ข้อเสนอของภาคประชาสังคมไทยต่อรัฐบาลไทย ในสมัยประชุมภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 15 จัดขึ้นที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก

โดย  คณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม

ข้อเสนอของภาคประชาสังคมไทยต่อรัฐบาลไทยรวบรวมขึ้นโดยคณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม (Thai Working Group for Climate Justice) ร่วมกับเครือข่ายประชาชนต่าง ๆ ได้แก่ สมัชชาคนจน เครือข่ายทรัพยากรภาคเหนือ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย เครือข่ายป่าชุมชน จังหวัดสุรินทร์ เครือข่ายป่าชุมชนดงขุมคำและภูขาม จังหวัดอุบลราชธานี เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย เครือข่ายสตรี เครือข่ายเยาวชนประมงพื้นบ้านภาคใต้ สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ และเครือข่ายพลังงานและอุตสาหกรรม เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลไทยเพื่อประกอบการเจรจาในฐานะหนึ่งในภาคีสมาชิกของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะมีการประชุมภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 15 (15th Conference of the Parties to the United Nations Framework Convention on Climate Change : COP 15) ระหว่างวันที่ 7-18 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก 

การประชุมดังกล่าวจะเป็นการเจรจาครั้งประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่งของโลกที่จะมีผลสำคัญต่อการกำหนดอนาคตของโลกด้านสิ่งแวดล้อมและความมั่นคงปลอดภัยของมนุษยชาติจากปัญหาความแปรปรวนของภูมิอากาศโลก ผู้แทนของรัฐบาลแต่ละประเทศจะต้องร่วมกันตัดสินใจภายใต้กรอบการเจรจาสำคัญ ๆ หลายประเด็น ที่จะต้องนำมาสู่ข้อสรุปว่า แนวทางข้อตกลงใหม่ที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาโลกร้อนจะเป็นอย่างไร รวมไปถึงการกำหนดพันธกรณีเพิ่มเติมในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศพัฒนาแล้ว หรือที่เรียกกันว่ากลุ่มประเทศภาคผนวกที่ 1 ของพิธีสารเกียวโต ภายหลังจากที่พิธีสารเกียวโตจะสิ้นสุดพันธกรณีแรกในพ.ศ. 2555 หรือ ค.ศ. 2012

ภาคประชาชนจัดทำข้อเสนอขึ้นเป็น 2 ส่วนสำคัญคือ ข้อเสนอต่อภาพรวมของการเจรจาในการประชุมของภาคีสมาชิกอนุสัญญาฯ และข้อเสนอเฉพาะกรอบการเจรจาอีก 5 ประเด็นสำคัญ ซึ่งข้อสรุปที่เกิดขึ้นในปีนี้จากทั้ง 5 ประเด็นจะมีผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อประชาชนไทยและประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ อย่างมาก คือ การเจรจาในประเด็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีและการเสริมสร้างศักยภาพ กลไกการช่วยเหลือทางการเงิน และวิสัยทัศน์ร่วมของนานาประเทศที่จะร่วมมือกันแก้ปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางและข้อสรุปของการเจรจาที่ว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งจากภาคพลังงานและภาคป่าไม้

1. ข้อเสนอต่อภาพรวมการเจรจาภาคีสมาชิกอนุสัญญาฯ

1.1 การยึดหลัก “ความรับผิดชอบทางประวัติศาสตร์” และ “ความเป็นธรรม” เป็นหลักการพื้นฐาน

เนื่องจากปัญหาโลกร้อนวันนี้คือ “วิกฤต” ที่เกิดจาก “การกระทำในอดีต” ของประเทศพัฒนาแล้วซึ่งใช้อุตสาหกรรมนำทิศทางการพัฒนา ทำให้เกิดการเร่งใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลโดยเฉพาะถ่านหินและน้ำมัน ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมหาศาลขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกและผลกระทบอื่นๆที่กำลังจะตามมา 
ทางออกวิกฤตโลกร้อนต้องแก้ที่ต้นตอของปัญหาคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นจึงเลี่ยงไม่ได้ที่เราจะต้องมองย้อนกลับไปในอดีต แจกแจงสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ผ่านมา เพื่อดูว่าวันนี้ใครควรต้องรับผิดชอบเท่าไรและอย่างไร หรือพูดอีกอย่างคือ ประเทศพัฒนาแล้วมีความรับผิดชอบทางประวัติศาสตร์ที่จะต้องชำระ “หนี้ต่อสภาพภูมิอากาศ” ที่ให้โลกใบนี้อุณหภุมิสุงขึ้น
นอกจากนี้ ผลกระทบที่กำลังเกิดและจะเกิดขึ้นอีกจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศกำลังพัฒนา คือหนี้อีกส่วนที่เรียกว่า “หนี้นิเวศน์” ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วยังต้องรับผิดชอบต่อการช่วยเหลือฟื้นฟูและการรับมือของประเทศที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนตามหลักการของความเป็นธรรมอีกด้วย

1.2 การยึดกรอบการเจรจาตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC)

รัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องยึดกรอบตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (the United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) เพื่อให้การเจรจาเป็นไปอย่างมีหลักการ มีความเป็นธรรม มีประสิทธิผลและให้ผลสัมฤทธิ์อย่างทันเวลาต่อวิกฤตที่เป็นอยู่

1.3 การยอมรับและใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดของ IPCC ในการเจรจา

ขณะนี้โลกของเราไม่มีเวลาอีกต่อไปสำหรับการถกเถียงว่า วิกฤตโลกร้อนมีจริงหรือไม่ สิ่งที่ต้องทำคือ การลงมือแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนบนพื้นฐานของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ได้ศึกษาไว้ แม้จะไม่สามารถบอกได้อย่างหนักแน่นว่า ข้อมูลของ IPCC เป็นข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุดตามหลักทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็เป็นข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือที่สุดเท่าที่มีอยู่ และเป็นการรวบรวม การกลั่นกรอง และมีการรับรองโดยนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก จากหลากหลายสาขา รวมถึงการได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายปัจจุบัน โดยเฉพาะข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่จะนำมาใช้กำหนดเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซ
IPCC ระบุว่าโลกเราจะไปไม่รอดในทุกมิติหากปล่อยให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มเกินระดับ 1.5 - 2.0 องศาเซลเซียส (ปัจจุบันอุณหภูมิของโลกเพิ่มมาแล้ว 0.7 องศาเซลเซียส) หรือปล่อยให้ความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกสูงเกิน 450 ส่วนในล้านส่วน หรือ ppm (ปัจจุบันความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศโลกอยู่ที่ 377 ppm)

1.4 การสนับสนุนเป้าหมายใหญ่คือ การพัฒนาไปสู่ “สังคมที่น่าอยู่และยั่งยืน”

วิกฤตการณ์โลกร้อนแสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของทิศทางการพัฒนาที่ผ่านมา ดังนั้นหากจะแก้ปัญหาโลกร้อนจะต้องมองการแก้ปัญหาว่าเป็นเพียง “ส่วนหนึ่ง” ไม่ใช่ “ทั้งหมด” ของเป้าหมายใหญ่ที่แท้จริงของประชาคมโลก เป็นหมายใหญ่นี้การมุ่งไปสู่การเป็น “สังคมที่น่าอยู่และยั่งยืน” ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับสิทธิพื้นฐาน ทั้งสิทธิมนุษยชน สิทธิชนพื้นเมือง สิทธิการเข้าถึงทรัพยากร และการมีส่วนร่วมของประชาชน

ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญว่าการดำเนินการใด ๆ เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนจะต้องมีความชัดเจนว่าสิ่งเหล่านั้นต้องสอดคล้องและเป็นส่วนหนึ่งที่จะนำไปสู่เป้าหมายใหญ่ดังกล่าว ปัจจุบันมีแนวโน้มหลายอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความไขว้เขวของการแก้ปัญหาโลกร้อนและเป้าหมายใหญ่ของการพัฒนา เช่น การส่งเสริมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ว่าเป็นทางออกหนึ่งของการแก้ปัญหา ซึ่งขณะที่ยังไม่มีความชัดเจนอันใดที่ว่าพลังงานนิวเคลียร์จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาพรวมได้จริง แต่ที่แน่ชัดคือจะไม่นำไปสู่สังคมที่น่าอยู่และยั่งยืน เป็นต้น

2. ข้อเสนอต่อรายประเด็นการเจรจา
การเจรจาในกรอบอนุสัญญาฯ ปัจจุบันมีประเด็นสำคัญที่ภาคประชาชนได้ติดตามมาอย่างต่อเนื่อง รวม 5 ประเด็น คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) การปรับตัว (Adaptation) การเงินและเทคโนโลยี (Finance and Technology Transfer) และประเด็นเกี่ยวข้องอื่น ๆ

2.1 ข้อเสนอต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (mitigation)

ข้อเสนอต่อการลดการปล่อยก๊าซของประเทศพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา

1. ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ถึงระดับที่โลกปลอดภัยจากวิกฤตโลกร้อน คือมีอุณหภูมิโลกเฉลี่ยเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 - 2 องศาเซลเซียส โดยกำหนดเป้าหมายระยะกลางให้สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้อย่างตํ่า 40% จากระดับการปล่อยก๊าซในปี พ.ศ. 2533 ภายในปีพ.ศ. 2563 และระยะยาวต้องให้ลดได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 จากระดับการปล่อยก๊าซของ พ.ศ. 2533 ภายในปี พ.ศ. 2593 (บนพื้นฐานข้อมูลวิทยาศาสตร์ IPCC)

2. ประเทศพัฒนาแล้วในฐานะผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกล่วงหน้าร่วมสองร้อยปีจากอดีตมีพันธะสัญญาที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซภายในประเทศตนเองโดยทันที อย่างมีเป้าหมาย และมีกรอบเวลาชัดเจน

3. การลดการปล่อยก๊าซในประเทศกำลังพัฒนาให้เป็นไปโดยสมัครใจแต่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังตามศักยภาพของประเทศ และมีสิทธิได้รับการสนับสนุนจากประเทศพัฒนาแล้วในรูปแบบต่าง ๆ แต่ต้องไม่นำปริมาณก๊าซที่ลดได้นั้นไปเป็นเครดิตกับประเทศพัฒนาแล้ว

4. ไม่สนับสนุนการใช้กลไกการตลาดและการชดเชยการปล่อยคาร์บอนมาเป็นกลไกขับเคลื่อนให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก เพราะเปิดช่องให้ประเทศพัฒนาแล้วสามารถบิดเบือนในทางปฏิบัติที่จะไม่ลดก๊าซฯ ตามพันธะสัญญาและหันมาลดการปล่อยในประเทศอื่นแทนดังที่เป็นอยู่

5. ยึดหลักความเป็นธรรม (Climate Justice) ในการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อก่อให้เกิดการดำเนินการลดการปล่อยในประเทศพัฒนาแล้วอย่างจริงจัง

ข้อเสนอต่อการลดการปล่อยก๊าซของภาคป่าไม้

1. ไม่สนับสนุนการนำมาตรการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าไม้ หรือมาตรการ REDD หรือ REDD+ มาใช้ ในพื้นที่ที่ยังมีปัญหาสิทธิที่ดินและป่าไม้กับชุมชน คัดค้านการนำป่าที่มีชุมชนจัดการและดูแลอยู่ก่อนแล้วเข้าไปอยู่ในกลไกตลาด

2. รัฐจะต้องยอมรับสิทธิของชุมชนในการอาศัยและใช้ประโยชน์จากป่า และแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเรื่องสิทธิที่และป่าไม้ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้ชัดเจน ก่อนจะมีการรับมาตรการใด ๆ เกี่ยวกับภาคป่าไม้มาช่วยลดการปล่อยก๊าซ

3. REDD หรือ REDD+ จะต้องไม่ไปละเมิดสิทธิและวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น (ชุมชนในที่นี้ หมายรวมถึง กลุ่มชาติพันธุ์ และคนที่อาศัยอยู่ในป่า) ในการใช้และจัดการทรัพยากร รวมถึงสิทธิชนเผ่าตามที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของชนพื้นเมือง

4. ยอมรับว่า ประชาชนคนยากจนมิได้เป็นสาเหตุของการทำลายป่าและมิได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน จึงไม่ใช่ผู้ที่ต้องรับผิดชอบในการลดการปล่อยก๊าซ

5. รัฐบาลจะต้องจัดให้มีกระบวนการปรึกษาและหารือ จัดให้มีการรับฟังความเห็นจากประชาชนในรูปของประชาพิจารณ์ในการตัดสินใจโครงการ REDD หรือ REDD+ ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น

6. สร้างความพร้อมในด้านความรู้ให้กับภาคประชาชนไทย เช่น การศึกษาวิเคราะห์ประเมินผลดี-ผลเสียที่จะเกิดกับชุมชนหากประเทศไทยรับ REDD หรือ REDD+ เข้ามา โดยการศึกษาดังกล่าวจะต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดกรอบการศึกษา การดำเนินการศึกษา และได้รับการจัดสรรงบประมาณในดำเนินการศึกษา

7. เผยแพร่และกระจายข้อมูลเป็นภาษาไทยเกี่ยวกับโครงการ REDD หรือ REDD+ สู่ชุมชนให้มากที่สุด

8. จัดตั้งกองทุนสนับสนุนชุมชนดูแลและฟื้นฟูป่าเพื่อสนับสนุนให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและศักยภาพในการดูแลรักษาป่าอย่างยั่งยืน

ข้อเสนอต่อการลดการปล่อยก๊าซของภาคเกษตร

1. การปรับตัวหรือลดการปล่อยก๊าซในภาคเกษตรจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการยอมรับสิทธิชุมชนและสิทธิเกษตรกร รวมถึงสิทธิการเข้าถึงทรัพยากร และต้องเปิดพื้นที่ให้มีส่วนร่วมจากเกษตรกรรายย่อยอย่างกว้างขวาง

2. การสนับสนุนการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตในปัจจุบันไปสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนหรือเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นมิตรกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากกว่า ใช้พลังงานน้อยกว่า รวมทั้งสามารถช่วยกักเก็บคาร์บอนในดินได้อย่างดี ควรจัดตั้งกลไกที่มีส่วนร่วมจากภาคประชาชน เช่น สถาบันอิสระเกษตรกรรมยั่งยืนให้เป็นตัวกลางขับเคลื่อนระบบนี้ เป็นต้น

3. กรณีจะดำเนินมาตรการลดการปล่อยก๊าซในภาคเกษตร ต้องมุ่งไปที่การลดการปล่อยก๊าซจากภาคอุตสาหกรรมการเกษตรซึ่งเป็นระบบการผลิตขนาดใหญ่ มีการใช้สารเคมีจำนวนมาก และยังมีการใช้พลังงานสูงด้วย

4. ต้องมีการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงทางอาหารในปัจจุบันและอนาคต

5. การยอมรับและให้ความสำคัญกับองค์ความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้านในการแก้ปัญหาโลกร้อน มิใช่การเชื่อและพึ่งพิงเพียงความรู้ทางวิชาการสมัยใหม่เท่านั้น

6. การฟื้นฟูและส่งเสริมพันธุ์พืชพื้นเมืองที่มีความทนทานต่อสภาพอากาศที่แปรปรวนดีกว่าเป็นทางเลือกในการปรับตัวของภาคเกษตร แทนการส่งเสริมพืชตัดแต่งพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ซึ่งเป็นแนวทางนำไปสู่การผูกขาดภาคเกษตรของบริษัทขนาดใหญ่ และยังทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ

7. การป้องกันไม่ให้บรรษัทข้ามชาติผูกขาดสิทธิบัตรพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์และสิ่งมีชีวิตเพราะจะเป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวและการแก้ปัญหาโลกร้อนของเกษตรกรรายย่อย ทั้งในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

8. การควบคุมการปลูกพืชพลังงานโดยเฉพาะระดับอุตสาหกรรมพืชพลังงานให้สมดุลกับการปลูกพืชอาหาร ต้องคำนึงถึงความหลากหลายของระบบนิเวศ ความมั่นคงและความยั่งยืนทางอาหาร มีการศึกษาที่รอบด้านทั้งในมิติของผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคม และความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ

9. การศึกษาถึงผลกระทบด้านต่าง ๆ ในการนำการลดการปล่อยก๊าซของภาคเกษตรเข้าสู่ระบบตลาด โดยเฉพาะผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและการแย่งชิงที่ดิน

ข้อเสนอต่อการลดการปล่อยก๊าซของภาคพลังงานและอุตสาหกรรม

1. สนับสนุนให้เกิดระบบเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ (low-carbon society) ที่สอดคล้องกับหลักการและทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่ใช้วิธีการชดเชยการปล่อยคาร์บอนหรือใช้แนวทางและวิธีการลวง เช่น การส่งเสริมพลังงานนิวเคลียร์ การใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด การสร้างเขื่อนพลังน้ำขนาดใหญ่ และการส่งเสริมสวนเกษตรสำหรับพืชพลังงานขนาดใหญ่ เพราะกลไกและแนวทางเหล่านี้ไม่นำไปสู่ทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติต่าง ๆ

2. ควรยุติการอนุมัติโครงการ CDM ใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นและทบทวนการมีส่วนร่วมของประเทศในเรื่องนี้ โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมและประโยชน์ของประเทศและชุมชน โดยเฉพาะชุมชนในพื้นที่โครงการ การดำเนินโครงการ CDM ที่เป็นอยู่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติมต่อชุมชนและประเทศ และไม่ได้นำประเทศก้าวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ตามวัตถุประสงค์ของ CDM

3. ริเริ่มนโยบายเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน หรือการก้าวไปสู่การปฏิวัติพลังงานที่ส่งเสริมในเรื่องต่อไปนี้
• การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนสะอาด มีการบริหารจัดการและการเข้าถึงด้วยระบบการกระจายศูนย์ ที่ยึดหลักการประชาธิปไตยเป็นพื้นฐาน
• การแยกความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจออกจากการใช้พลังงานฟอสซิล
• การลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและยุติการใช้พลังงานนิวเคลียร์
• การสร้างความความเท่าเทียมให้มากขึ้นในการเข้าถึงและการใช้ทรัพยากร
• การส่งเสริมประสิทธิภาพในการใช้พลังงานในทุกด้าน เช่น การออกแบบระบบการผลิต โครงข่ายการคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ รวมถึงระบบพลังงานของอาคารบ้านเรือนให้เป็นระบบประหยัดพลังงานมากที่สุด
• การส่งเสริมแบบแผนการบริโภคที่ยั่งยืนด้วยการสนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ทัศนคติ และค่านิยมในเรื่องการบริโภคที่ลดการใช้พลังงานลง

2.2 ข้อเสนอต่อการปรับตัวรับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน (adaptation)

1. จัดทำกรอบข้อตกลงเรื่องการปรับตัวที่ชัดเจนสำหรับการเจรจาระหว่างประเทศ เพื่อสร้างหลักประกันว่าประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายจะได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือด้านการเงินเพิ่มเติมอย่างเพียงพอ และสามารถคาดการณ์ได้ในการวางแผนและการดำเนินการในการปรับตัวได้

2. แผนและกิจกรรมเพื่อการปรับตัวจะต้องอยู่ภายใต้บริบทของวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนระยะยาวในทุกมิติ ส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงไปกับการดูแล การรักษา และการปกป้องระบบนิเวศเพื่อเสริมสร้างความสามารถพื้นฐานในการปรับตัวของชุมชน กระบวนการวางแผนต้องมีลักษณะจากล่างขึ้นบน (Bottom-Up Approach) ผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ

3. กิจกรรมและการดำเนินการเพื่อการรับมือและปรับตัวจะต้องสอดคล้องกับสิทธิขั้นพื้นฐานของชุมชนที่มีการรับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน (UDHR), กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) รวมทั้งอนุสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

4. นโยบายและมาตรการรองรับการปรับตัวต้องให้ความสำคัญกับบทบาทของผู้หญิง

5. เสริมสร้างขีดความสามารถและศักยภาพของชุมชนในประเทศกำลังพัฒนาในการรับรู้ การทำความเข้าใจและประเมินความเสี่ยงหรือความล่อแหลมที่จะเกิดขึ้น ผ่านองค์ความรู้และผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครือข่ายหรือศูนย์ความรู้ระดับภูมิภาค

6. การดำเนินการด้านการปรับตัวต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบข้างเคียงหรือความขัดแย้งกับมาตรการต่างๆ หรือแนวทางการดำเนินชีวิตของชุมชน แต่จะต้องก่อให้เกิดและนำไปสู่ผลกระทบทางบวกเพิ่มเติม เช่น ช่วยแก้ปัญหาความยากจน เป็นต้น

7. การมีส่วนร่วมในการเจรจาและศึกษาถึงการให้คำจำกัดความกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Most Vulnerable Countries) เพื่อก่อให้เกิดความโปร่งใส และการบริหารจัดการกองทุนและการเงินเพื่อการปรับตัวที่ดีในระหว่างกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาแล้วด้วยกัน

8. การพิจารณาด้านองค์กรสถาบันในระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศที่จะรับผิดชอบในเรื่องการดำเนินการด้านการปรับตัว เพื่อก่อให้เกิดการดำเนินการอย่างจริงจัง ส่งเสริมการเรียนรู้ และการแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินการปรับตัวภายในประเทศ

2.3 ข้อเสนอต่อประเด็นการเงินและเทคโนโลยี

ด้านการเงิน
1. การเจรจาเพื่อนำมาสู่ข้อตกลงเรื่องการเงินและเทคโนโลยีต้องยืนอยู่บนหลักการให้มีความสมดุลระหว่างการเงินเพื่อการลดการปล่อยก๊าซและการปรับตัว เพราะทั้งสองเรื่องมีความสำคัญเท่าเทียมกัน 
2. แหล่งเงินด้านโลกร้อน โดยหลักการต้องเป็นเม็ดเงินใหม่ที่จัดสรรขึ้นมาเพื่อการนี้เป็นการเฉพาะจากกลุ่มประเทศที่ก่อวิกฤตโลกร้อน ไม่ใช่การโยกย้ายเงินให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาที่มีอยู่มาใช้
3. ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่จากภาวะโลกร้อนต้องสามารถเข้าถึงกองทุนเพื่อการปรับตัวฯ (Adaptation Fund) ซึ่งเป็นเงินจากกลุ่มผู้ก่อโลกร้อนหลักในอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยไม่ผ่านองค์กรนายหน้า (เช่น ธนาคารโลก (WB) ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) หรือสำนักงานสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (UNEP) เป็นต้น
4. การบริหารการเงินด้านโลกร้อน ต้องดำเนินการโดยคณะกรรมการร่วมที่มาจากประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาในสัดส่วนที่เป็นธรรม

ด้านเทคโนโลยี
1. ประเทศพัฒนาแล้วต้องมีข้อผูกมัดทางกฎหมายชัดเจนที่จะให้การสนับสนุนและการถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับการลดการปล่อยก๊าซและการปรับตัวให้ประเทศกำลังพัฒนาโดยไม่พึ่งกลไกตลาด
2. ประเทศพัฒนาแล้วต้องมีข้อผูกมัดทางกฎหมายชัดเจน พร้อมทั้งปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศเพื่อยกเลิกการคุ้มครองลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรสำหรับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและรับมือวิกฤตโลกร้อน

2.4 ข้อเสนอต่อประเด็นที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

วิสัยทัศน์ร่วม (Share Vision)
การเจรจาโลกร้อนต้องตั้งมีวิสัยทัศน์บนหลักการพื้นฐาน 4 ข้อดังที่กล่าวแล้วในส่วนของข้อเสนอต่อภาพรวมการเจรจาของภาคีสมาชิก 
ส่วนประเทศไทย เมื่อมองในบริบทของความยั่งยืนของสังคมและการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาโลกร้อน ก็ควรพิจารณาตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซแบบสมัครใจของตัวเองโดยมีกฏหมายรองรับ และปรับเปลี่ยนทิศทางการพัฒนาประเทศเพื่อมุ่งสู่การมีสังคมที่ยังยืนและเท่าเทียม

ผลทางกฎหมายหลังโคเปนเฮเกน (Legal Outcome)
1. ภาคประชาสังคมไทย คัดค้านการริเริ่มข้อตกลงใหม่ทดแทนพิธีสารเกียวโต เนี่องจากความเร่งด่วนของปัญหาวิกฤตโลกร้อน และระดับที่ยอมรับได้ของมาตรการตามพิธีสารเกียวโต คือเป็นธรรมในระดับที่ดีและสามารถลดระดับก๊าซเรือนกระจกได้จริง หากถูกนำไปปฏิบัติ
2. เราสนับสนุนให้มีการใช้พิธีสารเกียวโตต่อไป เป็นพันธะกรณีระยะที่สอง ภายหลังจากที่พันธะกรณีแรกจะหมดการบังคับใช้ภายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 โดยให้มีการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกให้เข้มข้นยิ่งขึ้น

***********************************

หมายเหตุ

1) ภาคประชาสังคม หมายถึง องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และผู้สนใจต่าง ๆ ร่วมกับเครือข่ายประชาชนหลายแห่ง ได้แก่ สมัชชาคนจน เครือข่ายทรัพยากรภาคเหนือ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย เครือข่ายป่าชุมชน จังหวัดสุรินทร์ เครือข่ายป่าชุมชนดงขุมคำและภูขาม จังหวัดอุบลราชธานี เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย เครือข่ายสตรี เครือข่ายเยาวชนประมงพื้นบ้านภาคใต้ สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ และเครือข่ายพลังงานและอุตสาหกรรม ภายใต้การประสานงานของคณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม (Thai Working Group for Climate Justice)

2) เอกสารชุดนี้เป็นฉบับย่อของ “ข้อเสนอของภาคประชาสังคมไทยต่อรัฐบาลไทย ในสมัยประชุมภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 15” ซึ่งได้นำเสนอต่อผู้แทนรัฐบาลไทยครั้งแรกในเวทีการสัมมนาเพื่อสร้างความร่วมมือว่าด้วย “ข้อเสนอไทยสู่การประชุมที่โคเปนเฮเกน” ที่ร่วมจัดโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nation Development Program) และคณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ

3) การเจรจาเรื่องโลกร้อน ในที่นี้หมายถึง การประชุมภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 15 ซึ่งมีขึ้นในเดือนธันวาคม ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เพื่อกำหนดพันธะกรณีใหม่สำหรับประเทศที่เป็นภาคีของอนุสัญญาฯ ภายหลังจากที่ข้อบังคับตามพันธะกรณีแรกของพิธีสารเกียวโตหมดผลบังคับใช้ใน พ.ศ. 2555

4) REDD มาจากคำว่า Reducing Emissions from Deforestation and Degradation คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่าและป่าเสื่อมโทรม ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญของการเจรจาโลกร้อนครั้งนี้ ที่นำมาสู่การถกเถียงอย่างกว้างขวางในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศถึงข้อดีข้อเสียและแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเฉพาะผลกระทบจากมาตรการนี้ที่จะเกิดขึ้นกับชนพื้นเมืองและชุมชนที่อยู่อาศัยกับป่า

5) ‘REDD+’ และ ‘REDD++’ ทั้งสองคำนี้เป็นผลที่เกิดขึ้นระหว่างการเจรจาเพื่อกำหนดมาตรการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคป่าไม้ ซึ่งปัจจุบันมีการเพิ่มความหมายจาก REDD เป็น REDD+ ‘เครื่องหมาย +’ หมายถึงการเพิ่มประเด็นป่าไม้ในฐานะที่เป็น ‘แหล่งกักเก็บคาร์บอน’ (Enhancement of Carbon Stocks) เข้าไป นอกจากนี้ผลการเจรจาล่าสุดเกี่ยวกับภาคป่าไม้และการแก้ปัญหาโลกร้อนที่กรุงบาเซโลนา ประเทศสเปน เมื่อวันที่ 2-6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมได้เพิ่มประเด็น ‘การบริการทางระบบนิเวศ’ (Ecosystem Services) เข้าไปในภาคป่าไม้อีก 1 เรื่องเป็น REDD++

ข้อเสนอของภาคประชาสังคมไทยต่อรัฐบาลไทยรวบรวมขึ้นโดยคณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม (Thai Working Group for Climate Justice) ร่วมกับเครือข่ายประชาชนต่าง ๆ ได้แก่ สมัชชาคนจน เครือข่ายทรัพยากรภาคเหนือ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย เครือข่ายป่าชุมชน จังหวัดสุรินทร์ เครือข่ายป่าชุมชนดงขุมคำและภูขาม จังหวัดอุบลราชธานี เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย เครือข่ายสตรี เครือข่ายเยาวชนประมงพื้นบ้านภาคใต้ สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ และเครือข่ายพลังงานและอุตสาหกรรม เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลไทยเพื่อประกอบการเจรจาในฐานะหนึ่งในภาคีสมาชิกของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะมีการประชุมภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 15 (15th Conference of the Parties to the United Nations Framework Convention on Climate Change : COP 15) ระหว่างวันที่ 7-18 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก

การประชุมดังกล่าวจะเป็นการเจรจาครั้งประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่งของโลกที่จะมีผลสำคัญต่อการกำหนดอนาคตของโลกด้านสิ่งแวดล้อมและความมั่นคงปลอดภัยของมนุษยชาติจากปัญหาความแปรปรวนของภูมิอากาศโลก ผู้แทนของรัฐบาลแต่ละประเทศจะต้องร่วมกันตัดสินใจภายใต้กรอบการเจรจาสำคัญ ๆ หลายประเด็น ที่จะต้องนำมาสู่ข้อสรุปว่า แนวทางข้อตกลงใหม่ที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาโลกร้อนจะเป็นอย่างไร รวมไปถึงการกำหนดพันธกรณีเพิ่มเติมในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศพัฒนาแล้ว หรือที่เรียกกันว่ากลุ่มประเทศภาคผนวกที่ 1 ของพิธีสารเกียวโต ภายหลังจากที่พิธีสารเกียวโตจะสิ้นสุดพันธกรณีแรกในพ.ศ. 2555 หรือ ค.ศ. 2012

ภาคประชาชนจัดทำข้อเสนอขึ้นเป็น 2 ส่วนสำคัญคือ ข้อเสนอต่อภาพรวมของการเจรจาในการประชุมของภาคีสมาชิกอนุสัญญาฯ และข้อเสนอเฉพาะกรอบการเจรจาอีก 5 ประเด็นสำคัญ ซึ่งข้อสรุปที่เกิดขึ้นในปีนี้จากทั้ง 5 ประเด็นจะมีผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อประชาชนไทยและประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ อย่างมาก คือ การเจรจาในประเด็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีและการเสริมสร้างศักยภาพ กลไกการช่วยเหลือทางการเงิน และวิสัยทัศน์ร่วมของนานาประเทศที่จะร่วมมือกันแก้ปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางและข้อสรุปของการเจรจาที่ว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งจากภาคพลังงานและภาคป่าไม้

1. ข้อเสนอต่อภาพรวมการเจรจาภาคีสมาชิกอนุสัญญาฯ

1.1 การยึดหลัก “ความรับผิดชอบทางประวัติศาสตร์” และ “ความเป็นธรรม” เป็นหลักการพื้นฐาน

เนื่องจากปัญหาโลกร้อนวันนี้คือ “วิกฤต” ที่เกิดจาก “การกระทำในอดีต” ของประเทศพัฒนาแล้วซึ่งใช้อุตสาหกรรมนำทิศทางการพัฒนา ทำให้เกิดการเร่งใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลโดยเฉพาะถ่านหินและน้ำมัน ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมหาศาลขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกและผลกระทบอื่นๆที่กำลังจะตามมา 
ทางออกวิกฤตโลกร้อนต้องแก้ที่ต้นตอของปัญหาคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นจึงเลี่ยงไม่ได้ที่เราจะต้องมองย้อนกลับไปในอดีต แจกแจงสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ผ่านมา เพื่อดูว่าวันนี้ใครควรต้องรับผิดชอบเท่าไรและอย่างไร หรือพูดอีกอย่างคือ ประเทศพัฒนาแล้วมีความรับผิดชอบทางประวัติศาสตร์ที่จะต้องชำระ “หนี้ต่อสภาพภูมิอากาศ” ที่ให้โลกใบนี้อุณหภุมิสุงขึ้น
นอกจากนี้ ผลกระทบที่กำลังเกิดและจะเกิดขึ้นอีกจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศกำลังพัฒนา คือหนี้อีกส่วนที่เรียกว่า “หนี้นิเวศน์” ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วยังต้องรับผิดชอบต่อการช่วยเหลือฟื้นฟูและการรับมือของประเทศที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนตามหลักการของความเป็นธรรมอีกด้วย

1.2 การยึดกรอบการเจรจาตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC)

รัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องยึดกรอบตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (the United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) เพื่อให้การเจรจาเป็นไปอย่างมีหลักการ มีความเป็นธรรม มีประสิทธิผลและให้ผลสัมฤทธิ์อย่างทันเวลาต่อวิกฤตที่เป็นอยู่

1.3 การยอมรับและใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดของ IPCC ในการเจรจา

ขณะนี้โลกของเราไม่มีเวลาอีกต่อไปสำหรับการถกเถียงว่า วิกฤตโลกร้อนมีจริงหรือไม่ สิ่งที่ต้องทำคือ การลงมือแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนบนพื้นฐานของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ได้ศึกษาไว้ แม้จะไม่สามารถบอกได้อย่างหนักแน่นว่า ข้อมูลของ IPCC เป็นข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุดตามหลักทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็เป็นข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือที่สุดเท่าที่มีอยู่ และเป็นการรวบรวม การกลั่นกรอง และมีการรับรองโดยนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก จากหลากหลายสาขา รวมถึงการได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายปัจจุบัน โดยเฉพาะข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่จะนำมาใช้กำหนดเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซ
IPCC ระบุว่าโลกเราจะไปไม่รอดในทุกมิติหากปล่อยให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มเกินระดับ 1.5 - 2.0 องศาเซลเซียส (ปัจจุบันอุณหภูมิของโลกเพิ่มมาแล้ว 0.7 องศาเซลเซียส) หรือปล่อยให้ความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกสูงเกิน 450 ส่วนในล้านส่วน หรือ ppm (ปัจจุบันความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศโลกอยู่ที่ 377 ppm)

1.4 การสนับสนุนเป้าหมายใหญ่คือ การพัฒนาไปสู่ “สังคมที่น่าอยู่และยั่งยืน”

วิกฤตการณ์โลกร้อนแสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของทิศทางการพัฒนาที่ผ่านมา ดังนั้นหากจะแก้ปัญหาโลกร้อนจะต้องมองการแก้ปัญหาว่าเป็นเพียง “ส่วนหนึ่ง” ไม่ใช่ “ทั้งหมด” ของเป้าหมายใหญ่ที่แท้จริงของประชาคมโลก เป็นหมายใหญ่นี้การมุ่งไปสู่การเป็น “สังคมที่น่าอยู่และยั่งยืน” ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับสิทธิพื้นฐาน ทั้งสิทธิมนุษยชน สิทธิชนพื้นเมือง สิทธิการเข้าถึงทรัพยากร และการมีส่วนร่วมของประชาชน

ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญว่าการดำเนินการใด ๆ เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนจะต้องมีความชัดเจนว่าสิ่งเหล่านั้นต้องสอดคล้องและเป็นส่วนหนึ่งที่จะนำไปสู่เป้าหมายใหญ่ดังกล่าว ปัจจุบันมีแนวโน้มหลายอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความไขว้เขวของการแก้ปัญหาโลกร้อนและเป้าหมายใหญ่ของการพัฒนา เช่น การส่งเสริมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ว่าเป็นทางออกหนึ่งของการแก้ปัญหา ซึ่งขณะที่ยังไม่มีความชัดเจนอันใดที่ว่าพลังงานนิวเคลียร์จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาพรวมได้จริง แต่ที่แน่ชัดคือจะไม่นำไปสู่สังคมที่น่าอยู่และยั่งยืน เป็นต้น

2. ข้อเสนอต่อรายประเด็นการเจรจา
การเจรจาในกรอบอนุสัญญาฯ ปัจจุบันมีประเด็นสำคัญที่ภาคประชาชนได้ติดตามมาอย่างต่อเนื่อง รวม 5 ประเด็น คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) การปรับตัว (Adaptation) การเงินและเทคโนโลยี (Finance and Technology Transfer) และประเด็นเกี่ยวข้องอื่น ๆ

2.1 ข้อเสนอต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (mitigation)

ข้อเสนอต่อการลดการปล่อยก๊าซของประเทศพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา

1. ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ถึงระดับที่โลกปลอดภัยจากวิกฤตโลกร้อน คือมีอุณหภูมิโลกเฉลี่ยเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 - 2 องศาเซลเซียส โดยกำหนดเป้าหมายระยะกลางให้สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้อย่างตํ่า 40% จากระดับการปล่อยก๊าซในปี พ.ศ. 2533 ภายในปีพ.ศ. 2563 และระยะยาวต้องให้ลดได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 จากระดับการปล่อยก๊าซของ พ.ศ. 2533 ภายในปี พ.ศ. 2593 (บนพื้นฐานข้อมูลวิทยาศาสตร์ IPCC)

2. ประเทศพัฒนาแล้วในฐานะผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกล่วงหน้าร่วมสองร้อยปีจากอดีตมีพันธะสัญญาที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซภายในประเทศตนเองโดยทันที อย่างมีเป้าหมาย และมีกรอบเวลาชัดเจน

3. การลดการปล่อยก๊าซในประเทศกำลังพัฒนาให้เป็นไปโดยสมัครใจแต่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังตามศักยภาพของประเทศ และมีสิทธิได้รับการสนับสนุนจากประเทศพัฒนาแล้วในรูปแบบต่าง ๆ แต่ต้องไม่นำปริมาณก๊าซที่ลดได้นั้นไปเป็นเครดิตกับประเทศพัฒนาแล้ว

4. ไม่สนับสนุนการใช้กลไกการตลาดและการชดเชยการปล่อยคาร์บอนมาเป็นกลไกขับเคลื่อนให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก เพราะเปิดช่องให้ประเทศพัฒนาแล้วสามารถบิดเบือนในทางปฏิบัติที่จะไม่ลดก๊าซฯ ตามพันธะสัญญาและหันมาลดการปล่อยในประเทศอื่นแทนดังที่เป็นอยู่

5. ยึดหลักความเป็นธรรม (Climate Justice) ในการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อก่อให้เกิดการดำเนินการลดการปล่อยในประเทศพัฒนาแล้วอย่างจริงจัง

ข้อเสนอต่อการลดการปล่อยก๊าซของภาคป่าไม้

1. ไม่สนับสนุนการนำมาตรการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าไม้ หรือมาตรการ REDD หรือ REDD+ มาใช้ ในพื้นที่ที่ยังมีปัญหาสิทธิที่ดินและป่าไม้กับชุมชน คัดค้านการนำป่าที่มีชุมชนจัดการและดูแลอยู่ก่อนแล้วเข้าไปอยู่ในกลไกตลาด

2. รัฐจะต้องยอมรับสิทธิของชุมชนในการอาศัยและใช้ประโยชน์จากป่า และแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเรื่องสิทธิที่และป่าไม้ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้ชัดเจน ก่อนจะมีการรับมาตรการใด ๆ เกี่ยวกับภาคป่าไม้มาช่วยลดการปล่อยก๊าซ

3. REDD หรือ REDD+ จะต้องไม่ไปละเมิดสิทธิและวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น (ชุมชนในที่นี้ หมายรวมถึง กลุ่มชาติพันธุ์ และคนที่อาศัยอยู่ในป่า) ในการใช้และจัดการทรัพยากร รวมถึงสิทธิชนเผ่าตามที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของชนพื้นเมือง

4. ยอมรับว่า ประชาชนคนยากจนมิได้เป็นสาเหตุของการทำลายป่าและมิได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน จึงไม่ใช่ผู้ที่ต้องรับผิดชอบในการลดการปล่อยก๊าซ

5. รัฐบาลจะต้องจัดให้มีกระบวนการปรึกษาและหารือ จัดให้มีการรับฟังความเห็นจากประชาชนในรูปของประชาพิจารณ์ในการตัดสินใจโครงการ REDD หรือ REDD+ ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น

6. สร้างความพร้อมในด้านความรู้ให้กับภาคประชาชนไทย เช่น การศึกษาวิเคราะห์ประเมินผลดี-ผลเสียที่จะเกิดกับชุมชนหากประเทศไทยรับ REDD หรือ REDD+ เข้ามา โดยการศึกษาดังกล่าวจะต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดกรอบการศึกษา การดำเนินการศึกษา และได้รับการจัดสรรงบประมาณในดำเนินการศึกษา

7. เผยแพร่และกระจายข้อมูลเป็นภาษาไทยเกี่ยวกับโครงการ REDD หรือ REDD+ สู่ชุมชนให้มากที่สุด

8. จัดตั้งกองทุนสนับสนุนชุมชนดูแลและฟื้นฟูป่าเพื่อสนับสนุนให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและศักยภาพในการดูแลรักษาป่าอย่างยั่งยืน

ข้อเสนอต่อการลดการปล่อยก๊าซของภาคเกษตร

1. การปรับตัวหรือลดการปล่อยก๊าซในภาคเกษตรจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการยอมรับสิทธิชุมชนและสิทธิเกษตรกร รวมถึงสิทธิการเข้าถึงทรัพยากร และต้องเปิดพื้นที่ให้มีส่วนร่วมจากเกษตรกรรายย่อยอย่างกว้างขวาง

2. การสนับสนุนการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตในปัจจุบันไปสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนหรือเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นมิตรกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากกว่า ใช้พลังงานน้อยกว่า รวมทั้งสามารถช่วยกักเก็บคาร์บอนในดินได้อย่างดี ควรจัดตั้งกลไกที่มีส่วนร่วมจากภาคประชาชน เช่น สถาบันอิสระเกษตรกรรมยั่งยืนให้เป็นตัวกลางขับเคลื่อนระบบนี้ เป็นต้น

3. กรณีจะดำเนินมาตรการลดการปล่อยก๊าซในภาคเกษตร ต้องมุ่งไปที่การลดการปล่อยก๊าซจากภาคอุตสาหกรรมการเกษตรซึ่งเป็นระบบการผลิตขนาดใหญ่ มีการใช้สารเคมีจำนวนมาก และยังมีการใช้พลังงานสูงด้วย

4. ต้องมีการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงทางอาหารในปัจจุบันและอนาคต

5. การยอมรับและให้ความสำคัญกับองค์ความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้านในการแก้ปัญหาโลกร้อน มิใช่การเชื่อและพึ่งพิงเพียงความรู้ทางวิชาการสมัยใหม่เท่านั้น

6. การฟื้นฟูและส่งเสริมพันธุ์พืชพื้นเมืองที่มีความทนทานต่อสภาพอากาศที่แปรปรวนดีกว่าเป็นทางเลือกในการปรับตัวของภาคเกษตร แทนการส่งเสริมพืชตัดแต่งพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ซึ่งเป็นแนวทางนำไปสู่การผูกขาดภาคเกษตรของบริษัทขนาดใหญ่ และยังทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ

7. การป้องกันไม่ให้บรรษัทข้ามชาติผูกขาดสิทธิบัตรพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์และสิ่งมีชีวิตเพราะจะเป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวและการแก้ปัญหาโลกร้อนของเกษตรกรรายย่อย ทั้งในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

8. การควบคุมการปลูกพืชพลังงานโดยเฉพาะระดับอุตสาหกรรมพืชพลังงานให้สมดุลกับการปลูกพืชอาหาร ต้องคำนึงถึงความหลากหลายของระบบนิเวศ ความมั่นคงและความยั่งยืนทางอาหาร มีการศึกษาที่รอบด้านทั้งในมิติของผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคม และความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ

9. การศึกษาถึงผลกระทบด้านต่าง ๆ ในการนำการลดการปล่อยก๊าซของภาคเกษตรเข้าสู่ระบบตลาด โดยเฉพาะผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและการแย่งชิงที่ดิน

ข้อเสนอต่อการลดการปล่อยก๊าซของภาคพลังงานและอุตสาหกรรม

1. สนับสนุนให้เกิดระบบเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ (low-carbon society) ที่สอดคล้องกับหลักการและทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่ใช้วิธีการชดเชยการปล่อยคาร์บอนหรือใช้แนวทางและวิธีการลวง เช่น การส่งเสริมพลังงานนิวเคลียร์ การใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด การสร้างเขื่อนพลังน้ำขนาดใหญ่ และการส่งเสริมสวนเกษตรสำหรับพืชพลังงานขนาดใหญ่ เพราะกลไกและแนวทางเหล่านี้ไม่นำไปสู่ทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติต่าง ๆ

2. ควรยุติการอนุมัติโครงการ CDM ใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นและทบทวนการมีส่วนร่วมของประเทศในเรื่องนี้ โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมและประโยชน์ของประเทศและชุมชน โดยเฉพาะชุมชนในพื้นที่โครงการ การดำเนินโครงการ CDM ที่เป็นอยู่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติมต่อชุมชนและประเทศ และไม่ได้นำประเทศก้าวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ตามวัตถุประสงค์ของ CDM

3. ริเริ่มนโยบายเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน หรือการก้าวไปสู่การปฏิวัติพลังงานที่ส่งเสริมในเรื่องต่อไปนี้
• การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนสะอาด มีการบริหารจัดการและการเข้าถึงด้วยระบบการกระจายศูนย์ ที่ยึดหลักการประชาธิปไตยเป็นพื้นฐาน
• การแยกความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจออกจากการใช้พลังงานฟอสซิล
• การลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและยุติการใช้พลังงานนิวเคลียร์
• การสร้างความความเท่าเทียมให้มากขึ้นในการเข้าถึงและการใช้ทรัพยากร
• การส่งเสริมประสิทธิภาพในการใช้พลังงานในทุกด้าน เช่น การออกแบบระบบการผลิต โครงข่ายการคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ รวมถึงระบบพลังงานของอาคารบ้านเรือนให้เป็นระบบประหยัดพลังงานมากที่สุด
• การส่งเสริมแบบแผนการบริโภคที่ยั่งยืนด้วยการสนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ทัศนคติ และค่านิยมในเรื่องการบริโภคที่ลดการใช้พลังงานลง

2.2 ข้อเสนอต่อการปรับตัวรับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน (adaptation)

1. จัดทำกรอบข้อตกลงเรื่องการปรับตัวที่ชัดเจนสำหรับการเจรจาระหว่างประเทศ เพื่อสร้างหลักประกันว่าประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายจะได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือด้านการเงินเพิ่มเติมอย่างเพียงพอ และสามารถคาดการณ์ได้ในการวางแผนและการดำเนินการในการปรับตัวได้

2. แผนและกิจกรรมเพื่อการปรับตัวจะต้องอยู่ภายใต้บริบทของวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนระยะยาวในทุกมิติ ส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงไปกับการดูแล การรักษา และการปกป้องระบบนิเวศเพื่อเสริมสร้างความสามารถพื้นฐานในการปรับตัวของชุมชน กระบวนการวางแผนต้องมีลักษณะจากล่างขึ้นบน (Bottom-Up Approach) ผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ

3. กิจกรรมและการดำเนินการเพื่อการรับมือและปรับตัวจะต้องสอดคล้องกับสิทธิขั้นพื้นฐานของชุมชนที่มีการรับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน (UDHR), กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) รวมทั้งอนุสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

4. นโยบายและมาตรการรองรับการปรับตัวต้องให้ความสำคัญกับบทบาทของผู้หญิง

5. เสริมสร้างขีดความสามารถและศักยภาพของชุมชนในประเทศกำลังพัฒนาในการรับรู้ การทำความเข้าใจและประเมินความเสี่ยงหรือความล่อแหลมที่จะเกิดขึ้น ผ่านองค์ความรู้และผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครือข่ายหรือศูนย์ความรู้ระดับภูมิภาค

6. การดำเนินการด้านการปรับตัวต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบข้างเคียงหรือความขัดแย้งกับมาตรการต่างๆ หรือแนวทางการดำเนินชีวิตของชุมชน แต่จะต้องก่อให้เกิดและนำไปสู่ผลกระทบทางบวกเพิ่มเติม เช่น ช่วยแก้ปัญหาความยากจน เป็นต้น

7. การมีส่วนร่วมในการเจรจาและศึกษาถึงการให้คำจำกัดความกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Most Vulnerable Countries) เพื่อก่อให้เกิดความโปร่งใส และการบริหารจัดการกองทุนและการเงินเพื่อการปรับตัวที่ดีในระหว่างกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาแล้วด้วยกัน

8. การพิจารณาด้านองค์กรสถาบันในระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศที่จะรับผิดชอบในเรื่องการดำเนินการด้านการปรับตัว เพื่อก่อให้เกิดการดำเนินการอย่างจริงจัง ส่งเสริมการเรียนรู้ และการแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินการปรับตัวภายในประเทศ

2.3 ข้อเสนอต่อประเด็นการเงินและเทคโนโลยี

ด้านการเงิน
1. การเจรจาเพื่อนำมาสู่ข้อตกลงเรื่องการเงินและเทคโนโลยีต้องยืนอยู่บนหลักการให้มีความสมดุลระหว่างการเงินเพื่อการลดการปล่อยก๊าซและการปรับตัว เพราะทั้งสองเรื่องมีความสำคัญเท่าเทียมกัน 
2. แหล่งเงินด้านโลกร้อน โดยหลักการต้องเป็นเม็ดเงินใหม่ที่จัดสรรขึ้นมาเพื่อการนี้เป็นการเฉพาะจากกลุ่มประเทศที่ก่อวิกฤตโลกร้อน ไม่ใช่การโยกย้ายเงินให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาที่มีอยู่มาใช้
3. ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่จากภาวะโลกร้อนต้องสามารถเข้าถึงกองทุนเพื่อการปรับตัวฯ (Adaptation Fund) ซึ่งเป็นเงินจากกลุ่มผู้ก่อโลกร้อนหลักในอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยไม่ผ่านองค์กรนายหน้า (เช่น ธนาคารโลก (WB) ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) หรือสำนักงานสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (UNEP) เป็นต้น
4. การบริหารการเงินด้านโลกร้อน ต้องดำเนินการโดยคณะกรรมการร่วมที่มาจากประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาในสัดส่วนที่เป็นธรรม

ด้านเทคโนโลยี
1. ประเทศพัฒนาแล้วต้องมีข้อผูกมัดทางกฎหมายชัดเจนที่จะให้การสนับสนุนและการถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับการลดการปล่อยก๊าซและการปรับตัวให้ประเทศกำลังพัฒนาโดยไม่พึ่งกลไกตลาด
2. ประเทศพัฒนาแล้วต้องมีข้อผูกมัดทางกฎหมายชัดเจน พร้อมทั้งปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศเพื่อยกเลิกการคุ้มครองลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรสำหรับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและรับมือวิกฤตโลกร้อน

2.4 ข้อเสนอต่อประเด็นที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

วิสัยทัศน์ร่วม (Share Vision)
การเจรจาโลกร้อนต้องตั้งมีวิสัยทัศน์บนหลักการพื้นฐาน 4 ข้อดังที่กล่าวแล้วในส่วนของข้อเสนอต่อภาพรวมการเจรจาของภาคีสมาชิก 
ส่วนประเทศไทย เมื่อมองในบริบทของความยั่งยืนของสังคมและการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาโลกร้อน ก็ควรพิจารณาตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซแบบสมัครใจของตัวเองโดยมีกฏหมายรองรับ และปรับเปลี่ยนทิศทางการพัฒนาประเทศเพื่อมุ่งสู่การมีสังคมที่ยังยืนและเท่าเทียม

ผลทางกฎหมายหลังโคเปนเฮเกน (Legal Outcome)
1. ภาคประชาสังคมไทย คัดค้านการริเริ่มข้อตกลงใหม่ทดแทนพิธีสารเกียวโต เนี่องจากความเร่งด่วนของปัญหาวิกฤตโลกร้อน และระดับที่ยอมรับได้ของมาตรการตามพิธีสารเกียวโต คือเป็นธรรมในระดับที่ดีและสามารถลดระดับก๊าซเรือนกระจกได้จริง หากถูกนำไปปฏิบัติ
2. เราสนับสนุนให้มีการใช้พิธีสารเกียวโตต่อไป เป็นพันธะกรณีระยะที่สอง ภายหลังจากที่พันธะกรณีแรกจะหมดการบังคับใช้ภายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 โดยให้มีการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกให้เข้มข้นยิ่งขึ้น

***********************************

หมายเหตุ

1) ภาคประชาสังคม หมายถึง องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และผู้สนใจต่าง ๆ ร่วมกับเครือข่ายประชาชนหลายแห่ง ได้แก่ สมัชชาคนจน เครือข่ายทรัพยากรภาคเหนือ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย เครือข่ายป่าชุมชน จังหวัดสุรินทร์ เครือข่ายป่าชุมชนดงขุมคำและภูขาม จังหวัดอุบลราชธานี เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย เครือข่ายสตรี เครือข่ายเยาวชนประมงพื้นบ้านภาคใต้ สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ และเครือข่ายพลังงานและอุตสาหกรรม ภายใต้การประสานงานของคณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม (Thai Working Group for Climate Justice)

2) เอกสารชุดนี้เป็นฉบับย่อของ “ข้อเสนอของภาคประชาสังคมไทยต่อรัฐบาลไทย ในสมัยประชุมภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 15” ซึ่งได้นำเสนอต่อผู้แทนรัฐบาลไทยครั้งแรกในเวทีการสัมมนาเพื่อสร้างความร่วมมือว่าด้วย “ข้อเสนอไทยสู่การประชุมที่โคเปนเฮเกน” ที่ร่วมจัดโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nation Development Program) และคณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ

3) การเจรจาเรื่องโลกร้อน ในที่นี้หมายถึง การประชุมภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 15 ซึ่งมีขึ้นในเดือนธันวาคม ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เพื่อกำหนดพันธะกรณีใหม่สำหรับประเทศที่เป็นภาคีของอนุสัญญาฯ ภายหลังจากที่ข้อบังคับตามพันธะกรณีแรกของพิธีสารเกียวโตหมดผลบังคับใช้ใน พ.ศ. 2555

4) REDD มาจากคำว่า Reducing Emissions from Deforestation and Degradation คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่าและป่าเสื่อมโทรม ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญของการเจรจาโลกร้อนครั้งนี้ ที่นำมาสู่การถกเถียงอย่างกว้างขวางในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศถึงข้อดีข้อเสียและแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเฉพาะผลกระทบจากมาตรการนี้ที่จะเกิดขึ้นกับชนพื้นเมืองและชุมชนที่อยู่อาศัยกับป่า

5) ‘REDD+’ และ ‘REDD++’ ทั้งสองคำนี้เป็นผลที่เกิดขึ้นระหว่างการเจรจาเพื่อกำหนดมาตรการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคป่าไม้ ซึ่งปัจจุบันมีการเพิ่มความหมายจาก REDD เป็น REDD+ ‘เครื่องหมาย +’ หมายถึงการเพิ่มประเด็นป่าไม้ในฐานะที่เป็น ‘แหล่งกักเก็บคาร์บอน’ (Enhancement of Carbon Stocks) เข้าไป นอกจากนี้ผลการเจรจาล่าสุดเกี่ยวกับภาคป่าไม้และการแก้ปัญหาโลกร้อนที่กรุงบาเซโลนา ประเทศสเปน เมื่อวันที่ 2-6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมได้เพิ่มประเด็น ‘การบริการทางระบบนิเวศ’ (Ecosystem Services) เข้าไปในภาคป่าไม้อีก 1 เรื่องเป็น REDD++

หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ: