15 Nov 2006
พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล

<p>ประเทศญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ได้ร่วมลงนามในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ(JPEPA : Japan Philippines Economic Partnership Agreement ซึ่งก็คือ FTA) แล้วเมื่อเดือนกันยายน 2549 ที่ผ่านมา (ในคราวการประชุม ASEM ณ กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์) และคาดว่าจะมีผลราวเดือนเมษายน 2550 ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาให้สัตยาบันรัฐสภาของทั้ง 2 ประเทศด้วย (กรณีของฟิลิปปินส์ สมาชิกรัฐสภาต้องให้ความเห็นชอบเกิน 2 ใน 3 จึงมีผลบังคับใช้ได้) FTA นี้นับเป็น FTA แรกของฟิลิปปินส์ แต่เป็น FTA ลำดับที่ 4 ของญี่ปุ่น(รองจากสิงคโปร์ เม็กซิโก และมาเลเซีย)</p>
<p>ความจริงเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2547 ทั้ง 2 ประเทศจะสามารถบรรลุความตกลงกันได้แล้ว แต่กว่าจะลงนามกันได้ต้องใช้เวลาอีกถึงปีครึ่ง เนื่องจากติดประเด็นการเคลื่อนย้ายแรงงานโดยเฉพาะจำนวนพยาบาลและผู้ดูแล (Caregiver) ซึ่งในเบื้องต้นญี่ปุ่นยอมให้พยาบาลชาวฟิลิปปินส์เข้าไปทำงานได้ 100 คน/ปี ต่อมาเพิ่มเป็น 200 คน/ปี และสุดท้ายตกลงกันได้ที่ 400 คน/ปี ส่วนจำนวนผู้ดูแลเป็น 600 คน/ปี </p>
<p>การเปิดตลาดสินค้าและบริการที่สำคัญตาม JPEPA ทางฟิลิปปินส์จะยกเลิกภาษีนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตในญี่ปุ่นภายในปี 2010 เพื่อแลกกับที่ญี่ปุ่นจะลดภาษีนำเข้ากล้วยและสัปปะรด ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรหลักที่ฟิลิปปินส์ส่งไปญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์จะไม่เก็บภาษีนำเข้าองุ่นและลูกแพร์จากญี่ปุ่น ส่วนข้าวและน้ำตาลทรายทางญี่ปุ่นไม่ยอมนำมาลดภาษี (เช่นเดียวกับ FTA ไทย-ญี่ปุ่น) ด้านการลงทุนญี่ปุ่นจะได้เงื่อนไขที่ดีมากในการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็คทรอนิกส์</p>
<p>แม้ว่าจะมีการสรุปและลงนามในความตกลง JPEPA ไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อเร็วๆนี้กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของฟิลิปปินส์ได้ออกมากล่าวหาว่า JPEPA เป็นความตกลงที่เลวร้ายด้านสิ่งแวดล้อม เพราะในมาตรา 29 ของความตกลงทางฟิลิปปินส์ได้ยอมให้ญี่ปุ่นส่งสารเคมีอันตรายและสารพิษมาฟิลิปปินส์ได้ และไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าอีกด้วย เช่น เถ้าจากเตาเผาขยะ (เดิมต้องเสียภาษี 3% ) ของเสียการจากผลิตยา (เดิมต้องเสียภาษี 20% ) ของทิ้งจากโรงพยาบาล(เดิมต้องเสียภาษี 30% )ของเสียจากน้ำมันเบรค,น้ำมันไฮโดรลิค (เดิมต้องเสียภาษี 30% ) และเสื้อผ้าชำรุด (เดิมห้ามนำเข้า) </p>
<p>กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของฟิลิปปินส์เห็นว่ามาตรา 29 ของ JPEPA จึงผิดกฎหมายทั้งของฟิลิปปินส์เอง (เช่น Republic Act หมายเลข 4653 ว่าด้วยการห้ามนำเข้าเสื้อผ้าชำรุด และ Republic Act หมายเลข 6969 ว่าด้วยการห้ามนำเข้าสารเคมีอันตราย) และกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ อนุสัญญาบาเซล (The Basel Convention on the Control of Tran boundary Movement of Hazardous Wastes and their Disposal)ซึ่งทั้งฟิลิปปินส์และญี่ปุ่นต่างลงนามในอนุสัญญานี้และในอนุสัญญาบาเซลยังห้ามการส่งของเสียอันตรายจากประเทศที่พัฒนาแล้วไปยังประเทศกำลังพัฒนาที่เรียกว่า Basel Ban</p>
<p>นอกจากนี้กรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของฟิลิปปินส์ยังได้ออกมากล่าวว่าได้เคยพยายามทัดทานมาตรา 29 นี้แล้วแต่ไม่สำเร็จโดยเคยทำหนังสือถึงกรมการค้าและอุตสาหกรรม(ซึ่งเป็นผู้เจรจาความตกลง JPEPA)ว่าไม่ควรมีเรื่องนี้ในความตกลงและหากจำเป็นต้องมีเรื่องนี้ก็ไม่ควรลดภาษีจนเป็นศูนย์</p>
<p>ข้อมูลและความคิดเห็นทั้งของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและกรมสิ่งแวดล้อมฯดังกล่าว กำลังได้รับความสนใจอย่างยิ่งจากสมาชิกรัฐสภาของฟิลิปปินส์ ซึ่งกำลังพิจารณาให้สัตยาบันความตกลง JPEPAและหลายคนเรียกร้องให้สอบสวนเรื่องนี้อย่างจริงจัง</p>
<p>อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของกรมการค้าฯและกระทรวงการต่างประเทศของฟิลิปปินส์ต่างออกมาปกป้องว่าความตกลง JPEPA ยังอยู่ภายใต้กฎหมายของฟิลิปปินส์และอนุสัญญาบาเซล ดังนั้น จึงไม่ควรกังวลเกินเหตุ เพราะจะไม่การนำเข้าสารเคมีอันตรายและสารพิษต่างๆมาแน่นอน</p>
<p>ผมสังเกตว่าญี่ปุ่นมักจะเจรจาทำ FTA รายประเทศก่อน แล้วค่อยเจรจากับกลุ่มอาเซียน โดยจะนำส่วนที่ดีที่สุดมาใส่ในการเจรจาโดยอ้างว่าประเทศนั้นประเทศนี้ได้ยินยอมในลักษณะดังกล่าวแล้ว ทำให้กรอบอาเซียน-ญี่ปุ่น ทางญี่ปุ่นจะได้เปรียบมาก ดังนั้น ผมจึงเกรงว่าญี่ปุ่นจะนำประเด็นนี้มาใส่ในการเจรจากับกรอบอาเซียน ประเทศไทยจึงต้องติดตามประเด็นการเจรจาทุกประเด็นที่ญี่ปุ่นมีกับประเทศอื่นเพราะอาจจะกระทบกับไทยในกรอบอาเซียนภายหลัง</p>
<p>ความจริงเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2547 ทั้ง 2 ประเทศจะสามารถบรรลุความตกลงกันได้แล้ว แต่กว่าจะลงนามกันได้ต้องใช้เวลาอีกถึงปีครึ่ง เนื่องจากติดประเด็นการเคลื่อนย้ายแรงงานโดยเฉพาะจำนวนพยาบาลและผู้ดูแล (Caregiver) ซึ่งในเบื้องต้นญี่ปุ่นยอมให้พยาบาลชาวฟิลิปปินส์เข้าไปทำงานได้ 100 คน/ปี ต่อมาเพิ่มเป็น 200 คน/ปี และสุดท้ายตกลงกันได้ที่ 400 คน/ปี ส่วนจำนวนผู้ดูแลเป็น 600 คน/ปี </p>
<p>การเปิดตลาดสินค้าและบริการที่สำคัญตาม JPEPA ทางฟิลิปปินส์จะยกเลิกภาษีนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตในญี่ปุ่นภายในปี 2010 เพื่อแลกกับที่ญี่ปุ่นจะลดภาษีนำเข้ากล้วยและสัปปะรด ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรหลักที่ฟิลิปปินส์ส่งไปญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์จะไม่เก็บภาษีนำเข้าองุ่นและลูกแพร์จากญี่ปุ่น ส่วนข้าวและน้ำตาลทรายทางญี่ปุ่นไม่ยอมนำมาลดภาษี (เช่นเดียวกับ FTA ไทย-ญี่ปุ่น) ด้านการลงทุนญี่ปุ่นจะได้เงื่อนไขที่ดีมากในการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็คทรอนิกส์</p>
<p>แม้ว่าจะมีการสรุปและลงนามในความตกลง JPEPA ไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อเร็วๆนี้กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของฟิลิปปินส์ได้ออกมากล่าวหาว่า JPEPA เป็นความตกลงที่เลวร้ายด้านสิ่งแวดล้อม เพราะในมาตรา 29 ของความตกลงทางฟิลิปปินส์ได้ยอมให้ญี่ปุ่นส่งสารเคมีอันตรายและสารพิษมาฟิลิปปินส์ได้ และไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าอีกด้วย เช่น เถ้าจากเตาเผาขยะ (เดิมต้องเสียภาษี 3% ) ของเสียการจากผลิตยา (เดิมต้องเสียภาษี 20% ) ของทิ้งจากโรงพยาบาล(เดิมต้องเสียภาษี 30% )ของเสียจากน้ำมันเบรค,น้ำมันไฮโดรลิค (เดิมต้องเสียภาษี 30% ) และเสื้อผ้าชำรุด (เดิมห้ามนำเข้า) </p>
<p>กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของฟิลิปปินส์เห็นว่ามาตรา 29 ของ JPEPA จึงผิดกฎหมายทั้งของฟิลิปปินส์เอง (เช่น Republic Act หมายเลข 4653 ว่าด้วยการห้ามนำเข้าเสื้อผ้าชำรุด และ Republic Act หมายเลข 6969 ว่าด้วยการห้ามนำเข้าสารเคมีอันตราย) และกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ อนุสัญญาบาเซล (The Basel Convention on the Control of Tran boundary Movement of Hazardous Wastes and their Disposal)ซึ่งทั้งฟิลิปปินส์และญี่ปุ่นต่างลงนามในอนุสัญญานี้และในอนุสัญญาบาเซลยังห้ามการส่งของเสียอันตรายจากประเทศที่พัฒนาแล้วไปยังประเทศกำลังพัฒนาที่เรียกว่า Basel Ban</p>
<p>นอกจากนี้กรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของฟิลิปปินส์ยังได้ออกมากล่าวว่าได้เคยพยายามทัดทานมาตรา 29 นี้แล้วแต่ไม่สำเร็จโดยเคยทำหนังสือถึงกรมการค้าและอุตสาหกรรม(ซึ่งเป็นผู้เจรจาความตกลง JPEPA)ว่าไม่ควรมีเรื่องนี้ในความตกลงและหากจำเป็นต้องมีเรื่องนี้ก็ไม่ควรลดภาษีจนเป็นศูนย์</p>
<p>ข้อมูลและความคิดเห็นทั้งของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและกรมสิ่งแวดล้อมฯดังกล่าว กำลังได้รับความสนใจอย่างยิ่งจากสมาชิกรัฐสภาของฟิลิปปินส์ ซึ่งกำลังพิจารณาให้สัตยาบันความตกลง JPEPAและหลายคนเรียกร้องให้สอบสวนเรื่องนี้อย่างจริงจัง</p>
<p>อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของกรมการค้าฯและกระทรวงการต่างประเทศของฟิลิปปินส์ต่างออกมาปกป้องว่าความตกลง JPEPA ยังอยู่ภายใต้กฎหมายของฟิลิปปินส์และอนุสัญญาบาเซล ดังนั้น จึงไม่ควรกังวลเกินเหตุ เพราะจะไม่การนำเข้าสารเคมีอันตรายและสารพิษต่างๆมาแน่นอน</p>
<p>ผมสังเกตว่าญี่ปุ่นมักจะเจรจาทำ FTA รายประเทศก่อน แล้วค่อยเจรจากับกลุ่มอาเซียน โดยจะนำส่วนที่ดีที่สุดมาใส่ในการเจรจาโดยอ้างว่าประเทศนั้นประเทศนี้ได้ยินยอมในลักษณะดังกล่าวแล้ว ทำให้กรอบอาเซียน-ญี่ปุ่น ทางญี่ปุ่นจะได้เปรียบมาก ดังนั้น ผมจึงเกรงว่าญี่ปุ่นจะนำประเด็นนี้มาใส่ในการเจรจากับกรอบอาเซียน ประเทศไทยจึงต้องติดตามประเด็นการเจรจาทุกประเด็นที่ญี่ปุ่นมีกับประเทศอื่นเพราะอาจจะกระทบกับไทยในกรอบอาเซียนภายหลัง</p>
หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ:
เอฟทีเอรายประเทศ: