14 Feb 2008
รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์
<p>ซีแอลยามะเร็งเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาทันทีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่ นายไชยา สะสมทรัพย์ สั่งให้มีการทบทวน ผู้เขียนจึงขอถือเป็นโอกาสที่ดีนี้ ในการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้การพูดคุยในสังคมไทย อยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้ และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกานุวัตร</p>
<p>เครื่องมือทางกฎหมายที่ใช้ในการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีในทุกสาขา คือ กฎหมายสิทธิบัตร เป็นการให้รางวัลด้วยระบบการผูกขาดตลาดของสินค้าที่ผลิตจากเทคโนโลยีนั้นๆ จากโลกานุวัตรนี้สินค้ายาได้ใช้เครื่องมือนี้สร้างกำไรมหาศาล แต่จากระบบผูกขาดโดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตโดยเฉพาะยา สามารถก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อสังคมโดยรวมได้ จึงได้ก่อให้เกิดการพัฒนากลไกที่ทำให้เกิดสมดุลของระบบสิทธิบัตรขึ้น นั่นคือ ?ซีแอล? เป็นกลไกการแยกการผูกขาดเทคโนโลยีออกจากการผูกขาดผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่กลไกเพื่อมนุษยธรรม</p>
<p>เมื่อเจ้าของสิทธิบัตรใช้เทคโนโลยีที่ได้สิทธิบัตรของตนผลิตยาแล้วขายแพงมาก ในขณะที่บริษัทอื่นสามารถใช้เทคโนโลยีเดียวกันแต่ผลิตยาในคุณภาพเดียวกันออกสู่ตลาดในราคาที่ถูกกว่ากันมากเป็นหลายสิบหลายร้อยเท่าได้ ซึ่งเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนของการผูกขาดที่ไม่เป็นธรรม</p>
<p>การทำ ?ซีแอล? จึงเป็นการขอซื้อเทคโนโลยีโดยไม่ขอซื้อผลิตภัณฑ์ ด้วยการจ่ายค่าตอบแทนการใช้สิทธิเป็นร้อยละของผลผลิตที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีที่ขอซื้อ หรือที่รู้จักกันว่าค่ารอยัลตี้ นั่นเอง เป็นการออกแบบกลไกเพื่อ 1) ให้มีการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ต่อยอดได้ และ 2) ป้องกันการผูกขาดที่ไม่เป็นธรรม ก่อให้เกิดการแข่งขันด้านเทคโนโลยีได้ </p>
<p>กลไกการทำซีแอลนี้พัฒนามาพร้อมกับระบบสิทธิบัตร และเป็นที่ยอมรับในนานาประเทศ แม้แต่ในข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า หรือข้อตกลงทริปส์ ขององค์การการค้าโลก</p>
<p>การทำซีแอลไม่ว่าโดยรัฐหรือเอกชนก็ตาม เป็นกลไกเดียวกัน แต่ขั้นตอนการดำเนินการต่างกันเท่านั้น การทำซีแอลโดยรัฐสามารถทำได้โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าของสิทธิบัตรก่อน ซึ่งต่างจากการทำซีแอลโดยเอกชนที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากเอกชนก่อน ซึ่งขั้นตอนที่ต่างนี้ จึงก่อให้เกิดเงื่อนไขของการทำซีแอลของรัฐได้เป็น 3 กรณี คือ 1) เกิดเหตุฉุกเฉิน 2) เกิดเหตุเร่งด่วน และ 3) เพื่อประโยชน์สาธารณะที่ไม่มุ่งหวังกำไร</p>
<p>กรณีการทำซีแอลของไทยที่ผ่านมา เป็นไปตามกฎหมายสิทธิบัตรไทยมาตรา 51 เพื่อใช้ในระบบสุขภาพที่รัฐต้องดูแลตามรัฐธรรมนูญ 2551 เพื่อประโยชน์สาธารณะโดยไม่หวังกำไร ในกรณีมะเร็งไทยซื้อเทคโนโลยีด้วยการให้ค่าตอบแทนการใช้สิทธิสูงถึงร้อยละ 4-5 ของมูลค่ายาที่ผลิตหรือนำเข้าจากกลไกนี้ </p>
<p>การทำซีแอลของไทยที่ผ่านมาไม่จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เพราะไม่ใช่การทำซีแอลโดยนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 52 ของกฎหมายสิทธิบัตรไทย </p>
<p>การทบทวนยกเลิกซีแอลจากเหตุผลที่ว่า การทำซีแอลของไทย ทำให้ปลายเมษายน 2550 สหรัฐอเมริกาใช้กฎหมายทางการค้ามาตรา 301 จัดให้ไทยอยู่ในรายชื่อประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PWL) เกิดความเสียหายทางการค้าเป็นพันล้าน และในปลายเมษายนปีนี้ ไทยอาจถูกขยับไปอยู่ในรายชื่อประเทศที่ถูกจัดการ (PFC) เป็นเรื่องน่าสนใจว่า ไทยเราจะยอมเสียอธิปไตยในการบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศเพื่อแลกกับเงินตราที่ได้รับเช่นนั้นหรือ และที่อาจเลวร้ายกว่านี้ถ้าเหตุผลข้างต้นไม่จริง ในขณะที่ไทยอยู่ใน PWL สหรัฐฯยังไม่สามารถใช้มาตรการทางการค้าใดๆ ต่อไทยได้ ความเสียหายถ้าเกิดขึ้นก็ไม่น่ามากเป็นพันล้านบาท และจากข้อมูลรายงานของยูเอสทีอาร์ในการจัดประเทศไทยใน PWL ก็ไม่ใช่ว่าไทยทำซีแอลไม่ถูกต้อง แต่กระบวนการทำไม่โปร่งใสพอ ในการทำซีแอลยามะเร็งได้ทำขั้นตอนอย่างโปร่งใสแล้ว จึงเป็นการท้าทายความสามารถของรัฐมนตรีไทยที่จะทำให้การทำซีแอลของไทยก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนไทย โดยไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อการค้า มากกว่าที่จะยอมเสียอธิปไตยในการบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศไปง่ายๆ ด้วยการยกเลิกซีแอล </p>
<p>ประเทศไทยเคยได้รับบทเรียนราคาแพงมากในลักษณะเดียวกันนี้ ในปี 2534 ไทยถูกจัดอยูใน PFC ในปี 2535 ไทยยอมแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรยอมรับสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ยา และขยายอายุสิทธิบัตรจาก 15 ปี เป็น 20 ปี ด้วยหวังจะแลกเปลี่ยนกับการที่ไทยจะถูกลดระดับมาอยู่ที่ PWL หรือ WL แต่ข้อมูลความเป็นจริงคือ ไทยยังอยู่ใน PFC ตั้งแต่ 2534 จนถึง 2536 </p>
<p>หวังว่าคนไทยคงยังไม่ลืมบทเรียนอันเจ็บปวดจากโลกานุวัฒน์ และอธิปไตยของชาติ จากเรื่องสิทธิบัตร นำมากอบกู้สถานการณ์เรื่องซีแอลได้ทันท่วงที</p>
<p>เครื่องมือทางกฎหมายที่ใช้ในการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีในทุกสาขา คือ กฎหมายสิทธิบัตร เป็นการให้รางวัลด้วยระบบการผูกขาดตลาดของสินค้าที่ผลิตจากเทคโนโลยีนั้นๆ จากโลกานุวัตรนี้สินค้ายาได้ใช้เครื่องมือนี้สร้างกำไรมหาศาล แต่จากระบบผูกขาดโดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตโดยเฉพาะยา สามารถก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อสังคมโดยรวมได้ จึงได้ก่อให้เกิดการพัฒนากลไกที่ทำให้เกิดสมดุลของระบบสิทธิบัตรขึ้น นั่นคือ ?ซีแอล? เป็นกลไกการแยกการผูกขาดเทคโนโลยีออกจากการผูกขาดผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่กลไกเพื่อมนุษยธรรม</p>
<p>เมื่อเจ้าของสิทธิบัตรใช้เทคโนโลยีที่ได้สิทธิบัตรของตนผลิตยาแล้วขายแพงมาก ในขณะที่บริษัทอื่นสามารถใช้เทคโนโลยีเดียวกันแต่ผลิตยาในคุณภาพเดียวกันออกสู่ตลาดในราคาที่ถูกกว่ากันมากเป็นหลายสิบหลายร้อยเท่าได้ ซึ่งเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนของการผูกขาดที่ไม่เป็นธรรม</p>
<p>การทำ ?ซีแอล? จึงเป็นการขอซื้อเทคโนโลยีโดยไม่ขอซื้อผลิตภัณฑ์ ด้วยการจ่ายค่าตอบแทนการใช้สิทธิเป็นร้อยละของผลผลิตที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีที่ขอซื้อ หรือที่รู้จักกันว่าค่ารอยัลตี้ นั่นเอง เป็นการออกแบบกลไกเพื่อ 1) ให้มีการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ต่อยอดได้ และ 2) ป้องกันการผูกขาดที่ไม่เป็นธรรม ก่อให้เกิดการแข่งขันด้านเทคโนโลยีได้ </p>
<p>กลไกการทำซีแอลนี้พัฒนามาพร้อมกับระบบสิทธิบัตร และเป็นที่ยอมรับในนานาประเทศ แม้แต่ในข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า หรือข้อตกลงทริปส์ ขององค์การการค้าโลก</p>
<p>การทำซีแอลไม่ว่าโดยรัฐหรือเอกชนก็ตาม เป็นกลไกเดียวกัน แต่ขั้นตอนการดำเนินการต่างกันเท่านั้น การทำซีแอลโดยรัฐสามารถทำได้โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าของสิทธิบัตรก่อน ซึ่งต่างจากการทำซีแอลโดยเอกชนที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากเอกชนก่อน ซึ่งขั้นตอนที่ต่างนี้ จึงก่อให้เกิดเงื่อนไขของการทำซีแอลของรัฐได้เป็น 3 กรณี คือ 1) เกิดเหตุฉุกเฉิน 2) เกิดเหตุเร่งด่วน และ 3) เพื่อประโยชน์สาธารณะที่ไม่มุ่งหวังกำไร</p>
<p>กรณีการทำซีแอลของไทยที่ผ่านมา เป็นไปตามกฎหมายสิทธิบัตรไทยมาตรา 51 เพื่อใช้ในระบบสุขภาพที่รัฐต้องดูแลตามรัฐธรรมนูญ 2551 เพื่อประโยชน์สาธารณะโดยไม่หวังกำไร ในกรณีมะเร็งไทยซื้อเทคโนโลยีด้วยการให้ค่าตอบแทนการใช้สิทธิสูงถึงร้อยละ 4-5 ของมูลค่ายาที่ผลิตหรือนำเข้าจากกลไกนี้ </p>
<p>การทำซีแอลของไทยที่ผ่านมาไม่จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เพราะไม่ใช่การทำซีแอลโดยนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 52 ของกฎหมายสิทธิบัตรไทย </p>
<p>การทบทวนยกเลิกซีแอลจากเหตุผลที่ว่า การทำซีแอลของไทย ทำให้ปลายเมษายน 2550 สหรัฐอเมริกาใช้กฎหมายทางการค้ามาตรา 301 จัดให้ไทยอยู่ในรายชื่อประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PWL) เกิดความเสียหายทางการค้าเป็นพันล้าน และในปลายเมษายนปีนี้ ไทยอาจถูกขยับไปอยู่ในรายชื่อประเทศที่ถูกจัดการ (PFC) เป็นเรื่องน่าสนใจว่า ไทยเราจะยอมเสียอธิปไตยในการบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศเพื่อแลกกับเงินตราที่ได้รับเช่นนั้นหรือ และที่อาจเลวร้ายกว่านี้ถ้าเหตุผลข้างต้นไม่จริง ในขณะที่ไทยอยู่ใน PWL สหรัฐฯยังไม่สามารถใช้มาตรการทางการค้าใดๆ ต่อไทยได้ ความเสียหายถ้าเกิดขึ้นก็ไม่น่ามากเป็นพันล้านบาท และจากข้อมูลรายงานของยูเอสทีอาร์ในการจัดประเทศไทยใน PWL ก็ไม่ใช่ว่าไทยทำซีแอลไม่ถูกต้อง แต่กระบวนการทำไม่โปร่งใสพอ ในการทำซีแอลยามะเร็งได้ทำขั้นตอนอย่างโปร่งใสแล้ว จึงเป็นการท้าทายความสามารถของรัฐมนตรีไทยที่จะทำให้การทำซีแอลของไทยก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนไทย โดยไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อการค้า มากกว่าที่จะยอมเสียอธิปไตยในการบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศไปง่ายๆ ด้วยการยกเลิกซีแอล </p>
<p>ประเทศไทยเคยได้รับบทเรียนราคาแพงมากในลักษณะเดียวกันนี้ ในปี 2534 ไทยถูกจัดอยูใน PFC ในปี 2535 ไทยยอมแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรยอมรับสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ยา และขยายอายุสิทธิบัตรจาก 15 ปี เป็น 20 ปี ด้วยหวังจะแลกเปลี่ยนกับการที่ไทยจะถูกลดระดับมาอยู่ที่ PWL หรือ WL แต่ข้อมูลความเป็นจริงคือ ไทยยังอยู่ใน PFC ตั้งแต่ 2534 จนถึง 2536 </p>
<p>หวังว่าคนไทยคงยังไม่ลืมบทเรียนอันเจ็บปวดจากโลกานุวัฒน์ และอธิปไตยของชาติ จากเรื่องสิทธิบัตร นำมากอบกู้สถานการณ์เรื่องซีแอลได้ทันท่วงที</p>
หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ: