20 Sep 2012
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
จดหมายเปิดผนึก
ถึงพี่น้องประชาชน สื่อมวลชน นักการเมือง และข้าราชการระดับสูงที่เกี่ยวข้อง
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศต้องหยุดการกระทำที่เอื้ออำนวยประโยชน์ทางการค้าให้กับบรรษัท เหนือการคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชน
จากการที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พยายามเร่งให้เปิดการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรป โดยเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา ได้ทำข้อมูลนำเสนอต่อรัฐบาลว่าควรกำหนดให้ไทยมีท่าทีเจรจาที่ยืดหยุ่น และเสนอให้พิจารณารับเงื่อนไขข้อตกลงทางการค้าว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่ เกินไปกว่าข้อตกลงในองค์การการค้าโลก (TRIPs Plus) โดยพยายามสรุปบิดเบือนจากความเป็นจริง ว่าผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยาในประเทศและการเข้าถึงยาของประชาชนนั้นมีเพียง เล็กน้อยและเป็นระยะเวลาสั้น ๆ หากผลการศึกษาจากหลายสถาบันรวมถึงงานวิจัยที่สนับสนุนโดยกรมเจรจา ฯ เองระบุว่า ข้อผูกมัดที่เกินกว่าข้อตกลงทริปส์จะทำให้ประชาชนคนไทยเผชิญกับหายนะด้านสาธารณสุขอย่างใหญ่หลวง
ไม่เพียงแต่เรื่องยาราคาแพงที่ประชาชนทั้งประเทศจะต้องแบกรับเพิ่มขึ้นแล้ว การยอมรับเงื่อนไขข้อตกลงทางการค้าว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินไปกว่าข้อตกลงในองค์การการค้าโลก (TRIPs Plus/ทริปส์พลัส) จะส่งผลให้เกิดการผูกขาดเมล็ดพันธุ์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบการผลิตเกษตรกรรมและอาหารที่มั่นคงยั่งยืน ตลอดจนเกิดการแย่งชิงทรัพยากรชีวภาพซึ่งเป็นภัยคุกคามความอยู่รอดของเกษตรกรรายย่อยจำนวนมาก
ด้วยข้อตกลงที่ตั้งเงื่อนไขให้ประเทศคู่เจรจาต้องยอมรับระบบทรัพย์สิน ทางปัญญาที่เข้มงวด เช่น ประเทศที่เข้าเป็นภาคีต้องเข้าเป็นสมาชิกสนธิสัญญาคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ยู ปอพ 1991 (UPOV 1991) ซึ่งก็คือการคุ้มครองสิทธินักปรับปรุงพันธุ์ อย่างเข้มงวด บีบบังคับให้เกษตรกรต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ทุกครั้งที่ต้องการเพาะปลูก การดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ราคาเมล็ดพันธุ์พืชมีราคาสูงขึ้นไปอีก เป็นการขยายอำนาจการผูกขาดของบรรษัทขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น ทั้งๆที่ในขณะนี้บรรษัทยักษ์ใหญ่การเกษตรในประเทศและสาขาของบรรษัทข้ามชาติ ได้ครอบครองธุรกิจเมล็ดพันธุ์พืชไร่และพืชผักเอาไว้แล้ว
ข้อเรียกร้องของยุโรปยังมีผลทำให้ประเทศไทยต้องเข้าเป็นสมาชิกสนธิ สัญญาบูดาเปสต์ ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการจดสิทธิบัตรจุลชีพให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น บริษัทขนาด ใหญ่ในประเทศอุตสาหกรรมที่มีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีสูงกว่าจะสามารถจด สิทธิบัตรจุลชีพได้โดยง่าย เปิดโอกาสให้บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพในยุโรปเข้ามาครอบครองทรัพยากรจุลินทรีย์ ในประเทศ ซึ่งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเคยประมาณการว่าว่าศักยภาพทาง เศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ของประเทศไทยนั้นจะมีมูลค่าสูงถึง 1.6 – 6 แสนล้านบาท/ปี ทั้ง นี้ยังไม่นับผลกระทบด้านอื่นๆ เช่น การละเมิดสิทธิของเกษตรกร ที่ต่อไปหากจะทำน้ำหมักชีวภาพอาจต้องขึ้นศาลพิสูจน์ว่าจุลินทรีย์ที่อยู๋ใน น้ำหมักชีวภาพนั้นไม่ใช่สิทธิบัตรชองผู้ใด
นอกจากนี้กลุ่มอุตสาหกรรมในยุโรปยังมีความพยายามอย่างหนักในการผลักดัน การจดสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิต ซึ่งหากประเทศไทยยินยอม บริษัทในยุโรปจะหลั่งไหลเข้ามาจดสิทธิบัตรพืชและสัตว์รวมไปจนถึงหน่วยพันธุ กรรม(gene)ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในประเทศไทย
นอกเหนือจากนั้น พึงทราบด้วยว่าการยินยอมให้กลุ่มประเทศใด หรือแม้แต่ประเทศใดเพียงประเทศเดียวได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ ให้สิทธิผูกขาดอย่างเข้มงวด ประเทศอื่นทั้งหมดที่เป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลกทั้งหมดจะได้รับสิทธินั้นไป พร้อมกันด้วย การยอมรับเงื่อนไขข้อตกลงทางการค้าว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินไปกว่าข้อตกลงในองค์การการค้าโลก (TRIPs Plus) จะเปิดทางบรรษัทขนาดใหญ่ของกลุ่มสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอื่นๆ ซึ่งมีศักยภาพสูงมากในกิจการด้านเมล็ดพันธุ์ เคมีเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และอาหาร เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ บนการทำลายความมั่นคงยั่งยืนของ ระบบเกษตรกรรม ระบบอาหาร และเกษตรกรรายย่อย เพียงเพื่อการรักษาตลาดส่งออกไก่ กุ้ง ทูน่า น้ำตาล ของอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่
การเร่งรีบผลักดันการเจรจาข้อตกลงการค้าของกรมเจรจาการค้าระหว่าง ประเทศ โดยยอมรับกรอบการเจรจาที่สุ่มเสี่ยงต่อการสร้างผลกระทบเลวร้ายและกว้างขวาง ต่อประชาชน การบิดเบือนข้อมูลงานศึกษาวิจัย ไม่นำพาเสียงท้วงติง เร่งจนลนลานที่จะเจรจาให้ได้นั้น บ่งชี้อย่างชัดเจนว่า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศมีจุดยืนและท่าทีสอดคล้องกับผลประโยชน์ของ บรรษัทยาข้ามชาติ และบริษัทยักษ์ใหญ่การเกษตร
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ประเทศไทย และเครือข่ายอิสระภาพทางพันธุกรรม ส่งตัวแทนมาแสดงตัวในที่นี้ เพื่อยืนยันว่า เราเป็นส่วนหนึ่งของประเทศนี้เช่นเดียวกัน เรามีเสียง เรามีสิทธิ และเราต้องการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ในการกำหนดนโยบายสาธารณะที่จะส่งผลต่อความอยู่รอดของเรา ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารของครอบครัว ชุมชนท้องถิ่น และประเทศชาติ เราจะยืนยันคัดค้านอย่างถึงที่สุดต่อความพยายามใด ๆ ก็ตามที่จะเอาชีวิตความอยู่รอดของเกษตรกรรายย่อย และความมั่นคงและอธิปไตยทางอาหารทุกระดับไปแลกกับผลประโยชน์ทางการค้าของคน ไม่กี่กลุ่ม
พวกเราขอเรียกร้องให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศหยุดการดำเนินการผลัก ดันกรอบการเจรจาการค้าเสรีไทย กับสหภาพยุโรป ที่น่าเคลือบแคลงและไร้กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงนี้เสีย เพราะการดำเนินการดังกล่าวคือการเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับรรษัทข้ามชาติ ยักษ์ใหญ่ทางการเกษตรและของไทยและบรรษัทข้ามชาติด้านยา เมล็ดพันธุ์ และเทคโนโลยีชีวภาพของต่างชาติ โดยเอาความทุกข์ยากของเกษตรกรรายย่อย และผลประโยชน์ส่วนใหญ่ของประชาชนในชาติไปแลก
เราขอเรียกร้องให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อปี พ.ศ. 2553 โดยนำผลการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนซึ่งได้มีการจัดทำไว้ก่อนหน้านี้แล้ว จัดส่งไปให้คณะรัฐมนตรี และกรอบการเจรจาจะต้องระบุอย่างชัดเจนว่าจะไม่ยอมให้มีการคุ้มครองการผูกขาด ผ่านความตกลงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่มากไปกว่าพันธกรณีในองค์กรการค้าโลก (No TRIPs Plus)
ด้วยความสมานฉันท์
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ประเทศไทย และเครือข่ายอิสรภาพทางพันธุกรรม
20 กันยายน 2555
เอฟทีเอรายประเทศ:
หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ: