กระทิงแดงหนุนแนวคิดอาหารปลอดภัย พาเกษตรกรไทยแลกเปลี่ยนถึงแดนปลาดิบ

ด้วยความคิดที่จะพัฒนาสังคมไปในทางที่ดี และส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายเกิดความยั่งยืนในวิถีชีวิตมากยิ่งขึ้น กลุ่มธุรกิจกระทิงแดงจึงจัดกิจกรรม “เชื่อมโยงเครือข่ายอาหารปลอดภัย ไทย-ญี่ปุ่น” เป็นโครงการต่อยอดแนวคิดเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร ที่ถือเป็นหนึ่งในการเชื่อมโยง และขับเคลื่อนสังคม ที่กลุ่มธุรกิจกระทิงแดง ได้ร่วมจุดพลังให้กับชุมชน ที่มีความเข้มแข็ง พร้อมไปด้วยศักยภาพในการพัฒนา ขยายองค์ความรู้ไปยังสมาชิกในเครือข่ายทั้งของตนเอง และภาคีเครือข่ายอื่นๆ

คุณสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจกระทิงแดง กล่าวว่า เราเห็นว่าการขับเคลื่อนเรื่องอาหารปลอดภัยจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากเราพาเกษตรกรเครือข่ายไปร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวคิดวิถีอินทรีย์ เกษตรกรที่เป็นภาคีเครือข่ายจะได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ซึ่งน่าจะเป็นผลดี ถ้าเราสามารถนำองค์ความรู้ หรือแนวคิดที่ได้มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของเราก็จะเกิดประโยชน์ต่อไปในอนาคต เช่น กระบวนการแปรรูป การเชื่อมโยงผู้บริโภค ช่องทางการตลาด เป็นต้น

หลายคนอาจจะมองว่าทำไมเราถึงหันมาส่งเสริม หรือเอาจริงเอาจังในเรื่องอาหารปลอดภัย ต้องขออธิบายว่าความจริงแล้ว กลุ่มธุรกิจกระทิงแดง ได้มีการสนับสนุนเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหารมาก่อนนี้หลายปีแล้ว สำหรับกิจกรรมนี้ถือเป็นการต่อยอดแนวความคิด และลงลึกในเรื่องความปลอดภัยของอาหารซึ่งเป็นเพียงหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของความมั่นคงทางด้านอาหารเท่านั้น ซึ่งหากเราได้นำภาคีเครือข่ายมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็จะเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับเกษตรกรเครือข่ายของเรา อีกทั้งเรายังอยากให้กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายและนักวิชาการได้นำแนวคิด และประสบการณ์ ที่ได้แลกเปลี่ยนกลับมาปรับใช้ ซึ่งภาคีเครือข่ายที่เราเชิญมานั้นเราเห็นถึงศักยภาพของกลุ่มสามารถที่จะนำองค์ความรู้กลับไปต่อยอดได้

ด้านเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจผู้ผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อสังคม เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน ตำบลกำแมด จังหวัดยโสธร โดย คุณอุบล อยู่หว้า ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน กล่าวว่า เรามีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม
เป็นก้อนเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ และเราทำการถอดบทเรียนจากปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้อีก
ชั้นหนึ่ง โดยในกลุ่มก้อนนั้นจำเป็นที่จะต้องมีผู้นำทั้งในด้านความคิดและการปฏิบัติ แนวคิดในระยะแรกที่ใช้ในการขับเคลื่อนกลุ่มคือหลักคิดของ เศรษฐศาสตร์การเมือง นั่นคือ รายได้และปัญหาหนี้สินของเกษตรกรรายย่อย ในระยะหลัง เริ่มมีแนวคิดเรื่องสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยซึ่งทั้งสองแนวคิดก็นำไปสู่เป้าหมายเดียวกันนั่นคือการพึ่งตนเองของชุมชน หรือชุมชนจัดการตนเองที่ถือเป็นเป้าหมายใหญ่ของการรวมกลุ่ม โดยสมาชิกจะได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ในระบบเกษตรอินทรีย์ ตั้งแต่การจัดการดิน เทคนิคการผลิตปุ๋ย การจัดการแปลงนา การคัดเมล็ดพันธุ์ การป้องกันศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว การแปรรูป การตลาด จนถึงการเชื่อมโยงผู้บริโภค ในแต่ละเรื่องราวก็จะมีวิธีการที่หลากหลาย ได้แก่ การทดลอง การประชุม การอบรม การศึกษาดูงาน การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ กับทั้งภายในชุมชนกันเอง และกับหน่วยงานภายนอก

สำหรับแผนงานในอนาคต เรามีความสนใจในเรื่องการเพิ่มความหลากหลายของสินค้าเกษตรอินทรีย์ คือ จะ
ต้องไม่มีแค่ข้าวที่หลากหลายสายพันธุ์ แต่จะต้องมีผักและผลไม้อื่นๆ เพิ่มมากขึ้น ปรับปรุงเทคนิคการผลิตเพื่อให้ผลผลิตเกษตรอินทรีย์มีปริมาณและคุณภาพสูงขึ้น การเชื่อมโยงผู้บริโภคต้องมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นกว่าเดิม ได้แก่ การสร้างความร่วมมือกับหลายภาคส่วนในการจัดตั้งสหกรณ์ร่วมเพื่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ชุมชนความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตและ
ผู้บริโภค

หมวดหมู่ของข่าว: 
แหล่งข่าว: 
แนวหน้า

เนื้อหาข่าวเป็นการรวบรวมเพื่อการศึกษาวิจัยเท่านั้น อันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ มิได้นำไปเพื่อการค้าแต่อย่างใด