ตามที่ ดร.ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ประธานกรรมการร่วมสภาธุรกิจไทย-สหภาพ ยุโรป(อียู) ได้ให้สัมภาษณ์กับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า "ในวันที่ 12 เมษายน 2556 จะได้หารือกับศ.น.พ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส และประธานกรรมการสมัชชาปฏิรูป เพื่อให้ช่วยเจรจากับองค์กรพัฒนาเอกชนหรือเอ็นจีโอที่เป็นห่วงการเจรจาเอฟที เอไทย-อียูในหลายเรื่องว่าอย่าเพิ่งโจมตี หรือทำอะไรที่รุนแรง และในวันที่ 28 เมษายนทางสภาธุรกิจฯจะเปิดเวทีระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียเพื่อเสนอ ให้รัฐบาลใช้เป็นจุดยืนในการเจรจาต่อไป" นั้น
พวกเราถือว่า การกล่าวหาของประธานกรรมการร่วมสภาธุรกิจไทย-สหภาพยุโรปที่ว่า ผู้ที่จับตาการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรปจะใช้ความรุนแรงนั้น เป็นข้อกล่าวหาที่น่ารังเกียจและไร้ความจริงอย่างที่สุด เพราะการติดตามตรวจสอบการเจรจาเอฟทีเอและการจัดกิจกรรมตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปีของเราไม่เคยใช้ความรุนแรงเลย
‘สภาธุรกิจไทย-สหภาพยุโรป’ และคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.) อันประกอบด้วยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย มักอ้างตัวว่า เป็นแกนนำสำคัญของภาคีต่อต้านคอรัปชั่นที่เน้นการสร้างธรรมาภิบาล ความโปร่งใส การรู้รับผิดรับชอบ และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย แต่โดยแท้จริงแล้ว คือ กลุ่มธุรกิจผูกขาดขนาดใหญ่ ที่ยังมุ่งสร้างผลกำไรเพิ่มเติมโดยการเปิดเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ เพื่อหวังส่งออกสินค้าบางอย่างของตน ทั้งที่ไม่เคยสร้างงานที่เป็นธรรมหรือมีวิถีการผลิตที่ยั่งยืนแต่อย่างใด
ขอให้โปรดพิจารณาพฤติกรรมของตัวเองอย่างถ้วนถี่และเร่งด่วนว่า พวกท่านและองค์กรของท่านกำลังใช้อิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองทำการคอรัปชั่นเชิงนโยบายหรือไม่ และกำลังทำลายประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนหรือไม่
ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ประชาชาติสูงขึ้น และภาคเอกชนไทยก็มีศักยภาพในการครองตลาดหลายสินค้าในสหภาพยุโรปเกินกว่า 17.5% ซึ่งไม่เข้าข่ายการได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) จากสหภาพยุโรปและสหรัฐฯนานแล้ว แต่เราไม่เคยเห็นว่า กลุ่มธุรกิจที่ได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าว จะพยายามปรับตัวให้แข่งขันได้อย่างยั่งยืน ที่ไม่เป็นเพียงแค่การขอให้รัฐบาลทำอะไรก็ได้ หรือแลกกับอะไรก็ได้ ในเวลาที่เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
เช่น ในกรณีเอฟทีเอกับอียู จะให้เจรจา 7 รอใบนระยะเวลาแค่ปีครึ่ง ทั้งที่เป็นเอฟทีเอที่เนื้อหามากที่สุดเท่าที่ไทยเคยเจรจามาเพื่อให้สิทธิพิเศษเหล่านั้นคงอยู่ ดังนั้น การเจรจาอย่างเร่งรัดเพื่อให้ได้ต่อสิทธิ GSP ที่จะหมดภายในสิ้นปี 2557 จะทำลายอำนาจการต่อรองและการเจรจาของไทยอย่างสิ้นเชิง
พวกเราขอทราบจุดยืนของ คณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.): สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ หากผลประโยชน์ที่ธุรกิจไทยต้องการได้จากสหภาพยุโรป หรือสหรัฐฯที่กำลังจะมีในอนาคต จะต้องแลกด้วยสวัสดิการพื้นฐาน ด้านสาธารณสุข การศึกษา การมีชีวิตที่ดีของคนในสังคมนี้ และทรัพยากรชีวภาพของแผ่นดิน ทาง กกร.ใช้หลักใดในการตัดสินใจให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลที่แสดงให้เห็นว่าเป็นไป เพื่อประโยชน์แก่เศรษฐกิจและสังคมของชาติโดยรวมตามหลักจรรยาบรรณของทั้ง 3 องค์กร
และนี่คือคำประกาศของเรา ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556
คำแนะนำ: โปรดอ่านซ้ำไปซ้ำมาจนขึ้นใจ
พวกเราเครือข่ายประชาชนต่างๆ จำนวน 1,500 คน มาแสดงพลังร่วมกันในวันนี้ เพื่อบอกกับรัฐบาล คณะเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย- เรายืนยันและจะยืนหยัดร่วมกัน ติดตาม ตรวจสอบ และมีส่วนร่วมในการกำหนดท่าที เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ |