ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ กับการเจรจา FTA ในอนาคต

โดย  กรุงเทพธุรกิจ

<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;"></span></span></p>
<p></p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;">ภายหลังจากเรื่องการเจรจา FTA ของไทยได้กลายเป็นปัญหาสาธารณะที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากสังคมและองค์กรทางการเมืองต่างๆ ในช่วง ๒-๓&nbsp; ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนว่าในกระแสโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ การเจรจาจัดทำความตกลง FTA หรือการค้าเสรีในระดับต่างๆ จะมีมากขึ้น ดังนั้น ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ สภาร่างรัฐธรรมนูญจึงมีโจทย์สำคัญที่ต้องหาคิดค้นหาแนวทางและกลไกที่เหมาะสม เพื่อรับมือกับโจทย์ปัญหาในเรื่องนี้ได้อย่างเท่าทันสภาพการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก และความต้องการของประชาชนในประเทศที่มีความตื่นตัว ต้องการมีส่วนร่วมในการกำหนดตัดสินใจนโยบายสาธารณะที่มีผลกระทบต่อชีวิตตนเองมากขึ้น</span></span></p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;">บัดนี้ การบ้านของสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ปรากฎออกมาแล้วตามเนื้อหาข้างล่าง (ข้อมูลจากเวปไซด์ของรัฐสภา )</span></span></p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;">&ldquo; มาตรา ๑๘๖ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำ<u><font color="#ff0000">สนธิ</font></u>สัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสงบศึก และสนธิสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ</span></span></p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;"><u><font color="#ff0000">สนธิ</font></u>สัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ <u><font color="#ff0000">หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามสนธิสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ</font></u> จะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามสนธิสัญญา <u><font color="#ff0000">หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างร้ายแรง</font></u> ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา</span></span></p>
<p>&nbsp;</p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;"></span></span></p>
<p><u><font color="#ff0000">ก่อนการดำเนินการเพื่อทำสนธิสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศคณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับสนธิสัญญานั้น </font></u></p>
<p></p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;"><font color="#ff0000"><u>เมื่อลงนามในสนธิสัญญาใดแล้ว คณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของสนธิสัญญานั้น และในกรณีที่การปฏิบัติตามสนธิสัญญาก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว เหมาะสมและเป็นธรรม</u></font><font color="#000000">&rdquo;</font><font color="#000000">&nbsp;</font> (เนื้อหาที่ขีดเส้นใต้คือส่วนที่เพิ่มขึ้นจาก ม.๒๒๔&nbsp; ของรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐)</span></span></p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ตามขั้นตอนการร่างรัฐธรรมนูญ เรายังมีโอกาสแสดงความคิดเห็น เสนอแนะปรับแก้ไขร่าง ม.๑๘๖ นี้ได้อีก วันนี้จึงขอถือโอกาสชวนเปิดประเด็นร่วมคิดแสดงความคิดเห็นเพื่อให้รัฐธรรมนูญที่มีต้นทุนมหาศาลในการร่างนี้ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเมืองและสังคมไทยมากที่สุด โดยขอแยกเป็น ๓ ประเด็น</span></span></p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;">&nbsp;</span></span></p>
<p>&nbsp;</p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;"></span></span></p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <b>๑. การถ่วงดุลระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา)</b></p>
<p></p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในวรรคสองของ ม.๑๘๖ มีสาระสำคัญในการกำหนดว่าสนธิสัญญาใดบ้างที่ต้องของความเห็นชอบจากรัฐสภา โดยได้กำหนดเงื่อนไขไว้รวม ๕ ข้อ เป็นการเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้แล้วในรัฐธรรมนูญปี ๔๐ จำนวน ๒ ข้อ (ดูที่ขีดเส้นใต้ในวรรคสอง) </span></span></p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; คำถามคือ สิ่งที่เพิ่มเติมเป็นเงื่อนไขที่เหมาะสมและเพียงพอหรือไม่ หากลองพิจารณาดูตัวอย่างที่เพิ่งเกิดขึ้นในกรณี JTEPA ซึ่งทุกฝ่ายยอมรับว่า ควรต้องให้รัฐสภาพิจารณา แต่หากดูจากเงื่อนไขในร่างมาตรา ๑๘๖ ผมเห็นว่ามีปัญหาแน่นอน ฝ่ายรัฐบาลจะอธิบายว่าไม่เข้าเงื่อนไขใดๆ เลยใน ๕ ข้อที่กำหนดไว้</span></span></p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </span></span></p>
<p>&nbsp;</p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;"></span></span></p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <b>๒. การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน</b></p>
<p></p>
<p>&nbsp;</p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;"></span></span></p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ได้มีข้อกำหนดเพิ่มเติมว่าต้องมีการให้ข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แต่รายละเอียดของสนธิสัญญาจะเปิดเผยได้ก็เมื่อ<font color="#ff0000"><u>มีการลงนามไปแล้ว</u> !!!</font></p>
<p></p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เรื่องข้อมูลที่ครบถ้วน โดยเฉพาะตัวเอกสารร่างความตกลง เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนมีความหมายหรือไม่ ที่ผ่านมารัฐบาลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบก็ได้ให้ข้อมูลนะครับ แต่เป็นข้อมูลเฉพาะที่เลือกสรรแล้วโดยเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับนโยบายที่รัฐบาลต้องการ </span></span></p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เรื่องการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัญหาหลักที่ผ่านมาคือ รับฟังไปแล้วรัฐก็ตัดสินใจเหมือนเดิม เป็นเพียงรูปแบบพิธีกรรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อเพิ่มความชอบธรรมต่อภาครัฐ ดังนั้นประเด็นในเรื่องนี้ คือ ทำอย่างไรจึงจะสร้างการรับฟังความคิดเห็นที่มีความหมายอย่างแท้จริง และให้มีการมีส่วนร่วมของประชาชนที่กว้างไกลไปกว่าเพียงการรับฟังความคิดเห็น เป็นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การร่วมปฏิบัติและร่วมรับผิดชอบ</span></span></p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;">ทั้งสองประเด็นนี้จึงยังเป็นปัญหาที่รัฐธรรมนูญปี ๕๐ ยังไม่ได้ตอบโจทย์ได้ตรงประเด็น และยังปิดกั้นสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงเอกสารร่างสนธิสัญญาก่อนการลงนามอีกด้วย ถือว่าถอยหลังไปจากรัฐธรรมนูญปี ๔๐&nbsp; </span></span></p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;">&nbsp;</span></span></p>
<p>&nbsp;</p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;"></span></span></p>
<p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <b>๓. การดูแลผลกระทบต่อประชาชน</b></p>
<p></p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;">การทำ FTA ของไทยที่ผ่านมา ได้สร้างผลกระทบอย่างมากต่อประชาชนที่ไม่สามารถเข้าร่วมรับประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจได้ ในทางปฏิบัติรัฐบาลก็ไม่ได้เข้าไปแก้ไขหรือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างที่ประกาศต่อสาธารณะหรือมีมติคณะรัฐมนตรีไว้ คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญจึงได้เพิ่มเนื้อหาในวรรคสี่ไว้</span></span></p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;">การแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเป็นเรื่องที่ต้องกระทำครับ แต่ควรเป็นสิ่งที่ควรทำหลังสุดภายหลังจากที่ได้พยายามหาทางป้องกันมิให้เกิดผลกระทบเสียก่อน </span></span></p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;">&ldquo;รัฐที่ดี&rdquo; ต้องหาทางป้องกันปัญหา มิใช่กำหนดตัดสินใจทางนโยบายแบบยอมรับชะตากรรม หรือสุ่มเสี่ยงรับโลกาภิวัตน์โดยไม่คิดหายุทธศาสต์ทางเลือกในการพัฒนาประเทศ แล้วมาคิดหาทางแก้ไขเยียวยาในภายหลัง</span></span></p>
<p><span style="font-size: small;"><span style="font-family: Tahoma;">ภายใต้ทิศทางการปฏิรูปการเมืองที่ต้องการสร้างเสริมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน มีอีกหลายประเด็นที่ควรคิดหาทางปรับปรุงแก้ไขร่างมาตรา ๑๘๖ อีกครั้ง เพื่อให้สามารถใช้เป็นกลไกหรือเครื่องมือที่รับมือกับโลกาภิวัตน์ได้อย่างเท่าทัน</span></span></p>
หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ: