4 Jan 2010
กรุงเทพธุรกิจ
<p>เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่าการเจรจาจัดทำความตกลงเรื่องโลกร้อนที่โคเปนเฮเกนจบลงด้วยความล้มเหลว หมายความว่าไม่ได้ข้อสรุปยุติตาม Bali Road Map ที่ตั้งเป้าเจรจากันให้เสร็จภายในปี 2009 ทั้งในส่วนของพิธีสารเกียวโตและในส่วนของอนุสัญญาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) สิ่งที่มีการกล่าวถึงกันอยู่มากแล้ว คือ Copenhagen Accord ซึ่งรัฐสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมไม่ได้มีมติให้การรับรอง เป็นเพียงการบันทึกรับทราบไว้ว่ามีเอกสารฉบับนี้อยู่ แต่ไม่ได้มีสภาพบังคับแต่อย่างใด จึงคาดการณ์ได้ว่าสิ้นสุดเดือนมกราคมปี 2010 ตามที่กำหนดไว้ใน Copenhagen Accord จะมีรัฐสมาชิกจำนวนไม่มากที่จะประกาศตัวเลขเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกหรือแผนการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อไปเติมข้อมูลในตารางภาคผนวกของ Copenhagen Accord และจะมีเป้าหมายการลดก๊าซรวมต่ำกว่าระดับที่ต้องการเพื่อการควบคุมอุณหภูมิของบรรยากาศโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส</p>
<p>มติสำคัญเรื่องหนึ่งจากการประชุมที่โคเปนเฮเกนที่ยังกล่าวถึงกันไม่มาก คือ รัฐภาคีมีมติให้ขยายการเจรจาของกลุ่ม Ad Hoc Working Group on Long-term Cooperative Action ภายใต้อนุสัญญา UNFCCC ออกไปอีก 1 ปี และให้เสร็จภายในการประชุม COP ครั้งที่ 16 ต้นเดือนธันวาคม 2010</p>
<p>ในเอกสารเจรจาหลักฉบับล่าสุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ซึ่งเป็นผลมาจากการเจรจาที่โคเปนเฮเกน (FCCC/AWGLCA/2009/L.7/Rev.1) ได้กำหนดประเด็นการเจรจาไว้ 6 เรื่องสำคัญ คือ เป้าหมายร่วมกันเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวรองรับผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน พันกรณีหรือการดำเนินงานอย่างเหมาะสมเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกในระดับประเทศ(NAMA) ของประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา กลไกทางการเงินและการลงทุน การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโลกร้อน ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะเรื่องเป้าหมายร่วมกันเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก และเรื่อง NAMA</p>
<p>ประเด็นสำคัญที่ยังต้องเจรจากันต่อไปในเรื่องเป้าหมายร่วมกันเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก มีหลายเรื่องและจะมีผลกระทบต่อประเทศไทยทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อม ตัวอย่างเช่น<br />
เรื่องระดับอุณหภูมิบรรยากาศโลกที่ต้องการควบคุมไม่ให้เกิน ตัวเลขในเอกสารขณะนี้มีทั้ง 2 องศา 1.5 และ 1 องศาเซลเซียส<br />
เรื่องเป้าหมายปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งโลกที่ต้องลด ตัวเลขการเจรจาอยู่ที่ระดับ 50% หรือ 85% หรือ 95% จากระดับที่เคยปล่อยในปี 1990 ให้ได้ภายในปี 2050 และต้องมีการลดลงไปอีกหลังจากนั้น</p>
<p>เรื่องการพันธกรณีการลดก๊าซของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ตัวเลขการเจรจามีหลายระดับ ตั้งแต่ ลด 75-85% หรือ ลดอย่างน้อย 80-85% หรือ มากกว่า 95% จากระดับที่ปล่อยในปี 1990 ภายในปี 2050 หรือ ลดมากกว่า 100% จากระดับปล่อยในปี 1990 ภายในปี 2040 ตัวเลขท้ายสุดเป็นข้อเสนอที่เพิ่มขึ้นมาจากการประชุมที่โคเปนเฮเกน</p>
<p>ในหัวข้อเรื่อง NAMA เป็นการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2020 สำหรับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว เป้าหมายการลดก๊าซที่ปรากฎอยู่ในเอกสารอยู่ที่ระดับ อย่างน้อย 25-40% หรือ ที่ระดับ 30% หรือ 40% หรือ 45% หรือ 49% หรือ X% (คือ ผลรวมของตัวเลขทั้งหมด) โดยลดจากปี 1990 หรือปี 2005 ให้ได้ภายในปี 2017 หรือ 2020 ดังนั้นการเจรจาในเรื่องนี้จึงมีทั้งเรื่องตัวเลขเป้าหมายการลด ปีฐานที่ใช้อ้างอิง และระยะเวลาการลด</p>
<p>สำหรับกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา มีข้อเจรจาด้วยว่าเป้าหมายการลดก๊าซอยู่ภายใต้เงื่อนไขการสนับสนุนด้านการเงิน เทคโนโลยี และการเพิ่มขีดความสามารถ โดยมีตัวเลขเป้าหมายการลดที่ปรากฎอยู่ในเอกสาร 2 ทางเลือก คือ (หนึ่ง)ให้ลดอย่างมากจากระดับที่ปล่อยปกติโดยไม่ได้มีมาตรการลดก๊าซ แต่ไม่ได้กำหนดตัวเลขการลดไว้ หรือ (สอง) ให้ลดการปล่อยก๊าซในระดับ 15-30% ภายในปี 2020</p>
<p>ประเด็นการเจรจาทั้งหมดที่กล่าวถึงข้างต้น ยังไม่ได้ข้อยุติทั้งสิ้น เป็นประเด็นเจรจาที่มีความขัดแย้งมาอย่างต่อเนื่องก่อนการประชุมที่โคเปนเฮเกน และเกิดความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้นในการเจรจาที่โคเปนเฮเกน ความเสี่ยงของสิ่งแวดล้อมโลกและมนุษย์จึงขึ้นอยู่กับการเจรจาเรื่องโลกร้อนในปี 2010 โดยเฉพาะจุดยืนของสหรัฐอเมริกาและจีน</p>
<p>มติสำคัญเรื่องหนึ่งจากการประชุมที่โคเปนเฮเกนที่ยังกล่าวถึงกันไม่มาก คือ รัฐภาคีมีมติให้ขยายการเจรจาของกลุ่ม Ad Hoc Working Group on Long-term Cooperative Action ภายใต้อนุสัญญา UNFCCC ออกไปอีก 1 ปี และให้เสร็จภายในการประชุม COP ครั้งที่ 16 ต้นเดือนธันวาคม 2010</p>
<p>ในเอกสารเจรจาหลักฉบับล่าสุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ซึ่งเป็นผลมาจากการเจรจาที่โคเปนเฮเกน (FCCC/AWGLCA/2009/L.7/Rev.1) ได้กำหนดประเด็นการเจรจาไว้ 6 เรื่องสำคัญ คือ เป้าหมายร่วมกันเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวรองรับผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน พันกรณีหรือการดำเนินงานอย่างเหมาะสมเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกในระดับประเทศ(NAMA) ของประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา กลไกทางการเงินและการลงทุน การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโลกร้อน ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะเรื่องเป้าหมายร่วมกันเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก และเรื่อง NAMA</p>
<p>ประเด็นสำคัญที่ยังต้องเจรจากันต่อไปในเรื่องเป้าหมายร่วมกันเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก มีหลายเรื่องและจะมีผลกระทบต่อประเทศไทยทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อม ตัวอย่างเช่น<br />
เรื่องระดับอุณหภูมิบรรยากาศโลกที่ต้องการควบคุมไม่ให้เกิน ตัวเลขในเอกสารขณะนี้มีทั้ง 2 องศา 1.5 และ 1 องศาเซลเซียส<br />
เรื่องเป้าหมายปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งโลกที่ต้องลด ตัวเลขการเจรจาอยู่ที่ระดับ 50% หรือ 85% หรือ 95% จากระดับที่เคยปล่อยในปี 1990 ให้ได้ภายในปี 2050 และต้องมีการลดลงไปอีกหลังจากนั้น</p>
<p>เรื่องการพันธกรณีการลดก๊าซของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ตัวเลขการเจรจามีหลายระดับ ตั้งแต่ ลด 75-85% หรือ ลดอย่างน้อย 80-85% หรือ มากกว่า 95% จากระดับที่ปล่อยในปี 1990 ภายในปี 2050 หรือ ลดมากกว่า 100% จากระดับปล่อยในปี 1990 ภายในปี 2040 ตัวเลขท้ายสุดเป็นข้อเสนอที่เพิ่มขึ้นมาจากการประชุมที่โคเปนเฮเกน</p>
<p>ในหัวข้อเรื่อง NAMA เป็นการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2020 สำหรับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว เป้าหมายการลดก๊าซที่ปรากฎอยู่ในเอกสารอยู่ที่ระดับ อย่างน้อย 25-40% หรือ ที่ระดับ 30% หรือ 40% หรือ 45% หรือ 49% หรือ X% (คือ ผลรวมของตัวเลขทั้งหมด) โดยลดจากปี 1990 หรือปี 2005 ให้ได้ภายในปี 2017 หรือ 2020 ดังนั้นการเจรจาในเรื่องนี้จึงมีทั้งเรื่องตัวเลขเป้าหมายการลด ปีฐานที่ใช้อ้างอิง และระยะเวลาการลด</p>
<p>สำหรับกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา มีข้อเจรจาด้วยว่าเป้าหมายการลดก๊าซอยู่ภายใต้เงื่อนไขการสนับสนุนด้านการเงิน เทคโนโลยี และการเพิ่มขีดความสามารถ โดยมีตัวเลขเป้าหมายการลดที่ปรากฎอยู่ในเอกสาร 2 ทางเลือก คือ (หนึ่ง)ให้ลดอย่างมากจากระดับที่ปล่อยปกติโดยไม่ได้มีมาตรการลดก๊าซ แต่ไม่ได้กำหนดตัวเลขการลดไว้ หรือ (สอง) ให้ลดการปล่อยก๊าซในระดับ 15-30% ภายในปี 2020</p>
<p>ประเด็นการเจรจาทั้งหมดที่กล่าวถึงข้างต้น ยังไม่ได้ข้อยุติทั้งสิ้น เป็นประเด็นเจรจาที่มีความขัดแย้งมาอย่างต่อเนื่องก่อนการประชุมที่โคเปนเฮเกน และเกิดความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้นในการเจรจาที่โคเปนเฮเกน ความเสี่ยงของสิ่งแวดล้อมโลกและมนุษย์จึงขึ้นอยู่กับการเจรจาเรื่องโลกร้อนในปี 2010 โดยเฉพาะจุดยืนของสหรัฐอเมริกาและจีน</p>
หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ: