สกู๊ปพิเศษ : ชี้จุดอ่อนเลือกตั้งพม่า "โรฮิงยา" ถูกเพิกถอนสิทธิ

พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชา ธิปไตย ภายใต้การนำของ นางออง ซาน ซู จี ผู้นำประชาธิปไตยพม่า คว้าชัยชนะที่ถล่มทลายได้ตามความคาดหมาย หลังจากกระแสนิยมของพรรคเด่นชัดมาตลอดในการหาเสียง ส่วนพรรครัฐบาล พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา หรือยูเอสดีพี ยอมรับความพ่ายแพ้อย่างมีสปิริต แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการสำคัญด้านประชาธิปไตยของพม่า

แต่สิ่งที่นัก สังเกตการณ์นานาชาติมองว่าเป็นจุดบกพร่องในการเลือกตั้งครั้งนี้ คือการกีดกันกลุ่มผู้มีสิทธิออกเสียงชาวโรฮิงยา 5 แสนคน จากประชากร 1.3 ล้านคน

อีกทั้งยังไม่มีผู้สมัครชาวมุสลิมจากทั้งพรรคเอ็นแอลดีและพรรคยูเอสดีพีแม้แต่ คนเดียว

องค์การ นิรโทษกรรมสากล หรือ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดประเด็นตั้งแต่ก่อน การเลือกตั้งว่า สำหรับชาวโรฮิงยาและกลุ่มคนอื่นๆ อีกหลายแสนคนแล้ว การแสดงความเห็นระหว่างการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่กระทำไม่ได้เลย เนื่องจากพวกเขาได้ถูกตัดสิทธิในการเลือกตั้งไปแล้ว

ทั้งนี้ เมื่อต้นปีนี้ ทางการเมียนมาประกาศยกเลิกบัตรประจำตัวชั่วคราวของชาวโรฮิงยา หรือที่เรียกว่า "บัตรขาว" ส่งผลให้ชาวโรฮิงยา ไม่สามารถลงคะแนนเสียงได้ในวันอาทิตย์นี้ แม้ว่าเคยลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งเมื่อปี 2553 และ 2555 รวมถึงมีการเพิกถอนสิทธิการลงสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครชาวมุสลิมและโรฮิ งยาเป็นจำนวนมากในลักษณะเลือกปฏิบัติ

ขณะเดียวกันทางการกลับไม่ สามารถแก้ปัญหาการรณรงค์เพื่อยุยงสร้างความเกลียดชัง และยุยงให้เกิดการเลือกปฏิบัติและใช้ความรุนแรงต่อชาวมุสลิม

"การกีด กันชาวโรฮิงยาออกจากการเลือกตั้งอย่างสิ้นเชิง ชี้ให้เห็นถึงปัญหาการเลือกปฏิบัติที่ร้ายแรงและหยั่งรากลึก นับเป็นสัญญาณเตือนแก่ประชาคมระหว่างประเทศ และเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่า ทางการ เมียนมาไม่มีเจตจำนงที่จะแก้ไขปัญหาของชาวโรฮิงยาในลักษณะ ที่เคารพศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชนของพวกเขา" แอมเนสตี้ฯ ระบุ

โจเซฟ เบเนดิกต์ ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ ของแอมเนสตี้ฯ กล่าวด้วยว่า ในขณะที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเมียนมาได้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และอีกหลายพันคนอาจได้ร่วมเดินขบวนและรับฟังการปราศรัยของนางออง ซาน ซู จี แต่กลับมีบุคคลอีกเป็นจำนวนมากที่ถูกศาลสั่งจำคุกเพียงเพราะการแสดงความเห็น หรือการประท้วงอย่างสงบ

ผู้มีอำนาจอ้างว่าประเทศนี้กำลังเดินหน้า สู่เส้นทางการปฏิรูป แต่ในความเป็นจริงแล้วยังคงมีการเดินหน้าปราบปรามเสรีภาพในการแสดงออก และสิทธิในการชุมนุมอย่างสงบอย่างเข้มข้น

"ทางการได้เริ่มปราบปราม การเคลื่อน ไหวที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งตั้งแต่หลายเดือนก่อน นับเป็นปฏิบัติการเพื่อให้แน่ใจว่าบรรดาเสียง "ที่ไม่พึงประสงค์" จะถูกคุม ขังในเรือนจำ และเป็นการสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวขึ้น ส่งผลให้ผู้ที่คิด จะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลต้องคิดให้รอบคอบก่อนจะพูดอะไรออกมา" นายเบเนดิกต์กล่าว

ในช่วงหาเสียง นางซู จีกล่าวถึงปัญหาการเพิกเฉยต่อชาวโรฮิงยา ว่าไม่ได้มองปัญหานี้เป็นเรื่องเล็ก แต่ไม่อยากขยายปัญหาให้เกินจริง หากพรรคเอ็นแอลดีชนะการเลือกตั้งจะคุ้มครองดูแลประชาชนทุกกลุ่มภายใต้กฎหมาย

จึง เป็นเรื่องที่น่าติดตามว่ารัฐบาลชุด ต่อไปจะจัดการปัญหานี้อย่างไร หลังจากกลุ่มพระสายสุดโต่งเคยมีอิทธิพลต่อฝ่ายการเมือง และล็อบบี้จนเกิดกฎหมาย ที่ควบคุมชุมชนมุสลิมอย่างเข้มงวด

ในการ เลือกตั้งที่ผ่านมา กลุ่มพระ สายนี้ไม่สนับสนุนพรรคเอ็นแอลดี เพราะไม่ต่อต้านชาวมุสลิมอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามพรรคเอ็นแอลดี รวมถึงนางซู จี ก็ถูกวิจารณ์ว่าไม่ได้ช่วยยืนหยัดเพื่อสิทธิชาวมุสลิมมากนัก

นี่เป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป

แหล่งข่าว: 
ข่าวสด

เนื้อหาข่าวเป็นการรวบรวมเพื่อการศึกษาวิจัยเท่านั้น อันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ มิได้นำไปเพื่อการค้าแต่อย่างใด