตัวเองมีข้อเสนออะไร และหลังจากนั้นประเทศอื่นก็วางข้อเสนอตามมาจำนวนมาก&nbsp; ดับบลิวทีโอเป็น rule-based organization (องค์กรที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานกติกา) แต่การเจรจาจริงกลับไม่มีกฎอะไรเลย&nbsp;</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>ในข้อเสนอเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม สหรัฐฯบอกว่าจะตัดการอุดหนุนกล่องอำพันลง 60%&nbsp; ตอนนั้นพอคนเห็นข้อเสนอ&nbsp; ก็บอกกันว่าเป็นความก้าวหน้าของดับบลิวทีโอ&nbsp; หลังจากนั้นยุโรปก็เกทับทันที โดยบอกว่าจะลดส่วนของกล่องอำพัน 70%</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>พอออกมาในวันนั้นหนังสือพิมพ์ก็ขานรับ &nbsp;จำได้ว่าตอนไปคุยที่สำนักเลขาธิการดับบลิวทีโอ เขาดีใจกันมาก&nbsp; การเจรจาดำเนินไปเร็วมากจนประเทศเล็กๆตามไม่ทัน ไม่สามารถแยกร่างไปประชุมได้&nbsp; ที่น่าสนใจคือ ท่าทีของสำนักงานเลขาธิการ คือ เขาบอกว่าเราไม่อยากให้อะไรมาทำให้เสียจังหวะของการเจรจาแม้แต่เรื่องของ ความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม&nbsp; ไม่คุ้มกันที่จะคุยเรื่องความโปร่งใสขณะนี้&nbsp; เพราะนี่เป็นจุดเป็นจุดตายของดับบลิวทีโอ&nbsp; เขาบอกว่าเราต้องปรบมือให้สหรัฐอเมริกาที่นำความห้าวหาญมาสู่ดับบลิวทีโอ</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>ผมขออธิบายนิดนึงว่า สิ่งที่เรียกว่ากล่องอำพัน (Amber Box) คือการอุดหนุนการเกษตรภายในประเทศที่เชื่อว่าบิดเบือนตลาดมากที่สุด&nbsp; ต่อไปกล่องสีฟ้า&nbsp; คือการบิดเบือนตลาดแต่อ้างว่ายังไม่บิดเบือนมากเท่าไร&nbsp; เพราะไม่ส่งผลต่อการผลิตในปัจจุบัน&nbsp; เนื่องจากจะไม่ทำให้การผลิตมากขึ้น&nbsp; กล่องสุดท้ายคือกล่องสีเขียว คือการอุดหนุนที่อ้างว่าไม่บิดเบือนตลาด เช่น การวิจัย การศึกษา ตรงนี้ไม่มีข้อจำกัด&nbsp; ดังนั้นยกไว้ คือไม่ต้องไปทำอะไรกับมัน&nbsp;</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้ก็เหมือนกับภาพเดิม&nbsp; คือประเทศร่ำรวยทำตัวเป็นนักมายากล สิ่งที่ทำเป็นเพียงย้ายการอุดหนุนจากกล่องหนึ่งไปกล่องหนึ่งซึ่งทำให้มูลค่า รวมไม่ได้ลดลง&nbsp; แต่กลับสามารถทำให้การอุดหนุนขยายตัวขึ้นด้วยซ้ำ</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>นอกจากนี้ ยุโรปที่อ้างว่าจะลด 70% คือลดจากยอดที่ผูกพันไว้ คือจาก 67 พันล้าน&nbsp; แต่จริงๆเขาใช้ไม่ถึงอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นมันไม่ตัดเข้าเนื้อตัวเอง&nbsp; รัฐมนตรีการค้าอินเดียประชดว่า you cut the spending that you never spent&nbsp; นั่นคือ คุณตัดค่าใช้จ่ายที่คุณไม่เคยใช้&nbsp; ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากการเจรจารอบที่แล้วตัวเลขเงินอุดหนุนมันเฟ้อมาก&nbsp; ดังนั้นการลดการอุดหนุนจะไม่เกิดขึ้นจริง แต่กลับอาจเพิ่มขึ้นได้</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>กล่องที่เป็นมหาสมบัติคือกล่องสีเขียว&nbsp; กล่องนี้คนที่เคยติดตามดับบลิวทีโอคิดว่ากล่องนี้เล็กที่สุด&nbsp; แต่ลองดูตัวเลข&nbsp; ที่จริงแล้วกล่องเขียวมียอดถึงประมาณ 70% ของการอุดหนุนทั้งหมดในประเทศมหาอำนาจ&nbsp; ตรงนี้คือเคล็ดลับของเขา&nbsp; ซึ่งในความเป็นจริงกล่องนี้ก็มีส่วนบิดเบือนตลาดอย่างมากด้วย&nbsp; และผลของการบิดเบือนถูกตัดสินโดย panel ของ ดับบลิวทีโอแล้ว ในเรื่องฝ้าย ที่สหรัฐฯใช้การอุดหนุนในกล่องเขียว&nbsp; ที่สำคัญ ข้อเสนอกลุ่ม จี 20 (กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 20 ประเทศนำโดยบราซิลและอินเดีย) เสนอให้มีการคุยเรื่องกล่องเขียว&nbsp; แต่ทั้งสหรัฐฯและสหภาพยุโรปไม่ต้องการคุย&nbsp;&nbsp; สหรัฐอเมริกาในการผ่าน Farm Bill ทำให้เกิดการย้ายกล่องได้&nbsp; ยุโรปก็พยายามทำตามใน CAP reform (นโยบายการเกษตรร่วมของสหภาพยุโรป)</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>การเจรจาดำเนินไปอย่างรวดเร็วจนกระทั้งสหภาพยุโรปมีปัญหา&nbsp; แม้ว่าการอุดหนุนจะไม่ได้ลดลงมาก&nbsp; แต่การเกษตรมีเรื่องการเปิดตลาด (market access)โดยที่ยุโรปเองอยู่ในฝ่ายตั้งรับในประเด็นนี้&nbsp;</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>ทำไมยุโรปถึงชะงัก&nbsp; ประเทศที่มีบทบาทสูงคือ ฝรั่งเศส&nbsp; เมื่อกลางปีที่ผ่านมามีการลงประชามติที่สำคัญ คือการลงประชามติในการรับรองรัฐธรรมนูญสหภาพยุโรป&nbsp; ประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาชัดเจน คือ การกลัวว่าจะมีการจารึกลงในรัฐธรรมนูญว่าจะระบบเศรษฐกิจจะเป็นไปตามแนวทาง เสรีนิยมอย่างเต็มตัว&nbsp; และตีกรอบว่ายุโรปต่อไปนี้จะใช้โมเดลแบบสหรัฐฯหรืออังกฤษ&nbsp; ผลการลงประชามติออกมาไม่เอาด้วยอย่างถล่มทลาย&nbsp; บทสรุปคือว่าประชาชนเขาต้องการยุโรปที่แข็งแรงแต่ไม่ใช่ที่อยู่ภายใต้การ ครอบงำของลัทธิเสรีนิยมใหม่&nbsp; ดังนั้นฝรั่งเศสจึงมีบทบาทสำคัญในการเจรจาถึงขนาด ฌากค์ ชีรัก ประกาศว่าหากจะให้เปิดเสรีมากกว่านี้&nbsp; ฝรั่งเศสพร้อมที่ล้มการประชุมที่ฮ่องกง</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>ณ ขณะนี้ การเจรจาตกอยู่ในเงื่อนไขที่ยังแก้ไม่ตกของพลังอำนาจที่สำคัญในองค์การการ ค้าโลก สหภาพยุโรป&nbsp; สหรัฐอเมริกา กลุ่ม จี 20 และกลุ่มจี 90 ซึ่งตอนนี้มีบทบาทเพิ่มขึ้น &nbsp;ระหว่างอียูและสหรัฐฯ นั้นเขาการใช้เวทีนี้ในการงัดข้อกันเรื่องสินค้าเกษตร&nbsp; โดยสหรัฐอเมริกาต้องการเจาะตลาดยุโรป&nbsp; ยุโรปเองก็รุกกลับในการเรียกร้องให้สหรัฐฯลดการอุดหนุนของตนลงลง&nbsp; กลุ่มจี 20 ก็รุกยุโรปเช่นกันโดยร่วมกับสหรัฐฯในการเรียกร้องให้ยุโรปเปิดตลาดเกษตร&nbsp; ตอนนี้สหภาพยุโรปตีกลับอีก&nbsp; โดยบอกว่าเรื่องเกษตรไม่ใช่เรื่องเดียวในดับบลิวทีโอ จึงรุกกลับจี 20 ให้เปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรมและบริการเพิ่มขึ้น&nbsp;</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>ทีนี้ ความสัมพันธ์กับจี 90 เป็นอย่างไร&nbsp; ยุโรปพยายามใช้จี 90 ในการสร้างความชอบธรรมให้กับตนเอง Round for Free (ได้รอบนี้ไปฟรีๆ) หรือ Everything but Arms (เปิดตลาดให้กับทุกอย่างยกเว้นอาวุธ) และรวมถึง Aid for Trade (เงินช่วยเหลือเพื่อการค้า) กลุ่มจี 90 ก็พึ่งพิงยุโรปอยู่&nbsp; เพราะอย่างเช่นกลุ่ม ACP ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ จี 90ได้รับ preferential treatment (สิทธิพิเศษการเข้าถึงตลาดในยุโดป) อยู่&nbsp;</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>ขณะนี้กลุ่มจี 20 ยังไม่พอใจในข้อเสนอการเปิดตลาดของสหภาพยุโรป&nbsp; ส่วนในเรื่องการอุดหนุนเสียงอ่อนลงค่อนข้างมาก&nbsp; ผมเกรงว่าจะไม่มีการลดการอุดหนุนมากไปกว่านี้เพราะทางบราซิลและอินเดียต่าง มีท่าทีที่ยอมมากขึ้น&nbsp; ขณะนี้รอเพียงการเข้าถึงตลาดที่อาจจะได้มากขึ้น&nbsp; เมื่อเป็นเช่นนี้กลุ่มจี 90 โดนสามเด้ง คือนอกจากจะไม่ได้ประโยชน์จากการเปิดตลาดของยุโรปแล้วยังต้องถูกแย่งตลาด ส่วนนี้ไปอีก รวมทั้งยังต้องรับผลกระทบจากการทุ่มตลาดอันเป็นผลจาการอุดหนุนในประเทศร่ำ รวยต่อไป&nbsp;</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>ผมให้ความสำคัญกับเกษตรมากหน่อยเพราะเป็นประเด็นชี้นำที่เจนีวาและฮ่องกง แต่ไม่ใช่ประเด็นเดียว</p>
<p>เรื่องการเจรจาด้านบริการ มีบางประเทศเสนอรูปแบบใหม่ในการเจรจา คือ complementary approach คือ มีระดับความผูกพันขั้นต่ำ&nbsp; มีทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ&nbsp; เช่น ประเทศกำลังพัฒนาต้องผูกมัดในการเปิดเสรีไม่น้อยไปกว่า 93 สาขาย่อยจากทั้งหมด 139&nbsp; และต้องเปิดในเชิงคุณภาพ เช่น ต้องให้ต่างชาติถือหุ้นขั้นต่ำได้ 51% และกฎหมายในประเทศเปิดเท่าไรต้องผูกพันอย่างน้อยเท่านั้น อันนี้คือสิ่งที่ยุโรป ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี ฯลฯ&nbsp; เสนอมา ซึ่งน่าสังเกตว่าเป็นประเทศที่ตั้งรับมากในเชิงเกษตร &nbsp;</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่แหลมคมไม่น้อยไปกว่าเกษตร&nbsp; และหากอียูยังดื้อที่จะเรียกเอา benchmarking และก็ไม่ยอมเรื่องเกษตร&nbsp; ฮ่องกงก็มีสิทธิล้ม&nbsp; แต่ตอนนี้สิ่งที่ยุโรปและบางประเทศเสนอมาคือการเจรจาแบบ plurilateral (การเจรจาแบบหลายฝ่าย) เช่น หากยุโรปต้องการให้ไทยเปิดเสรีการค้าด้านสาธารณสุขแทนที่เจรจากันสองต่อสอง กับไทยแบบที่เป็นอยู่&nbsp; กลับจะให้เป็นเป็นกลุ่มประเทศร่วมกันยื่นข้อเสนอ &nbsp;&nbsp;&nbsp;เช่นนี้แล้วยิ่งจะทำให้ประเทสกำลังพัฒนาสูญเสียอำนาจต่อรองไปอีก</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>ส่วนนามา&nbsp; ประเด็นเรื่อง Swiss Formula คือสูตรการลดภาษีที่ เมื่อยิ่งมีภาษีสูงก็ยิ่งต้องลดมาก&nbsp; ซึ่งประเทสกำลังพัมนาส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยเนื่องจากต่างมีระดับภาษีสินค้าอุ ตสหกรรมที่สูงกว่าประเทศพัฒนาแล้ว ตัวอย่างเช่นหากใช้ค่าสัมประสิทธิ์ของสูตรนี้เท่ากับ 10&nbsp;&nbsp; ประเทศที่มีระดับภาษีอยู่ที่ 90% ต้องลดลงจนเหลือ 9% ส่วนประเทศที่มีระดับภาษีอยู่ที่ 10% จะลดเหลือ 5% &nbsp;เป็นต้น</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>สามประเด็นนี้จึงสำคัญที่จะชี้ชะตาว่าฮ่องกงจะเดินทางไปทิศทางไหน&nbsp; กระบวนการคือประธานคณะเจรจาต่างๆ จะร่างรายงานความคืบหน้าให้เลขาธิการฯ คือ นายปาสคาล&nbsp; ลามี่ เพื่อในไปร่างคำประกาศฮ่องกง ซึ่งน่าจะออกมาสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายน</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>เป้าหมายฮ่องกง คือ การได้กรอบการเจรจามาสักครึ่งหนึ่ง&nbsp; ปีหน้ายังมีความสำคัญมากเนื่องจากหลายฝ่ายตั้งเป้าให้จบรอบได้ภายในสิ้นปี แม้ว่าฮ่องกงจะไม่สามารถจบรอบได้&nbsp; แต่จะเป็นจุดชี้ความเป็นไป</p>
<p>&nbsp;</p>
<p><b>ถาม</b> อียูกับ G90 พึ่งพากันอยู่&nbsp; ไม่เข้าใจว่า อียูพึ่ง G 90 อย่างไร</p>
<p>&nbsp;</p>
<p><b>ตอบ</b>&nbsp; เพราะต้องการเสียงของ G90 ในดับบลิวทีโอ เป็นการพึ่งพาในเชิงอำนาจการต่อรอง</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>กลุ่ม&nbsp; ACP ได้รับ preferential treatment จากอียู&nbsp; ทำให้พึ่งพาตลาดยุโรปสูง&nbsp; ส่วนนี้เป็นสิ่งที่จี 90 กลัวที่สุด&nbsp; เพราะหากเปิด MFN อียูต้องลดภาษีให้ทุกประเทศเหมือนกัน อย่างน้ำตาลเนี่ยชัดเจน&nbsp; ไทยและบราซิลฟ้องอียู เรื่องน้ำตาล&nbsp; สงครามที่อียูพยายามผลักคือ ไทยและบราซิลต้องสู้กับกลุ่ม ACP</p>
<p>&nbsp;</p>
<p><b>ถาม</b> ช่วงโดฮา&nbsp; ภาคประชาชนมีบทบาทในการผลักดันปฏิญญาสาธารณสุข&nbsp; ที่ฮ่องกงบทบาทจะเป็นอย่างไร&nbsp; เพราะลักษณะของการบอกมาคือการค้านไม่เอาทุกเรื่อง&nbsp; แทนที่จะมีบางเรื่องที่เอา</p>
<p>&nbsp;</p>
<p><b>ตอบ</b> จริงๆทุกเรื่องเราเอา&nbsp; แต่เอาคนละแบบ ประเด็นคือสิ่งที่อยู่บนโต๊ะมันรับไม่ได้จริงๆ&nbsp; เรื่องทริปส์ (TRIPs- ข้อตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา) มันมีทางออกมาได้ก่อนแคนคูน&nbsp; มีเรื่องการนำเข้าซ้อน&nbsp; มีเงื่อนไขบรรจุภัณฑ์ตรงนั้น&nbsp; แต่ตอนนี้มีความพยายามผลักดันให้มี permanent solution ให้ประเทศกำลังพัฒนาใช้ได้เต็มที่&nbsp; มีความพยายามรื้อทริปส์ด้วยซ้ำ&nbsp; แต่ตอนนี้เรื่องนี้ไม่ได้เป็นประเด็นชี้เป็นชี้ตายของการเจรจา&nbsp;</p>
<p>ประเด็นสำคัญที่เราควรพิจารณาคือสิ่งที่อยู่บนโต๊ะเจรจามีอะไรบ้าง&nbsp; และน่าจะนำพามาซึ่งผลดีหรือเปล่า&nbsp; ถ้าดีก็น่าจะสนับสนุน&nbsp; ถ้าไม่นำพาซึ่งผลดีจะให้ยอมรับได้อย่างไร&nbsp; จริงๆภาคประชาชนพูดกันเยอะว่า No deal is better than a bad deal (ไม่ได้ข้อตกลง ยังดีกว่าได้ข้อตกลงเลวๆ) ยุโรป ก็ออกมาในลักษณะเดียวกัน&nbsp; แต่ผมมองว่า bad deal ของเขาคงไม่ bad จริง&nbsp; แต่ของเรามันแย่จริงๆ&nbsp; ต้องบอกว่าองค์กรพัฒนาเอกชนไม่ได้เห็นเหมือนกันทั้งหมด&nbsp; บางองค์กรเห็นว่าควรจะให้จบรอบ&nbsp; เพราะเห็นดับบลิวทีโอเป็นที่เดียวที่จะลดการอุดหนุนได้ แต่สิ่งที่ผมอยากให้พิจารณาคือ 10 ปีผ่านมาแล้วกับองค์กรนี้ การอุดหนุนไม่ลด แต่กลับเพิ่มขึ้น&nbsp; และถ้ารอบนี้ตกลงกันอย่างที่เสนอมา มันจะสร้างความชอบธรรมในการใช้การอุดหนุนทันที&nbsp;&nbsp; ทีนี้จริงๆ แล้วเวทีทางเลือกมี แต่เราไม่ได้รับรู้&nbsp; อย่างในการประชุมผู้นำของทวีปอเมริกาที่อาร์เจนติน่า มีเรืองน่าสนใจทีเดียว ประธานาธิบดี ฮูโก&nbsp; ชาเวช ของเวเนซูเอลา&nbsp; ขณะที่ปฎิเสธแนวทางของสหรัฐฯ เขาเสนอทำ Economic Partnership Agreement ระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันโดยไม่ใช้วิถีทางการค้าเสรี ทางเลือกมีอยู่&nbsp; ควรจะศึกษากันต่อไป</p>
<p>&nbsp;</p>
<p><b>ถาม</b>&nbsp; เรื่องเกษตรถ้ามองอย่างเป็นธรรมจากแกตส์ 1947 มันมีความก้าวหน้านะ&nbsp; เกษตรเดิมไม่อยู่บนโต๊ะเจรจาเลย&nbsp; แน่นอนว่าประเทศกำลังพัฒนาก้าวหน้าขึ้นเยอะ&nbsp; คำถามคือว่าถ้าไม่เอาดับบลิวทีโอ มันไม่มีอะไรเหลือแล้ว&nbsp; เท่ากับเตะหมูเข้าปากหมา&nbsp; ถ้าไม่มีดับบลิวทีโอแล้วเป็นไปได้หรือไม่ว่าประเทศยากจนจะยิ่งเสียประโยชน์</p>
<p>&nbsp;</p>
<p><b>ตอบ </b>&nbsp;ในการสังเกตการณ์ของผม&nbsp; เราไม่อาจสรุปได้ว่าการล่าช้าของดับบลิวทีโอจะทำให้เอฟทีเอเพิ่มขึ้น&nbsp; มันเป็นยุทธวิธีการเจรจาสองระดับของประเทศพัฒนาแล้วและเขาก็มีศักยภาพที่จะ ทำได้&nbsp; คณะของสหรัฐฯที่จะไปฮ่องกงมีมากกว่า 300 คน</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>อันที่สอง&nbsp; ไม่ใช่ว่าเอฟทีเอดีกว่า&nbsp; แต่ถ้าไม่มีประเทศใดประเทศหนึ่ง&nbsp; อีกประเทศก็เจรจาไม่ได้&nbsp; แต่ที่เจนีวา&nbsp; บางครั้งประเทศไทยไม่ได้เจรจา&nbsp; เราต้องรับวาระเขาแล้วเราตามไม่ทัน&nbsp; บอกให้เขาช้าๆก็ไม่ได้&nbsp; บางทีเราได้ข้อเสนอมาตอนเช้า&nbsp; แล้วตอนเย็นต้องไปเจรจากับเขา&nbsp; เรื่องบริการ&nbsp; ที่ไทยชูมาตลอด&nbsp; คือมาตรการป้องกันฉุกเฉิน ตอนนี้ก็ตกกระป๋องไป&nbsp; ความจริงคือไทยไม่ได้เข้าร่วมเจรจาในหลายเรื่องในดับบลิวทีโอ&nbsp; เราก็ต้องตั้งคำถามเหมือนกันว่าเรามีอำนาจต่อรองในระดับพหุภาคีจริงหรือ แต่ถ้าสุดท้ายแล้วถ้าเราเป็นฝ่ายสมยอมเขาเองไม่ว่าเวทีใดๆ&nbsp; เราก็ว่าใครไม่ได้</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา&nbsp; ฑูตเวเนซูเอลาบอกว่าเขายอมดับบลิวทีโอไม่ได้เพราะมันไปกีดขวางการสร้างทาง เลือกในการพัฒนาในระดับภูมิภาค&nbsp; เขาเชื่อมั่นในรัฐบาลเขาว่าน่าจะสร้างทางเลือกได้&nbsp; แต่ถ้ามาตกลงอะไรไม่เข้าเรื่องที่ดับบลิวทีโอ มันเป็นการส่งสัญญาณที่ผิดในการเจรจาระดับภูมิภาค&nbsp; มันไปสร้างบรรทัดฐานในภูมิภาคด้วย&nbsp;</p>
<p>&nbsp;</p>
<p><b>ถาม</b>&nbsp; อยากทราบความเห็นว่าการประชุมที่ฮ่องกงตั้งเป้าที่ 50% จะสำเร็จหรือไม่&nbsp; ถ้าไม่จะเป็นอย่างไรต่อไป</p>
<p>&nbsp;</p>
<p><b>ตอบ</b>&nbsp; ผมเชื่อว่าสหภาพยุโรปยังมีอะไรอยู่ในกระเป๋า&nbsp; แต่การจะเอาออกมาหรือเปล่าขึ้นอยู่กับว่าคุ้มหรือไม่&nbsp; ถ้าออกมาอย่างน้อยน่าจะได้มากกว่า 50% รวมถึงเรื่อง Swiss Formula ในนามาและสูตรที่ชัดเจนในเกษตร&nbsp; ผมเชื่อว่าถึงที่สุดแล้วยุโรปมีความยืดหยุ่นมากกว่านี้&nbsp;</p>
<p>&nbsp;</p>
<p>ขอเสริมสุดท้าย&nbsp; ผมไม่อยากให้เราสรุปว่าท่าทีของบราซิลหรืออินเดียทั้งหมดเป็นท่าทีของประเทศ กำลังพัฒนา&nbsp; นอกจากนี้ผมอยากให้ทุกท่านหันมามองประเทศเราเองแล้วตั้งคำถามว่าท่าทีของ ประเทศไทยมาจากไหน&nbsp; ใครกำหนดท่าที&nbsp; ใครได้ประโยชน์&nbsp; ตรงนี้ไม่ค่อยตั้งคำถามเท่าไร&nbsp; นักเจรจาเองก็ไม่ค่อยตั้งคำถาม&nbsp; หลายครั้ง เรามองกันแต่ในระดับระหว่างประเทศ ไม่มีการคุยกันในประเทศอย่างจริงจังและรอบด้าน&nbsp;&nbsp; ผมหวังว่าจะมีการหารือกันมากกว่านี้</p>
<p><br clear="all" /></p>
<hr size="1" align="left" width="33%" />
<font size="2"><strong>ถอดคำบรรยายจากงานสัมมนา ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548 &nbsp;ณ ห้องประชุมชั้น 5&nbsp; คณะเศรษฐศาสตร์</strong></font>
<p>มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์&nbsp; ท่าพระจันทร์&nbsp; จัดโดย โครงการจับกระแสองค์การการค้าโลก</p>
หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ: 
เอฟทีเอรายประเทศ: