ชาวบ้าน ค้านเหมืองแร่ทองคำ บุกยื่นหนังสือบิ๊กตู่ ร้องเลิกสัมปทานทุกแห่ง เยียวยาปชช.

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 22 กันยายน ที่ศูนย์บริการประชาชน ฝั่งอาคารสำนักงานก.พ. กลุ่มประชาชนและตัวแทนชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบและจะได้รับผลกระทบ จากการสํารวจแร่ทองคําและทำเหมืองแร่ทองคำใน 12 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสรรค์ เลย ลพบุรี สระบุรี ระยอง จันทบุรี สระแก้ว สุราษฎร์ธานี และสตูล เป็นต้น โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า ประชาคมสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคํา (ปปท.) เข้ายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอคัดค้านและให้ยุตินโยบายสำรวจและสัมปทานเหมืองแร่ทองคําและระงับการทําเหมืองแร่ทองคํา ทุกแห่ง เพิกถอนประทานบัตร อาชญาบัตร และอาชญาบัตรพิเศษที่เกี่ยวข้องกับแร่ทองคําโดยทันที

โดยในเขตพื้นที่12 จังหวัดดังกล่าวนั้น ได้มีประทานบัตรทําเหมืองแร่ทองคํากว่า 33 แปลง อาชญาบัตร พิเศษให้สํารวจแร่ทองคํากว่า 65 แปลง ประมาณ 6 แสนไร่ และพื้นที่มีการยื่นคําขออาชญาบัตรพิเศษ กว่า 107 แปลง รวมแล้วเป็นพื้นที่เกินกว่าล้านไร่ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ภูเขา ป่าไม้ ต้นน้ำลําธาร แม่น้ำ เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร (ส.ป.ก. 4-01) ถนน บ้าน วัด โรงเรียน สถานที่ท่องเที่ยวสวนผลไม้ และพื้นที่ทํากิน ของประชาชน ซึ่งในการทําเหมืองทองคํา จําเป็นต้องทําลายทรัพยากรทั้งหลายเหล่านั้น และสร้างบ่อทิ้งกากแร่ ขึ้นมาแทนถ้าให้ทําเหมืองทองคําทั้งประเทศ ก็จะมีบ่อทิ้งกากแร่เป็นพื้นที่เกินกว่าล้านไร่ เป็นบ่อทิ้งกากแร่ที่มี ความสูง 30-50 เมตร อยู่ในพื้นที่ต้นน้ำลําธาร และต้องใช้สารพิษไซยาไนท์ จํานวนล้านกว่าตันต่อปี และในบางพื้นที่ได้มีการนำชาวบ้านออกจากพื้นที่ทำกินที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ เพื่อสำรวจและทำเหมืองแร่โดยอ้างว่าเอากลับไปเป็นพื้นที่ป่าไม้ เพื่อไม่ให้ประชาชนอ้างสิทธิครอบครอง

อนึ่ง รอบพื้นที่การทําเหมืองทองคําชาตรี ที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งพบว่าสิ่งแวดล้อมและประชาชนที่อยู่ รอบๆ เหมืองพิจิตรกว่าสองร้อยคนตรวจพบสารโลหะหนักในปัสสาวะและในเลือด มีแมกกานีสและสารหนู ปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ข้าวและพืชผักต่างๆ จนทําให้ชาวบ้านไม่สามารถใช้น้ำบาดาล ต้องรอรับน้ำถังบริจาค รอ รับบริจาคคูปองเพื่อซื้อพืชผักเพื่อยังชีพ ถึงแม้ว่าจะเคยมีคําสั่งของศาลปกครองให้ยุติการทําเหมืองชั่วคราว และให้จัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการเหมืองแร่ทอง คําให้เป็นไปตามที่กําหนด ไว้ในกฎหมาย (คดีอยู่ในชั้นอุทธรณ์) และการทําเหมืองทองคําจะมีการจ่ายค่าภาคหลวงแร่ปีละหลายร้อยล้าน บาท แต่คุณภาพชีวิตของชาวบ้านรอบๆ เหมืองต้องเจ็บป่วยล้มตายด้วยอาการอย่างเดียวกันโดยไม่ทราบ สาเหตุ จนไม่อาจอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวได้และได้รวมตัวกันที่จะเรียกร้องขอให้ อพยพ ออกจากพื้นที่ดังกล่าว

โดยทางเครือข่ายจึงขอเรียกร้องให้ยุตินโยบายสํารวจและสัมปทานเหมืองแร่ทอง คําและระงับการทําเหมืองแร่ทองคําทุกแห่ง ยกเลิกประทานบัตร อาชญาบัตร และอาชญาบัตรพิเศษ และคําขออาชญาบัตรพิเศษสํารวจแร่ทองคํา โดยทันที

และขอให้ทําการตรวจและรักษาสุขภาพของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบทุกด้านอย่าง ละเอียดในทันที และชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วกับประชาชนและสิ่งแวดล้อมทั้งหมด โดยหน่วยงานที่มีความ น่าเชื่อถือและเป็นกลาง ค่าใช้จ่ายและความรับผิดชอบของผู้ประกอบการใน การทําเหมืองแร่ทองคําทั้งหมดโดยปราศจากมลพิษและต้องให้มีส่วนร่วมของ ประชาชนในทุกขั้นตอน

ขอให้ยกเลิกพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 และยกเลิกร่างแก้พระราชบัญญัติแร่ที่อยู่ระหว่างหรือ ผ่านความเห็นชอบของสํานักงานกฤษฎีกาหรือผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีทุก ฉบับ

อีกทั้งในระหว่างที่กําลังจะมีการปิดเหมืองทองคํา หรือปิดเหมืองทองคําแล้ว หากมีประชาชนได้รับ ผลกระทบในทางสุขภาพและวิถีชีวิตจะต้องได้รับการเยียวยาโดยทันที

แหล่งข่าว: 
มติชนออนไลน์

เนื้อหาข่าวเป็นการรวบรวมเพื่อการศึกษาวิจัยเท่านั้น อันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ มิได้นำไปเพื่อการค้าแต่อย่างใด