เอฟทีเอ ว็อทช์ ยื่นหนังสือถึงนายกฯ หยุดทุกเอฟทีเอ จนกว่าจะมีกฎหมายประกอบการเจรจาระหว่างประเทศ

โดย  กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน(FTA Watch)

(14 พฤศจิกายน/หน้าทำเนียบรัฐบาล) เมื่อเวลา 9 นาฬิกา ตัวแทนกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) ประมาณ 50 คนได้รวมตัวกันหน้าทำเนียบรัฐบาล ฝั่งตรงข้ามสำนักงาน ก.พ. เพื่อยื่นหนังสือต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเพื่อขอให้หยุดการลงนามและการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยมีป้ายผ้าขนาดใหญ่สีเหลือง ข้อความว่า ?เซ็นเอฟทีเอ ฉิบหายทั้งชาติ?

(14 พฤศจิกายน/หน้าทำเนียบรัฐบาล) เมื่อเวลา 9 นาฬิกา ตัวแทนกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) ประมาณ 50 คนได้รวมตัวกันหน้าทำเนียบรัฐบาล ฝั่งตรงข้ามสำนักงาน ก.พ. เพื่อยื่นหนังสือต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเพื่อขอให้หยุดการลงนามและการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยมีป้ายผ้าขนาดใหญ่สีเหลือง ข้อความว่า ?เซ็นเอฟทีเอ ฉิบหายทั้งชาติ?

นายนิมิตร์ เทียนอุดม สมาชิกเอฟทีเอ ว็อทช์ ระบุว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันมีความพยายามลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) โดย ที่จนถึงขณะนี้ยังไม่กล้าเปิดเผยเนื้อหาต่อสาธารณชน แต่มีความพยายามที่จะใช้การประชาพิจารณ์และสภานิติบัญญัติแห่งชาติในการรอง รับความชอบธรรม แต่ความตกลงฉบับนี้ยังมีประเด็นความห่วงใยมากมาย เพราะไม่มีการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่ต้น และยังเป็นความตกลงที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนของระบอบทักษิณ

?ประเด็น ที่น่าห่วงใย คือ การเปิดโอกาสให้ชาวญี่ปุ่นมารับบริการสุขภาพในประเทศ โดยสามารถกลับไปเบิกเงินประกันสังคมที่ประเทศญี่ปุ่นได้สูงถึงร้อยละ 70 ซึ่ง จะเร่งภาวะสมองไหลของอาจารย์ในโรงเรียนแพทย์ไปสู่โรงพยาบาลเอกชน และซ้ำเติมปัญหาความขาดแคลนแพทย์ทั้งในชนบทและเมืองในการดูแลรักษาคนไทย และทำลายระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

จากความตกลงดังกล่าวฯ บังคับให้ไทยเป็นภาคีสนธิสัญญาที่ให้สิทธิบัตรพันธุ์พืช-พันธุ์ สัตว์ และรับรองสิทธิเฉพาะนักปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรชีวภาพของไทย และเปิดโอกาสให้นักวิจัยญี่ปุ่นสามารถเป็นโจรสลัดชีวภาพได้อย่างชอบธรรม

การ คุ้มครองสิทธินักลงทุนต่างชาติให้สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อรัฐ หากมีการยึดทรัพย์หรือมีนโยบายสาธารณะที่จะส่งผลเสมือนว่าจะยึดทรัพย์ โดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมในประเทศ แต่ใช้กลไกอนุญาโตตุลาการนอกประเทศ ทั้งนี้ ยังระบุให้รัฐไทยต้องรับผิดชอบชดเชยค่าเสียหายในปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุม ได้ เช่น การจลาจล และ ภัยธรรมชาติ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังน่าสงสัยว่ามีบทว่าด้วยการลดภาษีขยะนำเข้าจากญี่ปุ่นทุกประเภท ลงเหลือ 0% เพื่อ เปิดโอกาสให้ญี่ปุ่นนำขยะสารพิษมาทิ้งในประเทศไทย ดังที่กำลังทำกับฟิลิปปินส์ในขณะนี้หรือไม่ ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพแวดล้อม สุขภาวะของประชาชนอย่างรุนแรง?

กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) เรียก ร้องให้รัฐบาลริเริ่มและวางนโยบาย กฎหมาย และกรอบกติกาที่ดี เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ตัดสินใจและกำหนดทิศทางในการพัฒนาของตนเองอย่าง แท้จริง โดยดำเนินการดังต่อไปนี้

๑. หยุด การเจรจา หรือลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศต่าง ๆ จนกว่าจะได้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องและกำหนดกระบวนการที่ดีในการทำข้อ ตกลงระหว่างประเทศ

๒. ให้ ดำเนินการออกกฎหมายว่าด้วยการทำความตกลงระหว่างประเทศ ที่เป็นการกำหนดกรอบการเจรจา ขั้นตอนการพิจารณาที่เปิดโอกาสการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย การมีคณะกรรมการอิสระพหุภาคีขึ้นมาศึกษาวิเคราะห์ผลประโยชน์และผลกระทบอย่าง รอบด้าน ฯลฯ

?หากรัฐบาลของ ฯพณฯ ยังคงยืนกรานที่จะลงนามความตกลง โดยใช้กระบวนการประชาพิจารณ์และการผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป จะไม่ส่งผลแก้ไขปัญหาความไม่โปร่งใสของการเจรจาและการขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชน แต่จะกลายเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับการเจรจาความตกลงฯที่ไม่ชอบธรรมเท่านั้น นั่นหมายความว่า รัฐบาลของ ฯพณฯ กำลังสนับสนุนการให้ผลประโยชน์กับคนบางกลุ่ม ยอมรับในความไม่โปร่งใสและความไม่เป็นธรรม และรู้เห็นเป็นใจในการทำร้ายประชาชนทั้งประเทศ?

AttachmentSize
PDF icon 2006_letter_to_PM-14-11-06.pdf80.75 KB
หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ: