
กรุงเทพ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553 – ประเทศไทยมุ่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ (พ.ศ. 2551 – 2555) และนโยบายรับมือภาวะโลกร้อนในด้านต่างๆ โดยคำนึงถึงการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งผลจากการเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่กรุง โคเปนเฮเกน เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
เวทีสัมมนาเพื่อสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาว่าด้วย “ก้าวต่อไปของประเทศไทยหลังโคเปนเฮเกนในการรับมือกับภาวะโลกร้อน” ในวันนี้ จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าว โดยเป็นผลมาจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม และหน่วยงานของสหประชาชาติในประเทศไทยการสัมมนาครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกว่า 150 คนจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาสังคม องค์กรชุมชน องค์กรระหว่างประเทศ นักวิชาการ ภาคธุรกิจเอกชน และสื่อมวลชน มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อผลของการประชุมโคเปนเฮเกนที่มีต่อประเทศไทย และร่างแผนการรองรับภาวะโลกร้อนของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องกลไกที่ประชาชนจะมีโอกาสรับรู้ข้อมูล และมีส่วนร่วมโดยตรงมากขึ้นในกระบวนการกำหนดนโยบายและในการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์โลกร้อนสู่การปฏิบัติ
ผลของการเจรจาที่โคเปนเฮเกนมีความสำคัญมากในบริบทของประเทศไทย ซึ่งมียุทธศาสตร์การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำหนดกรอบมาตรการ ต่างๆ ไว้ชัดเจน ในการรับมือกับภาวะโลกร้อนในประเทศ ในด้านต่างๆ ไว้แล้ว” นาง กวี โยป ซน ผู้แทนหน่วยงานของสหประชาชาติในประเทศไทย กล่าว
ผู้แทนหน่วยงานของสหประชาชาติในประเทศไทยเสริมด้วยว่า “ขณะนี้ ถึงเวลาที่จะนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และในชุมชนที่เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั้งในพื้นที่การเกษตร และพื้นที่ชายฝั่ง”
นเพียงไม่กี่เซนติเมตร อาจจะทำให้กรุงเทพมหานครจม และทำลายชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงในการ เปลี่ยนแปลงของฐานทรัพยากร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งอยู่ในภาคเกษตรกรรม และมีวิถีชีวิตที่พึ่งพากับฐานทรัพยากร
ทั้งนี้ ประเทศไทยได้มีมาตรการสำคัญๆ เพื่อที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 และได้กำหนดให้การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นหลักในแผน พัฒนาฯ ฉบับ ที่ 11 ซึ่งอยู่ในระหว่างการจัดทำ นอกจากนั้น แผนยุทธศาสตร์พลังงาน 15 ปี ของกระทวงพลังงาน ก็ได้กำหนดเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน เป็นร้อยละ 20 - ภายในปี พ.ศ. 2565
นายภิมุข สิมะโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกล่าวในการเปิด การสัมมนาครั้งนี้ว่า รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะทำให้การดำเนินการตามยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการ จัดการสภาพการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลสำเร็จ และย้ำด้วยว่ารัฐบาลต้องการให้มีการประสานงานที่มีประสิทธิภาพและการเจรจา อย่างต่อเนื่องระหว่างหน่วยงานรัฐ ภาคประชาสังคม นักวิชาการ และภาคเอกชน
“รัฐบาลต้องการเชิญชวนชุมชนต่าง ๆ ช่วยกันสะท้อนข้อห่วงใยและเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องนี้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการช่วยดูแลพื้นที่ป่าและทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ รัฐบาลจะรับฟังเสียงและข้อคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายจากภาคส่วนต่าง ๆ ไปพิจารณาเพื่อประกอบการกำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ ต่อไป”
ในขณะเดียวกัน เครือข่ายภาคประชาสังคมมีบทบาทสำคัญในการประสานงานกับชุมชนต่าง ๆ ในหลายพื้นที่ของประเทศ ให้ชาวบ้านสามารถต่างๆ เข้าถึงข้อมูล และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับผลกระทบของภาวะโลกร้อน เพื่อสร้างศักยภาพในการเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น ด้านภาคธุรกิจเอกชนก็มีความตื่นตัวที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา ด้วย
นโยบายและแผนของรัฐบาลในการรับมือกับวิกฤตการณ์โลกร้อนจะต้องสอดคล้องกับ ทิศทางและแบบแผนการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาวและคำนึงถึงความเป็นธรรมทาง สังคมด้วย” นางสาวกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา ตัวแทนจากคณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรมกล่าว และมีความเห็นว่า
“องค์กรภาคประชาสังคมเข้ามาช่วยในกระบวนการเหล่านี้ได้ เราตระหนักกันมากเรื่องผลกระทบที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เพราะเราทำงานเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับชุมชนหลายแห่งในประเทศ ชุนชนระดับรากหญ้าเหล่านี้ต้องมีสิทธิมีเสียงบนโต๊ะเจรจาด้วย”
เวทีสัมมนาครั้งนี้ เสนอให้ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จากทั้งหน่วยงานของรัฐบาล เอกชน ภาคประชาสังคม วางช่องทางและกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น อย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์รับมือภาวะโลกร้อน และประเมินความก้าวหน้าของมาตรการต่างๆ ร่วมกัน ให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นสุข สำหรับทุกคนในประเทศไทย และในสังคมโลก