นิตย์ไขก๊อกเอฟทีเอ แฉรัฐบาลบีบให้ออก

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 19 มกราคม ระหว่างปฎิบัติ ภาระกิจแก้จนที่อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด ยอมรับว่านายนิตย์ พิบูลสงคราม หัวหน้าทีมเจรจา เขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐ (เอฟทีเอ)ลาออกแล้ว โดยนายนิตย์มาบอกกับตนว่า ถูกเข้าใจผิดและ ถูกเอ็นจีโอโจมตีต่างๆนานา จนรู้สึกหมดกำลังใจ แต่ก็พร้อมเป็นที่ปรึกษาให้

"นายนิตย์มาบอกผมหลายรอบแล้ว ผมก็เลยเกรงใจ เพราะเกษียณแล้วยังอุตส่าห์เสียสละ มาทำงานให้ ผมเห็นใจจึงให้เป็นที่ปรึกษา โดยจะให้นายอุตตมะ สาวนายน และนายปานปรีย์ พหิ ธานุกร และนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ ผู้แทนการค้าไทย มาช่วยกันเป็นหลักต่อ"นายกฯกล่าว

และยืนยันว่า การที่หัวหน้าทีมเจรจาเอฟทีเอลาออกไม่กระทบการเจรจา เพราะนายอุตตมะ ซึ่งได้เจรจาคู่กับนายนิตย์มาตลอด ดูแลได้ ไม่มีปัญหา ส่วนเรื่องหัวหน้าคณะเจรจาขอดูกันอีกที อย่างไรก็ตาม ในส่วนสหรัฐไม่มีปัญหาอยู่แล้ว ทีมเจรจามีหน้าที่ของใครของมัน ส่วนการเจร จารอบต่อไปประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมนี้

ทั้งนี้ มีรายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล ระบุถึงสาเหตุที่นายนิตย์ลาออกว่า รัฐบาลต้อง การเปลี่ยนแนวทางการเจรจาเอฟทีเอ ไทย-สหรัฐไปใช้นโยบายเชิงรุกในการต่อรอง โดย นายกรัฐมนตรีต้องการเน้นเจรจาแบบบู๊ ในลักษณะการตลาดมากกว่าที่จะเจรจาตามแนวทาง การทูต เพราะทำให้ล่าช้าและเสียเปรียบมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาแนวทางการเจรจาของนายนิตย์ค่อน ข้างจะนุ่มนวลประณีประนอมเกินไป ทำให้การเจรจาไม่ได้ข้อยุติ นอกจากนี้ ทีมเจรจาเอฟทีเอยังต้องอยู่ภายใต้กำกับจากนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายก ฯและรมว.พาณิชย์ จากเดิมที่กระทรวงต่างประเทศเป็นแกนนำ เพราะนายอุตตมะ และนายสุวิทย์ เมษิณทรีย์ ที่จะมารับงานต่อนายนิตย์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรมต.ประจำกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นที่ น่าสังเกตว่า การแต่งตั้งนายอุตตมะ นายสุวิทย์ รวมทั้งนายปรานปรีย์ และนายอนุทิน ชาญวีรกุล มาเป็นทีมเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐนั้น ดำเนินการก่อนที่นายนิตย์จะประกาศลาออก ซึ่งถือเป็น การกดดันนายนิตย์ ที่มีท่าทีเจรจาที่นุ่มนวลเกินไป

รายงานข่าวระบุอีกว่า แม้จะมีการเปลี่ยนตัวบุคคลแล้ว แต่การเจรจายังคงยืดเยื้อเพราะมี หลายประเด็นที่ตกลงกันยาก เพราะมีประเด็นที่ทำให้ไทยต้องเสียเปรียบหลักๆคือ การคุ้มครองสิทธิ บัตรยา และการเปิดเสรีการเงินก็ทำให้สถาบันการเงินไทยประสบปัญหาจนถึงขั้นปิดกิจการ

ขณะเดียวกัน มีปฎิกิริยาจากหลายส่วนต่อการลาออกของหัวหน้าทีมเจรจาเอฟทีเอครั้งนี้ ซึ่ง ทั้งภาครัฐและเอกชนเชื่อว่า จะไม่มีผลกระทบต่อการเจรจาเอฟทีเอ โดยนายสีหศักดิ์ พวงเกตุ แก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า การเปลี่ยนตัวบุคคลไม่ใช่ประเด็น หลักที่จะส่งผลกระทบต่อการเจรจา และสหรัฐจะมองเป็นปัญหาภายในของไทย

เช่นเดียวกับ นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการ สภาหอการค้า แห่งประเทศไทยที่เห็นว่า น่าจะเป็นผลดีต่อการเจรจา เพราะนายอุตตมะมีตำแหน่งทางการเมือง มีอำนาจตัดสินใจและประสานข้อมูลกับกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้องได้ดีกว่านายนิตย์ที่เป็นข้าราชการ เกษียณแล้ว

นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การเปลี่ยนตัวหัวหน้าคณะเจรจาถือ เป็นเรื่องปกติสามารถทำได้ เพราะการเจรจามีความสำคัญใน 2 ส่วนคือ ท่าทีการเจรจาและวิ ธีการเจรจา ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นเพียงการเปลี่ยนวิธีการในการเจรจาเท่านั้น แต่ท่าทีและจุดยืน ของไทยยังคงเดิม

ในส่วนเอ็นจีโอที่ถูกระบุเป็นตัวกดดันนายนิตย์ให้ลาออกนั้น ก็ออกมาปฎิเสธพร้อมแสดงความ เห็นเรื่องนี้อย่างกว้างขว้าง อย่างน.ส.รสนา โตสิตระกูล ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค แสดง ความเห็นใจหัวหน้าคณะเจรจาที่ลาออก แต่อย่ามองเป็นการกดดัน เพราะการที่ภาคประชาชนมา เรียกร้องให้รัฐบาลเปิดสัญญา เนื่องจากห่วงผลประโยชน์ของคนทั้งประเทศ อีกทั้ง ตามขั้นตอน ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภาก่อน แต่รัฐบาลลัดขั้นตอน

"เมื่อหัวหน้าคณะออกไปแล้ว ใช่ว่าทุกอย่างจะจบ รัฐบาลก็ตั้งคนอื่นเข้ามาแทน อาจยิ่งกว่า เดิม จึงขอให้รัฐบาลเปลี่ยนท่าที นำสัญญามาเปิดเผยผ่านสภา ซึ่งเราจะติดตามต่อไป และขอให้ ประชาชนจับตาดูอย่ากระพริบตา การค้าเสรีเป็นสิ่งเดียวที่ประเทศมหาอำนาจ จะทำทุกอย่างเพื่อ ให้ได้ประโยชน์ เปรียบเหมือนหมาจิ้งจอกในเล้าไก่" น.ส.รสนา กล่าว

น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ส.ว.อุบลราชธานี กล่าวว่า การลาออกของนายนิตย์ไม่เกี่ยว กับการกดดันของภาคประชาชน เพราะสิ่งที่เราคัดค้านมาตลอดไม่ใช่ตัวบุคคล แต่ต้องการกดดันรัฐ บาลที่ออกนโยบายนี้ คิดว่านายนิตย์เข้าใจทุกอย่างดี จึงไม่อยากลำบากใจและไม่อยากเปลืองตัว อีกทั้ง แม้รัฐบาลจะหาคนมาแทน ก็ไม่มีอะไรดีขึ้น เพราะการตัดสินใจสุดท้ายอยู่ที่นายกฯ จึงต้อง จับตาดูการเจรจาต่อไป

ขณะที่นายไสว พราหมณี ส.ว.นครราชสีมา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการแรงงานฯ วุฒิสภา กล่าวว่า เห็นด้วยกับการดำเนินการของนายแก้วสรร อติโพธิ ส.ว.กทม.ที่ส่งหนังสือให้ ส.ว.ทั้ง 200 คนเสนอหัวข้อและขอการสนับสนุนในการเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาล โดยไม่มีการลง มติ แต่เรื่องที่อภิปรายควรเน้นเรื่องเดียวคือ เอฟทีเอไทย-สหรัฐ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 19 มกราคม ระหว่างปฎิบัติ ภาระกิจแก้จนที่อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด ยอมรับว่านายนิตย์ พิบูลสงคราม หัวหน้าทีมเจรจา เขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐ (เอฟทีเอ)ลาออกแล้ว โดยนายนิตย์มาบอกกับตนว่า ถูกเข้าใจผิดและ ถูกเอ็นจีโอโจมตีต่างๆนานา จนรู้สึกหมดกำลังใจ แต่ก็พร้อมเป็นที่ปรึกษาให้

"นายนิตย์มาบอกผมหลายรอบแล้ว ผมก็เลยเกรงใจ เพราะเกษียณแล้วยังอุตส่าห์เสียสละ มาทำงานให้ ผมเห็นใจจึงให้เป็นที่ปรึกษา โดยจะให้นายอุตตมะ สาวนายน และนายปานปรีย์ พหิ ธานุกร และนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ ผู้แทนการค้าไทย มาช่วยกันเป็นหลักต่อ"นายกฯกล่าว

และยืนยันว่า การที่หัวหน้าทีมเจรจาเอฟทีเอลาออกไม่กระทบการเจรจา เพราะนายอุตตมะ ซึ่งได้เจรจาคู่กับนายนิตย์มาตลอด ดูแลได้ ไม่มีปัญหา ส่วนเรื่องหัวหน้าคณะเจรจาขอดูกันอีกที อย่างไรก็ตาม ในส่วนสหรัฐไม่มีปัญหาอยู่แล้ว ทีมเจรจามีหน้าที่ของใครของมัน ส่วนการเจร จารอบต่อไปประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมนี้

ทั้งนี้ มีรายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล ระบุถึงสาเหตุที่นายนิตย์ลาออกว่า รัฐบาลต้อง การเปลี่ยนแนวทางการเจรจาเอฟทีเอ ไทย-สหรัฐไปใช้นโยบายเชิงรุกในการต่อรอง โดย นายกรัฐมนตรีต้องการเน้นเจรจาแบบบู๊ ในลักษณะการตลาดมากกว่าที่จะเจรจาตามแนวทาง การทูต เพราะทำให้ล่าช้าและเสียเปรียบมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาแนวทางการเจรจาของนายนิตย์ค่อน ข้างจะนุ่มนวลประณีประนอมเกินไป ทำให้การเจรจาไม่ได้ข้อยุติ นอกจากนี้ ทีมเจรจาเอฟทีเอยังต้องอยู่ภายใต้กำกับจากนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายก ฯและรมว.พาณิชย์ จากเดิมที่กระทรวงต่างประเทศเป็นแกนนำ เพราะนายอุตตมะ และนายสุวิทย์ เมษิณทรีย์ ที่จะมารับงานต่อนายนิตย์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรมต.ประจำกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นที่ น่าสังเกตว่า การแต่งตั้งนายอุตตมะ นายสุวิทย์ รวมทั้งนายปรานปรีย์ และนายอนุทิน ชาญวีรกุล มาเป็นทีมเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐนั้น ดำเนินการก่อนที่นายนิตย์จะประกาศลาออก ซึ่งถือเป็น การกดดันนายนิตย์ ที่มีท่าทีเจรจาที่นุ่มนวลเกินไป

รายงานข่าวระบุอีกว่า แม้จะมีการเปลี่ยนตัวบุคคลแล้ว แต่การเจรจายังคงยืดเยื้อเพราะมี หลายประเด็นที่ตกลงกันยาก เพราะมีประเด็นที่ทำให้ไทยต้องเสียเปรียบหลักๆคือ การคุ้มครองสิทธิ บัตรยา และการเปิดเสรีการเงินก็ทำให้สถาบันการเงินไทยประสบปัญหาจนถึงขั้นปิดกิจการ

ขณะเดียวกัน มีปฎิกิริยาจากหลายส่วนต่อการลาออกของหัวหน้าทีมเจรจาเอฟทีเอครั้งนี้ ซึ่ง ทั้งภาครัฐและเอกชนเชื่อว่า จะไม่มีผลกระทบต่อการเจรจาเอฟทีเอ โดยนายสีหศักดิ์ พวงเกตุ แก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า การเปลี่ยนตัวบุคคลไม่ใช่ประเด็น หลักที่จะส่งผลกระทบต่อการเจรจา และสหรัฐจะมองเป็นปัญหาภายในของไทย

เช่นเดียวกับ นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการ สภาหอการค้า แห่งประเทศไทยที่เห็นว่า น่าจะเป็นผลดีต่อการเจรจา เพราะนายอุตตมะมีตำแหน่งทางการเมือง มีอำนาจตัดสินใจและประสานข้อมูลกับกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้องได้ดีกว่านายนิตย์ที่เป็นข้าราชการ เกษียณแล้ว

นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การเปลี่ยนตัวหัวหน้าคณะเจรจาถือ เป็นเรื่องปกติสามารถทำได้ เพราะการเจรจามีความสำคัญใน 2 ส่วนคือ ท่าทีการเจรจาและวิ ธีการเจรจา ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นเพียงการเปลี่ยนวิธีการในการเจรจาเท่านั้น แต่ท่าทีและจุดยืน ของไทยยังคงเดิม

ในส่วนเอ็นจีโอที่ถูกระบุเป็นตัวกดดันนายนิตย์ให้ลาออกนั้น ก็ออกมาปฎิเสธพร้อมแสดงความ เห็นเรื่องนี้อย่างกว้างขว้าง อย่างน.ส.รสนา โตสิตระกูล ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค แสดง ความเห็นใจหัวหน้าคณะเจรจาที่ลาออก แต่อย่ามองเป็นการกดดัน เพราะการที่ภาคประชาชนมา เรียกร้องให้รัฐบาลเปิดสัญญา เนื่องจากห่วงผลประโยชน์ของคนทั้งประเทศ อีกทั้ง ตามขั้นตอน ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภาก่อน แต่รัฐบาลลัดขั้นตอน

"เมื่อหัวหน้าคณะออกไปแล้ว ใช่ว่าทุกอย่างจะจบ รัฐบาลก็ตั้งคนอื่นเข้ามาแทน อาจยิ่งกว่า เดิม จึงขอให้รัฐบาลเปลี่ยนท่าที นำสัญญามาเปิดเผยผ่านสภา ซึ่งเราจะติดตามต่อไป และขอให้ ประชาชนจับตาดูอย่ากระพริบตา การค้าเสรีเป็นสิ่งเดียวที่ประเทศมหาอำนาจ จะทำทุกอย่างเพื่อ ให้ได้ประโยชน์ เปรียบเหมือนหมาจิ้งจอกในเล้าไก่" น.ส.รสนา กล่าว

น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ส.ว.อุบลราชธานี กล่าวว่า การลาออกของนายนิตย์ไม่เกี่ยว กับการกดดันของภาคประชาชน เพราะสิ่งที่เราคัดค้านมาตลอดไม่ใช่ตัวบุคคล แต่ต้องการกดดันรัฐ บาลที่ออกนโยบายนี้ คิดว่านายนิตย์เข้าใจทุกอย่างดี จึงไม่อยากลำบากใจและไม่อยากเปลืองตัว อีกทั้ง แม้รัฐบาลจะหาคนมาแทน ก็ไม่มีอะไรดีขึ้น เพราะการตัดสินใจสุดท้ายอยู่ที่นายกฯ จึงต้อง จับตาดูการเจรจาต่อไป

ขณะที่นายไสว พราหมณี ส.ว.นครราชสีมา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการแรงงานฯ วุฒิสภา กล่าวว่า เห็นด้วยกับการดำเนินการของนายแก้วสรร อติโพธิ ส.ว.กทม.ที่ส่งหนังสือให้ ส.ว.ทั้ง 200 คนเสนอหัวข้อและขอการสนับสนุนในการเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาล โดยไม่มีการลง มติ แต่เรื่องที่อภิปรายควรเน้นเรื่องเดียวคือ เอฟทีเอไทย-สหรัฐ

หมวดหมู่ของข่าว: 

เนื้อหาข่าวเป็นการรวบรวมเพื่อการศึกษาวิจัยเท่านั้น อันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ มิได้นำไปเพื่อการค้าแต่อย่างใด