<p align="justify"><b><u><font size="2">ความเป็นมา</font></u></b></p> <p align="justify"><font size="2"> ความตกลงด้านการลงทุ<wbr></wbr>นอาเซียน(ASEAN Comprehensive Investment Agreement) เป็นความตกลงเต็มรูปแบบที่เกิ<wbr></wbr>ดจากการผนวกความตกลงเขตการลงทุ<wbr></wbr>นอาเซียน (AIA) ซึ่งเป็นความตกลงเปิดเสรี<wbr></wbr>การลงทุน ที่มีผลบังคับใช้ในปีค.ศ. 1998 กับความตกลงส่งเสริมและคุ้<wbr></wbr>มครองการลงทุนของอาเซียน (ASEAN IGA) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี 1987 ให้เป็นความตกลงเต็มรูปแบบฉบั<wbr></wbr>บเดียว ทั้งนี้โดยมีการลงนามเมื่อวันที<wbr></wbr>่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 ที่หัวหิน ประเทศไทย ในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้<wbr></wbr>นำอาเซียน ครั้งที่ 14</font></p> <p align="justify"><font size="2"> ความตกลงนี้จะให้สิทธินั<wbr></wbr>กลงทุนในอาเซียน และนักลงทุนนักลงทุนต่างชาติที่<wbr></wbr>มีกิจการอยู่ในอาเซียนและต้<wbr></wbr>องการขยายการลงทุนในอี<wbr></wbr>กประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นได้รั<wbr></wbr>บสิทธิประโยชน์ในการลงทุนตามหลั<wbr></wbr>กประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) กล่าวคือนักลงทุนจากต่างชาติได้<wbr></wbr>รับสิทธิเช่นเดียวกับประชาชนเจ้<wbr></wbr>าของประเทศ ยกเว้นในสาขาที่ได้สงวนเอาไว้(<wbr></wbr>Temporary Exclusion List-TEL) และสาขาที่อ่อนไหว (Sensitive List) <br /> </font></p> <p align="justify"><b><u><font size="2">สถานะของความตกลง</font></u></b></p> <p align="justify"><font size="2"> คณะกรรมการส่งเสริ<wbr></wbr>มการลงทุน ได้เสนอให้<wbr></wbr>คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่<wbr></wbr>างประเทศ(กนศ.) เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2552 ให้ยกเลิกข้อสงวนของประเทศไทย 3 รายการคือ 1) การทำประมง เฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 2) การทำป่าไม้จากป่าปลูก และ 3) การทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุ<wbr></wbr>งพันธุ์พืช โดยให้ถอนข้อสงวนดังกล่<wbr></wbr>าวออกจากรายการเพื่อให้นักลงทุ<wbr></wbr>นต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนได้<wbr></wbr>ภายในปี พ.ศ. 2553 อีกทั้งแจ้งว่าการยกเลิกข้<wbr></wbr>อสงวนดังกล่าวไม่มีผู้คัดค้าน หลังจากที่ได้จัดให้มีการรับฟั<wbr></wbr>งความคิดเห็นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2552</font></p> <p align="justify"><font size="2"> ขณะนี้คณะเจรจาของไทยได้<wbr></wbr>ยื่นข้อเสนอเปิดเสรีต่อการประชุ<wbr></wbr>มคณะทำงานด้านการลงทุนอาเซี<wbr></wbr>ยนในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุ<wbr></wbr>ลาคม 2552 แล้ว โดยที่มิได้นำ<b>ร่างตารางข้<wbr></wbr>อสงวนเปิดเสรีการลงทุนของไทย</b>เพื<wbr></wbr>่อขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และมิได้ขอความเห็นชอบต่อรัฐสภา คาดว่าจะมีการลงนามในความตกลงนี<wbr></wbr>้ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซี<wbr></wbr>ยนที่หัวหินในปลายเดือนตุลาคม 2553 นี้ เพื่อให้ทันกรอบเวลาของการเปิ<wbr></wbr>ดเสรีในปี 2553 <br /> </font></p> <p align="justify"><b><u><font size="2">ผลกระทบ</font></u></b></p> <p align="justify"><font size="2"> การเปิดเสรีดังกล่าวเป็<wbr></wbr>นการเปิดรับให้กับต่างประเทศมี<wbr></wbr>ขอบเขตที่กว้างขวาง เพราะ เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ ทรัพยากรพันธุกรรม การเกษตร และเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิ<wbr></wbr>ตของประชาชนในท้องถิ่น ครอบคลุมถึงการเปิดเสรี การอำนวยความสะดวก การส่งเสริมและการคุ้<wbr></wbr>มครองการลงทุน อีกทั้งเชื่อมโยงกับการเปิดเสรี<wbr></wbr>ให้กับนักลงทุนนอกอาเซียนที่ได้<wbr></wbr>ลงทุนในอาเซียนด้วย </font></p> <p align="center"><img height="133" border="0" width="200" src="http://www.ftawatch.info/sites/default/files/TueOctober200910533_show_36..." alt="" /></p> <p align="justify"><font size="2"> ผลกระทบของความตกลงนี้จึ<wbr></wbr>งสร้างความเสียหายได้ยิ่งกว่<wbr></wbr>าการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี<wbr></wbr>ที่รัฐบาลไทยในอดีตได้ลงนามกั<wbr></wbr>บต่างประเทศ เนื่องจากความตกลงส่วนใหญ่ที่ผ่<wbr></wbr>านมาเกี่ยวข้องกับการเปิดเสรีสิ<wbr></wbr>นค้าเป็นส่วนใหญ่ มีบางส่วนเท่านั้นที่เกี่ยวข้<wbr></wbr>องกับการลงทุน <br /> </font></p> <p align="justify"><font size="2"> ผลกระทบของการเปิดเสรี<wbr></wbr>การลงทุนต่อเกษตรกร ฐานทรัพยากร และภาคเกษตรกรรมโดยรวม มีดังต่อไปนี้</font></p> <p align="justify"><font size="2"> 1. เร่งให้เกิดกระบวนการกว้านซื้<wbr></wbr>อที่ดินและเช่าพื้นที่<wbr></wbr>ทำการเกษตรโดยกลุ่มทุนจากต่<wbr></wbr>างชาติ เช่น การเข้ามาสัมปทานปลูกป่าในพื้<wbr></wbr>นเขตป่าสงวนเสื่อมโทรม พื้นที่ป่าชายเลน รวมถึงพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์ เป็นการขยายความขัดแย้งปัญหาที่<wbr></wbr>ดินและปัญหาการแย่งชิงน้ำในฤดู<wbr></wbr>แล้งระหว่างกลุ่มทุนกับชาวบ้<wbr></wbr>านในรุนแรงเพิ่มมากขึ้น</font></p> <p align="justify"><font size="2"> 2. กลุ่มทุนต่างชาติจะเข้ามาใช้<wbr></wbr>ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรม เช่น พันธุ์ข้าวพันธุ์ไม้ผลเมืองร้อน พืชสมุนไพร ฯลฯ รวมถึงการจดทรัพย์สินทางปั<wbr></wbr>ญญาจากสายพันธุ์พืช สอดรับกับความพยายามของบริษั<wbr></wbr>ทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติที่ผลักดั<wbr></wbr>นให้มีการส่งออกพันธุ์พื<wbr></wbr>ชออกนอกประเทศโดยเสรี และผลักดันให้มีการแก้<wbr></wbr>ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์<wbr></wbr>พืช พ.ศ.2542 เพื่อให้สามารถผูกขาดสายพันธุ์<wbr></wbr>พืชได้โดยง่าย โดยไม่ต้องขออนุญาตการเข้าถึงพั<wbr></wbr>นธุ์พืช และการแบ่งปันผลประโยชน์ทั้งๆที<wbr></wbr>่ได้ใช้ประโยชน์จากสายพันธุ์พื<wbr></wbr>ชในประเทศ ต่างชาติจะเข้ามาผูกขาดตลาดเมล็<wbr></wbr>ดพันธุ์พืช เช่น ข้าว ซึ่งมีมูลค่าขั้นต้นสูงมากกว่า 25,000 ล้านบาท/ปี ทั้งนี้ไม่นับการใช้ช่<wbr></wbr>องทางการเข้ามาตั้งกิ<wbr></wbr>จการเพาะและขยายพันธุ์พืชเพื่<wbr></wbr>อเข้าถึงทรั<wbr></wbr>พยากรความหลากหลายทางชีวภาพซึ่<wbr></wbr>งมีมูลค่ามหาศาลประเมินค่ามิได้</font></p> <p align="center"><img height="268" border="0" width="234" src="http://www.ftawatch.info/sites/default/files/TueOctober200910134_show_35..." alt="" /></p> <p align="justify"><font size="2"> 3. การเปิดเสรีการขยายพันธุ์พืช จะเป็นการเปิดโอกาสให้ทุ<wbr></wbr>นขนาดใหญ่ข้ามชาติเข้ามายึ<wbr></wbr>ดครองอาชีพและกิจการที่คนไทยได้<wbr></wbr>พัฒนามาเป็นเวลานานหลายทศวรรษ จนกลายเป็นอาชีพของคนไทยเป็<wbr></wbr>นจำนวนมาก เช่น ธุรกิจกล้วยไม้ของไทย ทั้งนี้โดยกลุ่มทุนขนาดใหญ่<wbr></wbr>จะเข้ามาใช้ประโยชน์จากฐานพันธุ<wbr></wbr>กรรม ภาพลักษณ์ และฐานการตลาด เบียดขับผู้ประกอบการรายย่อยที่<wbr></wbr>ได้พัฒนามาเป็นลำดับให้สู<wbr></wbr>ญหายไปเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้<wbr></wbr>นกับร้านค้าปลีกรายย่อย เกิดผลกระทบต่อกิจการกล้วยไม้<wbr></wbr>ของไทยซึ่งมีมูลค่าการส่<wbr></wbr>งออกหลายพันล้านบาท/ปี โดยไม่จำเป็นต้องกล่าวผลกระทบต่<wbr></wbr>อศักยภาพการพั<wbr></wbr>ฒนาในอนาคตและผลประโยชน์<wbr></wbr>ทางเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น</font></p> <p align="justify"><font size="2"> 4. นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้<wbr></wbr>ามาใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้<wbr></wbr>นฐานของประเทศ เช่น ชลประทาน การพัฒนาที่ดิน การส่งเสริมการเกษตร การอุดหนุนผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงการวิจัยในสาขาต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากภาษี<wbr></wbr>อากรของประชาชน <br /> </font></p> <p align="justify"><font size="2"> แนวทางการเปิดเสรีนี้เปิ<wbr></wbr>ดทางให้บรรษัทข้ามชาติเข้ามารั<wbr></wbr>งแกเกษตรกร และชุมชนท้องถิ่น ยึดครองฐานทรัพยากรพันธุกรรม สร้างผลกระทบต่อความมั่<wbr></wbr>นคงทางอาหาร และอธิปไตยของประเทศ อีกทั้งยังขัดแย้งกั<wbr></wbr>บนโยบายของคณะกรรมการเสริมสร้<wbr></wbr>างความเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติ และนโยบายการคุ้มครองพื้นที่<wbr></wbr>เกษตรกรรมของรัฐบาลเองอีกด้วย <br /> </font></p> <p align="justify"><b><u><font size="2">ข้อเสนอและทางออก</font></u></b></p> <p align="justify"><font size="2"> 1. รัฐบาลต้องยับยั้งหรื<wbr></wbr>อชะลอการดำเนินการเปิดเสรี<wbr></wbr>ภาคการเกษตร ประมง และป่าไม้ ดังกล่าวโดยเร็วและให้มีผลโดยทั<wbr></wbr>นทีก่อนหน้าการประชุมสุดยอดผ้<wbr></wbr>นำอาเซียนที่ชะอำ-หัวหินในช่<wbr></wbr>วงปลายเดือนตุลาคม 2552 </font></p> <p align="justify"><font size="2"> 2. ให้มีการตรวจสอบข้อมูลและประเมิ<wbr></wbr>นผลกระทบจากการเปิดเสรี<wbr></wbr>ของไทยในสาขาข้างต้น รวมถึงการเปิดเสรีในสาขาอื่นที่<wbr></wbr>เกี่ยวข้อง เช่น การเปิดเสรีในสาขาบริการที่เกี่<wbr></wbr>ยวเนื่อง ว่ามีผลกระทบต่อประเทศทั้งในด้<wbr></wbr>านฐานทรัพยากร เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม หรือไม่อย่างไร ทั้งนี้โดยให้มีการศึกษาวิจั<wbr></wbr>ยอย่างรอบด้านและเร่งด่วนโดยหน่<wbr></wbr>วยงานและสถาบันที่ไม่มีส่วนได้<wbr></wbr>เสียกับการเจรจาหรือความตกลงที่<wbr></wbr>จะเกิดขึ้น</font></p> <p align="justify"><font size="2"> 3. ก่อนเริ่มกระบวนการเจรจา รัฐบาลต้องดำเนินการเจรจาภายใต้<wbr></wbr>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 190 อย่างเคร่งครัด กล่าวคือต้องรับฟังความคิดเห็<wbr></wbr>นจากผู้มีส่วนได้เสียอย่างกว้<wbr></wbr>างขวาง และต้องนำกรอบการเจรจา เช่น ตารางการจัดทำข้อสงวนหรื<wbr></wbr>อรายการที่อ่อนไหวเพื่<wbr></wbr>อขอความเห็นชอบต่อสภา เพื่อมิให้ขัดต่อเจตนารมย์ และเป็นการละเมิดรัฐธรรมนู<wbr></wbr>ญในมาตราดังกล่าว <br /> </font></p> <p align="justify"><font size="2"> ในขณะที่สังคมไทยกำลั<wbr></wbr>งเผชิญหน้ากับปัญหาความขัดแย้<wbr></wbr>งและความไม่เท่าเทียมอย่างที่<wbr></wbr>ไม่เคยปรากฏมาก่อนนั้น ความตกลงเปิดเสรีการลงทุนอาเซี<wbr></wbr>ยนจะทำให้ช่องว่างความเหลื่อมล้<wbr></wbr>ำ และความไม่เป็นธรรมในการใช้ทรั<wbr></wbr>พยากร ภายในสังคมไทยเองแผ่<wbr></wbr>ขยายออกไปมากยิ่งขึ้น เป็นการเชื้อเชิญให้ทุนขนาดใหญ่<wbr></wbr>ระดับภูมิภาคและระดับโลกเข้<wbr></wbr>ามาใช้ทรัพยากร ทำลายโอกาสที่เกษตรกร ชุมชนท้องถิ่น ผู้ประกอบการขนาดเล็<wbr></wbr>กและขนาดกลาง ที่จะอยู่รอดและพัฒนาไปได้อย่<wbr></wbr>างยั่งยืนในท้ายที่สุด</font></p> <p><strong>ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง</strong></p> <ul> <li><span class="field-content"><a alt="หนังสือถึงประธานกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง เรื่องขอให้ยับยั้งการเปิดเสรีในภาคการเกษตร ป่าไม้และประมงภายใต้ความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (ACIA)" href="http://www.biothai.net/node/939" title="หนังสือถึงประธานกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง เรื่องขอให้ยับยั้งการเปิดเสรีในภาคการเกษตร ป่าไม้และประมงภายใต้ความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (ACIA)">หนังสือ ถึงประธานกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง เรื่องขอให้ยับยั้งการเปิดเสรีในภาคการเกษตร ป่าไม้และประมงภายใต้ความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (ACIA)</a></span></li> <li><a href="http://www.biothai.net/node/827">หนังสือยื่นต่อนายกรัฐมนตรี เรื่องขอให้ยับยั้งการเปิดเสรีในภาคการเกษตร ป่าไม้และประมงภายใต้ความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (ACIA)</a></li> <li><a href="http://www.biothai.net/node/822">ความตกลงว่าด้่วยการลงทุนอาเซียน(ACIA)ฉบับภาษาไทย</a></li> <li><a href="http://www.biothai.net/node/824">แนวทางการจัดทำรายการสงวนภายใต้ความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน(ACIA)</a></li> <li><a href="http://www.biothai.net/node/823">เอกสารสรุปความตกลงด้านการลงทุนของอาเซียน(ACIA)</a></li> </ul>