คดีข้อพิพาทเหมืองแร่ สิ่งที่ท้าทายต่อรัฐบาลโจโกวีกับการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ

โดย  กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน(FTA Watch)
หลักจากที่รัฐบาลอินโดนีเซียได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อต้นปีที่ผ่านมาว่าจะไม่ต่ออายุสนธิสัญญาการส่งเสริมและการคุ้มครองการทุนที่ทำกับประเทศเนเธอร์แลนด์ซึ่งจะหมดอายุในเดือนกรกฎาคม 2558 และมีแผนที่จะยุติสนธิสัญญาฯ ที่ทำกับประเทศต่างๆกว่า 60 ฉบับ
 
ล่าสุด เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่าน บริษัท Newmont Mining ซึ่งผู้ถือหุ้นรายใหญ่อยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ฟ้องรัฐบาลอินโดนีเซีย ผ่านศูนย์นานาชาติเพื่อการระงับข้อพิพาท หรือ ICSID โดยบริษัทเหมืองแร่ยักษ์ใหญ่อ้างว่ากฎหมายแร่และถ่านหินที่ออกในปี 2009 ละเมินสนธิสัญญาฯระหว่างอินโดนีเซียกับเนเธอร์แลนด์
กฎหมายดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านเศรษฐกิจและการใช้ผลประโยชน์จากทรัพยากรที่สำคัญของรัฐบาลอินโดนีเซีย โดยกำหนดกรอบระยะเวลาและเงื่อนไขของการส่งออกวัตถุดิบที่ได้จากการทำเหมืองแร่และการดำเนินกิจกรรมของบริษัทเหมือนแร่ต่างชาติ เช่น กฎหมายกำหนดมาตรการทางภาษีสำหรับการส่งออกวัตถุดิบและกำหนดสัดส่วนของการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างชาติในบริษัทเหมืองแร่
กฎหมายนี้ก็ยังสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มองว่าเศรษฐกิจของอินโดนีเซียพึ่งพาการส่งออกวัตถุดิบถ่านหินและแร่เป็นหลัก ทำให้ประเทศและประชาชนชาวอินโดนีเซียเสียโอกาสและไม่ได้รับประโยชน์จากความมั่นคั่งของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างแท้จริง
 
แต่อย่างไรก็ตามบริษัท Newmont Mining มองว่ากฎหมายข้องต้นทำให้บริษัทต้องประสบกับความยากลำบาก “Hardship” และ เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ “economic loss” 
ซึ่งนี้ไม่ใช่กรณีแรกที่รัฐบาลอินโดนีเซียถูกนักลงทุนต่างชาติฟ้อง ก่อนหน้านี้บริษัท Churchill Mining สัญชาติอังกฤษ ฟ้องรัฐบาลอินโดนีเซียโดยเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนประมาน หนึ่งล้านเหรียญสหรัฐ จากกรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับประทานบัตรการทำเหมือนแร่บนเกาะบอร์เนียว โดยใช้สนธิสัญญาฯระหว่างอินโดนีเซียกับสหราชอาณาจักในการฟ้องร้อง และอีกหนึ่งกรณีที่เป็นข่าวโด่งดังคือ กรณีที่บริษัทเหมือนแร่ Freeport ฟ้องรัฐบาลอินโดนีเซีย ซึ่งภายหลังรัฐบาลต้องยอมอ่อนข้อให้แก่บริษัท โดยยอมให้จ่ายภาษีส่งออกแค่ 7.5 เปอร์เซ็นต์แทนที่จะต้องจ่าย 25 เปอร์เซ็นต์
 
ในกรณีของบริษัท Newmont Mining ก็เช่นกัน หนึ่งเดือนหลังจากที่ฟ้องร้อง ซึ่งอยู่ในช่วงของระยะการคลายความตึงเครียด (cooling- off period) บริษัทเหมืองแร่ได้ถอดฟ้องรัฐบาลอินโดนีเซีย หลังจากรัฐบาลอินโดนีเซียได้ยอมให้บริษัทสามารถละเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและมาตรการในกฎหมายแร่และถ่านหิน และยอมให้บริษัท Newmont Mining จ่ายภาษีแค่ 7.5 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการส่งออกวัตถุดิบที่ได้จากการทำเหมือนแร่
 
หลังจากที่บริษัทถอดฟ้อง รัฐบาลอินโดนีเซียได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ซึ่งเนื้อหาคล้ายกับที่ลงนามกับบริษัท Freeport โดยภาคประชาสังคมของอินโดนีเซียมองว่าการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับบริษัทเหมือนแร่ขาดความโปร่งใส่ โดยภาคประชาสังคมไม่สามารถเข้าร่วมสังเกตการณ์และแสดงข้อกังวล และที่สำคัญที่สุดบันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้ทำลายเจตนารมณ์และเนื้อหาสำคัญของกฎหมายฉบับดังกล่าวที่ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน
 
หนึ่งในสัญญาของประธานาธิบดีโจโกวีที่ให้ไว้ในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้งคือจะเอาความมั่งคั่งและทรัยพากรธรรมชาติกลับคืนสู่ประชาชนชาวอินโดนีเซีย โดยจะสานต่อนโยบายจากรัฐบาลชุดที่แล้วที่มีมาตรการที่เข้มงวดเกี่ยวกับการส่งออกแร่และถ่านหินดิบ และมีนโยบายลดการขยายตัวของเหมือนแร่เพื่อเพิ่มพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร
 
โจทย์ทีสำคัญสำหรับรัฐบาลโจโกวีที่จะต้องจัดการคืออำนาจและสิทธิที่เกินเลยของนักลงทุนต่างชาติที่รัฐบาลอินโดนีเซียมอบผ่านสนธิสัญญาการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ซึ่งทางภาคประชาสังคมอินโดนีเซียมองว่ารัฐบาลได้ดำเนินมาถูกทางแล้วที่จะยุติสนธิสัญญาฯที่ทำกับประเทศต่างๆ เพื่อให้รัฐบาลสามารถที่จะใช้อำนาจรัฐอธิปไตยของตนอย่างเต็มที่ในการปกป้องและคุ้มครองผลประโยชน์ของประเทศ 
ซึ่งจะต้องติดตามกันต่อไปว่ารัฐบาลอินโดนีเซียโดยการนำของโจโกวีจะมีแนวทางและยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนอย่างไรเพื่อบรรลุเป้าหมายที่สัญญากับประชาชนชาวอินโดนีเซีย
 
---------------------------------------------------
หมวดหมู่ของเนื้อหาในเว็บ: