22 Oct 2009
เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์
<p>ข่าวเปิดเสรีการลงทุนในอาเซียน ๓ สาขาในด้านการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการทำป่าไม้จากป่าปลูก เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อวงการเกษตรไทยไม่น้อย เพราะจะอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนและถือหุ้นใหญ่ในกิจการทั้ง ๓ ประเภทนี้ได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป นัยในเรื่องนี้มีว่า ประเทศไทยได้ลงนามในความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (ACIA) ที่หัวหินเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ภายใต้ข้อตกลงนี้ต้องส่งรายการข้อสงวนภายใน ๖ เดือนหลังจากลงนามในความตกลงฯ ส่วนประเด็นที่ไทยสงวนชั่วคราว (TEL) ไว้ ๕ เรื่องมีกิจการ ๓ ประเภทข้างต้นอยู่ด้วย การนำกิจการทั้ง ๓ ประเภทออกจากข้อสงวนนี้ด้วยเหตุผลว่าการปิดกั้นการลงทุนทำให้ขาดการพัฒนา ความรู้และเทคโนโลยีจึงแข่งขันไม่ได้ การปิดกั้นการค้าชายแดนก็ทำได้ไม่จริง ยังทำให้ผู้ประกอบการส่วนหนึ่งหลบไปอยู่นอกกฎหมาย จึงควรเปิดให้มีการเปิดเสรีการลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรประมงและ ป่าไม้ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทย</p>
<p>เรื่องนี้ท่านอาจารย์ระพี สาคริกในนามมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนและภาคีร่วมหลายองค์กรได้แถลงการณ์คัด ค้านด้วยเหตุผลว่ากิจการเหล่านี้ได้รับการสงวนให้เป็นกิจการของคนไทยภายใต้ พ.ร.บ. ประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงจะกระทบเกษตรกร ประมงพื้นบ้าน ชุมชนท้องถิ่น และผู้ประกอบการรายย่อยของไทยอย่างกว้างขวาง อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติทั้งในอาเซียนและบรรษัทข้ามชาติขนาด ใหญ่นอกอาเซียนเข้ามาครอบครองและใช้ประโยชน์ที่ดิน พันธุกรรมพืชและทรัพยากรธรรมชาติ เป็นการแย่งอาชีพของคนไทย แม้จะมีกฎหมายคุ้มครองผลประโยชน์ของคนไทยอยู่บ้างแล้วแต่ไม่เกิดผล จึงขอให้รัฐบาลทบทวนเรื่องนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคนในชาติ</p>
<p>ความจริงคนไทยมีประสบการณ์เรื่องนี้มาแล้วหลายครั้ง ตัวอย่างสดๆ ร้อนๆ กับจีนและออสเตรเลีย เกิดผลกระทบกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหอมปลูกกระเทียมในภาคเหนือ กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อโคนมในภาคกลางและภาคอิสาน และกลุ่มเกษตรกรปลูกผักผลไม้ทั่วประเทศ ซึ่งได้รับความเดือดร้อนจนต้องประท้วงนำผลผลิตมาเทบนถนนอยู่บ่อยๆ ส่วนเรื่องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แม้ยังมิได้มีการเปิดเสรีทางการค้าแต่เกษตรกรก็ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ ประกอบการรายใหญ่ทำให้ต้องซื้อหาอาหารแพงแต่ขายผลผลิตได้ราคาต่ำจนขาดทุน เลิกกิจการไปมากแล้ว มิพักต้องพูดถึงผลกระทบจากการส่งเสริมการลงทุนปลูกไม้โตเร็วทำเยื่อกระดาษ เพื่อทดแทนการนำเข้าตั้งแต่ยี่สิบกว่าปีก่อนซึ่งทำให้เกิดการขยายพื้นที่ ปลูกไม้เศรษฐกิจเชิงเดี่ยวเป็นล้านๆ ไร่ ทำให้เกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกและภาคอิสานบางส่วนต้องสูญเสีย ที่ดินทำกิน เป็นหนี้สิน สูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ รวมทั้งผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพและมลภาวะสิ่งแวดล้อม จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาผลกระทบเหล่านี้ได้ ที่น่าเป็น ห่วงอีกประการหนึ่งคือเกรงว่าจะไปเซ็งลี้สวนป่าของรัฐบนพื้นที่ต้นน้ำลำธาร มาทำไม้กันอย่างมโหฬาร เกรงว่าเมืองไทยอาจจะยิ่งร้อนและแห้งแล้งไปกว่าเดิม</p>
<p>ผู้เขียนเห็นว่าการเปิดเสรีการลงทุนกิจการ ๓ ประเภทในปี ๒๕๕๓ มีผู้ได้เสียชัดเจน กลุ่มผู้ได้คือผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งระดับชาติและทุนร่วมข้ามชาติซึ่งไปมี กิจการขยายพันธุ์พืช เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและทำสวนป่าเชิงพานิชย์ในลาว เขมร อินโดนีเซียอยู่แล้ว หากมีการเปิดเสรีนักลงทุนต่างชาติก็จะได้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีและการเข้า ถึงที่ดินและทรัพยากรอื่นๆเพิ่มขึ้นขณะที่นักลงทุนไทยไม่ได้ โอกาสในการเพิ่มการลงทุนและการครอบครองตลาดหรือผูกขาดกิจการได้มากขึ้น สำหรับกลุ่มผู้บริโภคก็อาจจะซื้อสินค้าราคาถูกลงในระยะแรกๆ แต่เมื่อเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อยล่มสลาย ก็จะเกิดการผูกขาดทำให้สินค้าราคาแพงขึ้น ผู้บริโภคก็จะต้องซื้อสินค้าและอาหารราคาแพงไปตลอดกาล ส่วนกลุ่มผู้เสีย มีทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบธุรกิจการเกษตรรายย่อยที่เป็นคนไทยซึ่งจะแข่งขัน สู้ไม่ได้ สำหรับเกษตรกรน่าจะเป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบมากกว่าใคร โดยเฉพาะกลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เกษตรกรปลูกไม้ยืนต้นเศรษฐกิจ หรือเกษตรกรปลูกข้าวโพดปลูกมันรายย่อย เพราะจะถูกกดราคาผลผลิตแต่ต้นทุนบางประเภทจะสูงขึ้นเช่นค่าเช่าที่ดิน หากทุนใหญ่เข้ามาจะต้องกว้านซื้อที่ดินขนาดใหญ่ ซึ่งจะกระทบค่าเช่าที่ดินและความสามารถในการถือครองที่ดิน ทำให้เกษตรกรรายย่อยอาจต้องสูญเสียที่ดินเพิ่มขึ้นและถึงกับสูญเสียอาชีพการ เกษตรไปอย่างถาวร กลายเป็นลูกจ้างบริษัทต่างชาติในไร่นา เกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อยจึงไม่อาจคว้าโอกาสนี้ได้หากรัฐบาลเปิดเสรี การลงทุนทางการค้าของกิจการทั้ง ๓ ประเภทดังกล่าว </p>
<p>การตัดสินใจในช่วงประชุมสุดยอดอาเซียนในสัปดาห์หน้า ประเทศไทยจึงยังไม่พร้อมที่จะเปิดเสรีการลงทุนทั้ง ๓ กิจการด้วยเหตุผลนานัปการข้างต้น รัฐบาลจึงควรสงวนกิจการเหล่านี้ไว้ชั่วคราวเหมือนเดิมจนกว่าจะศึกษาผลได้ผล เสียและช่วยให้เกษตรกรมีความพร้อมเสียก่อน เฉกเช่นประเทศเพื่อนบ้านฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียซึ่งเข้าใจว่ายังคงสงวนไว้ เช่นเดิมหรืออาจขอสงวนเพิ่มมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ </p>
<p>ก่อนการเปิดเสรีการลงทุนทางการค้าในกิจการใดๆ ควรจะต้องสร้างความร่วมมือกับเพื่อนบ้านให้ดี สร้างความสามารถในการแข่งขัน และสร้างอำนาจการต่อรองของไทยให้เข้มแข็งให้ดีเสียก่อน และประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ต้องรับรู้ข้อมูลอย่างรอบด้านและ ร่วมตัดสินใจ ต้องรู้ก่อนว่าตัดสินใจบนฐานผลประโยชน์อะไร ของใคร ผลได้ผลเสียเป็นอย่างไร ใครได้รับผลกระทบ และจะเยียวยาอย่างไร และที่สำคัญต้องศึกษาให้รู้ก่อนว่าเพื่อนบ้านเรากำลัง คิดทำอะไรอยู่ ต้องรู้เขารู้เราให้ดีก่อนตัดสินใจ </p>
<p>เราเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้ามาเกือบสามทศวรรษได้ใจเพื่อนบ้านมาระดับ หนึ่งแล้ว แต่ผลของการค้าด้วยการแข่งขันอย่างเอาเป็นเอาตายที่ผ่านมากลับส่งผลกระทบ รุนแรงต่อผู้แพ้จนเกษตรกรรายย่อยทุกประเทศอยู่แทบไม่รอด ประเทศใหญ่กว่ามีทุนมากกว่าและเป็นผู้ชนะจากการเอาเปรียบเขาก็อยู่ได้ไม่ ยั่งยืนก็ถูกประเทศใหญ่กว่าเอาเปรียบต่อไปอีกเหมือนปลาใหญ่กินปลาเล็ก สุดท้ายก็ล้มเหลวกันทั้งหมดเพราะไม่มีเกษตรกรรายย่อยให้เอาเปรียบกันอีกต่อ ไปแล้ว หากคำนึงถึงหลักการค้าเสรีที่เป็นธรรมกันจริงแล้ว อาจต้องช่วยลดผลกระทบทางการค้าและลดช่องว่างระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่กับ เกษตรกรรายย่อยเสียก่อน ด้วยการหยุดพักการแข่งขันการค้ากันซักระยะหนึ่ง เพื่อมาช่วยกันเตรียมความพร้อมของเกษตรกรรายย่อย ด้วยการสร้างความร่วมมือกัน ทั้งระบบการผลิตและทางการค้า โดย พัฒนากรอบความร่วมมืออาเซียนเพื่อแลกเปลี่ยนทางวิชาการและการลงทุนของ เกษตรกรรายย่อยระดับสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร เกษตรกรรายย่อยก็จะมีความพร้อม ทั้งความรู้ เทคโนโลยี และการลงทุนรายย่อย อยู่ในระบบเศรษฐกิจได้ด้วยตัวเอง เศรษฐกิจก็โตได้เหมือนเดิม อาจไม่โตแบบก้าวกระโดยแต่ช่วยกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ รัฐบาลไม่ต้องหาเงินไปช่วยอุดหนุนการส่งออก ประเทศไทยก็จะได้ชื่อเป็นผู้นำสร้างความร่วมมือกับเพื่อนบ้านอาเซียนไปด้วย น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่าการเปิดการลงทุนทางการค้าโดยปราศจากการเตรียมความ พร้อมของเกษตรกรรายย่อยซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อยและเศรษฐกิจฐานราก ของประเทศและของภูมิภาคเอาเซียนอย่างมากมายในระยะยาว</p>
<p>เรื่องนี้ท่านอาจารย์ระพี สาคริกในนามมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนและภาคีร่วมหลายองค์กรได้แถลงการณ์คัด ค้านด้วยเหตุผลว่ากิจการเหล่านี้ได้รับการสงวนให้เป็นกิจการของคนไทยภายใต้ พ.ร.บ. ประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงจะกระทบเกษตรกร ประมงพื้นบ้าน ชุมชนท้องถิ่น และผู้ประกอบการรายย่อยของไทยอย่างกว้างขวาง อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติทั้งในอาเซียนและบรรษัทข้ามชาติขนาด ใหญ่นอกอาเซียนเข้ามาครอบครองและใช้ประโยชน์ที่ดิน พันธุกรรมพืชและทรัพยากรธรรมชาติ เป็นการแย่งอาชีพของคนไทย แม้จะมีกฎหมายคุ้มครองผลประโยชน์ของคนไทยอยู่บ้างแล้วแต่ไม่เกิดผล จึงขอให้รัฐบาลทบทวนเรื่องนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคนในชาติ</p>
<p>ความจริงคนไทยมีประสบการณ์เรื่องนี้มาแล้วหลายครั้ง ตัวอย่างสดๆ ร้อนๆ กับจีนและออสเตรเลีย เกิดผลกระทบกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหอมปลูกกระเทียมในภาคเหนือ กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อโคนมในภาคกลางและภาคอิสาน และกลุ่มเกษตรกรปลูกผักผลไม้ทั่วประเทศ ซึ่งได้รับความเดือดร้อนจนต้องประท้วงนำผลผลิตมาเทบนถนนอยู่บ่อยๆ ส่วนเรื่องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แม้ยังมิได้มีการเปิดเสรีทางการค้าแต่เกษตรกรก็ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ ประกอบการรายใหญ่ทำให้ต้องซื้อหาอาหารแพงแต่ขายผลผลิตได้ราคาต่ำจนขาดทุน เลิกกิจการไปมากแล้ว มิพักต้องพูดถึงผลกระทบจากการส่งเสริมการลงทุนปลูกไม้โตเร็วทำเยื่อกระดาษ เพื่อทดแทนการนำเข้าตั้งแต่ยี่สิบกว่าปีก่อนซึ่งทำให้เกิดการขยายพื้นที่ ปลูกไม้เศรษฐกิจเชิงเดี่ยวเป็นล้านๆ ไร่ ทำให้เกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกและภาคอิสานบางส่วนต้องสูญเสีย ที่ดินทำกิน เป็นหนี้สิน สูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ รวมทั้งผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพและมลภาวะสิ่งแวดล้อม จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาผลกระทบเหล่านี้ได้ ที่น่าเป็น ห่วงอีกประการหนึ่งคือเกรงว่าจะไปเซ็งลี้สวนป่าของรัฐบนพื้นที่ต้นน้ำลำธาร มาทำไม้กันอย่างมโหฬาร เกรงว่าเมืองไทยอาจจะยิ่งร้อนและแห้งแล้งไปกว่าเดิม</p>
<p>ผู้เขียนเห็นว่าการเปิดเสรีการลงทุนกิจการ ๓ ประเภทในปี ๒๕๕๓ มีผู้ได้เสียชัดเจน กลุ่มผู้ได้คือผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งระดับชาติและทุนร่วมข้ามชาติซึ่งไปมี กิจการขยายพันธุ์พืช เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและทำสวนป่าเชิงพานิชย์ในลาว เขมร อินโดนีเซียอยู่แล้ว หากมีการเปิดเสรีนักลงทุนต่างชาติก็จะได้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีและการเข้า ถึงที่ดินและทรัพยากรอื่นๆเพิ่มขึ้นขณะที่นักลงทุนไทยไม่ได้ โอกาสในการเพิ่มการลงทุนและการครอบครองตลาดหรือผูกขาดกิจการได้มากขึ้น สำหรับกลุ่มผู้บริโภคก็อาจจะซื้อสินค้าราคาถูกลงในระยะแรกๆ แต่เมื่อเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อยล่มสลาย ก็จะเกิดการผูกขาดทำให้สินค้าราคาแพงขึ้น ผู้บริโภคก็จะต้องซื้อสินค้าและอาหารราคาแพงไปตลอดกาล ส่วนกลุ่มผู้เสีย มีทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบธุรกิจการเกษตรรายย่อยที่เป็นคนไทยซึ่งจะแข่งขัน สู้ไม่ได้ สำหรับเกษตรกรน่าจะเป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบมากกว่าใคร โดยเฉพาะกลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เกษตรกรปลูกไม้ยืนต้นเศรษฐกิจ หรือเกษตรกรปลูกข้าวโพดปลูกมันรายย่อย เพราะจะถูกกดราคาผลผลิตแต่ต้นทุนบางประเภทจะสูงขึ้นเช่นค่าเช่าที่ดิน หากทุนใหญ่เข้ามาจะต้องกว้านซื้อที่ดินขนาดใหญ่ ซึ่งจะกระทบค่าเช่าที่ดินและความสามารถในการถือครองที่ดิน ทำให้เกษตรกรรายย่อยอาจต้องสูญเสียที่ดินเพิ่มขึ้นและถึงกับสูญเสียอาชีพการ เกษตรไปอย่างถาวร กลายเป็นลูกจ้างบริษัทต่างชาติในไร่นา เกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อยจึงไม่อาจคว้าโอกาสนี้ได้หากรัฐบาลเปิดเสรี การลงทุนทางการค้าของกิจการทั้ง ๓ ประเภทดังกล่าว </p>
<p>การตัดสินใจในช่วงประชุมสุดยอดอาเซียนในสัปดาห์หน้า ประเทศไทยจึงยังไม่พร้อมที่จะเปิดเสรีการลงทุนทั้ง ๓ กิจการด้วยเหตุผลนานัปการข้างต้น รัฐบาลจึงควรสงวนกิจการเหล่านี้ไว้ชั่วคราวเหมือนเดิมจนกว่าจะศึกษาผลได้ผล เสียและช่วยให้เกษตรกรมีความพร้อมเสียก่อน เฉกเช่นประเทศเพื่อนบ้านฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียซึ่งเข้าใจว่ายังคงสงวนไว้ เช่นเดิมหรืออาจขอสงวนเพิ่มมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ </p>
<p>ก่อนการเปิดเสรีการลงทุนทางการค้าในกิจการใดๆ ควรจะต้องสร้างความร่วมมือกับเพื่อนบ้านให้ดี สร้างความสามารถในการแข่งขัน และสร้างอำนาจการต่อรองของไทยให้เข้มแข็งให้ดีเสียก่อน และประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ต้องรับรู้ข้อมูลอย่างรอบด้านและ ร่วมตัดสินใจ ต้องรู้ก่อนว่าตัดสินใจบนฐานผลประโยชน์อะไร ของใคร ผลได้ผลเสียเป็นอย่างไร ใครได้รับผลกระทบ และจะเยียวยาอย่างไร และที่สำคัญต้องศึกษาให้รู้ก่อนว่าเพื่อนบ้านเรากำลัง คิดทำอะไรอยู่ ต้องรู้เขารู้เราให้ดีก่อนตัดสินใจ </p>
<p>เราเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้ามาเกือบสามทศวรรษได้ใจเพื่อนบ้านมาระดับ หนึ่งแล้ว แต่ผลของการค้าด้วยการแข่งขันอย่างเอาเป็นเอาตายที่ผ่านมากลับส่งผลกระทบ รุนแรงต่อผู้แพ้จนเกษตรกรรายย่อยทุกประเทศอยู่แทบไม่รอด ประเทศใหญ่กว่ามีทุนมากกว่าและเป็นผู้ชนะจากการเอาเปรียบเขาก็อยู่ได้ไม่ ยั่งยืนก็ถูกประเทศใหญ่กว่าเอาเปรียบต่อไปอีกเหมือนปลาใหญ่กินปลาเล็ก สุดท้ายก็ล้มเหลวกันทั้งหมดเพราะไม่มีเกษตรกรรายย่อยให้เอาเปรียบกันอีกต่อ ไปแล้ว หากคำนึงถึงหลักการค้าเสรีที่เป็นธรรมกันจริงแล้ว อาจต้องช่วยลดผลกระทบทางการค้าและลดช่องว่างระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่กับ เกษตรกรรายย่อยเสียก่อน ด้วยการหยุดพักการแข่งขันการค้ากันซักระยะหนึ่ง เพื่อมาช่วยกันเตรียมความพร้อมของเกษตรกรรายย่อย ด้วยการสร้างความร่วมมือกัน ทั้งระบบการผลิตและทางการค้า โดย พัฒนากรอบความร่วมมืออาเซียนเพื่อแลกเปลี่ยนทางวิชาการและการลงทุนของ เกษตรกรรายย่อยระดับสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร เกษตรกรรายย่อยก็จะมีความพร้อม ทั้งความรู้ เทคโนโลยี และการลงทุนรายย่อย อยู่ในระบบเศรษฐกิจได้ด้วยตัวเอง เศรษฐกิจก็โตได้เหมือนเดิม อาจไม่โตแบบก้าวกระโดยแต่ช่วยกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ รัฐบาลไม่ต้องหาเงินไปช่วยอุดหนุนการส่งออก ประเทศไทยก็จะได้ชื่อเป็นผู้นำสร้างความร่วมมือกับเพื่อนบ้านอาเซียนไปด้วย น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่าการเปิดการลงทุนทางการค้าโดยปราศจากการเตรียมความ พร้อมของเกษตรกรรายย่อยซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อยและเศรษฐกิจฐานราก ของประเทศและของภูมิภาคเอาเซียนอย่างมากมายในระยะยาว</p>
หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ: