ภาคประชาสังคม รุมวิจารณ์กรมทรัพย์สินทางปัญญาลักไก่ยัดไส้ทริปส์พลัส (TRIPS+) ใน ?ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ... ?

โดย  กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน(FTA Watch)

เมื่อวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา ภาคประชาสังคมไทย ประกอบไปด้วย เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย, ชมรมเพื่อนโรคไต, เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง, เครือข่ายงดเหล้า, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, มูลนิธิเภสัชชนบท, มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิด้านเอดส์, คณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์, กลุ่มศึกษาปัญหายา และ กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) ได้ทำหนังสือถึงนายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายสาธิต วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คัดค้าน ?ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ... ?

(ตามเอกสารแนบที่ 1) ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ยกร่างขึ้นเพื่อ ขยายจากการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท โดยรวบรวมกฎหมายจำนวนมากทั้งที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และกฎหมายที่ไม่เกี่ยวข้อง รวม 34 ฉบับ ให้มาอยู่ภายใต้การจัดการของคณะกรรมการเพียงคณะเดียว เน้นการเอาผิดทางอาญา(ในลักษณะอาญาแผ่นดินประหนึ่งเป็นผู้ร้ายฆ่าคน) และยังบังคับหน่วยงานรัฐที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เข้ามาร่วมปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาด้วย ซึ่งไปสอดคล้องกับข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ และความต้องการของสหภาพยุโรปในการเจรจาเอฟทีเอที่ต้องการให้ไทยคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามากไปกว่าความตกลงทริปส์ในองค์การการค้าโลก (ตามเอกสารแนบที่ 2) นับเป็นการออกระเบียบที่มีอำนาจเหนือพระราชบัญญัติ

?การยกร่างระเบียบฯ ฉบับนี้ไม่ได้ระบุชื่อกฎหมายที่ชัดเจน (เช่น กฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาด...) และไม่ได้ระบุว่า กฎหมายเหล่านั้นเกี่ยวข้องอย่างไรกับการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อไม่มีความชัดเจนเช่นนี้ ระเบียบนี้ย่อมก่อให้เกิดปัญหาในการปฎิบัติ นำไปสู่ความขัดแย้งในระหว่างหน่วยงาน อีกทั้งกฎหมายตามข้อ ๗ กว้างขวางและครอบคลุมกฎหมายแทบทุกฉบับที่มีอยู่ในประเทศไทย เท่ากับนำกฎหมายทั้งหมดที่มีเจตนารมณ์เพื่อประโยชน์สาธารณะและยกระดับการคุ้มครองสิทธิของประชาชนไทย มาปกป้องสิทธิประโยชน์ของธุรกิจเอกชนต่างชาติแทน

การออกระเบียบที่มีหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมากมายโดยไม่มีความชัดเจนของบทบาท หน้าที่ และแนวทางการบริหารกฎหมาย ทั้งๆ ที่แต่ละหน่วยงานเหล่านี้มีบทบาทหน้าที่หลัก แตกต่างหลากหลายกันมากมาย และเจตนารมณ์ของกฎหมายแต่ละฉบับก็แตกต่างกัน จะนำไปสู่การขัดแย้งและแตกสามัคคีกัน ไม่เพียงเท่านั้น หลายหน่วยงาน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา แต่มีหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคและดูความปลอดภัยและคุณภาพของยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ?

นอกจากนี้ ความเห็นของรศ.ดร.จักรกฤษณ์ ควรพจน์ นักวิชาการด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา จากมหาวิทยาลัยวูลองกอง ประเทศออสเตรเลีย ที่เสนอให้ทบทบทวนร่างระเบียบดังกล่าวฯ ได้มีการนำเสนอถึงรัฐมนตรีทั้งสองคนเพื่อพิจารณให้รอบคอบด้วย (ตามเอกสารแนบที่ 3)

....การบังคับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property enforcement) หมายถึงการที่ผู้ทรงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ใช้สิทธิที่ตนมีอยู่ตามกฎหมายเพื่อยับยั้งการทำละเมิด หรือหากมีความเสียหายใดๆ เกิดขึ้นจากการละเมิด ก็ใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการนั้น ซึ่งนี่ก็เป็นแนวทางการใช้กฎหมายของประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว

จากหลักการข้างต้นทำให้เกิดปัญหาว่า ?ภาระในการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาควรตกแก่ผู้ใด? ทรัพย์สินทางปัญญานั้นเป็นสิทธิทางกฎหมายที่มีอยู่เหนือผลงานการสร้างสรรค์ ทางปัญญาของบุคคล ความตกลงทริปส์ (TRIPS Agreement) ขององค์การการค้าโลก กำหนดให้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิเอกชน (private rights)ซึ่งโดยหลักการเอกชนเจ้าของสิทธิควรจะทำหน้าที่สอดส่องปกป้องรักษา สิทธิของตนเอง โดยรัฐมีภาระที่จะให้ความคุ้มครองและเยียวยาหากมีการล่วงละเมิดสิทธิเกิด ขึ้น รัฐไม่ควรจะเข้าไปดำเนินการปราบปรามการทำละเมิดในทุกเรื่อง ดังที่มีการเสนอในร่างระเบียบฯ ดังกล่าว

?การ บังคับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานั้นก่อให้เกิดต้นทุน ทั้งต้นทุนโดยตรง และโดยอ้อม ต้นทุนทางอ้อมจะมีผลกระทบที่รุนแรงกว้างขวางต่อประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทย ยิ่งกว่าต้นทุนทางตรง เช่น ทำให้เกิดการผูกขาดหรือทำให้การแข่งขันในตลาดลดลงเนื่องจากลักษณะผูกขาดของ สิทธิ จำกัดโอกาสของบริษัทอุตสาหกรรมของประเทศกำลังพัฒนา ที่จะเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีของต่างชาติ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรม และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศ

และท้ายที่สุด การบังคับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเข้มงวดนั้นมีต้นทุนทางเศรษฐกิจที่ สูงมาก รัฐบาลจะต้องจัดสรรงบประมาณที่มีอยู่จำกัด ไปใช้เพื่อการปกป้องสิทธิของเอกชน ทั้งที่ประเทศกำลังพัฒนามีความจำเป็นต้องจัดสรรงบประมาณให้กับโครงการอื่น ที่มีความจำเป็นต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ยิ่งกว่าการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การศึกษา การสาธารณสุข การเกษตร การแก้ปัญหาความยากจน ฯลฯ?

อนึ่ง หลังจากที่ประเทศไทยได้ดำเนินการประกาศการใช้สิทธิตามสิทธิกับยา ...รายการ เมื่อปลายปี 2549 รัฐบาลสหรัฐ ก็ได้ยื่นเงื่อนไขให้ไทยทำแผนปฏิบัติกา ( Plan of Action) ในลักษณะที่มากเกินไปกว่าข้อตกลงทริปส์ เช่น การให้ อย.ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการขึ้นทะเบียนยา ต้องทำหน้าที่ตำรวจตรวจสอบการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา, ให้เพิ่มการลงโทษอาญา และอาญาแผ่นดิน แทนความผิดทางแพ่งในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท ฯลฯ

หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ: