ตัดวงจรอุบาทว์แห่งความกลัวและกับดักทาส: กรณีซีแอลไทย

โดย  รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์

<p>การหากินกับชีวิตผู้ป่วยของธุรกิจยาข้ามชาติ</p>
<p>บริษัทยายักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ เป็นธุรกิจที่ทำกำไรสูงมาก 21.2?58.6% ซึ่งสูงกว่าธุรกิจชนิดอื่นๆ อย่างมาก โดยใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาเฉลี่ยเพียงแค่ 13.9% เท่านั้น กลยุทธ์ที่ธุรกิจยาข้ามชาติสามารถทำกำไรได้สูงขนาดนี้ คือ การผูกขาดตลาดภายใต้ระบบสิทธิบัตร </p>
<p>สหรัฐฯ พ่ายแพ้ในเวทีการเจรจาองค์การการค้าโลก (WTO) จึงทำให้ข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การการค้าหรือข้อตกลงทริปส์ มี ?ช่องหายใจ? เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากระบบผูกขาดทรัพย์สินทางปัญญานั่นคือ มาตรการยืดหยุ่น (TRIPs? Flexibilities) ของการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยาเพื่อสร้างปัญหาความสมดุลย์ระหว่างการทำกำไรที่เกินเลยกับการช่วยชีวิตคน </p>
<p>แม้ว่าข้อตกลงทริปส์จะมีผลมากว่าสิบปีแล้ว แต่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาไม่ได้ใช้มาตรการนี้ในการแก้ปัญหาการเข้าถึงยา เนื่องจากกลัวแรงกดดันทางการค้าของสหรัฐฯ แต่เมื่อปัญหาการเข้าถึงยาของประเทศกำลังพัฒนา-ด้อยพัฒนาและปัญหาสาธารณสุขถึงจุดสูงสุด ประเทศเหล่านี้เริ่มใช้มาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยา เพื่อแก้ปัญหา ในภูมิภาคอาเซียนเริ่มจากมาเลเซีย </p>
<p>ธาตุแท้ของอันธพาลธุรกิจยาข้ามชาติ</p>
<p>เกิดอะไรขึ้นเมื่อไทยประกาศใช้มาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยา ธุรกิจยาข้ามชาติสหรัฐฯ สั่งสอนประเทศไทยด้วยท่าทีแข็งกร้าวและรุนแรงเพื่อปรามไม่ให้ประเทศอื่นๆ ทำตาม โดยใช้ทุกวิถีทางด้วยอำนาจของธุรกิจยาข้ามชาติที่อยู่เหนือการเมืองและเศรษฐกิจสหรัฐฯ จึงไม่น่าแปลกใจที่รัฐบาลสหรัฐฯ ใช้มาตรา 301 พิเศษ เป็นเครื่องมือในการข่มขู่, การใช้บริษัทล็อบบี้ยิสต์ในคราบของบริษัทประชาสัมพันธ์ และเอ็นจีโอเก๊ อย่าง ?ยูเอสเอ ฟอร์ อินโนเวชั่น? ในการสื่อสารบิดเบือนข้อมูลทั้งในไทยและสหรัฐฯ, ทุ่มซื้อทั้งสื่อบุคคล สิ่งพิมพ์ และอินเตอร์เนต รวมถึงการใช้ชีวิตผู้ป่วยเป็นตัวประกันด้วยการขอถอนคำขอขึ้นทะเบียนยา 7 รายการออกจากการพิจารณาของ อย. ทั้งหมดล้วนแสดงชัดถึงจุดยืนของประโยชน์ทางการค้าอยู่เหนือชีวิตคน</p>
<p>การบิดเบือนข้อมูลของธุรกิจยาข้ามชาติ</p>
<p>1.มาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยาของไทยขัดกับข้อตกลงทริปส์<br />
ข้อเท็จจริง คือ ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เลขาธิการองค์การอนามัยโลก และนักวิชาการด้านทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหลาย ได้ยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ไทยทำถูกต้องตามข้อตกลงทริปส์ข้อ 31 บี </p>
<p>2.รัฐบาลจากการรัฐประหารของไทย ฉีกสิทธิบัตรเพื่อประหยัดงบประมาณยานำไปซื้ออาวุธ<br />
ข้อเท็จจริง คือ ความพยายามในการก้าวพ้นการผูกขาดยาที่ไม่เป็นธรรมโดยใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยา ได้ก่อตัวในสังคมไทยมาเกือบสิบปีแล้ว และหลังสุดในรัฐบาลทักษิณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการซึ่งประกอบไปด้วยข้าราชการจากหลายกระทรวง นักวิชาการ นักวิชาการชีพ องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรภาคประชาชน และต่อมา คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่มีนายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะกรรมการในขณะนั้นได้มีมติให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยาของยาเอฟฟ่าไวเรนส์ ซึ่งรัฐมนตรี พร้อมจะลงนาม แต่ก็ถูกรัฐประหารก่อน เมื่อการดำเนินการอย่างรอบคอบและถูกต้องมาถึงมือนายแพทย์มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีสาธารณสุขคนปัจจุบัน ทุกอย่างจึงเกิดขึ้นได้ และการที่ สปสช. สามารถหายาได้ถูกลง ก็สามารถเพิ่มจำนวนผู้ป่วยให้เข้าถึงยาได้มากขึ้น ไม่ได้เอางบประมาณส่วนนี้ไปซื้ออาวุธ งบประมาณสาธารณสุขได้รับมากเป็นอันดันสองรองจากการศึกษา และงบประมาณที่ประหยัดได้กำลังจะถูกนำไปใช้การการรณรงค์ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์รายใหม่</p>
<p>3.ยาจีพีโอเวียร์ขององค์การเภสัชกรรมห่วย ไม่ผ่านการรับรองขององค์การอนามัยโลก<br />
ข้อเท็จจริง คือ ยานี้คิดค้นโดยองค์การเภสัชกรรมและได้รับอนุสิทธิบัตร มีคุณภาพดี สามารถรักษาชีวิตผู้ติดเชื้อในขณะนั้นได้เป็นเรือนแสน และนำไปสู่การที่ระบบหลักประกันสุขภาพจ่ายยาต้านให้ผู้ติดเชื้อได้ เพราะราคายาลดจากวันละสองพันกว่าบาทมาเป็นสี่สิบบาทเท่านั้น</p>
<p>4. จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล ยาจีพีโอเวียร์ทำให้เกิดการดื้อยาสูงระหว่าง 39.6?58%<br />
ข้อเท็จจริง คือ บิดเบือนข้อมูลทางวิชาการนำไปสู่การตีความผิด การศึกษานี้ต้องการรู้ว่าการดื้อยาที่มาจากโครงสร้างของตัวยาเป็นอย่างไร ยาจีพีโอเวียร์ประกอบด้วยตัวยาสามตัว คือ ลามิวูดีน สตาวูดีน และเนวิราปีน ดังนั้นไม่ว่ายายี่ห้อใดที่ประกอบด้วยตัวยาเช่นเดียวกับยาจีพีโอเวียร์ ก็ทำให้ดื้อยาในอัตราเดียวกัน ไม่ได้เป็นเฉพาะกับยาจีพีโอเวียร์</p>
<p>วงจรอุบาทแห่งความกลัวและตกเป็นทาส: การแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตร</p>
<p>เมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว สหรัฐฯ ก็ใช้มาตรา 301 กดดันไทย ให้แก้ไข พรบ. สิทธิบัตร ด้วยการเพิ่มการคุ้มครองผลิตภัณฑ์ยา และขยายอายุสิทธิบัตรจาก ๑๕ ปี เป็น ๒๐ ปี โดยใช้วิธีการเช่นเดียวกับในปัจจุบันทุกอย่าง ตั้งแต่การบิดเบือนข้อมูลว่า ประเทศไทยเป็นโจรปล้นทรัพย์สินทางปัญญาด้านยา ทั้งๆ ที่ในขณะนั้นไทยให้การคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นยาในกระบวนการผลิต แต่ไม่ให้สิทธิผูกขาดอย่างสมบูรณ์ในผลิตภัณฑ์ยา จึงเป็นตัวกระตุ้นให้มีการคิดค้นกระบวนการผลิตยาที่หลากหลายเพื่อให้เกิดการแข่งขันในตลาดยา เมื่อถูกขู่จากสหรัฐฯ ในการตัดจีเอสพี ไทยจึงยอมแก้กฎหมายตามที่สหรัฐฯ ต้องการ ในปี 2535 ซึ่งในฉบับแก้ไขนี้ได้มีกรรมการสิทธิบัตรยาเพื่อควบคุมราคายาสิทธิบัตร ต่อมาสหรัฐฯ ก็กดดันอีกด้วยมาตรการเดิมให้ไทยแก้กฎหมายสิทธิบัตรตัดกรรมการสิทธิบัตรยาออก ด้วยความกลัวเช่นเดิม ในปี 2542 มีการแก้ไขเอากรรมการสิทธิบัตรยาออก และในคราวนี้ไทยก็ถูกกดดันอีกเช่นเดิม ด้วยกลยุทธเดิมๆ แล้วเราจะยอมเป็นทาสไปตลอดหรือ ถึงเวลาแล้วที่ไทยต้องรวมพลัง ใช้บทเรียนจากอดีต ร่วมกันต่อต้านการเอารัดเอาเปรียบและเอาชีวิตคนเป็นเดิมพันเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางการค้า เราทำซีแอลอย่างถูกต้อง และพร้อมจะยืนหยัดการต่อสู้ด้วยข้อมูลที่เป็นจริง ฉีกหน้ากากบริษัทยาข้ามชาติ</p>
หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ: 
เอฟทีเอรายประเทศ: