เอฟทีเอไทย – สหภาพยุโรป: ไม่ควรแลกมาด้วยการเข้าถึงยา

การเจรจาความตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรปเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2555 และในสัปดาห์นี้ (16 – 20 กันยายน) นักเจรจาไทยและสหภาพยุโรปมาพบกันอีกครั้งที่จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย เพื่อการเจรจารอบที่สอง โดยการเจรจาทั้งหมดมีเป้าหมายจะให้แล้วเสร็จภายใน 18 เดือน

สัปดาห์นี้ภาคประชาสังคมไทยกว่า 5,000 คนจากหลากหลายเครือข่าย ทั้งด้านสุขภาพ ผู่บริโภค และ เกษตรกรรม ฯลฯ มาร่วมกันรณรค์ปกป้องการเข้าถึงสินทรัพย์สาธารณะจากข้อตกลงเอฟทีเอที่ว่านี้

นักกิจกรรมสายสุขภาพขอเตือนทีมเจรจาของทั้งประเทศไทยและสหภาพยุโรป ว่าการเจรจาเอฟทีเอนั้น ไม่ควรมีข้อตกลงด้านสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินไปกว่าข้อผูกพันในองค์การการค้าโลก หรือที่เรียกว่าทริปส์พลัส เนื่องจากข้อผูกพันเช่นนั้นมีแต่จะเพิ่มการผูกขาดโดยบรรษัทยาข้ามชาติให้แข็งแกร่งขึ้น ทำให้ราคายาสูงขึ้น และเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงยาชื่อสามัญ

นอกจากนี้เรายังเรียกร้องให้ทีมเจรจาไม่รวมข้อผูกพันที่จะยอมให้นักลงทุน (เช่นบรรษัทยาข้ามชาติ) สามารถนำรัฐบาลไทยเข้ากลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชนผ่านอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศอย่างลับๆ ในกรณีที่ประเทศไทยอาจใช้มาตรการหรือนโยบายที่เกี่ยวกับการตัดอายุหรือยกเลิกสิทธิบัตรหรือการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาด้วยเหตุผลเพื่อสุขภาพสาธารณะ และแม้ว่าการกระทำเช่นนั้นจะไม่ผิดภายใต้ข้อตกลงทริปส์ และคำประกาศโดฮาว่าด้วยทริปส์และการสาธารณะสุข (Doha Declaration)

ทั้งนี้ องค์กรพัฒนาด้านสุขภาพได้แก่ แอ๊ค-อัพปารีส (Act Up-Paris), ออกซ์แฟมอินเตอร์แนชันแนล (Oxfam International), เฮลท์แอคชั่นอินเตอร์แนชันแนล (Health Action International: HAI), และแอคชั่นอเก็นส์เอดส์ เยอรมันนี (Action against AIDS Germany) ขอแสดงความสนับสนุนประชาสังคมไทยอย่างแข็งขัน ในการเจรจานั้นนักเจรจายุโรปควรคำนึงถึงความสำคัญของการเข้าถึงยาชื่อสามัญราคาถูกและคุณภาพสูงเพื่อผู้ป่วยในประเทศไทย ัต้งแต่ ค.ศ. 2002 ประเทศไทยเริ่มใช้ระบบหลักประกันสุขภาพทั่วหน้าซึ่งทำให้ร้อยละ 99 ของประชากรในประเทศสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่จำเป็นได้ การผลิตยาชื่อสามัญซึ่งมีคุณภาพได้มาตรฐานในราคาที่ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงได้เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ระบบประกันสุขภาพนี้อยู่ได้อย่างยั่งยืน

“เราเกรงว่าข้อเรียกร้องที่เป็นทริปส์พลัสและข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการลงทุนที่อันตรายดังที่กล่าวไปแล้วจะถูกนำมาไว้ในเอฟทีเอระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทย ซึ่งจะส่งผลสะเทือนต่อความสามารถของรัฐไทยในการดำเนินระบบประกันสุขภาพทั่วหน้าและการให้ประชาชนเข้าถึงยาที่จำเป็นได้” - ไลลา โบโดว์ จากออกซ์แฟมอินเตอร์แนชันแนลกล่าว

“จุดยืนของสหภาพยุโรปด้านทรัพย์สินทางปัญญาในข้ตกลงเอฟทีเอต่างๆ ที่ผ่านมา เช่นการเจรจาเอฟทีเอระหว่างสหภาพยุโรปและอาเซียนซึ่งล้มเหลวไปแล้วนั้น แสดงให้เห็นแนวทางว่าสหภาพยุโรปจะผลักดันข้อกำหนดที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเพิ่มอำนาจให้กับนักลงทุนรวมทั้งบรรษัทยาข้ามชาติอย่างแน่นอน ซึ่งจะเป็นการเปิดทางให้ทำร้ายความพยายามของรัฐบาลไทยที่จะจัดหาบริการด้านสาธารณะสุขที่เท่าเทียมให้ประชาชน” เทสเซล เมเลมา จากเฮลท์แอคชั่นอินเตอร์แนชันแนลกล่าว

“สหภาพยุโรปไม่ควรเรียกร้องข้อตกลงที่มากกว่าทริปส์และข้อเรียกร้องที่ปกป้องนักลงทุน เพราะการสนับสนุนปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของอุตสาหกรรมยายุโรปนั้นต้องแลกมาด้วยการทำลายโอกาสในการสร้างนวัตรกรรมและการเข้าถึงยาในประเทศไทย” เซลีน กริลลอน จาก แอ๊ค-อัพปารีสกล่าว

“การปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าไม่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ในขณะที่การมีสุขภาพดีเป็นสิทธิพื้นฐานสากล! ตัวแทนของสหภาพยุโรปควรคำนึงถึงเรื่องนี้อยู่ตอลดเวลาในการเจรจาข้อตกลงเพื่อการค้ากับประเทศไทยหรือประเทศใดๆก็ตาม” แอสทริด เบอร์เนอร์-โรโดเรดา จากแอคชั่นอเก็นส์เอดส์ เยอรมันนี กล่าว

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
แอ๊ค-อัพปารีส (Act Up-Paris): Céline Grillon, international@actupparis.org, + 33 6 50 01 39 10
ออกซ์แฟมอินเตอร์แนชันแนล (Oxfam International): Leïla Bodeux, leb@oxfamsol.be, +32 485 94 82 89
เฮลท์แอคชั่นอินเตอร์แนชันแนล (Health Action International: HAI): Tessel Mellema, tessel@haieurope.org, +31 62 468 67 71 3684
แอคชั่นอเก็นส์เอดส์ เยอรมันนี (Action against AIDS Germany/Aktionsbundnis gegen AIDS): Marco Alves, alves@aids-kampagne.de, + 49 30 275 824 03

AttachmentSize
PDF icon 2013_Joint_PR-_EU-Thailand_FTA.pdf319.89 KB
เอฟทีเอรายประเทศ: 
หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ: