ภาคประชาสังคมในอาเซียนและอีก 6 ประเทศที่ร่วมเจรจาข้อตกลง RCEP "ไม่รับ" กลไกเอกชนฟ้องรัฐในการเจรจา และเรียกร้องให้รัฐบาลแต่ละประเทศที่ร่วมเจรจา "ปฏิเสธ" ไม่นำเรื่อง ISDS มาไว้ในการเจรจา และเปิดเผยเนื้อหาการเจรจาสู่สาธารณะและให้ภาคส่วนต่างๆ ที่มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการเจรจา
ในการประชุมรัฐมนตรีการค้าของประเทศที่ร่วมเจรจาข้อตกลง RCEP ว่าด้วย ISDS และเนื้อหาข้อตกลงอื่นๆ ที่ยังตกลงกันไม่ได้ จะมีขึ้นที่ประเทศลาวในวันที่ 5 ส.ค. นี้ ภาคประชาสังคมที่ติดตามการเจรจา FTA ต่างๆ มีข้อกังวลหลายประการต่อเนื้อหาการเจรจา โดยเฉพาะเรื่องกลไก ISDS ได้ร่วมกันมีแถลงการณ์และข้อเรียกร้องดังนี้
แถลงการณ์
เครือข่ายภาคประชาสังคม “ไม่รับ” บทว่าด้วยนักลงทุนฟ้องรัฐได้ในอาร์เซ็บ
รัฐบาลของ 16 ประเทศกำลังเจรจาข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน (Regional Comprehensive Economic Partnership) หรือ RCEP โดยไม่เปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ จากสำเนาเอกสารในบทว่าด้วยการลงทุนที่หลุดรั่วออกมา แสดงให้เห็นว่ามีข้อเสนอให้นักลงทุนต่างชาติฟ้องดำเนินคดีกับรัฐบาลภายใต้กลไกอนุญาโตตุลาการได้
นักลงุทนต่างชาติจะเรียกร้องค่าเสียหายและดอกเบี้ยจำนวนมหาศาลจากรัฐได้ ถ้าข้อเสนอนี้ผ่านในการเจรจาข้อตกลง RCEP กลไกระงับข้อพิพาทระหว่างเอกขนและรัฐ (Investor-to-State Dispute Settlement) หรือ ISDS จะอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติฟ้องรัฐบาลต่างๆ ที่ร่วมลงนามในข้อตกลง RCEP ได้ ถ้ารัฐบาลมีนโยบายหรือกฎหมายที่ทำให้ผลประโยชน์ของนักลงทุนเหล่านั้นกระทบกระเทือน เช่น การที่รัฐมีนโยบายหรือออกหรือแก้ไขกฎหมายต่างๆ และส่งผลให้กำไรของบริษัทต่างชาติลดลง แม้ว่านโยบายหรือกฏหมายนั้นจะเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของสาธารณะ
กรณีฟ้องร้องโดยใช้กลไก ISDS ที่ผ่านมาได้ท้าทายนโยบายของรัฐที่เกี่ยวกับสุขภาพ สิ่งแวดล้อม ภาษี ะการเงิน และนโยบายอื่นๆ กรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้น รัฐบาลประเทศหนึ่งที่ออกนโยบายเหล่านี้และแพ้คดี ต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับนักลงทุนเป็นจำนวนเงินสูงถึง 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งถือว่าเป็นภาระหนักยิ่งที่รัฐบาลหนึ่งรัฐบาลใดจะต้องหาเงินมาจ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศอย่างกัมพูชา ลาว และเมีนมาร์ ที่เป็นประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดและอยู่ในการเจรจาข้อตกลง RCEP ด้วย จะต้องแบกรับภาระชดใช้ค่าเสียหายที่หนักหนาสาหัสนนี้ให้แก่นักลงทุนต่างชาติ
เท่าที่สืบค้นได้ กรณีฟ้องร้องโดยใช้กลไก ISDS นี้มีจำนวนสูงถึง 696 คดีและมีรัฐบาล 107 ประเทศที่ถูกฟ้อง และจำนวนการฟ้องร้องด้วยมาตรการแบบนี้ในแต่ละปีได้สูงขึ้นอย่างมาก (โดยเฉพาะในปี ค.ศ. 2015) คดีเหล่านี้ โดยส่วนมากแล้ว จะตัดสินโดยคำนึงถึงสิทธิของนักลงทุนเป็นหลัก แต่จำกัดอำนาจของรัฐบาลในการออกกฏหมายหรือมาตราการต่างๆ ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลในประเทศที่พัฒนาแล้วและที่กำลังพัฒนากลับมาพิจารณาใหม่ว่าสมควรจะสนับสนุนบทว่าด้วยการคุ้มครองการลงทุนที่มีมาตรการ ISDS ในสนธิสัญญาการลงทุนแบบทวิภาคีต่างๆ (Bilateral Investment Treaties) หรือ BITs และข้อตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement) หรือ FTA หรือไม่ ตัวอย่างที่ปรากฎในประเทศที่ร่วมเจรจาข้อตกลง RCEP ได้แก่
• อินเดียและอินโดนีเซียกำลังจะถอนตัวจาก BITs
• อัยการสูงสุดของสิงคโปร์และหัวหน้าผู้พิพากษาของศาลสูงสุดในออสเตรเลียได้แสดงความกังวลต่อกลไก ISDS
• หัวหน้าผู้พิพากษาของนิวซีแลนด์ตั้งข้อสังเกตว่า การพิจารณาคดีโดยยึดหลักสิทธิมนุษยชนในศาลท้องถิ่นต่างๆ อาจก่อให้เกิดการฟ้องร้องโดยใช้กลไก ISDS ได้
แม้แต่ประเทศที่ไม่ได้ร่วมเจรจาข้อตกลง RCEP ก็มีท่าทีคัดค้านกลไก ISDS เช่น
• ประเทศอัฟริกาใต้และเอกาดอร์กำลังถอนตัวจาก BITs
• รัฐมนตรีเศรษฐกิจของเยอรมนีคัดค้านกลไก ISDS ในการเจรจา FTA ระหว่างยุโรปกับสหรัฐฯ
• สมาชิกรัฐสภาของเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และออสเตรียคัดค้านกลไก ISDS ในการเจรจา FTA กับแคนาดาและสหรัฐฯ
• สภาในระดับรัฐของสหรัฐฯ ของทุกรัฐคัดค้านกลไก ISDS ในสนธิสัญญาต่างๆ
หน่วยงานต่างๆ ด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้แสดงความกังวลต่อกลไก ISDS นอกจากนี้ ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติและผู้เชี่ยวชาญอิสระในเรื่องสิทธิมนุษยชน 10 คนยังกล่าวถึงคดีภายใต้กลไก ISDS ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า ‘กลไกการกำหนดนโยบายของรัฐและอำนาจในการออกกฎหมายเพื่อผลประโยชน์สาธารณะกำลังอยู่ในอันตราย’ เพราะจะทำให้การออกกฎหมายและนโยบายต่างๆ ของรัฐต้องเป็นอัมพาต บุคคลเหล่านี้จึงมีข้อเสนอแนะว่า ในการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีต่างๆ ซึ่งรวมถึงข้อตกลง RCEP เนื้อหาการเจรจาจะต้องเผยแพร่ต่อสาธารณะ และการเจรจาจะต้องมีความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ซี่งรวมถึงภาคประชาสังคมด้วย
การประชุมของรัฐมนตรีด้านการค้าเกี่ยวกับข้อตกลง RCEP จะมีขึ้นที่ประเทศลาวในวันที่ 5 สิงหาคม 2559 เพื่อที่จะเจรจาหาทางออกในประเด็นที่ยังตกลงกันไม่ได้ในการเจรจารอบก่อนๆ
ด้วยแถลงการณ์ฉบับนี้ องค์กรภาคประชาสังคมในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ 95 องค์กร ตามที่มีรายชื่อต่อไปนี้ ซึ่งอยู่ในประเทศที่ร่วมเจรจาข้อตกลง RCEP (รวมถึงท่านที่ร่วมลงนามเพิ่มเติมเป็นรายบุคคลและในนามส่วนตัว) ขอเรียกร้องในรัฐบาลต่างๆ ของประเทศที่ร่วมเจรจาข้อตกลง RCEP ปฏิเสธไม่เอาเรื่องกลไก ISDS มาเจรจาในข้อตกลง RCEP
ประเทศที่ร่วมในการเจรจาข้อตกลง RCEP ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์
รายชื่อผู้ลงนาม
องค์กร/ประเทศ
1. GRAIN Global
2. Third World Network Global
3. Transnational Institute (TNI) Global
4. World Federation of Public Health Associations Global
5. LDC Watch
6. Asia Pacific Forum on Women, Law & Development (APWLD) Global
Asia & Pacific
7. Public Services International Asia & Pacific Asia & Pacific
8. Southeast Asia Tobacco Control Alliance Asia & Pacific
9. The Building and Wood Workers' International Asia-Pacific Asia & Pacific
10. Focus on the Global South Philippines, Thailand, India, Cambodia, Laos
11. Australian Fair Trade and Investment Network Australia
12. Australian Services Union Australia
13. The Grail Global Justice Network Australia
14. People's Health Movement Australia
15. Public Health Association of Australia
16. New South Wales Nurses & Midwives' Association Australia
Australia
Australia
17. Cambodian Grassroots Cross-sector Network Cambodia
18. SILAKA Cambodia
19. Social Action for Change Cambodia
20. The Messenger Band Cambodia
21. Women's Network for Unity Cambodia
22. Worker's Information Center Cambodia
23. All India Drug Action Network India
24. Alliance for Sustainable and Holistic Agriculture (ASHA) India
25. Delhi Network of Positive People India
26. Food Sovereignty Alliance India
27. Forum Against FTAs India
28. India FDI Watch India
29. Indian Social Action Forum - INSAF India
30. Initiative for Health & Equity in Society India
31. International Treatment Preparedness Coalition (ITPC) -South Asia India
32. Sunray Harvesters India
33. Thanal India
34. The Centre for Internet and Society India
35. Toxics Watch Alliance (TWA) India
36. Ahimsa Society Indonesia
37. Aliansi Masyarakat Sipil Untuk Perempuan Politik (ANSIPOL) Indonesia
38. Aliansi Nasional Bhineka Tunggal Ika (ANBTI) Indonesia
39. Aliansi Petani Indonesia Indonesia
40. Bina Desa Indonesia
41. Creata Indonesia
42. Forhati Jatim Indonesia
43. Himpunan Wanita Disabilitas Indonesia (HWDI) Indonesia
44. IHCS (Indonesian Human Rights Committee for Social Justice) Indonesia
45. Indonesia AIDS Coalition Indonesia
46. Indonesia for Global Justice (IGJ) Indonesia
47. Jaringan Advokasi Tambang (JATAM) Indonesia
48. Koalisi Rakyat Untuk Hak Atas Air (KRuHA) Indonesia
49. Konsorsium Pembaruan Agraria (KPA) Indonesia
50. Maju Perempuan Indonesia (MPI) Indonesia
51. Pengembangan Inisiatif dan Advokasi Rakyat (PIAR) NTT Indonesia
52. Pengurus Wilayah Lembaga Kajian dan Pengembangan Sumberdaya Manusia Nahdlatul Ulama (PW LAKPESDAM NU DKI) Indonesia
Indonesia
53. Sawit Watch Indonesia
54. Serikat Petani Indonesia (SPI) (LVC Indonesia) Indonesia
55. Solidaritas Perempuan (Women's Solidarity for Human Rights) Indonesia
56. Southeast Asia Freedom of Expression Network Indonesia
57. Yogya Interfaith Forum Indonesia
58. Japan Family Farmers Movement Japan
59. Pacific Asia Resource Center (PARC) Japan
60. Jaringan Rakyat Tertindas (JERIT) Malaysia
61. Malaysian Council for Tobacco Control (MCTC) Malaysia
62. Malaysian Women's Action for Tobacco Control & Health (MyWATCH) Malaysia
63. Penang Research Center in Socio Economy (PReCISE) Malaysia
64. Persatuan Kesedaran Komuniti Selangor (Empower Malaysia) Malaysia
65. Positive Malaysian Treatment Access & Advocacy Group (MTAAG+) Malaysia
66. Primary Care Doctors Organisation Malaysia (PCDOM) Malaysia
67. NGO Gender Group Myanmar
68. Glocal Solutions Ltd New Zealand
69. Doctors for Healthy Trade New Zealand
70. It's Our Future Aotearoa New Zealand New Zealand
71. MANA Movement of the People New Zealand
72. New Zealand Council of Trade Unions New Zealand
73. New Zealand Public Service Association New Zealand
74. New Zealand Tertiary Education Union New Zealand
75. Ngai Tai Iwi Authority New Zealand
76. Public Health Association
77. New Zealand Public Service Association New Zealand
New Zealand
78. Alyansa Tigil MIna (Alliance Against Mining) Philippines
79. GABRIELA Alliance of Filipino Women Philippines
80. IBON Foundation Philippines
81. Initiatives for Dialogue and Empowerment through Alternative Legal Services (IDEALS) Philippines
82. Women's Legal and Human Rights Bureau (WLB), Inc. Philippines
83. Association of Physicians for Humanism Republic of Korea
84. IPLeft Republic of Korea
85. Knowledge Commune Republic of Korea
86. Korean Federation of Medical Groups for Health Rights, KFHR Republic of Korea
87. Korean Pharmacists for Democratic Society, KPDS Republic of Korea
88. Trade & Democracy Institute Republic of Korea
89. Trade Commission of MINBYUN-Lawyers for a Democratic Society Republic of Korea
90. Assembly of the Poor Thailand
91. Foundation for Women Thailand
92. FTA Watch Thailand
93. Indigenous Women's Network of Thailand Thailand
94. Thai Poor Act Thailand
95. Vietnam Network of People living with HIV Vietnam
บุคคล/
ประเทศ
1. Andi Yuliani Paris Indonesia
2. Athea Sarastiani Indonesia
3. Chairunnisa Yusuf Indonesia
4. Hendrik Siregar Indonesia
5. Ida Fauziyah Indonesia
6. Indah Suksmaningsih Indonesia
7. Irma Suryani Chaniago Indonesia
8. Irmawaty Habie Indonesia
9. Lena Maryana Mukti Indonesia
10. Luluk Hamidah Indonesia
11. Maeda Yoppy Indonesia
12. Maria Goreti Indonesia
13. Maulani A Rotinsulu Indonesia
14. Melani Leimena Suharli Indonesia
15. Nia Sjarifudin Nidalia Djohansyah Indonesia
16. Nihayatul Wafiroh Indonesia
17. Ratu Dian Hatifah Indonesia
18. Sarah Lery Mboeik Indonesia
19. Sulistyowati Irianto Indonesia
20. Sumarjati Arjoso Indonesia
21. Tumbu Saraswati Indonesia
22. Biswajit Dhar India
23. Gajanan Wakankar India
24. Vu Ngoc Binh Vietnam
Photo Credit: MSF