Back to the Future : The Temple Of Preah Vihear ( Episode III)

โดย  กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน(FTA Watch)


 

 ฉากที่ 1

 

รัฐธรรมนูญ ม. 190 วรรคสาม

 


 

ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตามวรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย”

 

 

 

 ฉากเหตุการณ์

 

“ในช่วงปี พ.ศ. 2548-2549 กัมพูชาได้ดำเนินกระบวนการยื่นขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกต่อยูเนสโกโดยไม่ได้ปรึกษาหารือกับไทยตามที่เคยหารือกันไว้

 

 

ปัญหาสำคัญที่สร้างข้อกังวลให้ไทยคือ เอกสารประกอบคำร้องยื่นขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดก โลก (Nomination File) ของกัมพูชาได้แนบแผนที่กำหนดเขตอนุรักษ์ (Core Zone) เขตกันชน (Buffer Zone) และเขตพัฒนา (Development Zone) ของอาณาบริเวณปราสาทพระวิหารที่กัมพูชาจะยื่นขอจดทะเบียนเป็นมรดกโลกซึ่งแสดงขอบเขตตามเส้นที่พระราชกฤษฎีกาฉบับลงวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2549 ของกัมพูชา (Décret royal portant délimitation du site protégé du temple de Preah Vihear, NS/RKP/0406/183) และแผนที่แนบระบุว่า  เป็นเส้นเขตแดนระหว่างประเทศซึ่งล้ำเข้ามาในดินแดนไทย”  -->>>มีผลเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย

ที่มา:หนังสือปกขาว กรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยกระทรวงการต่างประเทศ น.17

 

 

 ฉากที่ 2 :  เปิดฉากการเจรจา

 


- คณะรัฐมนตรีให้ข้อมูลและจัดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

- รัฐบาลเสนอ กรอบการเจรจา ต่อ รัฐสภา เพื่อขอความเห็นชอบก่อนการดำเนินการเจรจา

 

 

 ตัวอย่าง  “กรอบการเจรจา”

- ประเทศไทยยืนยันการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบเป็นมรดกโลกร่วมกันกับประเทศกัมพูชา

- การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกร่วมกันต้องไม่กระทบการแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา


- ประชาชน นักวิชาการ ตื่นตัวต่อเรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลก เกิดการเรียนรู้ปัญหา ข้อมูลทางประวัติศาสตร์  มีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการเจรจา

- มีนาคม 2551 รัฐสภาอนุมัติ กรอบเจรจา  รัฐบาลเปิดการเจรจาโดยมีรัฐสภาและประชาชนหนุนเสริม เพิ่มอำนาจการต่อรอง



 

 

 ฉากที่ 3

 

รัฐธรรมนูญ ม. 190 วรรคสอง

 

“ หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศ อย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว”

 

 

 

  ฉากเหตุการณ์ : พฤษภาคม-มิถุนายน 2551

 

 เดือนพฤษภาคม รัฐมนตรีต่างประเทศไทย เจรจาจัดทำ ร่างแถลงการณ์ร่วม กับ รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่ประเทศฝรั่งเศส

 สาระสำคัญในแถลงการณ์ร่วม คือ การขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกันระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา

 รัฐบาลเสนอ “ร่างแถลงการณ์ร่วม” ให้รัฐสภาพิจารณา

 

 พ.ค. 2551 รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบ “ร่างแถลงการณ์ร่วม”

 

 มิ.ย. 2551 รัฐบาลมอบอำนาจให้รมว.ต่างประเทศลงนามใน “แถลงการณ์ร่วม”

 

(หมายเหตุ: การประชุมรัฐสภาสมัยสามัญ เปิด 21 ม.ค. – ปิด 16 พ.ค. 2551)


 

 ฉากที่ 4

 

ฉากเหตุการณ์ : 5-8 กรกฎาคม 2551

 

 คณะกรรมการมรดกโลก ประชุมสมัยที่ 32 ณ ประเทศแคนาดา มีมติเห็นชอบการขึ้นทะเบียน “ปราสาทพระวิหารและบริเวณโดยรอบ” เป็นมรดกโลกร่วมกันของประเทศกัมพูชาและประเทศไทย

 

 

 ฉากที่ 5

 

ฉากเหตุการณ์ : กรกฎาคม 2551 ในยุคการบริหารประเทศของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช

 

 ฉากเหตุการณ์ที่ 1-4 ไม่เกิดขึ้นจริง เป็นเพียงเหตุการณ์สมมุติ

 

 รมว.ต่างประเทศ และนายกรัฐมนตรีได้เจรจาเรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารกับกัมพูชาหลายครั้ง เช่น รมว.ต่างประเทศไทย-กัมพูชา (21 ก.พ.51 ที่สิงคโปร์) , นายกรัฐมนตรีไทย-กัมพูชา (3-4 มี.ค. 51 ที่พนมเปญ,  30 มี.ค. 51 ที่เวียงจันทน์), รมว.ต่างประเทศไทย-รองนายกฯ กัมพูชา (14 พ.ค.51 ที่เกาะกง, 22-23 พ.ค. 51 ที่ปารีส)  

 

 

( ข้อมูลจากสมุดปกขาว กระทรวงการต่างประเทศ หน้า 11-12 )

 

 ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว, ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าทำผิดม.190,  รมว.ต่างประเทศประกาศลาออก -->> ผู้นำรัฐบาลกล่าวโทษว่าเป็นความผิดของรัฐธรรมนูญ ต้องแก้รัฐธรรมนูญ ม.190 อย่างเร่งด่วนเพราะทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย ??

 

 ข้อวิเคราะห์ : รัฐบาลสามารถปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ม.190 ได้ดังที่แสดงให้เห็นในเหตุการณ์สมมุติ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการดำเนินงานของรัฐบาลเอง มิใช่ปัญหาในตัวบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ม.190 แต่อย่างใด

หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ: