26 Feb 2013
กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน(FTA Watch)
<p>หากประเทศไทยยอมรับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในการเจรจาความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป ประเทศไทยต้องแก้ไขกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 เพื่อให้เป็นไปตามสนธิสัญญายุปอพ 1991 (UPOV1991) <span>การดำเนินการดังกล่าวจะเกิดผลกระทบต่อเกษตรกร ความหลากหลายทางชีวภาพ และความมั่นคงทางอาหาร ดังต่อไปนี้</span></p>
<ul>
<li>ประเทศไทยต้องแก้ไขกฎหมาย โดยต้องตัดหลักการขออนุญาตและแบ่งปันผลประโยชน์จากพันธุ์พืชออกไป ทำให้บริษัทเมล็ดพันธุ์และบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพข้ามชาติ และรวมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ทางการเกษตรไม่ต้องขออนุญาต และแบ่งปันผลประโยชน์เมื่อมีการนำพืชป่า พันธุ์พืชทั่วไป และพันธุ์พืชท้องถิ่นไปใช้ประโยชน์ โดยวิธีนี้จะทำให้บรรษัทข้ามชาติสามารถเข้ามาขอรับการคุ้มครองพันธุ์พืชเพื่อผูกขาดพันธุ์พืชใหม่ได้ง่ายขึ้น และเข้ามายึดครองทรัพยากรชีวภาพได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงสิทธิอธิปไตยของประเทศ ซึ่งเป็นหลักการภายในอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD)</li>
<li>ต้องขยายระยะเวลาการผูกขาดพันธุ์พืชใหม่ของบริษัทให้ยาวขึ้นจากทั่วไปอยู่ที่ 12 ปีเป็น 20 ปี และเปิดช่องกฎหมายให้บริษัทเอกชนสามารถห้ามเกษตรไม่ให้เก็บพันธุ์พืชไปปลูกต่อในฤดูต่อไป รวมถึงห้ามการแจกจ่ายแลกเปลี่ยนพันธุ์กับเพื่อนบ้านทั้งในหรือนอกชุมชน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชุมชนเกษตรกรรม</li>
<li>การแก้กฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรปจะทำให้แม้แต่นักปรับปรุงพันธุ์ทั่วไปจะเข้าถึงพันธุ์เพื่อนำไปผสมพันธุ์ต่อได้ยากขึ้น และผลิตผลที่ได้จากการปลูกว่าจะนำไปใช้ประโยชน์อะไรก็ได้จะถูกจำกัด คล้ายกับการผูกขาดภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรพันธุ์พืช</li>
<li>การเพิ่มสิทธิผูกขาดมากขึ้นและลดทอนสิทธิของเกษตรกรลงจะส่งผลให้เกษตรกรไทยในอนาคตต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ในราคาสูงประมาณ 3 เท่าของราคาเมล็ดพันธุ์ทั่วไป ต้นทุนของเกษตรกรจะแพงขึ้น บรรษัทข้ามชาติและบริษัทยักษ์ใหญ่การเกษตรจะผูกขาดเมล็ดพันธุ์อย่างเบ็ดเสร็จ กระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศ และส่งผลให้ราคาอาหารสำหรับประชาชนทั่วไปมีราคาแพงขึ้นไปพร้อมๆกันด้วย</li>
<li>การเพิ่มสิทธิผูกขาดให้แก่บริษัท และนักปรับปรุงพันธุ์อาจส่งผลให้เกิดการไล่จับกุมเกษตรกรเช่นอาชญากร และมีการเรียกค่าปรับจำนวนมหาศาลดังเช่นที่ปรากฎเป็นตัวอย่างในสหรัฐอเมริกา</li>
</ul>
<div>จากรายงานสำรวจของศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหาร (Center for Food Safety) <span>ระบุว่านับตั้งแต่ปี 2548 จนถึงสิ้นปี 2555 บริษัทมอนซานโต้ฟ้องละเมิดสิทธิบัตรเป็นจำนวน 142 คดี เป็นเกษตรกร 410 คน และ รกิจเกษตรขนาดเล็ก 56 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 27 รัฐ ตัดสินปรับไปทั้งสิ้น 23.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 705 ล้านบาท และประมาณการตัวเลขค่าเสียหายที่มีการยอมความนอกศาลอีกไม่ต่ำว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3,000 ล้านบาท รายงานดังกล่าวอธิบายขั้นตอนของการคุกคามเกษตรกรสหรัฐโดยบรรษัทยักษ์ ทั้งมอนซานโต้ ดูปองท์ และซินเจนต้า ว่ามีสามขั้นตอนคือ การสอบสวน โดยการบุกเข้าไปในฟาร์มตรวจค้น ถ่ายรูป มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ไปจนถึงข่มขู่คุกคาม หลายกรณีมีการล่อจับกุมเหมือนล่อซื้อขายยาบ้า ขั้นตอนถัดมาคือ ขู่ดำเนินคดีและกล่อมให้ยอมความยอมจ่ายค่าเสียหายก่อนขึ้นดำเนินคดีชั้นศาล หรือเป็นคดีแต่ไม่ขึ้นขั้นตัดสิน ขั้นสุดท้ายคือการดำเนินคดีถึงที่สุด ปฎิบัติการของยักษ์ใหญ่เมล็ดพันธุ์เหล่านี้คือ ทำให้แน่ใจว่าจะไม่มีเกษตรคนใดเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ถั่วเหลือง ราวด์อัพเรดดี้ จีเอ็มโอ ที่มีสิทธิบัตรนี้ไว้ปลูกในรอบต่อไป กล่าวคือ เกษตรกรต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่ทุกรอบ ห้ามเก็บ ห้ามทำความสะอาด พวกธุรกิจหรือสหกรณ์ ที่รับจ้างทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ก็โดนก่อกวนอย่างหนัก มีการออกหมายศาลตรวจสอบบัญชีธนาคารไม่ให้เจ้าตัวรู้ หารายชื่อลูกค้า แล้วก็ไปสอบสวนก่อกวนลูกค้าที่เป็นเกษตรกรจนไม่มีใครกล้ามาใช้บริการ คดีล่าสุดที่เป็นประเด็นใหญ่คือ คดีเกษตรกรชาวอินเดียน่า อายุ 75 ปี ชื่อนายเวอนอน ฮิวจ์ บาวแมน ไปซื้อเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองมาจากโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ใกล้กับฟาร์มของเขา นายบาวแมนซื้อมาใช้โดยไม่รู้ว่าเมล็ดพันธุ์คละที่เก็บในไซโลนั้นเป็นเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองราวด์อัพหรือไม่ เมื่อปลูกไปก็เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้แล้วปลูกต่อรุ่นสองปรากฎว่ามอนซานโต้ไปตรวจแล้วพบว่าผลผลิตรุ่นสองสั้นส่วนใหญ่เป็นถั่วเหลืองราวด์อัพเรดดี้ มอนซานโต้จึงดำเนินคดีละเมิดสิทธิบัตร หากมอนซานโต้ชนะคดีนี้ก็หมายความว่ามอนซานโต้ได้ยกระดับการคุ้มครองสิทธิบัตรไปถึงขั้นการคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ที่ให้สิทธิผูกขาดมอนซานโต้เก็บค่าธรรมเนียมการใช้เมล็ดพันธุ์ไปได้ตลอดจนกว่าจะหมดอายุสิทธิบัตร</span></div>
<div> </div>
<div>นอกเหนือจากการเร่งรีบผลักดันการเจรจากับสหภาพยุโรป และกระตือรือล้นที่จะร่วมเจรจากับข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาคแปซิฟิค หรือทีพีพี ซึ่งมีสหรัฐเป็นหัวเรือใหญ่ ที่อาจทำให้เราต้องยอมรับข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญาในระดับเดียวกับยุโรปและสหรัฐอเมริกา ขณะนี้ (กุมภาพันธ์ 2556) กรมวิชาการเกษตร นักวิชาการ นักปรับปรุงพันธุ์ ได้ร่วมมือกันร่างกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชฉบับใหม่มาแทน ฉบับ พ.ศ.2542 แล้ว โดยมีเนื้อหาเหมือนกับข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรปแทบทุกประการ อีกทั้งให้ยกเลิกกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชซึ่งมีที่มาจากการคัดสรรกันเองของเกษตรกร นักวิชาการ และองค์กรสาธารณประโยชน์ ตามกฎหมายเดิม มาเป็นการแต่งตั้งแทน</div>
<div> </div>
<div>การยอมรับข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรป หรือการลักไก่รีบแก้กฎหมายภายในก่อนแล้วอ้างว่าเรามิได้แก้ไขกฎหมายเพราะการเจรจาเอฟทีเอไทยกับสหภาพยุโรป แท้ที่จริงแล้วคือการแก้ไขกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของบรรษัทข้ามชาติจากยุโรป และบริษัทยักษ์ใหญ่การเกษตร ซึ่งกำลังรุกคืบอย่างหนักให้บรรลุเป้าประสงค์ของตนล่าสุดก็ไปทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนเรศวร ทำโครงการศึกษาข้าวโพดต้านทานสารกำจัดวัชพืชสายพันธุ์NK603<span> ซึ่งก็คือข้าวโพดจีเอ็มราวด์อัพเรดดี้นั่นเอง มีการทำพิธีรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่แบบปิดประตูตีแมวเพื่อเร่งรัดทำโครงการขออนุมัติคณะรัฐมนตรี </span></div>
<div> </div>
<div>นี่คือสัญญานเตือนภัยถึงภัยคุกคามสิทธิเกษตรกร สิทธิอธิปไตยในทรัพยากรชีวภาพและความมั่นคงทางอาหารของสังคมไทย</div>
<p> </p>
<ul>
<li>ประเทศไทยต้องแก้ไขกฎหมาย โดยต้องตัดหลักการขออนุญาตและแบ่งปันผลประโยชน์จากพันธุ์พืชออกไป ทำให้บริษัทเมล็ดพันธุ์และบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพข้ามชาติ และรวมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ทางการเกษตรไม่ต้องขออนุญาต และแบ่งปันผลประโยชน์เมื่อมีการนำพืชป่า พันธุ์พืชทั่วไป และพันธุ์พืชท้องถิ่นไปใช้ประโยชน์ โดยวิธีนี้จะทำให้บรรษัทข้ามชาติสามารถเข้ามาขอรับการคุ้มครองพันธุ์พืชเพื่อผูกขาดพันธุ์พืชใหม่ได้ง่ายขึ้น และเข้ามายึดครองทรัพยากรชีวภาพได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงสิทธิอธิปไตยของประเทศ ซึ่งเป็นหลักการภายในอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD)</li>
<li>ต้องขยายระยะเวลาการผูกขาดพันธุ์พืชใหม่ของบริษัทให้ยาวขึ้นจากทั่วไปอยู่ที่ 12 ปีเป็น 20 ปี และเปิดช่องกฎหมายให้บริษัทเอกชนสามารถห้ามเกษตรไม่ให้เก็บพันธุ์พืชไปปลูกต่อในฤดูต่อไป รวมถึงห้ามการแจกจ่ายแลกเปลี่ยนพันธุ์กับเพื่อนบ้านทั้งในหรือนอกชุมชน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชุมชนเกษตรกรรม</li>
<li>การแก้กฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรปจะทำให้แม้แต่นักปรับปรุงพันธุ์ทั่วไปจะเข้าถึงพันธุ์เพื่อนำไปผสมพันธุ์ต่อได้ยากขึ้น และผลิตผลที่ได้จากการปลูกว่าจะนำไปใช้ประโยชน์อะไรก็ได้จะถูกจำกัด คล้ายกับการผูกขาดภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรพันธุ์พืช</li>
<li>การเพิ่มสิทธิผูกขาดมากขึ้นและลดทอนสิทธิของเกษตรกรลงจะส่งผลให้เกษตรกรไทยในอนาคตต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ในราคาสูงประมาณ 3 เท่าของราคาเมล็ดพันธุ์ทั่วไป ต้นทุนของเกษตรกรจะแพงขึ้น บรรษัทข้ามชาติและบริษัทยักษ์ใหญ่การเกษตรจะผูกขาดเมล็ดพันธุ์อย่างเบ็ดเสร็จ กระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศ และส่งผลให้ราคาอาหารสำหรับประชาชนทั่วไปมีราคาแพงขึ้นไปพร้อมๆกันด้วย</li>
<li>การเพิ่มสิทธิผูกขาดให้แก่บริษัท และนักปรับปรุงพันธุ์อาจส่งผลให้เกิดการไล่จับกุมเกษตรกรเช่นอาชญากร และมีการเรียกค่าปรับจำนวนมหาศาลดังเช่นที่ปรากฎเป็นตัวอย่างในสหรัฐอเมริกา</li>
</ul>
<div>จากรายงานสำรวจของศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหาร (Center for Food Safety) <span>ระบุว่านับตั้งแต่ปี 2548 จนถึงสิ้นปี 2555 บริษัทมอนซานโต้ฟ้องละเมิดสิทธิบัตรเป็นจำนวน 142 คดี เป็นเกษตรกร 410 คน และ รกิจเกษตรขนาดเล็ก 56 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 27 รัฐ ตัดสินปรับไปทั้งสิ้น 23.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 705 ล้านบาท และประมาณการตัวเลขค่าเสียหายที่มีการยอมความนอกศาลอีกไม่ต่ำว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3,000 ล้านบาท รายงานดังกล่าวอธิบายขั้นตอนของการคุกคามเกษตรกรสหรัฐโดยบรรษัทยักษ์ ทั้งมอนซานโต้ ดูปองท์ และซินเจนต้า ว่ามีสามขั้นตอนคือ การสอบสวน โดยการบุกเข้าไปในฟาร์มตรวจค้น ถ่ายรูป มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ไปจนถึงข่มขู่คุกคาม หลายกรณีมีการล่อจับกุมเหมือนล่อซื้อขายยาบ้า ขั้นตอนถัดมาคือ ขู่ดำเนินคดีและกล่อมให้ยอมความยอมจ่ายค่าเสียหายก่อนขึ้นดำเนินคดีชั้นศาล หรือเป็นคดีแต่ไม่ขึ้นขั้นตัดสิน ขั้นสุดท้ายคือการดำเนินคดีถึงที่สุด ปฎิบัติการของยักษ์ใหญ่เมล็ดพันธุ์เหล่านี้คือ ทำให้แน่ใจว่าจะไม่มีเกษตรคนใดเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ถั่วเหลือง ราวด์อัพเรดดี้ จีเอ็มโอ ที่มีสิทธิบัตรนี้ไว้ปลูกในรอบต่อไป กล่าวคือ เกษตรกรต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่ทุกรอบ ห้ามเก็บ ห้ามทำความสะอาด พวกธุรกิจหรือสหกรณ์ ที่รับจ้างทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ก็โดนก่อกวนอย่างหนัก มีการออกหมายศาลตรวจสอบบัญชีธนาคารไม่ให้เจ้าตัวรู้ หารายชื่อลูกค้า แล้วก็ไปสอบสวนก่อกวนลูกค้าที่เป็นเกษตรกรจนไม่มีใครกล้ามาใช้บริการ คดีล่าสุดที่เป็นประเด็นใหญ่คือ คดีเกษตรกรชาวอินเดียน่า อายุ 75 ปี ชื่อนายเวอนอน ฮิวจ์ บาวแมน ไปซื้อเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองมาจากโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ใกล้กับฟาร์มของเขา นายบาวแมนซื้อมาใช้โดยไม่รู้ว่าเมล็ดพันธุ์คละที่เก็บในไซโลนั้นเป็นเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองราวด์อัพหรือไม่ เมื่อปลูกไปก็เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้แล้วปลูกต่อรุ่นสองปรากฎว่ามอนซานโต้ไปตรวจแล้วพบว่าผลผลิตรุ่นสองสั้นส่วนใหญ่เป็นถั่วเหลืองราวด์อัพเรดดี้ มอนซานโต้จึงดำเนินคดีละเมิดสิทธิบัตร หากมอนซานโต้ชนะคดีนี้ก็หมายความว่ามอนซานโต้ได้ยกระดับการคุ้มครองสิทธิบัตรไปถึงขั้นการคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ที่ให้สิทธิผูกขาดมอนซานโต้เก็บค่าธรรมเนียมการใช้เมล็ดพันธุ์ไปได้ตลอดจนกว่าจะหมดอายุสิทธิบัตร</span></div>
<div> </div>
<div>นอกเหนือจากการเร่งรีบผลักดันการเจรจากับสหภาพยุโรป และกระตือรือล้นที่จะร่วมเจรจากับข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาคแปซิฟิค หรือทีพีพี ซึ่งมีสหรัฐเป็นหัวเรือใหญ่ ที่อาจทำให้เราต้องยอมรับข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญาในระดับเดียวกับยุโรปและสหรัฐอเมริกา ขณะนี้ (กุมภาพันธ์ 2556) กรมวิชาการเกษตร นักวิชาการ นักปรับปรุงพันธุ์ ได้ร่วมมือกันร่างกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชฉบับใหม่มาแทน ฉบับ พ.ศ.2542 แล้ว โดยมีเนื้อหาเหมือนกับข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรปแทบทุกประการ อีกทั้งให้ยกเลิกกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชซึ่งมีที่มาจากการคัดสรรกันเองของเกษตรกร นักวิชาการ และองค์กรสาธารณประโยชน์ ตามกฎหมายเดิม มาเป็นการแต่งตั้งแทน</div>
<div> </div>
<div>การยอมรับข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรป หรือการลักไก่รีบแก้กฎหมายภายในก่อนแล้วอ้างว่าเรามิได้แก้ไขกฎหมายเพราะการเจรจาเอฟทีเอไทยกับสหภาพยุโรป แท้ที่จริงแล้วคือการแก้ไขกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของบรรษัทข้ามชาติจากยุโรป และบริษัทยักษ์ใหญ่การเกษตร ซึ่งกำลังรุกคืบอย่างหนักให้บรรลุเป้าประสงค์ของตนล่าสุดก็ไปทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนเรศวร ทำโครงการศึกษาข้าวโพดต้านทานสารกำจัดวัชพืชสายพันธุ์NK603<span> ซึ่งก็คือข้าวโพดจีเอ็มราวด์อัพเรดดี้นั่นเอง มีการทำพิธีรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่แบบปิดประตูตีแมวเพื่อเร่งรัดทำโครงการขออนุมัติคณะรัฐมนตรี </span></div>
<div> </div>
<div>นี่คือสัญญานเตือนภัยถึงภัยคุกคามสิทธิเกษตรกร สิทธิอธิปไตยในทรัพยากรชีวภาพและความมั่นคงทางอาหารของสังคมไทย</div>
<p> </p>
หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ:
เอฟทีเอรายประเทศ: