8 Aug 2012
กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน(FTA Watch)
(8 ส.ค.55/กรุงเทพฯ) นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้ อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) เปิดเผยว่า วันนี้ ทางเอฟทีเอ ว็อทช์ได้ทำหนังสือถึงนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และสำเนาถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอคำชี้ แจงในกระบวนการการเจรจาหนังสื อสัญญาระหว่างประเทศตามรั ฐธรรมนูญ มาตรา 190 จากการที่ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้ แถลงข่าวกับสื่อมวลชนเมื่อวันที ่ 5ส.ค.ที่ผ่านมาว่า จะมีการเสนอรัฐสภาเพื่อให้ ความเห็ นชอบกรอบการเจรจาความตกลงการค้ าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) ให้ได้ในเดือน ส.ค.นี้
“เนื่องจากการเจรจาการค้าระหว่ างประเทศไทยกับประเทศต่างๆจะต้ องเป็นไปเพื่อประโยชน์ ของประเทศชาติและประชาชนอย่ างแท้จริง โดยไม่สร้างผลกระทบเสียหายกั บสาธารณชนโดยรวม รวมถึงต้องไม่เป็นไปเพื่ อผลประโยชน์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ งเป็นการเฉพาะ ดังนั้นกรมเจรจาการค้าระหว่ างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ในฐานะหน่ วยงานภาครัฐจึงต้องรักษาหลั กการดังกล่าว โดยดำเนินการให้วิธี การในกระบวนการเจรจาทางการค้าฯ เป็นไปอย่างโปร่งใสและทำให้ สาธารณชนเข้าใจ อย่างน้อยโดยการให้ความชั ดเจนเกี่ยวกับข้อคำถามเบื้องต้ นเหล่านี้
1.การที่กระทรวงพาณิชย์จะนำเสนอต่ อรัฐบาลเพื่อให้รัฐสภาเห็ นชอบกรอบการเจรจาภายใน ส.ค.นี้ ร่างกรอบเจรจาฯดังกล่าว จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็ นของประชาชนหรือไม่ อย่างไร และเมื่อใด ก่อนหรือหลังการพิจารณาของคณะรั ฐมนตรี ทั้งนี้ ตามมาตรา 190 วรรค 3 ระบุว่า “ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสื อสัญญากับนานาประเทศหรือองค์ การระหว่างประเทศตามวรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจั ดให้มีการรับฟังความคิดเห็ นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกั บหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรี เสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่ อขอความเห็นชอบด้วย” แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการดำเนิ นการใดๆ ในส่วนของการให้ข้อมูลและการจั ดรับฟังความเห็นประชาชน
2.ก่อนหน้านี้ นายวีระชัย นพสุวรรณวงศ์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่ างประเทศ เคยระบุว่า สหภาพยุโรปต้องการให้ไทยจั ดทำกรอบเจรจาความตกลงร่วม หรือ scoping exercises และต้องมีการลงนามใน scoping exercises ดังกล่าวก่อนเริ่มเจรจาจา กระบวนการดังกล่าวทางกรมฯได้มี การหารือกับกรมสนธิสัญญาระหว่ างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศแล้วว่า ถือเป็นกระบวนการเริ่ มการเจรจาตามมาตรา 190 ขณะนี้ได้เริ่มกระบวนการ scoping exercises กับทางสหภาพยุโรปหรือยัง หากดำเนินการแล้วเหตุใดจึงยั งไม่มีการเสนอเรื่องนี้เข้าสู่ การพิจารณาของรัฐสภา
3.ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุ ขภาพแห่งชาติ(สช.) กำลังดำเนินการประเมินผลกระทบต่ อการเข้าถึงยาที่อาจจะเกิดจาก ข้อต่อรองเรียกร้องจากอียู และอยู่ระหว่างการรับฟังความคิ ดเห็นสาธารณะ เหตุใดการเจรจาจึงไม่รอผลการรั บฟังความเห็นและการประเมิ นผลกระทบครั้งนี้
4.การจัดรับฟังความคิดเห็ นจากประชาชนจะถูกนำเข้าไปพิ จารณาในการจัดทำหรือปรับร่ างกรอบการเจรจาอย่างไร กรุณายกตัวอย่างเนื้ อหาและกระบวนการที่ชัดเจน”
ผู้ประสานงานเอฟทีเอ ว็อทช์กล่าวว่า การเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรปนั ้น ข้อห่วงใยที่สำคัญอยู่ที่ข้อเรี ยกร้องด้านทรัพย์สินทางปั ญญาของสหภาพยุโรปที่เกินไปกว่ าความตกลงทริปส์ซึ่งจะส่ งผลกระทบต่อการเข้าถึงยาจำเป็ นของประชาชน นอกจากนี้มีความเป็นไปได้ที่ จะส่งผลกระทบต่อการเข้าถึ งความรู้และกระทบต่อฐานทรั พยากรชีวภาพ
“แม้แต่ในการเจรจาระหว่ างสหภาพยุโรปและอินเดียก็ติดล็ อคในประเด็นเหล่านี้ เพราะอินเดียไม่ยอม ล่าสุดแม้แต่สภายุโรปก็ยังรั บไม่ได้กับเนื้อหาความตกลงที่ เกินไปกว่าทริปส์เช่นนี้ ด้วยการคว่ำ
ร่างความตกลงต่อต้านการค้าสินค้ าปลอมแปลง หรือ Anti-Counterfeiting Trade Agreement เรียกย่อๆว่า ACTA ซึ่งมีเนื้อหาด้านการคุ้ มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ใกล้ เคียงกับข้อบทในเอฟทีเอ ดังนั้นการจะมุ่งเจรจาเอฟทีเอกั บสหภาพยุโรปเพียงเพื่อแก้เกมส์ การตัดสิทธิจีเอสพีจึงเป็ นความคิดที่แคบและตื้นเขินมาก เพราะในที่สุดจะเกิ ดผลกระทบหากเราไม่ มองการเจรจาเอฟทีเออย่างรอบด้ านมากพอ”
ทั้งนี้ เอฟทีเอ ว็อทช์, มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสุ ขภาพและคุ้มครองผู้บริโภคจะจั ดเวทีสนทนา“จาก ACTA ถึง FTA: รูปแบบใหม่ของการผู กขาดอำนาจการค้า”ขึ้น เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ การเจรจาการค้าในระดับโลกที่ อาจส่งผลกระทบต่อชีวิ ตของประชาชน และจัดทำข้อเสนอต่อรัฐบาลไทยต่ อจุดยืนในนโยบายการค้าของประเทศ บ่ายวันจันทร์ที่ 13 สิงหาคมนี้ ณ โรงแรมมิราเคิล
“อยากให้กระทรวงพาณิชย์ มองการเจรจาเอฟทีเอทั้งผลได้ และผลกระทบอย่างรอบด้าน ในเวทีเราจะนำเสนอผลกระทบต่ อการเข้าถึงยาจำเป็น ผลกระทบต่อการเข้าถึงความรู้ และผลกระทบต่อความหลากหลายทางชี วภาพ รวมถึงมองให้ทะลุยุทธศาสตร์ ขยายอำนาจทางการค้าของสหรั ฐฯและสหภาพยุโรป โดยจะเชิญตัวแทนกรมเจรจาการค้ าระหว่างประเทศ, กรมทรัพย์สินทางปัญญา,สำนั กงานคณะกรรมการอาหารและยา, สถาบันวิจัยเพื่อการพั ฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ), สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่ งชาติ และตัวแทนนักกฎหมายมาร่ วมแลกเปลี่ยน”
Attachment | Size |
---|---|
จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรี | 97.88 KB |
หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ:
เอฟทีเอรายประเทศ: