เจาะลึกสาระสำคัญ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ มาตรการดูแลหรือจำกัดสิทธิ?
ตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค. ที่ผ่านมา ได้มีประกาศจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และประกาศจากสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ เพื่อขยายความวิธีการดำเนินงานของเข้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อ เดือน ส.ค. ที่ผ่านมา ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทั้งเรื่องของการกำหนดระดับเสียงของเครื่องขยายเสียงที่ใช้ในการชุมนุม กำหนดวิธีการแจ้งการชุมนุมสาธารณะ และเครื่องมือควบคุมฝูงชนในการชุมนุมสาธารณะ
ทั้งนี้ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวถูกตราขึ้นเพื่อจัดระเบียบการชุมนุม ทั้งนี้ไม่ใช่เฉพาะประเทศเราเท่านั้นที่มีกำหมายเช่นนี้ แต่ต่างประเทศล้วนแล้วแต่มีเช่นเดียวกัน เพื่อเป็นการขีดเส้น ทั้งของผู้ชุมนุม และผู้ควบคุมการชุมนุม
เนื้อหาของกฎหมาย กำหนดว่า การชุมนุมต้อง ปราศจากอาวุธ รวมถึงห้ามชุมนุมในสถานที่ต่างๆช่น ห่างจากพระบรมมหาราชวัง หรือสถานที่ของพระราชอาคันตุกะในรัศมี รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล และศาล รวมถึงต้องไม่กีดขวางทางเข้าออกสถานที่หน่วยงานของรัฐ,ท่าอากาศยาน-สถานีขนส่งสาธารณะ,โรงพยาบาล,สถานศึกษา ฯลฯ
โดยผู้ที่จะจัดชุมนุมต้อง แจ้งให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ที่จะจัดการชุมนุมทราบ ซึ่งไม่ใช่เป็นการขออนุญาต โดยต้องแจ้งการรายละเอียด วันเวลา สถานที่จัดชุมนุม ซึ่งหากเจ้าพนักงานเห็นว่าการจัดชุมนุมนั้นผิดกฎหมายก็สามารถสั่งห้ามการชุมนุมได้ ขณะเดียวกันผู้จัดก็มีสิทธิอุทธรณ์เช่นกัน
ส่วนผู้จัดชการชุมนุมก็ถูกกำหนดหน้าที่ไว้ คือ ต้องทำให้การชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่ขัดขวางประชาชนที่จะใช้พื้นที่สาธารณะเกินพอดี ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้ชุมนุมกระทำความผิด ไม่ใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าที่มีขนาดหรือระดับเสียงเกินกว่าที่กำหนด ต้องไม่ปราศรัยในช่วง24.00 – 6.00น.
ขณะที่ผู้ชุมนุมเองก็มีหน้าที่ ไม่ปิดบังอำพรางตน (เว้นเสียแต่แต่งตามประเพณี) พกพาอาวุธ หรือสิ่งเทียมอาวุธ รวมถึงสิ่งที่ใช่เป็นอาวุธได้ และไม่บุกรุกหรือทำลาย ทรัพย์สินของคนอื่นให้ใช้การไม่ได้ ไม่ข่มขู่ผู้อื่น รวมถึงไม่ใช่กำลังประทุษร้ายคนอื่น ไม่เดินขบวนตั้งแต่18.00 – 06.00น.
ด้านเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมการชุมนุมก็มีหน้าที่- คุ้มครองความสะดวก ความปลอดภัยให้กับประชาชน ผู้ชุมนุม โดยเจ้าหน้าที่จะต้องผ่านการอบรมให้มีทักษะ ความเข้าใจ และความอดทน อีกทั้งจะต้องจะต้องแต่งเครื่องแบบแสดงตนในขณะปฏิบัติหน้าที่ และอาจจะใช้เครื่องมีควบคุมฝูงชนตามที่รัฐมนตรีประกาศ
ทั้งนี้หากการชุมนุมขัดกับกฎหมาย ก็สามารถประกาศให้ผู้ชุมนุมยกเลิกการชุมนุมภายในเวลาที่กำหนด
ส่วน-แผนแนวทางการรับมือกับผู้ชุมนุม จะต้องหลีกเลี่ยงการใช้กำลัง หรือถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ให้ใช้กำลังและเครื่องมือควบคุมฝูงชนเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
“ในกรณีที่พ้นระยะเวลาที่ประกาศให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ควบคุม หากมีผู้ชุมนุม อยู่ในพื้นที่ควบคุมหรือเข้าไปในพื้นที่ควบคุมโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดซึ่งหน้า และให้ผู้ควบคุมสถานการณ์และผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ควบคุมสถานการณ์ดำเนินการให้มีการเลิกการชุมนุมสาธารณะตามคำสั่งศาล”
อย่างไรก็ตามเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย หน่วยงานที่เกี่ยวจ้องก็ได้ออกประกาศออกมาเพื่อรองรับการทำงาน โดยฉบับแรกเป็นประกาศของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเรื่อง “การกำหนดระดับเสียงของเครื่องขยายเสียงในการชุมนุมสาธารณะ” โดย ซึ่งตามหลักระดับที่อันตรายคือระดับ 85 เดซิเบล แต่การชุมนุมก็จำเป็นต้องใช้เครื่องขยายเสียงหากมีผู้ชุมนุมเป็นจำนวนมาก และมีช่วงเวลาต่างๆ จึงยากที่จะกำหนดชัดเจน ที่สุดจึงทำเป็นค่าเฉลี่ยกล่าวคือ กำหนดค่าเฉลี่ยตลอด 24 ชั่วโมงไม่เกิน 70 เดซิเบล
ส่วนฉบับต่อมา คือประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง “กำหนดวิธีการแจ้งการชุมนุมสาธารณะ” ซึ่งที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยประกาศฉบับดังกล่าวได้แนบแบบฟอร์มการแจ้ง โดยให้กรอกข้อมูลรายละเอียด อย่างชื่อของผู้จัดการชุมนุม (แกนนำ) มาจากหน่วยงานไหน วัตถุประสงค์ในการชุมนุมคืออะไร ลักษณะของการชุมนุมนั้นเป็นอย่างไร มีการเคลื่อนย้ายสถานที่ หรือเดินขบวนหรือไม่ จำนวนผู้ชุมนุม วันเวลา ระยะเวลาการชุมนุม รวมถึงรายละเอียดของยานพาหนะ เครื่องเสียง และอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้ในการชุมนุม กล่าวได้ว่า เป็นการสอบถามรายละเอียดที่ครบถ้วนเป็นอย่างมาก โดยการระบุเป็นแบบฟอร์ม มีข้อดีทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างเจ้าหน้าที่ กับผู้จัดการชุมนุม
ในส่วนประกาศฉบับสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ก็คือประกาศจากสำนักนักนายกรัฐมนตรี ในเรื่องของเครื่องมือควบคุมฝูงชนในการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 พ.ย. ที่ผ่านมาเช่นกัน โดยเป็นการกำหนดเจ้าหน้าที่เลือกใช้เครื่องมือที่ใช้ควบคุมการชุมนุม ที่ไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อย รวมถึงสุขอนามัยของประชาชน และจะต้องไม่กระทบสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ทั้งนี้รายการของอุปกรณ์ควบคุมฝูงชนมี 48 ชิ้นประกอบด้วย 1.หมวกปราบจลาจล หรือหมวกกันกระสุนพร้อมกระบังหน้า,2.โล่ใส หรือโล่กันกระสุน,3.ชุดป้องกันสะเก็ด ตลอดจน สนับแข้ง สนับเข่า สนับศอก อุปกรณ์ป้องกันสะเก็ด บริเวณลำตัว แขนและขา,4.กระบองยาง หรืออุปกรณ์ใช้ตี (Baton),5.สายรัดบังคับ (สายล็อคข้อมือ) หรือกุญแจมือ,6.หน้ากากป้องกันแก๊สพิษ พร้อมหม้อกรองแก๊สพิษและไมโครโฟน,7.แก๊สน้ำตาชนิดสเปรย์ สกัดจากพืชธรรมชาติ,8.เสื้อเกราะอ่อนป้องกันกระสุน,9.เครื่องขยายเสียงพร้อมไมโครโฟน ขนาดเล็ก,10.อุปกรณ์ส่งคลื่นเสียงรบกวนพิเศษระยะไกลชนิดพกพา,11.เครื่องเสียงและระบบป้องกันอันตรายรถสั่งการ,12.เครื่องยิงแก๊สน้ำตาชนิดใช้แล้วทิ้ง,13.เครื่องฉีดแก๊สแบบสะพาย,14.ชุดปืนยิงแก๊สน้ำตาพร้อมอุปกรณ์,15แก๊สน้ำตาชนิดเผาไหม้
ต่อด้วย16.แก๊สน้ำตาสำหรับผสมน้ำ,17.ลูกขว้างแบบควัน,18.ลูกขว้างแบบแสง–เสียง,19.ลูกขว้างแก๊สน้ำตา ชนิดOC,20.ลูกขว้างแก๊สน้ำตา ชนิดCS,21.ถุงลมบอกทิศทาง,22.เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง และสีผสมน้ำ,23.อาวุธปืนลูกซอง สำหรับยิงกระสุนยางหรือแก๊สน้ำตา,24.อุปกรณ์ช็อตไฟฟ้า (Taser),25.ปืนยิงตาข่าย,26.รถฉีดน้ำแรงดันสูง หรือรถดับเพลิง,27.เครื่องกีดขวางการผ่านของรถ,28.อุปกรณ์ตรวจหาอาวุธบุคคล,29.อุปกรณ์ตรวจหาอาวุธยานพาหนะ,30.แผงกั้นเหล็ก กรวยยาง, 32.แท่นปูน หรืออุปกรณ์สำหรับป้องกันสถานที่, 33.ลวดหีบเพลงแถบหนาม, 34.ถุงมือหนัง, 35.รถเครนยกแท่นปูน, 36.ยานพาหนะสำหรับเจ้าหน้าที่และการลำเลียงเครื่องมือ,37.รถควบคุมฝูงชน (Riot Truck)ขนาด ๖ ล้อ, 38.รถควบคุมฝูงชน (Riot Truck)ขนาด ๑๐ ล้อ, 39.รถที่ทำการทางยุทธวิธี, 40.รถบรรทุกน้ำ, 41.รถส่องสว่าง, 42.อุปกรณ์ส่งคลื่นเสียงรบกวนพิเศษระยะไกล ขนาดกลาง, 43.อุปกรณ์ส่งคลื่นเสียงรบกวนพิเศษระยะไกล ขนาดใหญ่, 44.ชุดเครื่องเสียงความดังสูง พร้อมอุปกรณ์กำเนิดพลังงาน,45.โคมไฟส่องสว่างฉุกเฉิน, 46.อุปกรณ์ถ่ายภาพทั้งภาพนิ่งและเคลื่อนไหว, 47เครื่องบันทึกเสียง และ48.เครื่องมือวัดระดับเสียง
หากพิจารณาจากอุปกรณ์ทั้ง 48 อย่างนั้นจะพบว่า เป็นอุปกรณ์ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อควบคุมฝูงชนอย่างแท้จริง โดยไม่ได้เป็นอุปกรณ์ทุมุ่งหวังทำร้ายร่างกาย หรือทำให้ได้รับบาดเจ็บมาก หากแต่เป็นเพื่อสกัดดั้นผู้ชุมนุมในยามเกิดความชุลมุน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะใช้อุปกรณ์เหล่านี้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์อีกที
อย่างไรก็ตาม ย่อมมีเสียงวิพากษ์ว่า กฎหมายและประกาศดังกล่าว เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชนหรือไม่ โดยพล.ต.ต.ศรกฤษณ์ แก้วผลึก ผู้บังคับการกองบังคับการฝึกอบรมตำรวจกลาง ได้ยืนยันว่า พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวไม่ได้เป็นการจำกัดสิทธิของประชาชน แต่มีการจำกัดบางเรื่องเช่นสถานที่ เวลา เครื่องเสียงเป็นต้น เมื่อทางกลุ่มผู้ชุมนุมสามารถแจ้งเรื่องการชุมนุมได้ที่สถานีตำรวจในพื้นที่ แล้วทางเข้าหน้าที่จะตอบกลับ ซึ่งไม่ได้เป็นการอนุญาตแต่อย่างใด แต่จะเป็นการชี้แจงว่าการตัดชุมนุมในพื้นที่นั้นผิดกฎหมายหรือไม่ เจ้าหน้าที่คนไหนรับผิดชอบดูแลกลุ่มผู้ชุมนุม และทางตำรวจจะขอความร่วมมือจากท่านเรื่องอะไรบ้าง
“ในกฎหมายฉบับนี้ ได้ระบุว่าเจ้าหน้าที่ที่ลงปฏิบัติงานดูแลการชุมนุม จะต้องได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้มีทักษะที่เข้าใจ และอดทนต่อการชุมนุม และเจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับโดยไม่ละเว้น ถ้าวันนี้ทุกคนมีความเข้าใจเช่นนี้ รูปแบบการทำงานร่วมกันก็จะเกิดการประนีประนอม พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่ได้มีเพื่อแก้ไขปัญหาการชุมนุม แต่เป็นไปเพื่อรักษาความปลอดภัย หากมีหน่วยงานอื่นจะเข้าร่วมดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมด้วย ก็จะต้องผ่านการอบรบเช่นกัน ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำ”
ด้าน นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในการจัดการชุมนุม ได้กล่าวถึง พ.ร.บ.ฉบับนี้ว่า เห็นกับกับ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวในเรื่องของการที่ห้ามผู้ชุมนุมปกปิดใบหน้า เข้าร่วมการชุมนุม เพราะการชุมนุมจะต้องมีความโปร่งใสบริสุทธิ์ อีกทั้งการปกปิดใบหน้านั้น แสดงถึงสัญญาณที่จะมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้น อีกทั้งการพกพาอาวุธเข้าร่วมชุมนุมนั้น ทางแกนนำก็มักจะอธิบายว่า เป็นการพกไว้เพื่อป้องกันตัวเองจากฝ่ายตรงข้าม เนื่องจากกลุ่มชุมนุมขนาดใหญ่มีแนวโน้มสูงที่จะเกิดความรุนแรง จุดนี้ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า หากระบุไม่ให้มีอาวุธ ตำรวจจะรับประกันความปลอดภัยให้พวกเขาได้หรือไม่ แต่ทั้งนี้การชุมนุมนั้นควรจะมีการพัฒนาได้แล้ว ไม่ควรจะมีการปกปิดใบหน้า และพกพาอาวุธ
ทั้งนี้การชุมนุมนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับความดื้อด้านของคู่กรณี ซึ่งจะเป็นฝ่ายรัฐบาล ไม่ได้มีขึ้นมาแบบลอยๆ หากจะต้องมีการเจรจาเบื้องต้นก่อน แต่ถ้าหากประชาชนมีความรู้สึกว่าไม่ได้มีอำนาจการต่อรอง การไปชุมนุมในจุดยุทธศาสตร์ จึงเป็นสิ่งที่ประชาชนคิดว่าเป็นอำนาจในการต่อรอง เพื่อให้คู่กรณีลงมาเจรจา แต่ทั้งนี้รัฐไทยไม่ค่อยมีความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว จึงอาจจะเกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมได้ นอกจากนี้ยังคงมีหลุมพรางในการชุมนุมอย่างหนึ่งก็คือ การสร้างอารมณ์ฮึกเฮิมให้กับผู้ชุมนุม จนไม่สามารถดึงอารมณ์ของผู้ชุมนุมให้เย็นลงได้ หากตำรวจเข้าไปเจรจากับพวกเขาแล้วเกิดความไม่ลงตัว ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาได้ และเมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมมีอารมณ์ร่วมจนถึงจุดสูงสุด และพบว่าหากยังชุมนุมต่อเช่นนี้ก็จะไม่ชนะ เมื่อนั้นกฎหมายฉบับนี้อาจจะไม่ใช่คำตอบก็เป็นได้