เอฟทีเอ ว็อทช์ ชี้ รัฐบาลสุ่มเสี่ยงผิดรัฐธรรมนูญ หากทำตามกรมเจรจาฯ เดินหน้า เอฟทีเอกับสหภาพยุโรป

จากการที่ ความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนเป็นประเด็นใหญ่ในการประชุมสุดยอดเอเชีย-ยุโรป (อาเซ็ม) และ เมื่อวันที่ 4 พ.ย.ที่ผ่านมา นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้แจ้งต่อประธานนายจูเซ มานูเอล บาโรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป(อียู) ว่าประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป เนื่องจากได้แก้ไขอุปสรรคภายในเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพร้อมเปิดการเจรจาต้นปีหน้านั้น

นายจักรชัย โฉมทองดี ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) มองว่า ขณะนี้มีสถาบันวิชาการชั้นนำในยุโรปทำบทวิเคราะห์ที่ชี้ให้เห็นว่า วิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปส่งผลให้สหภาพยุโรปมีท่าทีทางการค้าที่เปลี่ยนไปอย่างมาก อีกทั้งขนาดเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่หดตัวลงทำให้ผลประโยชน์ที่ประเทศคู่เจรจาจะได้จากการทำเอฟทีเอนั้นลดตามไปด้วย ซึ่งสอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์ของดร ศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการ UNCTAD ก่อนหน้านี้ ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือการจัดทำร่างกรอบเจรจาเอฟทีเอของกระทรวงพาณิชย์ยังใช้ผลการศึกษาประเมินผลดีผลเสียก่อนเกิดวิกฤติยูโรโซน ซึ่งไม่สามารถอธิบายความเป็นจริงในภาวการณ์ปัจจุบันได้ ดังนั้นรัฐบาลจึงควรเร่งประเมินผลดีผลเสียใหม่ที่รอบด้านและเป็นปัจจุบันโดยเร็วที่สุด 
นอกจากนี้ประเด็นแหลมคมอย่างยิ่งคือเรื่องกระบวนการ หากรัฐบาลมุ่งมั่นที่จะเปิดการเจรจาการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปนั้น สมควรดำเนินการให้ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะในมาตรา 190 วรรค 3 ที่กำหนดให้ “คณะรัฐมนตรีจะต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน” เพื่อให้การเจรจาการค้าเป็นประโยชน์กับประเทศและสังคมในวงกว้างอย่างแท้จริง
 
“จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลโดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ยังมิได้ดำเนินการถูกต้อง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญมิใช่เป็นอุปสรรคหรือเป็นเรื่องยากอย่างไรทั้งสิ้น แต่เป็นการรับรองให้การเจรจาการค้าเป็นประโยชน์กับประเทศและสังคมในวงกว้างอย่างแท้จริง โดยไม่ปล่อยให้ผลได้กระจุกอยู่ในวงจำกัด แต่ผลเสียกระจายอย่างที่เคยเป็นมา
 
ในความเป็นจริง กิจกรรมที่กรมเจรจาฯได้จัดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2553 แม้เป็นการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน แต่ไม่ได้มีการให้ข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น การออกความคิดเห็นของประชาชนจึงไม่สามารถสะท้อนท่าทีของรัฐบาลหรือเนื้อหาในกรอบการเจรจาได้ นอกจากนี้การจัดประชุมกลุ่มย่อย หรือ โฟกัส กรุ๊ป โดยกรมเจรจาฯ เมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา แม้มีการนำร่างท่าทีของทางกรมฯ มาหารือ แต่ก็ไม่สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นการรับฟังความเห็นประชาชน เนื่องจากเป็นการจัดลักษณะวงย่อยเฉพาะกลุ่ม แจ้งล่วงหน้าอย่างกระชั้นชิด ที่สำคัญคือกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ เช่น ในประเด็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ ยังไม่ได้มีการหารือแต่อย่างใด
ดังนั้น หากรัฐบาลพิจารณาร่างกรอบการเจรจาฯ และเสนอให้รัฐสภาพิจารณาโดยไม่นำร่างดังกล่าว มารับฟังความคิดเห็นประชาชน ก็สุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะเข้าข่ายการดำเนินการขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะนำมาซึ่งความเสียหายต่อรัฐบาลเอง และประเทศชาติในที่สุด ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลจำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วนที่สุดคือการนำร่างกรอบการเจราฯ มาจัดรับฟังความคิดเห็นประชาชน ก่อนเสนอต่อรัฐสภา ซึ่งจะไม่ทำให้เสียเวลาแต่ประการใด” ผู้ประสานงานกลุ่มเอฟทีเอ ว็อทช์กล่าว
 
ทางด้านนายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในประเด็นเนื้อหา โดยเฉพาะผลกระทบที่จะเกิดกับการเข้าถึงยาที่จะส่งผลกระทบต่องบประมาณของประเทศไม่ต่ำกว่าปีละ 80,000 ล้านบาท
“กรมเจรจาฯในฐานะเลขาฯฝ่ายเตรียมการเจรจา ไม่อ้างอิงความรู้และผลงานวิชาการใดๆ ในการจัดทำท่าที และยังพยายามกีดกัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความรู้โดยตรงเข้าร่วมจัดทำท่าที”
 
ทั้งนี้ ภาคประชาสังคมได้ร้องเรียนไปยังคณะกรรมาธิการต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ซึ่งในวันพรุ่งนี้ คณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภาจะพิจารณาเรื่องนี้

 

FTA Watch warns government about its violation of the constitution if the DTN goes ahead with the Thai-EU FTA negotiations
At the focus of the Asia-Europe Meeting (Asem9) summit in Laos is the trade and investment relations. On 4 November, Prime Minister Yingluck Shinawatra informed Mr José Manuel Barroso, president of the European Commission that Thailand was ready to continue its FTA negotiations with the EU since Thailand has already removed its internal obstacles and could start the negotiations at the beginning of next year.
Mr Jacques-Chai Chomthongdee, coordinator of the FTA Watch group pointed out that a number of leading European think tanks have analyzed that the Eurozone crisis would result in dramatic changes in the EU trade positions, not to mention the decreasing economic and purchasing power that will diminish the benefits to be gained by the FTA partners accordingly. Such view is in agreement with the interview previously given by Dr Supachai Panitchpakdi, secretary-general of UNCTAD. Of greater concern is the Ministry of Commerce’s FTA negotiations framework that is still based on the impact study conducted before the outbreak of the Eurozone crisis, so it cannot account for the current affairs of the situation. Therefore, the government should conduct a new comprehensive and updated impact study as fast as possible.
 
Moreover, critical attention should be given to the negotiation procedure. If the government is determined to continue its FTA negotiations with the EU, it should properly follow the constitutional requirements, particularly Section 190 paragraph 3, which requires that “Council of Ministers shall provide information and cause to be conducted public hearings” so that such trade negotiations will actually benefit the country and wider society.
 
“So far, the government through the Ministry of Commerce’s Department of Trade Negotiations has not properly followed constitutional procedure, which is neither obstructive nor difficult at all. On the contrary, the procedure will verify that the trade negotiations actually benefit the nation and wider society without concentrating the benefits on a limited circle but widely spreading the adverse effects as before.
 
“In fact, what the DTN did during 2010 were the public hearings that had provided no information so that the participants could not voice their views about the government’s positions or contents of the negotiations framework. In addition, the focus group sessions organized by the DTN last September could not be considered as public hearings. Though some part of the draft positions of the DTN were presented for discussion, the organizing of the focus groups was too specific and the participants were informed of the sessions at short notice. More importantly, no consultations were made with major stakeholders concerning such issues as alcoholic beverages and tobacco.
 
“So if the government is about to present the draft negotiations to parliament without conducting public hearings, it is at high risk of violating the constitution, which will badly affect the government and the country. Therefore it is urgently necessary that the government conducts public hearings on the draft negotiations framework before presenting it to parliament, which won’t be time-consuming at all,” said the FTA Watch coordinator.
 
Mr Nimitr Tian-Udom, director of AIDS Access Foundation added that the potential impacts on access to medicines could affect national budget to the amount of at least 80,000 million baht a year.
 
“The DTN as secretary of the negotiating team did not refer to any academic studies in its preparation of the framework and even tried to prevent the Food and Drug Administration and Department of Intellectual Property, which are most knowledgeable about the issues, to participate in the preparation”
 
The civil society sector has complained to concerned committees of the House of Representatives and the Senate. This issue will be placed before Senate’s Committee on Foreign Affairs on 7 November 2012.           
 
For more detail, please contact:
Jacques-Chai Chomthongdee 084-655-0666 (Eng-Thai)
Nimitr Tian-Udom 081-666-6047 (Thai)

 

เอฟทีเอรายประเทศ: 
หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ: