เอฟทีเอ ว็อทช์ เตือนสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาเอฟทีเอ ไทย-ญี่ปุ่นอย่างรอบคอบ หวั่นซ้ำรอยเล่ห์กลซ่อนเงื่อนในกองทุนป่าเขตร้อน ไทย-สหรัฐ

โดย  กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน(FTA Watch)

<p>เอฟทีเอ ว็อทช์ เตือนสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาเอฟทีเอ ไทย-ญี่ปุ่นอย่างรอบคอบ หวั่นซ้ำรอยเล่ห์กลซ่อนเงื่อนในกองทุนป่าเขตร้อน ไทย-สหรัฐ ขณะเดียวกัน ผู้ตรวจการรัฐสภา เสนอตุลาการรัฐธรรมนูญตีความ เอฟทีเอ ไทย-ออสเตรเลีย ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่</p>
<p>กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) ออกแถลงการณ์ถึงกรณีที่รัฐบาลจะนำร่างความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย ? ญี่ปุ่น เข้าหารือกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์นี้ ชี้ประเด็นในเนื้อหาความตกลงที่จะส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรชีวภาพ สิ่งแวดล้อม ระบบสาธารณสุข ซึ่งอาจรวมถึงการสูญเสียอธิปไตยของประเทศด้วย </p>
<p>?ยิ่งได้มีเวลาอ่านศึกษาร่างความตกลง JTEPA มากขึ้นเท่าใด ก็จะยิ่งพบข้อผูกมัดที่จะมีผลกระทบ สร้างความเสียหายต่อประเทศไทยมากขึ้น ทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อมและปัญหามลพิษ เรื่องทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ เรื่องสุขภาพ เรื่องการกำกับควบคุมด้านการเงิน ฯลฯ ในขณะเดียวกัน ผลประโยชน์ที่เคยคิดว่าประเทศไทยจะได้รับก็ลดหายลงไป เช่น ในเรื่องความร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่นในหลายสาขา เนื่องจากไม่มีข้อบังคับให้ฝ่ายญี่ปุ่นต้องให้ความร่วมมือ และไม่มีกลไกฟ้องร้องใดๆ ได้เลย?</p>
<p>เอฟทีเอ ว็อทช์ และทั้งนักวิชาการสาขาต่างๆ ได้ออกมาท้วงติงประเด็นที่อาจจะเป็นปัญหาในเอฟทีเอ ไทย-ญี่ปุ่น ทั้งต่อคณะรัฐมนตรี สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะกรรมาธิการในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และส่งเอกสารข้อมูลให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อย่างไรก็ตาม คณะเจรจาฯพยายามปฏิเสธและประชาสัมพันธ์ว่า ไม่มีปัญหา </p>
<p>?ปัญหาผลกระทบจำนวนมากที่อยู่ในความตกลง JTEPA ซึ่งนักวิชาการ องค์กรภาคประชาสังคม ได้พยายามท้วงติง อธิบายชี้แจงต่อฝ่ายเจรจาของไทยมาหลายครั้ง แต่ก็ถูกปฏิเสธ ไม่ได้รับความสำคัญ ยืนยันว่าไม่มีปัญหาอย่างที่เป็นห่วงแต่อย่างใด?</p>
<p>เอฟทีเอ ว็อทช์ ตั้งข้อสังเกตว่า การดื้อแพ่งไม่แก้ความบกพร่องในความตกลงฯครั้งนี้ คล้ายคลึงกับกรณีการจัดตั้ง ?กองทุนป่าเขตร้อนระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา? ที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2545 ที่เปิดโอกาสให้สหรัฐฯ เข้าถึงทรัพยากรชีวภาพของไทย ซึ่งอาจจะนำไปสู่การกระทำเยี่ยงโจรสลัดชีวภาพ โดยผู้มีบทบาทในการเจรจาขณะนั้น เป็นผู้เดียวกับที่บทบาทการเจรจาอย่างมากในขณะนี้ จึงเตือน รัฐบาล และ สนช.ให้พิจารณาอย่างรอบคอบ </p>
<p>?กรณีร่างความตกลง JTEPA นี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับกรณีกองทุนป่าเขตร้อนหลายประการ ทั้งในเรื่องเนื้อหาร่างความตกลงที่มีช่องโหว่ ข้อบกพร่องอยู่มาก ท่าทีของผู้รับผิดชอบที่ไม่เปิดเผยร่างเนื้อหาความตกลงต่อสาธารณะ ไม่ยอมปรับแก้ไขเนื้อหาความตกลงที่เป็นปัญหา และที่สำคัญอย่างยิ่ง ข้าราชการระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับการเจรจา JTEPA และมีอิทธิพล อย่างมากต่อเนื้อหาความตกลง JTEPA ก็เป็นคนเดียวกันกับที่เคยรับผิดชอบพิจารณาประเด็นทางด้านกฎหมายของร่างความตกลงกองทุนป่าเขตร้อนไทย-สหรัฐอเมริกามาแล้ว จุดนี้เองที่อาจเป็นสาเหตุสำคัญของความบกพร่องในเรื่อง JTEPA ที่เกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้?</p>
<p>ความตกลงจัดตั้ง ?กองทุนป่าเขตร้อนระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา? ที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2545 โดยฝ่ายสหรัฐเสนอการผ่อนปรนหนี้ที่ประเทศไทยมีกับประเทศสหรัฐฯ โดยแลกกับการเข้ามาศึกษาวิจัยทรัพยากรพันธุกรรมในเขตป่าของไทย ในครั้งนั้น กระทรวงการต่างประเทศซึ่งรับผิดชอบการเจรจาก็ยืนยันถึงความถูกต้องเหมาะสมของร่างความตกลงระหว่างไทย-สหรัฐ แต่เมื่อร่างความตกลงฯ ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะก็ถูกชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องจำนวนมาก เกิดการคัดค้านจากสังคม และคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ทบทวนร่างความตกลง และในที่สุดก็ยุติไป ไม่มีการลงนามเกิดขึ้น</p>
<p>เอฟทีเอ ว็อทช์ ได้เสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาขึ้นมาพิจารณาแก้ไขเนื้อหาความตกลงฯที่เป็นปัญหา และผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นการเจรจาระหว่างประเทศ และร่างพระราชบัญญัติประกอบการเจรจาฯ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน</p>
<p>ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภาได้พิจารณาเห็นว่า การทำความตกลงการค้าเสรี ไทย-ออสเตรเลีย โดยไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย </p>
<p>ขณะเดียวกัน กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม 16 องค์กรทั้งในญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ได้ยื่นจดหมายถึง นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในญี่ปุ่น เรียกร้องให้นำเรื่องของเสียออกไปจากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ (EPA) ระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ โดยระบุว่า ความตกลงฯที่ญี่ปุ่นได้ทำไปแล้วกับหลายประเทศ รวมทั้งอยู่ระหว่างการเจรจานั้น ได้ระบุรายชื่อของเสียอันตรายซึ่งจะได้รับสิทธิในการลดภาษีภายใต้ความตกลงฯ การลดภาษีดังกล่าวจะมีผลให้การค้าขายของเสียอันตรายเหล่านี้เป็นไปได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น เป้าหมายของญี่ปุ่นที่ต้องการลดกำแพงการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบสำหรับการนำกลับมาใช้ใหม่หรือการผลิตซ้ำนั้น หมายความถึงการผลักภาระจำนวนมากในการจัดการกับสินค้าที่ไม่เป็นที่ต้องการแล้วให้กับประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นยังเกรงว่า อนุสัญญาบาเซลจะเป็นอุปสรรคต่ออุตสาหกรรมในญี่ปุ่นในการค้าขายสินค้าอันตราย</p>
หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ: 
เอฟทีเอรายประเทศ: